โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ภูมิภาค

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงานประชุมวิชาการระดับชาติ “ประชากรและสังคม 2568” ครั้งที่ 19

สยามรัฐ

อัพเดต 7 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 7 ชั่วโมงที่ผ่านมา

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัย มหิดล จัดประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 19 เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2568 เวลา 08.30 - 15.45 น. ภายใต้หัวข้อ “วิจัยประชากรและสังคมสู่ Real-World Impacts (Real-World Impacts of Population and Social Research)” เพื่อเผยแพร่งาน วิจัยที่ขับเคลื่อนสังคมไทยด้วยข้อมูลและนวัตกรรมที่ตอบโจทย์โลกจริง

ศาสตราจารย์ นพ.ปิยะมิตร ศรีธรา อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเวทีประชุมด้วยปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ “มหาวิทยาลัยกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม (Universities as Catalysts for Social Change)” โดยชี้ให้เห็นถึงบทบาทสำคัญของมหาวิทยาลัยในฐานะผู้นำทางความรู้ ที่ต้องขับเคลื่อนงานวิจัยให้เกิดผลกระทบในโลกแห่งความเป็นจริง

อธิการบดีเน้นว่า “งานวิจัยที่สร้าง Real-World Impact” ต้องมีพื้นฐานจากข้อมูลที่แม่นยำ เชื่อมโยงกับการออกแบบนโยบายสาธารณะ และตอบสนองต่อประเด็นสำคัญระดับโลก อาทิ การเป็นสังคมสูงวัย การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากเทคโนโลยีดิจิทัล ผลกระทบทางภูมิรัฐศาสตร์ และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อให้มหาวิทยาลัยมีบทบาทเชิงรุกมากขึ้น เสนอให้ขับเคลื่อนผ่าน การทำงานแบบไร้กำแพง ข้ามสาขาวิชาและหน่วยงาน พร้อมส่งเสริมพื้นที่วิจัยเชิงยุทธศาสตร์ เช่น สุขภาพและสุขภาวะ อาหารแห่งอนาคต และโรงงานชีวภาพ (Bioplants) โดยมุ่งเน้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่เป็นรูปธรรม

นอกจากนี้ ยังได้เน้นถึง ความสำคัญของนวัตกรรมทางการศึกษา เช่น หลักสูตรแบบ Non-degree, Micro-credentials และการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัย เพื่อเตรียมคนให้พร้อมกับโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยเสนอให้มหาวิทยาลัยเป็นแบบอย่างของความยั่งยืน ทั้งในด้านสิ่งแวดล้อมและการส่งเสริมสุขภาพองค์รวม ตั้งแต่การดูแลก่อนคลอดไปจนถึงการดูแลผู้สูงอายุ พร้อมเสนอแนวคิด “ป่วยสั้น ตายสงบ งบไม่บาน” เพื่อส่งเสริมระบบสุขภาพที่มีประสิทธิภาพ

ท้ายที่สุด อธิการบดีเสนอให้มหาวิทยาลัยไทยก้าวข้ามการวัดผลสำเร็จแบบเดิม เช่น จำนวนผลงานตีพิมพ์ ไปสู่การนิยามใหม่ของ “ผลกระทบ” ที่เชื่อมโยงกับ นโยบายสาธารณะ เศรษฐกิจ และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)

จากนั้น ได้เปิดเวทีแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับงานวิจัยที่นำไปสู่ผลกระทบเชิงนโยบายในโลกจริง (Real-World Impacts) โดยเสวนาโต๊ะกลมเวทีแรก “EQUALITY สังคมที่ทุกคนเท่าเทียม” ดำเนินรายการโดย ดร.วาสนา อิ่มเอม ผู้เชี่ยวชาญจากกองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ (UNFPA) มีการย้ำถึงความสำคัญของการใช้ข้อมูลประชากรในระดับพื้นที่เพื่อออกแบบนโยบายที่ตอบโจทย์ประชาชนทุกกลุ่ม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นประชากรสูงวัยที่กำลังทวีความสำคัญในสังคมไทย รองศาสตราจารย์ ดร.ศุทธิดา ชวนวัน นำเสนอผลงานสะท้อนการเสริมสร้างศักยภาพบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ด้วยการใช้ข้อมูลประชากรเพื่อขับเคลื่อนสังคมสูงวัยอย่างมีพลัง “โปรแกรมพีระมิดประชากร” (Population Pyramid Program - PPP) ซึ่งได้รับการพัฒนาเพื่อเสริมสร้างศักยภาพให้แก่ อปท. ในการมองเห็นโครงสร้างประชากรของตนเองแบบ เรียลไทม์ ทั้งด้านอายุ เพศ และแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงเชิงประชากร โดยได้มีการนำร่องใช้ PPP ใน 20 อปท. จังหวัดนครปฐม พบว่า

