โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

‘ยิ่งที่บ้านเข้มงวด เด็กยิ่งโกหกเก่ง’ เมื่อวิธีเลี้ยงลูกแบบเผด็จการ ไม่ได้ทำให้เขาเชื่อฟังอย่างที่คิด

The Momentum

อัพเดต 20 กรกฎาคม 2568 เวลา 20.34 น. • เผยแพร่ 5 ชั่วโมงที่ผ่านมา • THE MOMENTUM

“ผมคือเด็กที่ดูเชื่อฟัง สุขุม มารยาทดีคนนั้น และเป็นเด็กที่เพื่อนบ้านมักเอ่ยชมเสมอโดยหารู้ไม่ว่า ผมขี้โกหก โกหกเยอะจนน่าตกใจ และไม่ใช่แค่เรื่องเล็กๆ น้อยๆ ไม่มีพิษภัยนะ ผมโตมาเป็นเจ้าแห่งการหลอกลวงเลย

“ผมรู้ว่าต้องทำสีหน้าไม่รู้สึกรู้สาอย่างไรเวลาที่ข้างในความคิดตีกันยุ่ง รู้ว่าต้องตอบคำถามอย่างไรที่จะไม่ทำให้ตัวเองเดือดร้อน รู้ว่าจังหวะไหนที่ความซื่อสัตย์จะแว้งกัดผม และผมไม่ได้ทำทั้งหมดนี้เพราะอยากผิดศีลธรรมเลย ผมทำเพื่อเอาตัวรอดล้วนๆ”

ชานต์ (Shaant) พนักงานบริษัทฟินเทกชาวอินเดีย เขียนเล่าในบทความเกี่ยวกับนิสัยพูดโกหกที่ติดมาจากการมีครอบครัวที่เข้มงวด ขณะที่ ไรลีย์ (Ryley)นักศึกษาปริญญาโทสาขาศึกษาศาสตร์ชาวอเมริกัน เล่าเรื่องราวคล้ายๆ กันเกี่ยวกับเพื่อนสมัยมัธยม

“ตอนฉันเรียนอยู่สักชั้น ม.1-2 เพื่อนฉันคนหนึ่งที่มีพ่อแม่เฮี้ยบมาก เธอไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้มือถือหรือโซเชียลมีเดียเลย และไม่ค่อยได้รับอนุญาตให้ไปเที่ยวเล่นกับเพื่อนด้วย

“แม้มีกฎยุบยับพวกนี้ เธอก็ยังทำทุกอย่างที่พ่อแม่ห้าม เธอเล่น Snapchat มีแฟนหนุ่ม ย่องหนีไปเที่ยวนอกบ้านดึกๆ ดื่นๆ แถมยังเคยเล่าด้วยว่า ทั้งสูบบุหรี่ ดื่มเหล้า และส่งรูปโป๊ไปให้แฟนดูอยู่บ่อยๆ ไม่ว่าพ่อแม่จะพยายามเข้มงวดเท่าไร เธอก็จะหาหนทางแอบทำเรื่องพวกนี้จนได้”

เห็นได้ชัดว่านี่เป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นจริง ไม่ใช่แค่ในวัฒนธรรมใดวัฒนธรรมหนึ่ง เพราะผู้ปกครองที่นิสัยเข้มงวดนั้นมีอยู่ทุกที่ และเมื่อไรก็ตามที่ความเข้มงวดนั้นล้ำเส้น จนทำลายความสบายใจและความไว้วางใจระหว่างพ่อแม่กับลูก สิ่งที่ตามมาคือ เด็กที่ดูสงบเสงี่ยมเรียบร้อย แต่กลับเต็มไปด้วยคำโกหกเป็นไฟ

‘Strict parents raise the best liars.’

