โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

อสังหาฯขานรับกระตุ้น’ติดโซล่าร์บ้าน’ รัฐบาลจัดให้ลดหย่อนภาษีไม่เกิน 2 แสนบาท

Manager Online

เผยแพร่ 1 วันที่แล้ว • MGR Online

ตามที่ คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติมาตรการลดหย่อนภาษีสำหรับการติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปในที่อยู่อาศัย สูงสุดไม่เกิน 2 แสนบาท แต่มาตรการยังไม่มีผลบังคับใช้จนกว่าจะมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา โดยผู้ขอใช้สิทธิต้องเป็นผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทที่ 1 (บ้านอยู่อาศัย) และเป็นผู้มีเงินได้ตามมาตรา 40 (1)–(8) ของประมวลรัษฎากร ทั้งนี้ระบบที่ติดตั้งต้องเป็นแบบ On-grid ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อกับโครงข่ายของการไฟฟ้า โดยกำหนดขนาดไม่เกิน 10 กิโลวัตต์ และต้องมีเอกสารประกอบการติดตั้งครบถ้วน มาตรการดังกล่าวมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมให้เกิดการลงทุนในพลังงานแสงอาทิตย์จากภาคครัวเรือน ท่ามกลางแนวโน้มค่าไฟฟ้าที่สูงขึ้นและความตื่นตัวของประชาชนต่อพลังงานสะอาด อย่างไรก็ตาม มาตรการยังไม่มีผลบังคับใช้จนกว่าจะมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งขณะนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังอยู่ระหว่างจัดทำรายละเอียด และยังไม่มีกำหนดวันที่แน่ชัดในการประกาศใช้

โดย SCB EIC ระบุว่า ประเทศไทยมีศักยภาพสูงในการผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์รูฟท็อปภาคครัวเรือน โดยกระทรวงพลังงานระบุว่าในปี 2023 ศักยภาพรวมอยู่ที่ราว 121,000 เมกะวัตต์ ขณะที่ปริมาณการติดตั้งสะสมในปี 2022 ยังอยู่เพียง 1,893 เมกะวัตต์ หรือประมาณ 1.6% ของศักยภาพทั้งหมด สะท้อนว่าการติดตั้งยังสามารถเติบโตได้อีกมาก ซึ่งผลสำรวจความคิดเห็นผู้บริโภคของ SCB EIC ในช่วงต้นปี 2025 พบว่า 80% ของผู้ตอบแบบสอบถาม 2,257 ราย สนใจติดตั้งโซลาร์รูฟท็อป แต่ยังไม่ตัดสินใจ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากต้นทุนในการติดตั้งที่อยู่ในระดับสูง มาตรการลดหย่อนภาษี 200,000 บาท (รวม VAT)

กำหนดเงื่อนไขว่า ผู้ใช้สิทธิต้องเป็นผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทที่ 1 (บ้านอยู่อาศัย) และเป็นผู้มีเงินได้ตามมาตรา 40 (1) – (8) ของประมวลรัษฎากร โดยไม่รวมคณะบุคคลหรือห้างหุ้นส่วนสามัญ ทั้งนี้ ชื่อผู้ขอใช้สิทธิต้องตรงกับชื่อเจ้าของมิเตอร์ไฟฟ้า และใช้สิทธิได้เพียง 1 คน ต่อ 1 มิเตอร์ ต่อ 1 ระบบ เท่านั้น ระบบที่ติดตั้งต้องเป็นแบบ On-grid ซึ่งเชื่อมต่อกับโครงข่ายของการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายมีกำลังการผลิตติดตั้งไม่เกิน 10 กิโลวัตต์ และดำเนินการติดตั้งพร้อมขออนุญาตอย่างถูกต้อง โดยต้องมีใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบ (Tax invoice) และเอกสารยืนยันการเชื่อมต่อระบบไฟฟ้า มาตรการนี้จะมีผลบังคับใช้ นับตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2570 โดยในปัจจุบันหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) กรมสรรพากร และการไฟฟ้าฯ กาลังอยู่ในช่วงร่างประกาศและยังไม่มีกาหนดการที่แน่ชัดว่าจะประกาศในช่วงเวลาใด