• โปรแกรมช่วยให้เจ้าหน้าที่สามารถ ตีความข้อมูลประชากรเพื่อใช้กำหนดนโยบายและจัดบริการที่ตรงจุด

• โดยเฉพาะการ ออกแบบบริการสุขภาพและสังคมที่รองรับประชากรสูงวัย ได้อย่างครอบคลุม มีเป้าหมาย และยั่งยืน

• และยังเป็นเครื่องมือที่ช่วยเสริมพลังให้ อปท. ใช้ “ข้อมูล” ขับเคลื่อน “การเปลี่ยนแปลงในพื้นที่” ได้ด้วยตนเอง

เพื่อขยายผลให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น รศ. ดร.ศุทธิดา เสนอให้ขยายการอบรม PPP ไปยัง อปท. ทั่วประเทศ เชื่อมโยงโปรแกรมเข้ากับตัวชี้วัดการประเมินผลของ อปท. และจัดตั้ง “หน่วยบูรณาการนโยบายข้อมูล” ระดับจังหวัด อำเภอ และตำบล เพื่อสนับสนุนให้การใช้ข้อมูลประชากรกลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมการวางแผนท้องถิ่นอย่างยั่งยืน

“การใช้ข้อมูลเพื่อความเท่าเทียม ก็จะไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป แต่สามารถเริ่มต้นได้จากระบบที่เข้าใจง่าย ใช้ได้จริง และ เชื่อมโยงข้อมูลกับชีวิตคนในพื้นที่” รศ. ดร.ศุทธิดา กล่าวย้ำบนเวทีเสวนาโต๊ะกลมเวทีที่ 2 “ENDING NCDs สุขภาพที่มาจากพฤติกรรมส่งเสริมร่วมกัน” มุ่งเน้นหาแนวทางป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-Communicable Diseases: NCDs) ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เช่น การลดน้ำตาล ลดโซเดียม การควบคุมการตลาดอาหารต่อเด็ก การจัดซื้ออาหารกลางวันโรงเรียน และการส่งเสริมกิจกรรมทางกายทุกช่วงวัย ดำเนินรายการโดย ดร.สง่า ดามาพงษ์ นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

หนึ่งในหัวข้อที่ได้รับความสนใจอย่างมาก คือ แนวทางการจัดซื้ออาหารกลางวันของโรงเรียนที่เชื่อมโยงกับระบบอาหารชุมชน โดยอาจารย์ ดร. สพญ.สรัญญา สุจริตพงศ์ ซึ่งแนวทางนี้ไม่เพียงช่วยส่งเสริมสุขภาวะในเด็ก แต่ยังสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อเกษตรกรในท้องถิ่น และสนับสนุนระบบอาหารที่ยั่งยืน โดยจากการวิจัยพบว่า โรงเรียนที่นำหลักการจัดซื้อจัดจ้างโดยคำนึงถึงคุณค่าด้านสังคม สิ่งแวดล้อม และโภชนาการ ควบคู่ไปกับราคา มีแนวโน้มสามารถ ยกระดับคุณภาพอาหารเด็ก ลดการพึ่งพาห่วงโซ่อาหารที่ยาว และส่งเสริมความโปร่งใสในการใช้งบประมาณของรัฐ