(ยิ่งพ่อแม่เข้มงวด เด็กยิ่งเป็นคนโกหกเก่ง)

เราหลายคนคงเคยได้ยินคำพูดทำนองนี้มาบ้างไม่มากก็น้อย แต่คำถามสำคัญคือ ตามหลักวิทยาศาสตร์ว่าด้วยพัฒนาการเด็กและครอบครัว สมมติฐานดังกล่าวจะมีมูลมากน้อยเพียงใด

สภาพแวดล้อมที่เข้มงวดนำมาซึ่งพฤติกรรมพูดโกหก

นักวิจัยส่วนใหญ่เชื่อกันมานานว่า สภาพแวดล้อมที่เน้นการลงโทษ มักทำให้เด็กมีพฤติกรรมพูดโกหกหรือปิดบัง แต่การจะพิสูจน์ให้เห็นผลลัพธ์เชิงประจักษ์ อาจเป็นเรื่องยาก เพราะนั่นหมายความว่าต้องทดลองในสภาพแวดล้อมที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพจิตเด็กจริงๆ ซึ่งไม่สามารถทำได้ตามหลักจริยธรรมทางวิชากร

ด้วยเหตุนี้ ตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมาจึงยังไม่เคยเกิดการทดลองจริงๆ จังๆ ขึ้น

จนกระทั่งปี 2011 ที่ ดร.วิกตอเรีย ทัลวาร์ (Victoria Talwar) และศาสตราจารย์คัง ลี (Kang Lee) นักวิจัยสาขาจิตวิทยาพัฒนาการ (Developmental Psychology) ชาวแคนาดา ได้หยิบยกข้อมูลจากโรงเรียนในแอฟริกาตะวันตกที่จัดการเรียนการสอนด้วย 2 แนวทางแตกต่างกันอยู่แล้ว มาใช้ในงานวิจัย

เด็กๆ ทั้งจากโรงเรียนที่ใช้บทลงโทษในการฝึกวินัย และโรงเรียนที่ไม่ส่งเสริมการลงโทษ ต่างได้รับคำสั่งเดียวกันว่า หลังจากปล่อยให้อยู่คนเดียวในห้อง ห้ามแอบดูของเล่นที่จัดไว้เด็ดขาด

เด็กส่วนใหญ่จะไม่สามารถต้านทานความอยากรู้อยากเห็นและแอบดูของเล่นจนได้ แต่ความแตกต่างระหว่างเด็กจากโรงเรียน 2 แบบคือ เด็กส่วนใหญ่ที่มาจากโรงเรียนที่ใช้บทลงโทษในการฝึกวินัยจะโกหก ในขณะที่เด็กจากโรงเรียนอีกกลุ่มส่วนมากสารภาพความจริง

นอกจากนี้เด็กจากโรงเรียนที่มุ่งเน้นบทลงโทษ ยังสามารถรักษาความน่าเชื่อถือของคำโกหกเอาไว้ได้ดีกว่าในกรณีที่มีการซักถามต่อ

แล้วในบ้านที่พ่อแม่ไม่ได้ ‘เป็นใหญ่’ ลูกจะมีวินัยได้จริงหรือ

‘รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี’ คือสำนวนที่อยู่คู่กับสถาบันครอบครัวของไทยมานาน ในขณะที่ฝรั่งเองก็ไม่น้อยหน้า ปลูกฝังกันว่า ‘Spare the rod, spoil the child.’ (ละเว้นไม้เรียว ลูกจะเสียคน)

พ่อแม่ผู้ปกครองส่วนใหญ่คงตั้งกฎเกณฑ์ที่เข้มงวดและข้อห้ามมากมายขึ้นด้วยความรักอย่างโบราณว่า ไม่ว่าในยุคสมัยไหน ความปลอดภัยทางกายภาพ (Physical Safety) ก็มักเป็นเป้าหมายสูงสุดของคนเป็นพ่อเป็นแม่

แต่หากครอบครัวยังขาดการสื่อสารและพื้นที่ปลอดภัยทางจิตใจ (Psychological Safety) นอกจากกฎเหล่านี้จะผลักดันให้เด็กโกหกและหันไปทำพฤติกรรมที่เสี่ยงอันตรายยิ่งกว่าเดิมตอนที่ไม่มีใครรู้ ยังทำให้เกิดความห่างเหินขึ้นในความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองกับเด็กอีกด้วย

