โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

นักวิชาการ มองลด ภาษีสหรัฐฯ 0% เสี่ยง “สินค้าทะลัก” กระทบในประเทศหนัก

การเงินธนาคาร

อัพเดต 20 กรกฎาคม 2568 เวลา 22.32 น. • เผยแพร่ 4 ชั่วโมงที่ผ่านมา

นักวิชาการเตือนรัฐบาลต้องพิจารณาอย่างรอบคอบถึงผลกระทบจากการลด ภาษีสหรัฐฯ เหลือ 0% แม้จะช่วยลดกำแพงภาษีตอบโต้จากสหรัฐฯ ได้ถึง 9-10 เท่า และช่วยพยุงภาคส่งออกที่พึ่งพิงตลาดสหรัฐฯ กว่า 13-14% ของ GDP ไทยไว้ได้ แต่ก็อาจสร้างปัญหาใหญ่ต่อภาคการผลิตในประเทศ

20 กรกฎาคม 2568 นายอนุสรณ์ ธรรมใจ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ และ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเศรษฐกิจดิจิทัล การลงทุน และการค้าระหว่างประเทศ (DEIIT) มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า การลดภาษีให้กับสินค้านำเข้าจากสหรัฐอเมริกาในอัตรา 0% และเปิดตลาดให้กับสินค้านำเข้าจากสหรัฐฯ อาจทำให้มีการลดกำแพงภาษีตอบโต้ของสหรัฐฯ ลงมาในระดับใกล้เคียงกับประเทศอาเซียน อย่างเช่นเวียดนาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย ได้ ทำให้ลดความรุนแรงของภาษีตอบโต้ทางการค้าที่ระดับ 36% ต่อภาคส่งออกไทย ผลกระทบต่อภาคส่งออกไทยจะลดลงมาได้ไม่ต่ำกว่า 9-10 เท่า กลุ่มสินค้าที่พึ่งพิงตลาดสหรัฐฯในสัดส่วนสูงคิดเป็น 13-14% ของจีดีพีไทย หากไทยไม่ได้ลดภาษีจากระดับ 36% เลยจะทำให้มูลค่าส่งออกไทยสูญเสียหลายแสนล้านบาทในระยะยาว

อย่างไรก็ตาม การเปิดตลาดให้สหรัฐฯ ด้วยการลดภาษีนำเข้า 0% เพื่อแลกกับการลดภาษีตอบโต้ของสหรัฐฯ อาจจะสร้างปัญหาอีกด้านหนึ่งมีผลกระทบต่อภาคการผลิตภายในที่ปรับตัวไม่ได้แข่งขันไม่ได้และผลต่อตลาดแรงงาน และปัญหาอาจใหญ่กว่าหากไม่มีมาตรการรองรับผลกระทบให้ดี หวั่นสินค้าสหรัฐฯ ทะลักเฉพาะสินค้าเกษตรสหรัฐฯ อาจเพิ่มกว่า 100% กระทบผู้ผลิตภายในรุนแรง ภาวะดังกล่าวจะซ้ำเติมสถานการณ์ที่ผู้ผลิตภายในต้องเผชิญสินค้าทุ่มตลาดจากจีนอยู่แล้ว

ส่วนผลกระทบของภาษีทรัมป์ต่อตลาดแรงงานไทยโดยภาพรวมยังไม่รุนแรงและยังคงอยู่ในขอบเขตจำกัด โอกาสเกิดวิกฤตการจ้างงานเกิดขึ้นในเพียง 4 สาขา คือ การผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ กิจการก่อสร้างและกิจการที่พักแรม กิจการบริการอาหาร จากข้อมูลการเตือนภัยด้านแรงงานของกระทรวงแรงงาน พบว่า การประมาณการโอกาสเกิดวิกฤตการจ้างงานในระยะเวลา 4 ไตรมาสข้างหน้าอยู่ที่ 25.51% ขณะที่การว่างงานของผู้ที่เคยเป็นลูกจ้างเอกชนอยู่ในเหตุการณ์ปรกติ 84.09% และมีโอกาสเกิดวิกฤตการว่างงาน 5.35% ข้อมูลสถานการณ์การจ้างงานของกระทรวงแรงงานในไตรมาสแรกมีจำนวนผู้มีงานทำ 39.38 ล้านคน คิดเป็นลูกจ้างเอกชน 16.08 ล้านคน อัตราการว่างงานอยู่ที่ 0.9% มีจำนวนผู้ว่างงาน 357,731 คน อย่างไรก็ตามการชะลอตัวลงของภาคส่งออก ภาคการผลิต ภาคการลงทุน จะทำให้อัตราการว่างงานโดยรวมในช่วงที่เหลือของปีเพิ่มขึ้น สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำเพื่อส่งเสริมการจ้างงานช่วยบรรเทาปัญหาได้ระดับหนึ่ง