อย่างไรก็ตาม ระบบจัดซื้อจัดจ้างในปัจจุบันยังมีข้อจำกัดหลายด้าน เช่น งบประมาณจำกัดทำให้โรงเรียนต้องเลือกซื้อตามราคาต่ำที่สุด การบริหารจัดการกับเกษตรกรโดยตรงมีความยุ่งยากและเพิ่มภาระงาน และการขาดแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน รวมถึงเครื่องมือสร้างแรงจูงใจในการเปลี่ยนแปลง

ข้อเสนอเชิงนโยบายสำคัญ จากงานวิจัย ได้แก่

• ให้ภาครัฐออกกฎระเบียบเฉพาะสำหรับการจัดซื้ออาหารที่ส่งเสริม “ระบบอาหารยั่งยืน”

• จัดทำ “ระบบรางวัล” หรือกลไกสนับสนุนโรงเรียนที่สามารถเชื่อมโยงกับเกษตรกรในชุมชน

• ใช้คุณค่าอื่น ๆ นอกเหนือจากราคา เช่น ความโปร่งใส โภชนาการ และผลกระทบต่อชุมชน เป็นเกณฑ์ในการจัดซื้อจัดจ้าง

• กำหนด ตัวชี้วัดประสิทธิภาพใหม่ สำหรับหน่วยงานภาครัฐที่จัดบริการอาหารให้สะท้อนคุณค่าดังกล่าว

“การจัดซื้ออาหารกลางวันแบบเชื่อมโยงกับชุมชน ช่วยลดห่วงโซ่อาหารและเสริมความโปร่งใส เป็นกลไกที่ส่งเสริมสุขภาวะเด็ก และขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก” อ. ดร. สพญ.สรัญญา กล่าวเน้นย้ำบนเวที
งานวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่า หากมีระบบสนับสนุนที่ชัดเจน การจัดซื้ออาหารกลางวันของโรงเรียนจะกลายเป็นหนึ่งในนโยบายที่มีพลังมากที่สุดในการ ยุติปัญหา NCDs ตั้งแต่ในวัยเด็ก และเป็นจุดเริ่มต้นของ ระบบอาหารที่เป็นธรรมและยั่งยืนในระยะยาว

เสวนาโต๊ะกลมเวทีสุดท้าย “HEALTH CARE & AIR QUALITY สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน” เมื่อสุขภาพใจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ต้องเดินไปพร้อมกัน งานวิจัยที่นำเสนอ ได้แก่ “Being Family” ภาพยนตร์เปลี่ยนแปลงมุมมองครอบครัว “MU BullyGuard” แอปพลิเคชันส่งเสริมสุขภาพใจวัยรุ่น “มหาวิทยาลัยแห่งความสุข” และทางออกลดการเผาอ้อย ดำเนินรายการโดย รศ. ดร.คนางค์ คันธมธุรพจน์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคใหม่ ที่ความเครียดและความซับซ้อนในชีวิตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แนวคิด “มหาวิทยาลัยแห่งความสุข” กลายเป็นต้นแบบสำคัญในการสร้างสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริม สุขภาวะและคุณภาพชีวิต ของบุคลากรและนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาไทย รองศาสตราจารย์ ดร.ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต นำเสนอ พัฒนาการของเครือข่ายมหาวิทยาลัยแห่งความสุข ซึ่งเริ่มต้นมาตั้งแต่ปี 2556 โดยมีมหาวิทยาลัยกว่า 70 แห่งทั่วประเทศเข้าร่วมเป็นภาคี และขับเคลื่อนผ่านหลักสูตร “นักสร้างสุข” การบริหารจัดการความรู้ และการสร้างสมดุลชีวิตกับการทำงาน ผลการดำเนินงาน พบว่า องค์ประกอบของ “มหาวิทยาลัยแห่งความสุข” ครอบคลุมทั้งคุณภาพชีวิต ความพึงพอใจในงาน ความสุขของบุคลากร ความผูกพันองค์กร และความสมดุลระหว่างชีวิตกับการเรียน/การทำงาน ซึ่งมีส่วนสำคัญในการส่งเสริม ผลิตภาพของบุคลากร และความผูกพันต่อองค์กร

