โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

การเมือง

“มาริษ” ย้ำไทยยึดช่องทางการทูตแก้ปัญหาชายแดนปกป้องอธิปไตย

INN News

อัพเดต 3 กรกฎาคม 2568 เวลา 17.04 น. • เผยแพร่ 4 ชั่วโมงที่ผ่านมา • INN News

"มาริษ" ย้ำไทยยึดช่องทางการทูตแก้ปัญหาชายแดน ปกป้องอธิปไตยเต็มที่ ไม่ตอบโต้กัมพูชาผ่านโซเชียล

นายมาริษ เสงี่ยมพงษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวถึงสถานการณ์ชายแดนไทย–กัมพูชา ยืนยันว่า ฝ่ายไทยยึดแนวทางการทูต ไม่ตอบโต้ผ่านโซเชียล พร้อมชี้แจงประชาคมโลกต่อเนื่อง ขอประชาชนมั่นใจว่ารัฐบาลจะปกป้องอธิปไตยแน่นอน

ทั้งนี้ จุดยืนของฝ่ายไทย สถานการณ์ตึงเครียดลดลงแล้ว ไม่มีการปะทะ แม้ยังคงมีกำลังในพื้นที่ชายแดน เพราะไทยต้องการลดระดับกำลังทหารให้เหมือนช่วงปี 2567 เพื่อความปลอดภัยของประชาชน

ส่วนการไม่ตอบโต้ผ่านโซเชียลกระทรวงการต่างประเทศ จะใช้เฉพาะช่องทางการทูตอย่างเป็นทางการ ในการสื่อสารกับกัมพูชาพร้อมมองว่า การตอบโต้บนโซเชียลอาจยิ่ง สร้างความเข้าใจผิด และกระทบการเจรจา ซึ่งข้อเรียกร้องให้ “ดุดันกลับ” เป็นสิ่งที่กระทรวงขอไม่ทำตาม เพราะกระทบต่อภาพลักษณ์ประเทศในเวทีโลก

สำหรับการชี้แจงต่อประชาคมโลกมีการสื่อสารต่อเนื่องทั้งในระดับทวิภาคี และกับประเทศมหาอำนาจ ถึงจุดยืนของไทย นายมาริษ ย้ำว่า การกล่าวหาว่าไทยอ่อนการทูตไม่เป็นความจริง จึงขอให้ประชาชนใช้วิจารณญาณต่อข้อมูลในโซเชียล

ขณะเดียวกัน นายเบญจมินทร์ สุกาญจนัจที อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ ขอปฏิเสธข้อกล่าวหา "ไทยเสียเปรียบ" ใน MOU43 โดยระบุว่า MOU43 ยังมีผลบังคับใช้ และเป็น "กรอบการเจรจา" ไม่ได้ทำให้ไทยเสียดินแดน ซึ่งผลการประชุม JBC ล่าสุด มีความคืบหน้า เช่น ทบทวนหลักเขตแดน 73 จุด การใช้โดรนทำแผนที่ร่วมอย่างแม่นยำ การเห็นพ้องไม่เปลี่ยนสภาพพื้นที่ในช่วงการเจรจา รวมถึงแผนที่ร่วมจะต้องผ่าน ครม. และรัฐสภาพิจารณา อย่างไรก็ตาม ปฏิเสธแผนที่
1:200,000 และยืนยันว่า ไทยไม่เคยยอมรับแผนที่ฝ่ายกัมพูชา โดยไม่มีเรื่องนี้ในวาระการประชุม JBC พร้อมมองว่าเป็น เทคนิคของฝ่ายหนึ่ง เพื่อสร้างความเข้าใจผิดในหมู่ประชาชน

สำหรับกรณีศาลโลก–ความเห็นผู้นำกัมพูชานั้น ไทยไม่ยอมรับเขตอำนาจศาลโลกมาตั้งแต่ปี 2503 ดังนั้น ศาลโลกไม่มีสิทธิพิจารณาคดีนี้ ส่วนผู้นำกัมพูชาที่แสดงความเห็น "อยากเปลี่ยนผู้นำไทย" ผ่านโซเชียล ถือเป็นการแทรกแซงกิจการภายใน ขัดต่อกฎบัตรอาเซียน–กฎหมายระหว่างประเทศ

ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่

Facebook: https://www.facebook.com/innnews.co.th

Twitter : https://twitter.com/innnews

Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN

TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news

LINE Official Account : @innnews

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก INN News

“แปซิฟิคโพล”คนไทยส่วนใหญ่ เชื่อมั่นในตัวนายกฯ

23 นาทีที่แล้ว

มติ ครม.นัดพิเศษ มอบ “ภูมิธรรม” รักษาการนายกฯ

27 นาทีที่แล้ว

บิ๊กเต่า ยัน ไม่ได้ปล่อยทิ้ง เร่งสอบคดี เจ้าคุณอาชว์

31 นาทีที่แล้ว

คืบ !ชายกระโดดอาคารเรียน เครียดปัญหาส่วนตัว

31 นาทีที่แล้ว

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความการเมืองอื่น ๆ

ข่าวและบทความยอดนิยม