โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

สุขภาพ

‘ดอกไม้กินได้’ ตรวจพบสารเคมีตกค้างเกือบ 60 % โดยเฉพาะในดอกยอดฮิต

กรุงเทพธุรกิจ

อัพเดต 12 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 5 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ดอกไม้ ไม่ได้เป็นเพียงสัญลักษณ์ของความสวยงาม กลิ่นหอม หรือสื่อแทนความรู้สึกอีกต่อไป แต่ในปัจจุบัน ดอกไม้หลายชนิดได้ก้าวข้ามบทบาทเดิมๆ เข้าสู่โลกของอาหาร กลายเป็น "ดอกไม้กินได้" (Edible Flowers) ที่เติมเต็มทั้งรสชาติ สีสัน และคุณประโยชน์ทางโภชนาการให้กับจานอาหารหลากหลายรูปแบบ จากเมนูคาวไปจนถึงของหวาน เครื่องดื่ม และแม้กระทั่งศิลปะบนจาน

แนวโน้มการเติบโตตลาดดอกไม้กินได้

รายงานวิจัยตลาดทั่วโลกชี้ให้เห็นว่าตลาดดอกไม้กินได้กำลังเติบโตอย่างต่อเนื่องด้วยอัตรา (CAGR) ที่สูงกว่า 10% สะท้อนแนวโน้มที่คล้ายกันในประเทศไทยที่กระแสอาหารเพื่อสุขภาพและความสวยงามบนจานได้รับความนิยม

และผู้ประกอบการบางรายที่สามารถนำดอกไม้กินได้เข้าสู่ตลาด Modern Trade และมีแผนที่จะส่งออกไปยังต่างประเทศ สะท้อนถึงการเติบโตเชิงพาณิชย์และมูลค่าที่เพิ่มขึ้น แม้จะไม่มีตัวเลขมูลค่าตลาดดอกไม้กินได้ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ

แต่จากข้อมูลและแนวโน้มต่างๆ ชี้ให้เห็นว่า ตลาดนี้เป็นตลาดเฉพาะ (niche market) ที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว มีศักยภาพสูงในการสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรและผู้ประกอบการ และได้รับความสนใจจากทั้งภาครัฐและภาคเอกชนในการพัฒนาต่อยอด

ดอกไม้กินได้พบสารเคมีตกค้าง

เมื่อได้รับความนิยมบริโภคมากขึ้น จำเป็นอย่างยิ่งจะต้องมีการตรวจสอบการตกค้างของสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บหรืออันตรายกับผู้บริโภค เช่นเดียวกับที่มีการเฝ้าระวังในผักและผลไม้

ในการประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ ครั้งที่ 33 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ภายใต้แนวคิด Transforming Healthcare through Modern Medical Sciences ปฏิรูปการดูแลสุขภาพผ่านวิทยาศาสตร์การแพทย์สมัยใหม่ ที่ศูนย์การประชุมอิมแพ็ค ฟอรั่ม เมืองทองธานีเมื่อเร็วๆนี้

มีการนำเสนอเรื่อง “สำรวจติดตามสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชตกค้างในพืชดอกและดอกไม้ที่บริโภคได้ในประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2567” ของรัติยากร ศรีโคตร สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ , พรรคพล ชะพลพรรค ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 1/1 เชียงราย, ศศิธร ศุกรีฑา ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 9 นครราชสีมา, อาสีนะ ยามาเจริญ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 12 สงขลา, อัญชุลี เพ็งสุข ศูนย์วิทยาศาสตรัการแพทย์ที่ 6 ชลบุรี และคณะ

ระบุว่า การเฝ้าระวังการตกค้างของสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชในผักและผลไม้ของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ มีการดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน แต่ยังไม่มีข้อมูลการตกค้างในพืชดอกและดอกไม้สำหรับบริโภค (edible Flowers) ซึ่งอาจมีการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ

เพื่อให้ทราบสถานการณ์การตกค้างและสื่อสารความเสี่ยงให้กับผู้บริโภค จึงได้จัดทำโครงการบูรณาการระหว่างสำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร และ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ 15 แห่ง โดยมีขอบข่ายการตรวจวิเคราะห์สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช 132 ชนิด พาราควอต และไกลโฟเซต

พบในดอกมะลิมากที่สุด

เก็บตัวอย่างจากแหล่งกระจายสินค้า/แหล่งปลูก จาก 13 เขตสุขภาพทั่วทุกภาคในประเทศรวมทั้งสิ้น 192 ตัวอย่าง ผลการตรวจวิเคราะห์ไม่พบการตกค้างจำนวน 77 ตัวอย่าง คิดเป็น 40.1 % และพบสารตกค้าง จำนวน 115 ตัวอย่าง คิดเป็น 59.9 % ได้แก่

  • ดอกมะลิ 46 ตัวอย่าง คิดเป็น 24 %
  • ดอกกุหลาบ 43 ตัวอย่าง คิดเป็น 22.4 %
  • ดอกแค 16 ตัวอย่าง คิดเป็น 8.3 %
  • ดอกโสน 8 ตัวอย่าง คิดเป็น 4.2 %
  • และดอกขจร 2 ตัวอย่าง คิดเป็น 1 %