อย่างไรก็ตาม กลุ่มนักศึกษายังคงเป็นกลุ่มที่ ขาดกลไกสนับสนุนด้านสุขภาวะอย่างครอบคลุม และจำเป็นต้องพัฒนารูปแบบใหม่ ๆ ที่ตอบโจทย์ความท้าทายของชีวิตวัยเรียนในยุคปัจจุบัน

ข้อเสนอเชิงนโยบายที่สำคัญ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของกระทรวง อว. ได้แก่
1. สร้างระบบเฝ้าระวังสุขภาวะและความเป็นอยู่ที่ดีในมหาวิทยาลัย
2. พัฒนากลไกการสร้าง “แกนนำมหาวิทยาลัยแห่งความสุข” อย่างเป็นระบบ
3. ใช้ฐานข้อมูลเพื่อกำหนด “มาตรฐานกลาง” สนับสนุนระบบประกันคุณภาพ
4. ขยายความร่วมมือในเครือข่ายมหาวิทยาลัยแห่งความสุข
5. สนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรมด้านสุขภาวะเชิงวิชาการ

“มหาวิทยาลัยไม่ใช่เพียงพื้นที่ของความรู้ แต่ควรเป็นพื้นที่ของ ‘คุณภาพชีวิต’ ที่ดีสำหรับทุกคน” รศ. ดร.ศิรินันท์ เน้นย้ำบนเวที แนวทางนี้สะท้อนความมุ่งหวังที่จะ ยกระดับสุขภาวะของทุกคนในระบบอุดมศึกษา และทำให้ “มหาวิทยาลัยแห่งความสุข” ไม่ใช่แค่แนวคิด แต่เป็นนโยบายที่วัดผลได้และยั่งยืน

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก สยามรัฐ

“แพทองธาร” มอบนโยบาย วธ. แจงเฟกนิวส์ คืนวัตถุโบราณเขมร เตรียมแจ้งความคนปล่อยข่าว

20 นาทีที่แล้ว

Trip.com จัดโปรฯ 7.7 ดีลท่องเที่ยวเด็ดครบครันโรงแรม 77 บาท ตั๋วบินซื้อ 1 แถม 1

21 นาทีที่แล้ว

สคร.9 เตือนเดินลุยน้ำย่ำโคลนเสี่ยงติดเชื้อโรคไข้ดินแนะสวมรองเท้าบูทป้องกัน

28 นาทีที่แล้ว

อ่างทองแก้ปัญหาเหล็กกันจำกัดความสูงบริเวณเขื่อนประตูน้ำ

32 นาทีที่แล้ว

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความภูมิภาคอื่น ๆ

ตร.สงขลา ปวดหัว แจง 191 โทรติดยาก เหตุเจอ 'สายป่วน' วันละ 800 สาย

MATICHON ONLINE

สกลนคร จัดพิธีตักบาตรพระสงฆ์ ถวายพระพร เฉลิมพระเกียรติฯ

เดลินิวส์

กนอ.ผนึกกำลังสถานประกอบการมาบตาพุดคอมเพล็กซ์ มอบถังขยะให้กรมทหารราบที่ 1 กองพลนาวิกโยธิน

เดลินิวส์

เกษตรกรสุราษฎร์ฯโอด!ค่าครองชีพพุ่งซ้ำลานเทหยุดรับซื้อปาล์มหวั่นครม.ใหม่แค่แบ่งตำแหน่ง

เดลินิวส์

สคร.9 เตือนเดินลุยน้ำย่ำโคลนเสี่ยงติดเชื้อโรคไข้ดินแนะสวมรองเท้าบูทป้องกัน

สยามรัฐ

ฉะเชิงเทรานำหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ พอสว. ออกให้บริการประชาชน

เดลินิวส์

อ่างทองแก้ปัญหาเหล็กกันจำกัดความสูงบริเวณเขื่อนประตูน้ำ

สยามรัฐ

แม่ฮ่องสอนทำบุญตักบาตรและลงนามถวายพระพรชัยมงคลกรมพระศรีสวางควัฒนเนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติ 4 ก.ค.

สยามรัฐ

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...