โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

สังคม

รัฐสั่งลุยจัดโซนนิ่ง 24 ล้านไร่ ไม่เหมาะปลูกข้าว ต้นเหตุล้นตลาด-ราคาตก

ฐานเศรษฐกิจ

อัพเดต 15 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 5 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ในส่วนแผนด้านโครงสร้างพื้นฐาน (นํ้า) งบประมาณ 3.9 หมื่นล้านบาท ของสำนักงานทรัพยากรนํ้าแห่งชาติ (สทนช.)เพื่อใช้บริหารการจัดสรรงบประมาณตามพื้นเสี่ยงนํ้าท่วมซํ้าซากและภัยแล้งในพื้นที่ทำการเกษตรนอกชลประทาน ในการบริหารจัดการช่วงฤดูฝน ปี 2568 และโครงการที่สองในการประชุม นบข.มีนายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธาน (26 มิ.ย.68) มีมติเห็นชอบการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2568-69

ซึ่งหนึ่งในมาตรการจะมีโครงการสนับสนุนช่วยเหลือเกษตรกรปรับเปลี่ยนการผลิตในพื้นที่ไม่เหมาะสมในการปลูกข้าว วงเงิน 1,500 ล้านบาท เป้าหมาย พื้นที่ 1 ล้านไร่ เนื่องจากผลผลิตข้าวทั่วโลกเพิ่มขึ้น และคาดว่าชาวนาไทยจะเพิ่มพื้นที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้นเป็น 61.95 ล้านไร่ จากปีก่อน 59.42 ล้านไร่ จาก 2 นโยบายดังกล่าวนี้

“ฐานเศรษฐกิจ” สัมภาษณ์พิเศษ “นายทวีศักดิ์ ธนเดโชพล” อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน (พด.) เพื่อชี้เป้าลดความเสี่ยงภัยพิบัติและแผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุก (Agricultural Map for Adaptive Management) หรือ Agri-Map เพื่อพลิกชีวิตเกษตรกรให้มีรายได้ที่มั่นคงและทำได้จริง

“อีสาน” สูงสุดไม่เหมาะสม 20 ล้านไร่

นายทวีศักดิ์ กล่าวว่า ประเทศไทยมีพื้นที่ทั้งหมด 320 ล้านไร่ เป็นพื้นที่เกษตรประมาณ 147 ล้านไร่ มีพื้นที่ชลประทาน 30 ล้านไร่ โดยอยู่ในความดูแลของกรมชลประทาน 26-27 ล้านไร่ ส่วนที่เหลือได้ถ่ายโอนภารกิจให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดังนั้นเงื่อนไขในการพิจารณาพื้นที่ไม่เหมาะสมสำหรับการปลูกข้าว โดยเฉพาะในเรื่องนํ้าถือเป็นเรื่องสำคัญ ขณะที่ส่วนใหญ่ในพื้นที่ชลประทานก็เป็นพื้นที่ที่เหมาะสมการปลูกข้าวอยู่แล้ว

อย่างไรก็ดี กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้ความสำคัญกับการผลิตสินค้าเกษตรในพื้นที่ไม่เหมาะสม เพราะมีผลทำให้ต้นทุนการผลิตสูง ผลผลิตตํ่า โดยส่งเสริมสนับสนุน และจูงใจให้เกษตรปรับเปลี่ยนการผลิตในพื้นที่ไม่เหมาะสมตามแผนที่เกษตร เพื่อการบริหารจัดการเชิงรุก (Agri-Map) ให้เกษตรกรผลิตสินค้าเกษตรให้สอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่และความต้องการของตลาด บนพื้นฐานของความสมัครใจของเกษตรกร โดยกรมพัฒนาที่ดินดำเนินงานตั้งแต่ปี 2560-2567 ช่วยเกษตรกรปรับเปลี่ยนไปแล้ว 610,268 ไร่ และ ปี 2568 อยู่ระหว่างดำเนินการ 60,000 ไร่

อย่างไรก็ดีหากรัฐบาลมีโครงการช่วยเหลือเกษตรกรปรับเปลี่ยนพื้นที่การปลูกข้าวไม่เหมาะสม มีเป้าหมาย 1 ล้านไร่ โดยช่วยเหลือเกษตรกรไร่ละ 1,500 บาท ทางกรมพัฒนาที่ดินมีข้อมูลและความพร้อมที่จะปฏิบัตินโยบายรัฐบาลทันที พร้อมให้ข้อมูลพื้นที่ไม่เหมาะสมการปลูกข้าวใน 24 ล้านไร่ จังหวัด อำเภอ ตำบล อย่างละเอียดแล้ว นอกจากนี้ยังมีสภาพแหล่งนํ้า สภาพอากาศ และ สภาพดิน ส่วนการปรับเปลี่ยนจะไปปลูกอะไรก็จะต้องไปพิจารณาในพื้นที่ว่าพื้นที่จะปรับเปลี่ยนนั้นขาดแคลนสินค้าอะไร ก็ขึ้นอยู่กับตลาด เช่น หากข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ขาด ก็ไปปลูกข้าวโพด เป็นต้น

