โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

KKP ปรับ GDP ปี 68 เหลือ 1.6% มองเศรษฐกิจไทยครึ่งหลังเสี่ยง แรงกดดันรอบด้าน

ไทยพับลิก้า

อัพเดต 3 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 3 ชั่วโมงที่ผ่านมา

KKP Reseach ปรับ GDP ปี 68 เหลือ 1.6% มองเศรษฐกิจไทยครึ่งหลังเสี่ยง แรงกดดันรอบด้าน

KKP Research ยังคงประเมินว่าเศรษฐกิจไทยจะไม่ได้รับประโยชน์จากการปรับตัวดีขึ้นของเศรษฐกิจโลกตามสถานการณ์สงครามการค้าระหว่างสหรัฐ ฯ และจีนที่ปรับตัวดีขึ้นมากนัก เนื่องจากเศรษฐกิจในประเทศยังคงเผชิญแรงกดดันหลายด้านทั้งปัจจัยเชิงโครงสร้างระยะยาว และปัจจัยลบในปี 2025 ที่สำคัญ คือ การชะลอตัวของนักท่องเที่ยวต่างชาติ โดยเฉพาะจีน การผลิตภาคอุตสาหกรรมที่มีโอกาสกลับมาชะลอลงในช่วงครึ่งหลังของปี การบริโภคในประเทศที่ยังคงอ่อนแอตามสินเชื่อที่หดตัว ตลอดจนความไม่แน่นอนทางการเมืองที่รุนแรงขึ้น ส่งผลให้ KKP Research ปรับลดคาดการณ์ GDP ปี 2025 เหลือ 1.6% จาก 1.7% และปี 2026 เหลือ 1.5%

KKP ประเมินเศรษฐกิจไทยยังเผชิญแรงกดดันด้านลบ

KKP ประเมินว่า 3 ปัจจัยที่สำคัญที่จะเป็นปัจจัยกำหนดทิศทางการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในช่วงหลังจากนี้ คือ

1) ทิศทางการฟื้นตัวของนักท่องเที่ยวจีน โดยในช่วงที่ผ่านมานักท่องเที่ยวจีนหดตัวลงอย่างรวดเร็วเหลือเพียงประมาณ 30% – 40% ของระดับก่อนโควิด-19 เป็นผลจากความกังวลด้านความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวจีนหลังเกิดกรณีลักพาตัว และการเข้ามาของคู่แข่งใหม่ ๆ เช่น ญี่ปุ่น เวียดนาม นอกจากนี้ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นเทียบเทียบกับเงินหยวนส่งผลให้การมาเที่ยวไทยแพงกว่าที่อื่น ๆ โดยเปรียบเทียบ KKP ประเมินนักท่องเที่ยวทั้งปีที่ 33.6 ล้านคนหดตัวลงจากปีก่อนเป็นครั้งแรกตั้งแต่หลังโควิด-19

2) การเร่งตัวของการส่งออกที่มากผิดปกติก่อนการขึ้นภาษีในช่วงต้นปี ส่งผลต่อการขยายตัวของการผลิตภาคอุตสาหกรรม อย่างไรก็ตามการเติบโตอย่างก้าวกระโดดของการส่งออกที่ผ่านมา ไม่ส่งผลบวกมากนักต่อภาคการผลิตและเศรษฐกิจไทย และมีโอกาสสูงที่ครึ่งหลังของปีจะเห็นการชะลอตัวลง โดยเกิดจาก 1) การส่งออกบางส่วนใช้สินค้าคงคลังที่เหลืออยู่เพื่อการส่งออกแต่ไม่ได้มีการผลิตใหม่เพิ่มเติม 2) การส่งออกสินค้าในกลุ่มอิเลคทรอนิกส์ มีแนวโน้มเป็นสินค้าที่ไทยนำเข้าจากประเทศอื่นเพื่อส่งออกต่อไปยังสหรัฐ ฯ แต่ไม่มีผลมากต่อการผลิตในประเทศ KKP Research ประเมินว่าภาคอุตสาหกรรมน่าจะปรับตัวดีขึ้นในระยะสั้น แต่อาจจะกลับมาชะลอตัวลงในช่วงครึ่งหลังของปี