ข้อมูลระบบเตือนภัยด้านแรงงานของกระทรวงแรงงานบ่งชี้และคาดการณ์ว่า การว่างงานและเลิกจ้างช่วงเดือน มิ.ย.-ส.ค.ปีนี้เพิ่มขึ้นอยู่ในเกณฑ์ปรกติยังไม่วิกฤต ว่างงานเพิ่มขึ้นไม่เกิน 50,000 คน และเลิกจ้าง มิ.ย.-ส.ค.ไม่เกิน 20,000 คน โดยการว่างงานเดือน มิ.ย., ก.ค. และ ส.ค.68 คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้น 11,622 คน (+5.04%) 12,423 คน (+5.27%) และ 22,598 (+9.80%) จากเดือนเดียวกันเมื่อปีก่อนตามลำดับ และการเลิกจ้างเดือน มิ.ย., ก.ค. และ ส.ค.68 คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้น 5,926 คน (+23.55%) 5,996 คน (+15.38%) และ 5,438 คน (20.72%) จากเดือนเดียวกันของปีก่อนตามลำดับ เมื่อพิจารณาจากการคาดการณ์ของรายงานเตือนภัยด้านแรงงานจะเห็นว่า แม้การว่างงานและเลิกจ้างยังไม่รุนแรงถึงขั้นวิกฤต แต่ตัวเลขว่างงานและเลิกจ้างเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ ซึ่งมีความจำเป็นที่รัฐบาลต้องมีมาตรการรองรับผลกระทบดังกล่าว และมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อรักษาระดับการจ้างงาน
ในส่วนของการดูแลสิทธิประโยชน์ผู้ว่างงานนั้น ล่าสุดทางสำนักงานประกันสังคมได้ปรับเพิ่มสิทธิประโยชน์การว่างงานให้กับผู้ประกันตน

ส่วนแรงงานอิสระและรับจ้างทั่วไปที่ไม่อยู่ในระบบประกันสังคมอาจได้รับความยากลำบากทางเศรษฐกิจ เพราะไม่มีสิทธิประโยชน์ในส่วนนี้ ซึ่งรัฐควรมีโครงการหรือมาตรการดูแลเพิ่มเติม

การเร่งพัฒนาทักษะแรงงาน ดึงดูดการลงทุนเป็นเรื่องที่มีความสำคัญจากรายงาน OECD, ADB และ BOI รวบรวมโดยศูนย์วิจัย DEIIT ได้ชี้ถึงข้อจำกัดของระบบแรงงานไทย ดังนี้

  • ทักษะไม่ตรงความต้องการตลาด โดยผู้ประกอบการกว่า 52% ระบุว่าแรงงานไทยยังขาดทักษะที่จำเป็น ทำให้ขาดทักษะดิจิทัล การคิดวิเคราะห์ และการสื่อสารเชิงวิชาชีพ
  • ระบบการฝึกอบรมยังไม่ทันสมัย อัตราการฝึกอบรมผู้ใหญ่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยอาเซียน มีแรงงานเพียง 10% ที่มีการฝึกอบรมอย่างต่อเนื่อง (OECD, 2025) หลักสูตรไม่สอดคล้องกับภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมเป้าหมาย S-Curve
  • ขาดการรับรองทักษะในระดับสากล แรงงานมีใบรับรองมาตรฐานสากลเพียง 6% (BOI, 2024) ส่งผลให้ไม่สามารถเข้าทำงานกับบริษัทต่างชาติที่ตั้งฐานในไทยได้อย่างเต็มที่
  • ไม่มีระบบคาดการณ์ทักษะแรงงานล่วงหน้า ไทยยังไม่มีระบบ Skills Forecasting หรือ Labor Market Intelligence ที่เข้มแข็ง (OECD, 2025) ทำให้การส่งเสริมทักษะแรงงานในเชิงรุกทำได้ยาก

ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจดิจิทัล การลงทุนและการค้าระหว่างประเทศ (DEIIT) มีข้อเสนอเชิงนโยบายพัฒนาระบบทักษะแรงงานเพื่อดึงดูดการลงทุน ดังนี้

  • ยกระดับทักษะ (Up-skilling & Re-skilling) สร้างระบบฝึกอบรมแรงงานร่วมกับ FDI เน้นสาขาเทคนิค เช่น AI, Automation, Logistics, Green Tech โดยจัดอบรมในนิคมอุตสาหกรรมและพื้นที่ EEC
  • ระบบรับรองทักษะสากล สร้าง Certified Thai Workforce โดยจับมือองค์กรต่างชาติ เช่น Amazon Web Services, Siemens AG, Cruise Lines International Association, International Air
    Transport Association ให้แรงงานมีใบรับรองมาตรฐานสากลที่เป็นที่ยอมรับ
  • ระบบข้อมูล พัฒนา Labor Market Intelligence System (LMIS) เชื่อมฐานข้อมูลภาครัฐ-เอกชน สร้าง Skills Forecasting Model เพื่อวางแผนผลิตแรงงาน
  • เชื่อมโยงกับ FTA และ GVCs ผูกนโยบายแรงงานกับข้อตกลงการค้า เร่งเจรจา FTA กับสหรัฐฯ หรือผ่าน IPEF, RCEP- สร้าง Smart Workforce Zone เชื่อมโยงห่วงโซ่มูลค่าโลก

ที่มา : infoquest.co.th

อ่านข่าว เศรษฐกิจทั่วไทย ทั้งหมด ได้ที่นี่

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก การเงินธนาคาร

เงินทะลักเข้า กองทุน Spot Bitcoin ETF ดัน AUM แตะ 152 พันล้านดอลลาร์

4 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ศาลสั่งคืนเงิน 4,500 ล้านบาท คดี MORE “ปล้น” ตลาดทุนพลิก โบรกฯ 11 ราย รับเงินชดเชย

5 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความธุรกิจ-เศรษฐกิจอื่น ๆ

หมูสหรัฐฯ จ่อตีตลาดไทย เกษตรกรหวั่น "ภาษีทรัมป์" กระทบหนัก

Thai PBS

ชาวนาไทยกังวล ภาษีสหรัฐฯ 36% ฉุดราคา "ข้าวหอมมะลิ" ร่วง

Thai PBS

‘OMAKAHED’ ปลูก-ปรุง-เสิร์ฟเมนูคนรักเห็ด l 19 ก.ค. 68 FULL l BTimes Weekend ShowBiz

BTimes

กู้เงินออมสิน 50,000 บาท ผ่อนส่งเดือนละ 1,083 บาท ล่าสุดออมสินเฉลยแล้ว

sanook.com

รถมือสองยอดหด 28% สมาคมชี้ แบงก์เข้มงวด-รถ EV กระทบหนัก

Thai PBS

กู้เงินออมสิน 200,000 บาท ผ่อนเดือนละ 4,333 บาท ที่แท้เป็นแบบนี้นี่เอง

sanook.com

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยแนะติดตามปัจจัยสำคัญระหว่าง21-25ก.ค.68

ฐานเศรษฐกิจ

"วิทัย" ชี้ถึงเวลาปรับโครงสร้างพลิกฟื้นเศรษฐกิจ เร่งแก้ปมหนี้ครัวเรือน

Manager Online

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...