“สำหรับพื้นที่ปลูกข้าวไม่เหมาะสม จำแนกเป็นรายภาคสูงสุด อันดับแรก ได้แก่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน) พื้นที่ 20.8 ล้านไร่ รองลงมาภาคเหนือ กว่า 2 ล้านไร่ และลำดับสาม ภาคกลาง 7.2 แสนไร่ เป็นต้น ซึ่งเชื่อว่าหากมีมาตรการจูงใจจากรัฐบาล 1,500 บาทต่อไร่ ในพื้นที่เป้าหมาย 1 ล้านไร่ แล้วถ้ารัฐบาลหาตลาดให้อีกเชื่อว่าจะมีเกษตรกรปรับเปลี่ยนแน่นอน”

เปิดพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม–ฝนทิ้งช่วง ปี68

นายทวีศักดิ์ กล่าวอีกว่า ทุกปีทางกรมจะมีคาดการณ์พื้นที่ที่มีโอกาสเกิดนํ้าท่วมขังในพื้นที่ทำการเกษตร และฝนทิ้งช่วง เป็นการเตือนล่วงหน้า เพื่อใช้ในการจัดทำแผนเตรียมรับสถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้น สามารถวางแผนการจัดการนํ้าในพื้นที่การเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถลดความเสี่ยงที่อาจทำให้ผลผลิตทางการเกษตรเสียหายในช่วงฤดูฝนได้ ซึ่งการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อคาดการณ์นํ้าท่วม ประกอบด้วย ข้อมูลเชิงพื้นที่ ซึ่งเป็นข้อมูลเชิงกายภาพแสดงถึงความเสี่ยงต่อการเกิดน้ำท่วมขัง

อาทิ ความลาดชันของพื้นที่ สภาพพื้นที่ (ลุ่ม ดอน ที่สูง) ความสามารถในการระบายน้ำของดินสิ่งกีดขวางทางน้ำเป็นต้น โดยอ้างอิงข้อมูลพื้นที่ที่เคยเกิดน้ำท่วมขังในอดีต รวมถึง ข้อมูลคาดหมายลักษณะอากาศช่วงฤดูฝนของประเทศไทย สำหรับในปี 2568 มีการคาดการณ์พื้นที่ที่มีโอกาสเกิดน้ำท่วมขังในพื้นที่ทำการเกษตร พื้นที่ กว่า 5.5 ล้านไร่ ซึ่งอยู่ในพื้นที่ 58 จังหวัด 507 อำเภอ 4,402 ตำบล ที่เสี่ยงสูงสุดคือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีพื้นที่เกษตรเสี่ยง 19 จังหวัด พื้นที่ 1.9 ล้านต้องเฝ้าระวัง เป็นต้น

นอกจากนี้พบว่าพื้นที่ทำการเกษตรนอกเขตชลประทานที่อาศัยน้ำฝนเป็นหลัก หลายพื้นที่มีโอกาสประสบปัญหาภัยแล้งจากสภาวะฝนทิ้งช่วงได้ ซึ่งจากการคาดการณ์ ปี 2568 พบว่าพื้นที่ทำการเกษตรที่มีโอกาสประสบความแห้งแล้งจากสภาวะฝนทิ้งช่วงรวม 67 จังหวัด คิดเป็นเนื้อที่ 27.3 ล้านไร่

หน้า 9 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 45 ฉบับที่ 4,111 วันที่ 6 - 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2568

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก ฐานเศรษฐกิจ

ไทยระทึก"ทรัมป์"เปลี่ยนเกมส่งจดหมายแจ้งภาษีนำเข้าแทนการเจรจาทีละประเทศ

30 นาทีที่แล้ว

สทบ.ดันเงินกระตุ้นศก. SML 4,000 ล้าน ลงกองทุนหมู่บ้านฯ 1.4 หมื่นแห่ง

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ 4ก.ค.“อ่อนค่าลงเล็กน้อย” ที่ระดับ 32.43 บาทต่อดอลลาร์

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

เฮ ผลวอลเลย์บอล U19 ไทยชนะแคนาดา ลุ้นเข้ารอบศึกชิงแชมป์โลก 2025

2 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความสังคมอื่นๆ

สุดเวทนา น้องหมาหัวติดโหล อดอาหารมา 3 วันเต็ม โชคยังดีมีคนช่วย

สยามนิวส์

ขอแรงประชาชนร่วมลงชื่อสนับสนุนทำประชามติเอา/ไม่เอา กาสิNO

The Publisher

ไทยระทึก"ทรัมป์"เปลี่ยนเกมส่งจดหมายแจ้งภาษีนำเข้าแทนการเจรจาทีละประเทศ

ฐานเศรษฐกิจ

เปิ้ล นาคร เซอร์ไพรส์คุณป้าป่วยมะเร็ง ทำชาวเน็ตน้ำตาซึมทั้งโซเซียล

สยามนิวส์

อบอุ่นหัวใจ หลวงพ่อ พานักศึกษา เข้ารั้วมหาวิทยาลัย ปี 1 หลังอยู่วัดมา 12 ปี

MATICHON ONLINE

ไทยพาณิชย์ ประกาศเตือนด่วน ผู้ใช้แอปธนาคาร ก่อนถูกระงับ

สยามนิวส์

สทบ.ดันเงินกระตุ้นศก. SML 4,000 ล้าน ลงกองทุนหมู่บ้านฯ 1.4 หมื่นแห่ง

ฐานเศรษฐกิจ
วิดีโอ

เปิดเบื้องหลังความรวย? "จอนนี่ มือปราบ" ไม่แปลกใจทำไมรวยขนาดนี้?

ThaiNews - ไทยนิวส์ออนไลน์

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...