มาตรการลดหย่อนภาษี จะช่วยกระตุ้นให้ผู้บริโภคหันมาติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปมากขึ้น เนื่องจากจะช่วยลดภาระต้นทุนในการติดตั้ง ประเทศไทยมีศักยภาพสูงในการผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์รูฟท็อปภาคครัวเรือน โดยกระทรวงพลังงานประเมินว่าในปี 2566 ศักยภาพรวมอยู่ที่ราว 121,000 เมกะวัตต์ ขณะที่ปริมาณการติดตั้งสะสมในปี 2565 ยังอยู่เพียง 1,893 เมกะวัตต์ หรือประมาณ 1.6% ของศักยภาพทั้งหมด สะท้อนว่าการติดตั้งยังสามารถเติบโตได้อีกมาก

ซึ่งจากผลสำรวจความคิดเห็นผู้บริโภคจานวน 2,257 รายในช่วงต้นปี 2568 ของ SCB EIC พบว่า 80% ของผู้ตอบแบบสอบถามสนใจติดตั้งโซลาร์รูฟท็อป แต่ยังไม่ตัดสินใจ โดยส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากต้นทุนในการติดตั้งที่อยู่ในระดับสูง โดยคาดว่ามาตรการลดหย่อนภาษีที่ระดับ 200,000 บาท จะช่วยให้ผู้บริโภคตัดสินใจได้ง่ายขึ้น เนื่องจากจะช่วยลดภาระภาษีได้ราว 6,100 - 50,000 บาท ขึ้นอยู่กับฐานภาษีของแต่ละบุคคล นอกจากนี้ มาตรการลดหย่อนภาษียังเป็น “สัญญาณเชิงบวก” จากภาครัฐว่ารัฐบาลจริงจังกับการสนับสนุนพลังงานสะอาดจากภาคประชาชน และอาจต่อยอดไปสู่ มาตรการส่งเสริมอื่น ๆ ในอนาคต เช่น การให้สิทธิเข้าร่วมโครงการผลิตไฟฟ้าเพื่อขายกลับเข้าระบบได้ง่ายขึ้น เป็นต้น

แม้มาตรการลดหย่อนภาษี จะเป็นหนึ่งในแรงจูงใจที่ตรงใจผู้บริโภค แต่อาจยังไม่ใช่สิ่งที่ประชาชนต้องการมากที่สุดจากภาครัฐ โดยจากผลการสำรวจความคิดเห็นผู้บริโภคของ SCB EIC เกี่ยวกับนโยบายภาครัฐที่จะมีส่วนช่วยสนับสนุนการติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปที่ผู้บริโภคให้ความสำคัญ พบว่า “การให้เงินอุดหนุนการติดตั้ง” เป็นสิ่งที่ผู้บริโภคต้องการการสนับสนุนจากภาครัฐมากที่สุด (26% ของผู้ตอบแบบสำรวจ) ตามมาด้วย การให้สิทธิในการลดหย่อนภาษีจากค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง (20%)

นอกจากนี้ ผู้บริโภคยังต้องการให้ภาครัฐสนับสนุนในอีกหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นการปลดล็อกให้สามารถขายไฟฟ้าได้เสรี (15%) หรือการเสนอขายระบบโซลาร์รูฟท็อปที่ถูกกว่าตลาด (14%) หรือแม้แต่การที่ภาครัฐรับซื้อไฟฟ้าส่วนเกินในราคาเดียวกับราคาขายปลีกไฟฟ้า (13%) และการผ่อนปรนให้ติดตั้งได้โดยไม่ต้องขออนุญาต (12%) สะท้อนให้เห็นว่า ผู้บริโภคต้องการ “แพ็กเกจนโยบาย” ที่ครบถ้วน ทั้งในมิติของต้นทุนการเข้าถึงระบบ และสิทธิประโยชน์หลังการติดตั้ง