3) การบริโภคมีแนวโน้มชะลอตัวตามการชะลอตัวของสินเชื่อ สินเชื่อในระบบการเงินยังคงหดตัวต่อเนื่อง ทั้งในภาคธุรกิจขนาดใหญ่ SME และครัวเรือน โดยเฉพาะกลุ่มเช่าซื้อและอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับผลกระทบจากภาระหนี้ครัวเรือนที่สูงและระดับหนี้เสียที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นชัดเจน การบริโภคในประเทศมีแนวโน้มชะลอตัว

เศรษฐกิจไทยครึ่งหลังยังท้าทาย มีโอกาสเข้าสู่ Technical Recession

จากหลายปัจจัยลบที่ยังคงกดดันเศรษฐกิจไทย ส่งผลให้ในครึ่งปีหลังของปี 2025 ไทยกำลังจะต้องเผชิญแรงกดดันจากทั้งปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายในประเทศพร้อม ๆ กัน ซึ่งอาจทำให้ไทยเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยเชิงเทคนิคได้ โดยปัจจัยสนับสนุนเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมาจะทยอยหมดไป คือ 1) แรงส่งจากฐานต่ำของการลงทุนภาครัฐในปีก่อน 2) การเร่งการส่งออกที่สูงผิดปกติในช่วงต้นปีก่อนการขึ้นภาษี 3) การท่องเที่ยวที่จะทยอยชะลอตัวลงโดยจำนวนนักท่องเที่ยวอาจเริ่มติดลบในช่วงครึ่งหลัง ประกอบกับเศรษฐกิจในประเทศเดิมของไทยที่อ่อนแออยู่ก่อนแล้ว

3 ความไม่แน่นอนอาจทำให้ไทยชะลอกว่าคาด

สถานการณ์ปัจจุบันมีความไม่แน่นอนสูงมาก ทำให้การประเมินเศรษฐกิจทำได้ยากมากขึ้น KKP Research ประเมินว่าทิศทางของเศรษฐกิจยังมีแนวโน้มชะลอลงในช่วงครึ่งหลัง และยังมีปัจจัยเสี่ยงสำคัญ 3 เรื่องที่อาจทำให้เศรษฐกิจไทยโตได้ต่ำกว่าที่ประเมินไว้

  • ความไม่แน่นอนทางการเมืองและข้อจำกัดของภาครัฐ ความเปราะบางทางการเมืองทวีความรุนแรงขึ้นหลังพรรคภูมิใจไทยถอนตัวจากรัฐบาล ทำให้พรรคร่วมรัฐบาลเสียงปริ่มน้ำ มีความเสี่ยงที่การพิจารณา ร่าง พรบ. งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2569 อาจจะล่าช้าหรือไม่สามารถผ่านได้ โดยในอดีตการเบิกจ่ายงบประมานที่ล่าช้าตัวเป็นฉุดการเติบโตทางเศรษฐกิจได้มากถึง 1.0 – 1.5ppt ต่อไตรมาส หรือประมาน 0.3ppt – 0.5ppt ต่อการเติบโตของ GDP ทั้งปี
  • สงครามการค้าและการเรียกเก็บภาษีนำเข้าจากสหรัฐ ฯ การเจรจาการค้าระหว่างไทยและสหรัฐฯ ยังมีความไม่แน่นอนสูงโดยอัตราภาษีแรกที่ไทยถูกเรียกเก็บจากสหรัฐ ฯ คือ 36% ก่อนจะมีการลดลงชั่วคราวมาที่ระดับ 10% KKP Research ประเมินว่าในกรณีของการเก็บภาษีกลับไปที่ 36% จะส่งผลลบต่อเศรษฐกิจทั้งปีประมาน 0.8ppt เทียบกับกรณีที่ไม่มีการเก็บภาษีเลย
  • สงครามระหว่างอิหร่าน อิสราเอลและผลต่อราคาน้ำมัน ความขัดแย้งด้านภูมิรัฐศาสตร์ในภูมิภาคตะวันออกกลางทำให้ราคาน้ำมันในตลาดโลกมีความไม่แน่นอนสูงขึ้น หากราคาน้ำมันปรับตัวสูงต่อเนื่องอาจผลักดันให้เศรษฐกิจไทยเข้าสู่ภาวะที่คล้าย “stagflation” หรือภาวะเงินเฟ้อเร่งตัวควบคู่กับการชะลอตัวของการเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยไทยมีดุลการค้าพลังงานขาดดุลในระดับประมาณ 8% ของ GDP สูงที่สุดในภูมิภาค ซึ่งหมายความว่าหากราคาน้ำมันเพิ่มขึ้น 10% ดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยอาจลดลงราว 0.5% ของ GDP และ GDP ของไทยลดลงราว 0.3%

