โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

‘สงครามราคา’ลุกเป็นไฟ แล้วผู้บริโภคได้อะไรบ้าง? จากการทำแคมเปญ

SpringNews

อัพเดต 16 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 16 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ไม่นานมานี้คุณอาจได้เห็นการแข่งขันการอย่างดุเดือดของธุรกิจสุกี้หม้อไฟที่แต่ละแบรนด์ออกมาพ่น สาด แคมเปญใส่การอย่างเมามันส์ แต่…ในความเป็นจริงแล้วสงครามราคาไม่ได้มีแค่ช่วงนี้ และในปี2568 นี้ แต่มีมากนานแล้ว และมักจะมาเป็นระยะๆ โดยเฉพาะช่วงที่เศรษฐกิจไม่ดี ลูกค้าน้อย การแข่งขันในตลาดมีมาก ปัจจัยเหล่านี้มักจะเห็นผู้ประกอบการออกมาทำสงครามราคากัน

สำหรับสงครามราคาที่รุนแรงที่สุดในไทย สำนักงาน กสทช. (NBTC) ได้เคยเสนอรายงานประจำปี และบทวิเคราะห์การแข่งขัน ว่า สงครามราคาในไทยมักจะขึ้นอยู่กับอุตสาหกรรมและช่วงเวลา แต่โดยรวม ยุคมือถือ (2546–2555) และ ยุคค้าปลีก + ฟู้ดเดลิเวอรี (2560–2566) ถือว่ารุนแรงที่สุดในแง่ จำนวนผู้เล่น, ความถี่ของการแข่งขัน และผลกระทบต่อทั้งตลาด

แน่นอนคำว่า สงคราม อาจเป็นคำที่ดูไม่ดี และน่ากลัว แต่..ฝนเมื่อสงครามราคาเกิดขึ้นแล้ว คำถามที่ตามมาคือ แล้วผู้บริโภคได้อะไรบ้าง? สำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า (OTCC) รายงานวิเคราะห์ผลกระทบการแข่งขันต่อผู้บริโภค รวมถึงกรณีสงครามราคาบางกรณี ว่า สงครามราคา (Price War) คือการแข่งขันกันลดราคาสินค้าหรือบริการอย่างรุนแรงระหว่างผู้ประกอบการ โดยมีเป้าหมายเพื่อดึงดูดลูกค้าและแย่งส่วนแบ่งตลาด ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับผู้บริโภคมีทั้งด้านบวกและลบ

ประโยชน์ของสงครามราคาที่ผู้บริโภคได้รับ

  • ราคาสินค้าถูกลง

เนื่องจากผู้บริโภคสามารถซื้อสินค้าและบริการในราคาที่ต่ำกว่าปกติ รวมถึงเพิ่มอำนาจในการซื้อ (Purchasing Power)

  • ได้สินค้า/บริการมากขึ้นในราคาเดิม

อย่างเช่น โปรโมชั่น “ซื้อ 1 แถม 1” หรือส่วนลดพิเศษทำให้ได้ของมากขึ้นคุ้มค่าเงิน

  • เกิดทางเลือกหลากหลาย

ผู้บริโภคมีตัวเลือกมากขึ้น เพราะแบรนด์ต่าง ๆ พยายามเสนอเงื่อนไขที่ดีที่สุดเพื่อแย่งลูกค้า

  • กระตุ้นให้ผู้ประกอบการปรับตัวพัฒนาให้ดีขึ้น

แข่งขันกันไม่ใช่แค่เรื่องราคา แต่รวมถึงคุณภาพ บริการ และนวัตกรรม เพื่อรักษาลูกค้าไว้

ข้อเสียหรือผลกระทบแฝงที่อาจเกิดกับลูกค้า

  • คุณภาพอาจลดลง

ทั้งนี้หากผู้ประกอบการลดต้นทุนเพื่อให้ราคาถูก อาจส่งผลต่อคุณภาพสินค้า/บริการ

  • ผู้เล่นรายเล็กอาจอยู่ไม่รอด

ตลาดอาจเหลือแต่รายใหญ่ เมื่อการแข่งขันหดลง โอกาสที่ราคาจะกลับขึ้นสูงก็มีมาก

  • อาจเกิดความเข้าใจผิดหรือหลอกลวงทางการตลาด

ในบางครั้งโปรโมชั่นลดราคาอาจซ่อนเงื่อนไขหรือทำให้เข้าใจผิด เช่น ลด 50% จากราคาบวกเพิ่มทีหลัง

  • กระตุ้นการบริโภคเกินความจำเป็น

ราคาและโปรโมชั่นที่จูงใจ อาจทำให้ซื้อเกินความจำเป็น เสี่ยงต่อปัญหาทางการเงินส่วนบุคคล

สงครามราคาอาจ ให้ประโยชน์แก่ผู้บริโภคในระยะสั้น เช่น ราคาถูก ทางเลือกหลากหลาย แต่ในระยะยาวอาจต้องระวังเรื่องคุณภาพและการแข่งขันที่ไม่ยั่งยืน ซึ่งอาจย้อนกลับมาทำให้ผู้บริโภคเสียเปรียบ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก SpringNews

ไทยสร้างไทย เปลี่ยนโลโก้สู่ สีม่วง ย้ำอุดมการณ์ "การเมืองสุจริต"

14 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ทำไม? กัมพูชา ได้สิทธิ GSP แต่...ส่งออกไม่ปัง-การผลิตยังจำกัด!

15 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความทั่วไปอื่น ๆ

ประกาศฉบับ 12 เตือน ‘ไต้ฝุ่นดานัส’ ขึ้นฝั่งไต้หวัน ลดกำลังเป็นพายุโซนร้อน

ไทยโพสต์

พยากรณ์อากาศวันนี้ 7 กรกฎาคม 2568 ทั่วไทยระวังอันตรายจากฝนตกหนัก

TNN ช่อง16
วิดีโอ

คนขับรถบรรทุกเมาแล้วขับ พุ่งชนตอม่อด่านเก็บเงินบางแก้ว

Thai PBS
วิดีโอ

แห่เที่ยว “ปราสาทตาควาย” จ.สุรินทร์ หลังเป็นพื้นที่อ้างสิทธิ์

Thai PBS

สภาพอากาศวันนี้ กรมอุตุฯ เตือน ฝนถล่มหนัก 39 จังหวัด น้ำท่วมฉับพลัน

Khaosod

สรุปเหตุอาคารก่อสร้างย่านนิมิตใหม่ทรุดตัว พบผู้บาดเจ็บ 12 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิต

ไทยโพสต์

สรุปข่าวประจำวันที่ 7 กรกฎาคม 2568

AEC10NEWs

ไฟไหม้ปริศนา! โรงเรียนในจังหวัดแพร่ ทั้งที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ ยกหม้อออกไปแล้ว

สยามนิวส์

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...