นอกจากนี้ มาตรการลดหย่อนภาษีอย่างเดียวยังไม่เพียงพอ เนื่องจากยังมีอุปสรรคสำคัญที่ส่งผลต่อการตัดสินใจติดตั้ง โดยจากผลสำรวจของ SCB EIC พบว่า ผู้บริโภคยังเผชิญอุปสรรคสำคัญ 3 ด้านในการติดตั้งโซลาร์รูฟท็อป ได้แก่

1) การตรวจสอบความน่าเชื่อถือและราคาที่เหมาะสมของผู้ให้บริการติดตั้ง ซึ่งประชาชนจำนวนมากยังไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลที่ชัดเจนและเปรียบเทียบได้

2) ข้อจำกัดในการจัดหาเงินส่วนตัว โดยกว่า 50% ของผู้ติดตั้งใช้เงินสดและการจัดหาเงินส่วนตัวเพื่อจ่ายเองซึ่งเป็นอุปสรรคที่สำคัญที่สุดในการหาแหล่งเงินทุนในการติดตั้งโซลาร์รูฟท็อป ซึ่งสะท้อนความต้องการแหล่งเงินทุนที่เข้าถึงง่ายของผู้บริโภค

และ 3) ความยุ่งยากของกระบวนการขออนุญาตจากภาครัฐ ทั้งในด้านการติดต่อหน่วยงาน, การเตรียมเอกสาร และการนัดตรวจสอบสถานที่ติดตั้ง ซึ่งยังเป็นอุปสรรคต่อการตัดสินใจของผู้บริโภค

SCB EIC เสนอ 3 แนวทางที่จะเป็นมาตรการเสริมสำหรับภาครัฐ ในการสนับสนุนการติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปเพิ่มเติมในระยะสั้น ดังนี้ 1) เพิ่มกลไกการตรวจสอบและอนุมัติคุณภาพของอุปกรณ์และผู้ให้บริการติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปภาคสมัครใจ (Voluntary certification program) เพื่อให้ผู้บริโภคที่ต้องการติดตั้งโซลาร์รูฟท็อป สามารถเลือกผู้ให้บริการจากรายชื่อที่ภาครัฐตรวจสอบแล้วว่าผ่านมาตรฐาน ทั้งในด้านคุณภาพและราคาได้

2) แบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในการติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปภาคประชาชน อาทิเช่น การให้เงินอุดหนุนการติดตั้งและสนับสนุนการให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำโดยอาศัยความร่วมมือของสถาบันการเงิน ซึ่งจะสอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค และช่วยลดอุปสรรคในการหาเงินทุน

3) ลดความยุ่งยากของขั้นตอนการขออนุญาต โดยจัดตั้งระบบ One-stop service สำหรับการติดตั้งในที่อยู่อาศัย นอกจากนี้ ในระยะยาว ภาครัฐยังสามารถพิจารณาออกมาตรการเสริมเพิ่มเติม เช่น การเปิดเสรีการขายไฟฟ้าและการรับซื้อไฟฟ้าส่วนเกินในราคาขายปลีก (Net-metering) เพื่อเร่งการขยายตัวของพลังงานแสงอาทิตย์ในระดับครัวเรือนอย่างยั่งยืน

ขจัดอุปสรรคในการขออนุญาตและการเตรียมเอกสารที่ง่ายขึ้น อาทิ การสร้างระบบ One-stop services สำหรับผู้ที่ต้องการติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปสำหรับบ้านที่อยู่อาศัย ซึ่งจะช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายและระยะเวลาในการขออนุญาตติดตั้งของประชาชน และผู้ให้บริการติดตั้งได้ ในระยะยาวภาครัฐอาจพิจารณามาตรการอื่น ๆ เพิ่มเติมที่จะช่วยตอบโจทย์ความต้องการผู้บริโภค เช่น การปลดล็อกให้สามารถขายไฟฟ้าได้เสรี และการรับซื้อไฟฟ้าส่วนเกินในราคาขา ปลีก (Net-metering) เป็นต้น