KKP มองนโยบายการเงินต้องมีบทบาทมากขึ้น

ในสภาวะที่นโยบายการคลังมีข้อจำกัดจากระดับหนี้สาธารณะเข้าใกล้เพดานหนี้ที่ 70% ต่อ GDP ขาดดุลการคลังที่อยู่ในระดับสูง และภาวะการเงินที่ตึงตัวมากขึ้น KKP Research เชื่อว่านโยบายการเงินจะต้องมีบทบาทมากขึ้นในการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ โดยคาดว่าธนาคารแห่งประเทศไทยจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 3 ครั้ง หรืออีก 0.75 % ในช่วง 12 เดือนข้างหน้า ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยสุดท้ายลดลงเหลือ 1.0% จาก 1.25% ภายในไตรมาสแรกของปี 2026 และอาจต้องพิจารณาทางเลือกเชิงนโยบายในการแก้ไขข้อจำกัดของการส่งผ่านของนโยบายการเงิน โดยเฉพาะช่องทางสินเชื่อของธนาคาร

เศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งหลังของปี 2025 เผชิญกับแรงกดดันจากหลายด้านและยังมีความไม่แน่นอนสูงที่อาจทำให้เศรษฐกิจโตได้ต่ำกว่าคาด การรับมือสถานการณ์เศรษฐกิจในช่วงนี้จะต้องใช้การประสานนโยบายอย่างรอบด้าน ระหว่างนโยบายการเงินที่ผ่อนคลาย นโยบายการคลังที่แม่นยำ และการปฏิรูปเชิงโครงสร้างเพื่อเสริมความแข็งแกร่งในระยะยาว

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก ไทยพับลิก้า

โปรดเกล้าฯปรับ ครม. “แพทองธาร” ควบรมว.วัฒนธรรม “ภูมิธรรม”รองนายกฯควบมหาดไทย

43 นาทีที่แล้ว

อะไรคือกลยุทธ์รถยนต์ EV ของ Toyota ทั้งที่ในอดีต เมื่อพูดคำว่า ‘Hybrid’ มีแต่คนได้ยินเป็น ‘Prius’

56 นาทีที่แล้ว

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความทั่วไปอื่น ๆ

ครม.ขยาย ‘คุณสู้ เราช่วย’ ค้าง 1 วันเข้าร่วมได้ หนี้ 30,000 จ่าย 10% ปิดหนี้ทันที

ไทยพับลิก้า

ทีทีทีบีทุ่ม 2,062 ล้านบาท เข้าถือหุ้นใหญ่ บล.ธนชาต เป็นทางการ 99.97%

สำนักข่าวไทย Online

นึกว่าผีหลอก ที่แท้งูเหลือมรัดไก่ห้อยหัวลงจากต้นไม้

สำนักข่าวไทย Online

สามเณรีคืออะไร? รู้จักนักบวชหญิงในพระพุทธศาสนาอย่างลึกซึ้ง

TNN ช่อง16

ย้อนมองประเทศไทยในวัน ‘ตลาดหุ้น’ ย่ำแย่สุดในโลก วาทะเด็ด ‘ศุภวุฒิ สายเชื้อ’ – ‘บรรยง พงษ์พานิช’

THE STANDARD

ณัฐวุฒิ ไม่เห็นด้วย ชี้ ปลดนายกฯ ยุบพรรค เกิดง่ายเกินไป ไม่ส่งเสริม ปชต.

Thaiger
วิดีโอ

ฮุน มาเนต ยืนยันรัฐบาลพร้อมรับมือ หากข้อพิพาทชายแดนยืดเยื้อ กัมพูชาจะอยู่รอดด้วยตัวเอง โดยไม่ต้องพึ่งคนอื่น

BRIGHTTV.CO.TH

ราคาทองคำวันนี้ (1 ก.ค. 68) เปลี่ยนแปลงทั้งหมด 12 ครั้ง ราคาทองปรับขึ้น 700

AEC10NEWs

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...