ศึกศักดิ์ศรีทางวัฒนธรรม ไทย vs กัมพูชา | ข่าวเย็นประเด็นร้อน
263 ดูข่าวเย็นประเด็นร้อน - เรียกว่าเป็นข้อพิพาทระหว่างชาวโซเชียลที่ปะทะกันอย่างดุเดือด โดยเฉพาะประเด็นเรื่องการ เคลมวัฒนธรรม ไล่มาตั้งแต่เรื่อง กุน ขแมร์ มวยเขมรในซีเกมส์ โขน เป็นของกัมพูชา ประเพณีแต่งงาน สอดไส้โดยการสวมชุดไทย แต่ไม่ให้เครดิต เริ่มที่ กัมพูชา นำการแสดงนาฏศิลป์ชั้นสูงขึ้นทะเบียนมรดกโลกต่อ ยูเนสโก ที่มีการสอดไส้วรรณกรรมไทยเข้าไปด้วย ชาวไทยถึงกับอึ้ง เพราะนำไปขึ้นทะเบียนตั้งแต่ ปี 2551 หรือ 17 ปีมาแล้ว โดย กัมพูชา อ้างว่า วรรณกรรมที่นำไปเสนอต่อ ยูเนสโก ได้รับการฟื้นฟูตั้งแต่ปี 2522-2545 จากละครของกัมพูชา เรื่อง พระทองพระนาค ซึ่งเป็นละครพื้นบ้านที่ถูกเขียนขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2473 อีกเรื่อง ถ้าคุณผู้ชมจำได้ ดราม่า กุน ขแมร์ หรือมวยกัมพูชาในซีเกมส์ ที่กลายเป็นดรามาระหว่างไทยกับกัมพูชา เมื่อครั้งกีฬาซีเกมส์ครั้งที่ 32 ที่กัมพูชาเป็นเจ้าภาพ ชนวนดรามาคือ กัมพูชา ไม่ใช้ชื่อ มวยไทย ในการแข่งขัน อ้างว่าเป็นศิลปะประจำชาติของตัวเอง จนสมาคมกีฬามวยไทยสมัครเล่นของไทย ประกาศถอนทีมชาติไทย จากการแข่งขันอ้างว่าเป็นการ แอบอ้างมวยไทย และสร้างความเข้าใจผิดในเวทีนานาชาติ จนสมาคมมวยนานาชาติ สนับสนุนไทย และไม่รับรองการแข่งขันภายใต้ชื่อ กุน ขแมร์ ดรามาเรื่อง โขน ไทยถือเป็นศิลปะชั้นสูง มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ปี 2018 : UNESCO รับรอง โขนไทย เป็น มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ ส่วน กัมพูชา อ้างว่า มีศิลปะลักษณะเดียวกัน คือ ละโคนโขล และถือว่าเป็นมรดกของขอมโบราณ เป็นต้นกำเนิดของโขนไทย ปี 2018 เช่นกัน ที่ UNESCO ก็รับรอง ละโคนโขลของกัมพูชา” เป็นมรดกเช่นกัน โดยไม่ตัดสินว่าใครเป็นต้นฉบับ เพราะต่างมีเอกลักษณ์ในแบบของตัวเอง อีกหนึ่งเรื่อง ประเพณีแต่งงาน ขึ้นทะเบียนมรดกโลกต่อ ยูเนสโก ในปี 2026 แต่สอดไส้โดยการสวมชุดไทย ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ไทย แต่ไม่ให้เครดิตที่มาของชุด ทีมข่าวของเราเคยสัมภาษณ์ อาจารย์พีรมณฑ์ ชมธวัช นักออกแบบเครื่องแต่งกายชื่อดัง ให้สัมภาษณ์พิเศษกับทีมข่าวว่า หากประเทศเพื่อนบ้านต้องการนำชุดเจ้าสาวที่มีความคล้ายคลึงกับชุดไทยไปสวมใส่ ก็ย่อมทำได้ แต่ควรให้เครดิตที่มาของชุดด้วย เหมือนที่ไทยให้เครดิตประเทศอื่นมาโดยตลอด หากดูรูปเปรียบเทียบระหว่าง ชุดไทยจักรี กับรูปชุดที่กัมพูชาเตรียมเสนอ ประเพณีแต่งงาน ขึ้นทะเบียนมรดกโลกต่อ ยูเนสโก แต่สอดไส้โดยการสวมชุดไทยไปด้วย ซึ่งคล้ายคลึงกันมาก จากการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมในสมัยก่อน เช่น การสวมสไบเฉียง เปิดบ่า 1 ข้าง ใส่เข็มขัดคาดชายพก สวมใส่เครื่องประดับ ต่างหู สร้อยคอ กำไรข้อมือ และท่อนล่างเป็นผ้านุ่งจีบ และในปีนี้ ไทยเตรียมเสนอชุดไทยขึ้นทะเบียนกับ ยูเนสโก เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ โดยคาดว่าจะได้รับการพิจารณาในช่วงปลายปีนี้ 2568 นอกจากนี้ ยังกล่าวหา วัดภูม่านฟ้า อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ ลอกเลียนแบบนครวัด เรื่องนี้เกิดขึ้น เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคมที่ผ่านมา ที่การประชุม World Heritage Committee ของ UNESCO ที่กรุงปารีส กัมพูชา โดย กัมพูชา ยื่นคำร้องให้ UNESCO ตรวจสอบว่า วัดภูม่านฟ้า เป็นการจำลองนครวัดโดยไม่ได้รับอนุญาต อาจกระทบต่อคุณค่าและอัตลักษณ์ของนครวัดซึ่งเป็นมรดกโลก ทำให้ หัวหน้าคณะผู้แทนไทย ชี้แจงว่า ไทยเชื่อมั่นว่า มรดกทางวัฒนธรรม ควรเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้คน มิใช่นำมาซึ่งความแบ่งแยก ประเพณี ศิลปะ วัฒนธรรม ของชาติในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีความคล้ายคลึงกัน ความเป็นเอกลักษณ์ แสดงถึงความเป็นชาติ วัฒนธรรมยังทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดี หากไม่มีอคติหรือข้อพิพาทใด ๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง กดติดตามช่อง CH7HD News ได้ที่ : https://cutt.ly/YTch7hdnews ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ : https://news.ch7.com #ข่าวเย็นประเด็นร้อน #ข่าวช่อง7 #CH7HDNEWS ติดตาม CH7HD News และ TERO Digital ได้ที่ : https://linktr.ee/ch7hdnews_tero
เล่นอัตโนมัติ