ขณะเดียวกัน ภาคเอกชนก็สามารถมีส่วนในการผลักดัน การติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปผ่านการดำเนินการใน 3 เรื่อง ได้แก่ 1.) ผู้ให้บริการติดตั้งควรเน้นสร้างความนาเชื่อถือ เพื่อปิดช่องว่างของอุปสรรคสำคัญในการเลือกผู้ให้บริการของผู้บริโภค โดยผู้ให้บริการติดตั้งจะต้องมีหลักฐานแสดงให้เห็นถึงความเชี่ยวชาญ ความน่าเชื่อถือในด้านคุณภาพของการให้บริการ มีการเสนอรายละเอียดผลิตภัณฑ์และราคาที่ชัดเจน มีการรับประกันสินค้าและมีการให้บริการหลังการขาย

2.) ผู้ให้บริการติดตั้งควรร่วมมือกับสถาบันการเงินนำเสนอแหล่งเงินทุนเพื่อเป็นทางเลือกให้กับผู้บริโภค เนื่องจากผลสำรวจพบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่ใช้เงินสดในการติดตั้ง และเผชิญอุปสรรคในการจัดหาเงินเพื่อจ่ายค่าติดตั้ง ดังนั้น สถาบันการเงินและผู้ให้บริการติดตั้ง ควรร่วมกันพัฒนาทางเลือกทางการเงิน ที่เข้าถึงง่ายสำหรับผู้บริโภค เช่น สินเชื่อเช่าซื้อดอกเบี้ยต่ำ เพื่อติดตั้งโซลาร์รูฟท็อป เป็นต้น

3) ผู้ให้บริการติดตั้งสามารถนำเสนอบริการดำเนินการขออนุญาตติดตั้งแทนผู้บริโภคเพื่ออำนวยความสะดวกให้ลูกค้า เนื่องจากผู้บริโภคจำนวนมากยังเผชิญปัญหาในการขออนุญาตติดตั้งเอง นอกจากนี้ ผู้ให้บริการสามารถเสนอส่วนลดราคาอุปกรณ์และค่าติดตั้ง เพื่อกระตุ้นให้ผู้บริโภคหันมาติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปมากขึ้น เนื่องจากผลการสำรวจผู้บริโภคของ SCB EIC พบว่า การได้รับส่วนลดเป็นหนึ่งในปัจจัยเสริมสำคัญที่จะทำให้ผู้บริโภคหันมาสนใจติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปมากขึ้น

หากทุกภาคส่วนทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ ประเทศไทยจะสามารถปลดล็อกศักยภาพพลังงานแสงอาทิตย์ที่กระจายอยู่ทั่วทุกหลังคาบ้าน และเดินหน้าสู่ระบบพลังงานสะอาดอย่างแท้จริง

ขณะที่ในภาคธุรกิจอสังหาฯ ต่างขาดรับกับแนวทางของรัฐบาล ในการส่งเสริมให้ภาคที่อยู่อาศัย มีโอกาสเข้าถึงพลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งก่อนหน้านี้ บริษัทอสังหาฯหลายแห่ง ได้มีการรุกตลาดที่อยู่อาศัยที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เป็นบ้านประหยัดพลังงาน ซึ่งบริษัท เสนา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) อสังหาฯรายแรกที่นำโซลาร์เซลล์มาใช้ในโครงการบ้านและคอนโด เพื่อช่วยลดค่าไฟฟ้า ถัดมา SCG Solar Roof Solutions: เป็นอีกหนึ่งบริษัทที่ให้บริการติดตั้งโซลาร์รูฟท็อป และยังมีบริษัทอื่นๆ อีกหลายบริษัทที่ให้ข้อมูลและข้อเสนอพิเศษเกี่ยวกับโซลาร์รูฟท็อป เช่น บมจ.พฤกษา เรียลเอสเตา จำกัด มุ่งเน้นการพัฒนาบ้านคาร์บอนต่ำและอัดงบประมาณเพื่อติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปในโครงการต่างๆ หรือ บมจ.ศุภาลัย จำกัด ร่วมมือกับพันธมิตรด้านเทคโนโลยีพลังงานสะอาด เพื่อติดตั้งโซลาร์เซลล์ในบ้านพร้อมขายทั่วประเทศ โดยแนวโน้มในอนาคตแล้ว การติดตั้งโซลาร์เซลล์ในโครงการอสังหาฯเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากเป็นเทคโนโลยีที่ตอบโจทย์ทั้งผู้บริโภคและผู้ประกอบการ นอกจากนี้ ยังมีบริษัทอสังหาริมทรัพย์อื่นๆ ที่เริ่มหันมาให้ความสำคัญกับการใช้พลังงานสะอาดและเทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น.