เยาวชนที่มีสุขภาพจิตดี และสามารถรักษาความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นกับครอบครัวต่อเนื่องได้จนโต มักมีพื้นฐานครอบครัวที่รู้จักเปิดพื้นที่สำหรับการแสดงความต้องการและความคิดเห็นอย่างตรงไปตรงมา การทำความเข้าใจ การประนีประนอม และการหาจุดร่วมที่สมดุลที่สุดกับทุกฝ่าย

ภาพครอบครัวแบบเดิมๆ ที่ผู้ปกครองเป็นฝ่ายถืออำนาจเด็ดขาดในทุกเรื่อง แม้กระทั่งเรื่องเล็กๆ น้อยๆ โดยไม่คำนึงถึงความต้องการของเด็กเลย อีกทั้งยังใช้วิธีคุมพฤติกรรมบนพื้นฐานของความกลัวถูกลงโทษ (Fear-based) จึงเป็นภาพของครอบครัวที่ไม่สอดคล้องกับหลักจิตวิทยาการเลี้ยงลูกของยุคสมัยอีกต่อไป

ที่มา:

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก The Momentum

นิโคลัส โฮลต์ การเดินทางของไอ้หนูจอมป่วง จากนักรบพลีชีพ Mad Max มาจนถึงวายร้าย เล็กซ์ ลูเทอร์

1 วันที่แล้ว

ยกเลิก ‘ยศพระ’ ดีไหม เมื่อสิ่งที่ทำลายพระสงฆ์มากที่สุด หนีไม่พ้น ‘สมณศักดิ์

1 วันที่แล้ว

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความไลฟ์สไตล์อื่น ๆ

‘ความจำเป็นในการพัฒนา “การศึกษาไทย” อย่างทั่วถึง’

GM Live

รู้จักกุ้งแห้งแหล่งแคลเซียม ช่วยลดความเสี่ยงโรคกระดูกพรุน

sanook.com

โปรแกรมออกกำลังกายสำหรับคนไม่มีเวลา ฟิตหุ่นได้ ไม่ต้องรอ!

sanook.com

สอศ.รับลูก’นฤมล‘จัดทำหลักสูตรปวศ.-ถกก.ค.ศ.เปิดช่องใช้วิทยฐานะขอ‘ศ.‘

MATICHON ONLINE

มติมหาเถรฯ แนวทางจัดการพระทำผิดครุกาบัติ ต้องสละสมณเพศ-เข้าข่ายผิดอาญา

MATICHON ONLINE

เที่ยวแนวซาฟารีส่องวิถี “Circle of Life” ในเขตอนุรักษ์แห่งชาติมาไซ มารา

Manager Online

‘นฤมล’ ยาหอม ลดภาระครู สั่งก.ค.ศ. รื้อเกณฑ์วิทยฐานะ แยกสังกัด ประถม-มัธยม-อาชีวะ หวังเพิ่มรายได้

MATICHON ONLINE

8 กลิ่นหอมจากธรรมชาติ ช่วยผ่อนคลาย ลดความเครียด

Manager Online

ข่าวและบทความยอดนิยม

‘ใครจะอยากเป็นคนไร้ตัวตนในกลุ่มเพื่อน’ ทำยังไงหากมีแนวโน้มเป็น ‘มนุษย์ล่องหน’ เมื่อทุกคนอยากถูกมองเห็นในความสัมพันธ์

The Momentum

รู้จักความสัมพันธ์แบบ ‘Monkey Barring พฤติกรรมแบบลิงโหนบาร์ ไม่ปล่อยมือคนเดิม แต่เพิ่มเติมคนใหม่

The Momentum

หรือนี่คือเหตุผลในการตื่นสาย วิจัยเผย นอนตื่นสายวันหยุดแค่ 2 ชั่วโมง ช่วยเพิ่มสมาธิ ลดความวิตกกังวลในวัยรุ่น

The Momentum
ดูเพิ่ม
Loading...