พบสาร 33 ชนิดจัดเป็นอาหารไม่บริสุทธิ์

ตรวจพบสารทั้งสิ้น 33 ชนิด ปริมาณในช่วง 0.01-6.20 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตัวอย่างที่ตรวจพบจัดเป็นอาหารไม่บริสุทธิ์ตาม พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ. 2522

ดังนั้น ภาครัฐควรมีแผนในการกำกับดูแล เฝ้าระวัง และตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน โดยการกำหนดมาตรฐานปริมาณสารพิษตกค้างสูงสุด (Maximum Residue Limit) เพิ่มเติม และมีการเฝ้าระวังอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องจะทำให้เห็นแนวโน้มสถานการณ์ของประเทศไทย

เขต 9 พบในกุหลาบมากที่สุด

เฉพาะในส่วน “การเฝ้าระวังสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืซตกค้างในพืชดอกและดอกไม้ที่บริโภคได้ ในเขตสุขภาพที่ 9” ดำเนินการโดย ผุสรัตน์ เสตพันธ์ และศศิธร สุกรีฑา ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 9 นครราชสีมา นำเสนอว่า ในปีงบประมาณ 2567 ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 9 นครราชสีมา ได้เก็บตัวอย่างพืชดอกและดอกไม้ที่บริโภคได้ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ 4 จังหวัด จำนวน 18 ตัวอย่าง ได้แก่ ดอกกุหลาบ ดอกแค ดอกโสน และดอกขจร จำนวน 12, 3, 2 และ 1 ตัวอย่าง ตามลำดับ เพื่อตรวจหาสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช 132 ชนิด

ผลการตรวจวิเคราะห์เมื่อเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 387 พ.ศ. 2560 จำแนกตามชนิดของตัวอย่างทั้ง 4 ชนิด คือ

  • ดอกกุหลาบ 12 ตัวอย่าง ตรวจพบ 9 ตัวอย่าง คิดเป็น 75 %
  • ดอกแค 3 ตัวอย่าง ตรวจพบ 1 ตัวอย่าง คิดเป็น 33.3 %
  • และตรวจไม่พบในดอกขจรและดอกโสน

สำหรับชนิดของสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่ตรวจพบในกุหลาบมากที่สุด 3 ลำดับแรก คือคลอร์ฟีนาเพอร์ (chlorfenapyr) คาร์เบนดาซิม (carbendazim) คาร์บาริล (carbaryl) และตรวจพบการแพร่กระจายของสาร อีไทออน( ethion) ,ฟิโพรนิล (fipronil) และไตรอะโซฟอส (triazophos) ชนิดละ 1 ตัวอย่าง ส่วนดอกแคตรวจพบสาร คาร์โบฟูแรน (carbofuran) เพียงชนิดเดียว

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก กรุงเทพธุรกิจ

‘ทักษิณ’ ยัน เจรจาภาษีสหรัฐออกมาดี ยัน ไร้เรื่องความมั่นคง-ฐานทัพเรือ

26 นาทีที่แล้ว

'ทักษิณ' แปลกใจ ไม่ตบรางวัลหมอรักษาคนหาย หลังแพทย์ใหญ่ร่ำไห้กลางศาล

31 นาทีที่แล้ว

‘ทักษิณ’ ขยาดคุย ‘ฮุนเซน’ หวั่น ชี้ หากระเบิดใหม่ของกัมพูชา ต้องประท้วง

37 นาทีที่แล้ว

‘ทักษิณ’ สอน มารยาท 'อนุทิน'เตรียมช่วยหาเสียงเลือกตั้งซ่อมศรีสะเกษ

43 นาทีที่แล้ว

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความสุขภาพอื่น ๆ

ชัยชนะ ดันงบ 30 ล้าน สร้างตึกผู้ป่วยใน รพ.นบพิตำ รับพื้นที่เศรษฐกิจ

ฐานเศรษฐกิจ

อัตราเด็กเกิดใหม่ตกต่อเนื่อง สธ.เร่งตั้งคลินิกส่งเสริมการมีบุตร 901 แห่ง

ฐานเศรษฐกิจ

6 กลุ่มอาการป่วยทางจิต สัญญาณใจบอกไม่โอเค อย่าปล่อยเบลอ!

กรุงเทพธุรกิจ

เสมา 1 พร้อม สพฐ. ลงพื้นที่นครศรีธรรมราช แก้หนี้ครู ปรับระบบการศึกษา

กรุงเทพธุรกิจ

สมศักดิ์ เปิดมหกรรมสุขภาพดี ชวนคนภูเก็ต 'นับคาร์บ-ออกกำลังกาย'

ฐานเศรษฐกิจ

'Cosdent' ชูนวัตกรรม 'Tooth Age Scan' No.1 Brand Thailand 2025

กรุงเทพธุรกิจ

น่าห่วง ผู้สูงอายุเสียชีวิตจากอุบัติเหตุพุ่งเกือบ 52% ในรอบ 10 ปี

ฐานเศรษฐกิจ

สปสช. -อปท. จ้างคนดูแลผู้มีภาวะพึ่งพิง กระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก

ฐานเศรษฐกิจ

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...