website : mgronline.com
facebook : MGRonlineLive
twitter : @MGROnlineLive
instagram : mgronline
line : MGROnline
youtube : MGR Online VDO

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก Manager Online

ส.อ.ท. เร่งรวบรวมข้อมูล 47 กลุ่มอุตฯ จ่อยื่นคลังเจรจาลดภาษีศุลกากรตอบโต้

53 นาทีที่แล้ว

"คิมซูฮยอน" เผชิญมรสุมชีวิต ขายคอนโดหรู กว่า 8 พันล้านวอน ท่ามกลางคดีฟ้องร้องโฆษณา-หมิ่นประมาทที่อาจพุ่งเกิน 1 หมื่นล้านวอน

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ทำตัวเองแท้ๆ!สถาบันดังชี้ยุโรปตะวันตกกำลังพ่ายแพ้ การแข่งขันทางเศรษฐกิจกับจีน-สหรัฐฯ

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

สุดยอด “โซลาร์แลนด์” ขุมพลัง AWS สิงคโปร์ (Cyber Weekend)

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความธุรกิจ-เศรษฐกิจอื่น ๆ

ราคาทองวันนี้ 12 กรกฎาคม 2568

สยามนิวส์

ราคาทองวันนี้ 12 ก.ค. 68 ครั้งที่ 1 เพิ่มขึ้น 100 บาท ทองรูปพรรณขายออกบาทละ 52,250 บาท

sanook.com

"อพท."นำชุมชนท่องเที่ยวที่มีศักยภาพร่วมงานจริงใจมาหา...นคร ครั้งที่ 12 ของกลุ่มเซ็นทรัลจนถึง 13 ก.ค.ที่เซ็นทรัลเวิลด์

สยามรัฐ

ส.อ.ท. เร่งรวบรวมข้อมูล 47 กลุ่มอุตฯ จ่อยื่นคลังเจรจาลดภาษีศุลกากรตอบโต้

Manager Online

หวั่นเสียโอกาส 47 อุตฯ 11 คลัสเตอร์ยื่นคลังเจรจาลดภาษีสหรัฐฯ

Thai PBS

‘เอกนัฏ’ สั่งกนอ. ถก 38 ซีอีโอเจ้าของนิคมอุตฯตัวจริง ขีดเส้น 1 สัปดาห์ต้องจบ

เดลินิวส์

หุ้นดาวโจนส์วันนี้ 12 กรกฎาคม 2568 ปิดลบ 279 จุด กังวลนโยบายภาษีทรัมป์

TNN ช่อง16

ราคาน้ำมันวันนี้ 12 ก.ค. 68

News In Thailand

ข่าวและบทความยอดนิยม

ESTAR ระเบิดฟอร์ม รุกตลาดลักชัวรี่อสังหาฯ ผุด 4 อภิโปรเจกต์ 3500 ลบ.ปักธงกลางกทม.-ระยอง ไม่เล่นตามเกมเดิม

Manager Online

ธปท.แก้”หนี้ครัวเรือน”แบบครบวงจร ปรับ“คุณสู้ เราช่วย” เฟส 2 เดินหน้าช่วยลูกหนี้ที่ไม่ยอมแพ้อย่างยั่งยืน

Manager Online

“ปรีดา เรียลเอสเตส” สร้างชื่อ โครงการ “โซลเลซ พหลฯ–ประดิพัทธ์” คว้า 2 รางวัลระดับ 5 ดาว

Manager Online
ดูเพิ่ม
Loading...