โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ต่างประเทศ

จีนโคลนนิง ‘ลูกผสมวัวบ้าน-จามรี’ จากเซลล์โซมาติก ตัวแรกของโลก

Xinhua

อัพเดต 15 กรกฎาคม 2568 เวลา 7.02 น. • เผยแพร่ 4 ชั่วโมงที่ผ่านมา • XinhuaThai

× กรุณาติดต่อทีมงานเพื่อดาวน์โหลดคลิป

(ภาพจากสถาบันสัตวศาสตร์ สังกัดสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์การเกษตร : โซ (Dzo) สัตว์ลูกผสมระหว่างวัวบ้านกับจามรี ในนครลาซา เขตปกครองตนเองทิเบตทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน)

ปักกิ่ง, 14 ก.ค. (ซินหัว) — คณะนักวิทยาศาสตร์ของจีนประกาศว่าโซ (Dzo) สัตว์ลูกผสมระหว่างวัวบ้านกับจามรีที่เกิดจากวิธีการโคลนเซลล์โซมาติก (somatic cells) ตัวแรกของโลก ลืมตาดูโลกในเขตปกครองตนเองทิเบต (ซีจ้าง) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน นับเป็นความก้าวหน้าครั้งสำคัญในเทคโนโลยีการเพาะพันธุ์ในพื้นที่สูง ซึ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาปศุสัตว์บนที่ราบสูงและการปกป้องสัตว์ใกล้สูญพันธุ์

รายงานจากไซแอนซ์ แอนด์ เทคโนโลยี เดลี (Science and Technology Daily) ระบุว่าลูกโซตัวนี้มีอายุกว่าสองเดือนแล้ว เป็นเพศผู้ น้ำหนัก 26 กิโลกรัม เกิดด้วยวิธีการผ่าตัดคลอด และปัจจุบันมีสุขภาพแข็งแรงดี โดยผลการตรวจทางพันธุกรรมยืนยันว่าเป็นลูกโซที่เกิดจากการจำลองพันธุกรรมมาจากโซต้นแบบ

ความสำเร็จนี้เกิดจากความร่วมมือของทีมงานจากสถาบันสัตวศาสตร์ สังกัดสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์การเกษตร สถาบันการเกษตรและวิทยาศาสตร์ปศุสัตว์ สถานีปศุสัตว์และสัตวแพทย์ในทิเบต รวมถึงมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์แห่งประเทศจีน และมหาวิทยาลัยตงเป่ย ซึ่งการทดสอบนี้ได้รับการอนุมัติจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและเป็นไปตามมาตรฐานจริยธรรม

โซเป็นลูกผสมที่เกิดจากการผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่างจามรีตัวเมียและวัวตัวผู้ มีลักษณะเฉพาะที่สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมสุดขั้วบนที่ราบสูงชิงไห่-ทิเบตได้เป็นอย่างดี ให้ผลผลิตนมและเนื้อสูง มีคุณค่าทางโภชนาการ และแข็งแกร่งสำหรับนำไปใช้ในงานลากจูง ทำให้สัตว์สายพันธุ์นี้มีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงกว่าปศุสัตว์พันธุ์บนที่ราบสูงทั่วไปอย่างมาก ทว่าโซเพศผู้มีภาวะออกลูกยาก จึงเป็นอุปสรรคต่อการขยายพันธุ์ตามธรรมชาติ

นักวิจัยสกัดเซลล์โซมาติกจากหูของโซโตเต็มวัยอายุ 9 ปี จากนั้นนิวเคลียสของเซลล์ดังกล่าวถูกถ่ายโอนไปยังเซลล์ไข่ของวัวที่เอานิวเคลียสออกแล้วเพื่อสร้างตัวอ่อนโคลน ตัวอ่อนนี้ถูกฝังเข้าไปในโซอีกตัวที่ตั้งท้องแทน (surrogate dzo) ซึ่งตั้งท้องในสภาพแวดล้อมท้าทายบนที่สูงที่มีอุณหภูมิต่ำและระดับออกซิเจนที่ลดลง จนในที่สุดสามารถให้กำเนิดลูกโซตัวผู้เมื่อวันที่ 12 พ.ค. ที่สถานีทดลองในเมืองลาซา

ทั้งนี้ เทคโนโลยีการโคลนนิงแบบแม่นยำนี้ช่วยให้สามารถถ่ายทอดลักษณะเด่นที่ต้องการได้อย่างมีเสถียรภาพ เช่น ผลผลิตสูง และความทนทานต่อสภาพแวดล้อม ช่วยปูทางสู่การขยายพันธุ์สัตว์สายพันธุ์คุณภาพสูงจำนวนมาก

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก Xinhua

เวียดนามตั้งเป้าให้ ‘ผู้ใหญ่’ 70% มีลายเซ็นดิจิทัลภายในปี 2030

3 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ฉากชีวิตผู้คนช่วงหยุดสุดสัปดาห์ในโปแลนด์

3 ชั่วโมงที่ผ่านมา

จีนมุ่งรับรองผลสำเร็จ ‘การประชุมสุดยอด SCO’ ในเทียนจิน

4 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ขบวนพาเหรด ‘พายเรือยืน’ เติมสีสันผืนน้ำในมอสโก

4 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความต่างประเทศอื่น ๆ

เวียดนามตั้งเป้าให้ ‘ผู้ใหญ่’ 70% มีลายเซ็นดิจิทัลภายในปี 2030

Xinhua

ฉากชีวิตผู้คนช่วงหยุดสุดสัปดาห์ในโปแลนด์

Xinhua

จีนมุ่งรับรองผลสำเร็จ ‘การประชุมสุดยอด SCO’ ในเทียนจิน

Xinhua

ขบวนพาเหรด ‘พายเรือยืน’ เติมสีสันผืนน้ำในมอสโก

Xinhua

จีน-สหรัฐฯ เร่งทำงาน สานต่อผลลัพธ์เจรจาการค้าในลอนดอน

Xinhua

ลาซาเปิดตัว ‘แท็กซี่พลังงานใหม่’ เปลี่ยนแบตเตอรี่ไวใน 3 นาที

Xinhua

ตบเท้าเที่ยวทะเลสาบ ชมวิวแม่น้ำเหลืองหน้าร้อนในเสฉวน

Xinhua

จีนหนุนจัดตั้ง ‘เขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์’ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

Xinhua

ข่าวและบทความยอดนิยม

จีนเผย ‘การค้าระหว่างประเทศ’ ครึ่งปีแรก โต 2.9%

Xinhua

เมฆหมอกลอยคลุ้ง โอบกอด ‘กำแพงเมืองจีน’ ในเหอเป่ย

Xinhua

นกนางนวลธรรมดาแห่งก่าไห่ แม่เหล็กดึงนักท่องเที่ยวหน้าร้อน

Xinhua
ดูเพิ่ม
Loading...