โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที

เช็กก่อนแชร์ภาพ AI วิธีตรวจสอบทำอย่างไร? ในยุคที่โซเชียลมีเดียเต็มไปด้วยการใช้ AI

TNN ช่อง16

เผยแพร่ 4 ชั่วโมงที่ผ่านมา
เช็กก่อนแชร์ภาพ AI วิธีตรวจสอบทำอย่างไร? ในยุคที่โซเชียลมีเดียเต็มไปด้วยการใช้ AI

ปัจจุบันเราอยู่ในยุคที่โซเชียลมีเดียเต็มไปด้วยรูปภาพและวิดีโอที่ถูกสร้างขึ้นจากปัญญาประดิษฐ์ AI ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็วจนสามารถสร้างภาพนิ่งหรือแม้แต่วิดีโอได้เสมือนจริงจนเกือบแยกไม่ออก
ในบางครั้งภาพที่ดูเหมือนจริงเหล่านี้ก็อาจถูกใช้ในทางที่ผิด เช่น การหลอกลวง ข่าวปลอม หรือโฆษณาชวนเชื่อ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องรู้จักวิธีสังเกตว่าภาพนั้น ๆ ถูกสร้างจาก AI หรือไม่

AI สร้างภาพเหมือนมนุษย์จริง ๆ ได้อย่างไร?

ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจก่อนว่าปัญญาประดิษฐ์ AI สามารถสร้างภาพเหมือนมนุษย์ได้อย่างสมจริงด้วยการใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า Generative Adversarial Networks (GANs) หรือโมเดลสร้างภาพ เช่น Stable Diffusion และ DALL·E
โดยหลักการ คือ AI จะเรียนรู้จากฐานข้อมูลภาพถ่ายมนุษย์จำนวนมหาศาล ทั้งรูปร่าง สีผิว แสงเงา องค์ประกอบใบหน้า และพื้นหลัง จากนั้นจะนำข้อมูลเหล่านั้นมาสร้างภาพใหม่ที่ไม่เคยมีอยู่จริง แต่ดูเหมือนถ่ายจากกล้องจริง ๆ อย่างไม่น่าเชื่อ
ดังนั้นความสมจริงของภาพที่ AI สร้างขึ้นมาจากกระบวนการปรับแต่งอย่างละเอียด เช่น การเรนเดอร์เส้นผมให้มีความพลิ้ว การจัดแสงให้เหมือนถ่ายในสภาพแสงธรรมชาติ และการผสมรายละเอียดใบหน้าให้เข้ากันได้อย่างกลมกลืน ทำให้แม้แต่ผู้เชี่ยวชาญบางคนก็อาจแยกไม่ออกในทันทีว่าเป็นภาพปลอม
วิธีการตรวจสอบภาพที่ถูกสร้างจาก AI ทำอย่างไร?
แม้ขีดความสามารถของ AI จะสามารถสร้างภาพได้เหมือนจริงจนแทบแยกไม่ออก แต่ยังคงมีรายละเอียดเล็ก ๆ ในรูปภาพที่ทำให้เป็นจุดสังเกตและระบุได้ว่าภาพดังกล่าวถูกสร้างจาก AI เช่น นิ้วมือ ที่มีจำนวนผิดปกติ หรือท่าทางไม่สมจริง แสงและเงาของภาพที่ขาดความสมจริง
หรือแม้แต่ตำแหน่งของเครื่องประดับ เช่น แว่นตา ต่างหู หรือป้ายชื่อ อาจเบี้ยว ไม่สมมาตร หรือมีตัวอักษรที่อ่านไม่ออก รวมไปถึงภาพสะท้อนในกระจกหรือพื้นผิวเงา มักไม่สอดคล้องกับวัตถุจริง และยังคงเป็นสิ่งที่ AI ไม่สามารถสร้างได้แบบเหมือนจริง

เครื่องมือตรวจสอบภาพถ่ายจาก AI

เว็บไซต์และเครื่องมือที่ช่วยตรวจสอบได้ เช่น เว็บไซต์ Hive Moderation ซึ่งตรวจจับภาพที่สร้างจาก AI โดยใช้โมเดลการเรียนรู้และจดจำ รวมไปถึงบริษัท Google ที่พัฒนาเครื่องมือชื่อว่า Google Reverse Image Search / TinEye สำหรับค้นหาที่มาของภาพจากอินเทอร์เน็ต เพื่อดูว่ามีการโพสต์ที่ไหนบ้าง เพื่อระบุว่าเป็นแหล่งที่มาจากภาพ AI หรือไม่
เช็กก่อนแชร์ภาพ AI ถึงแม้ว่า AI จะสามารถสร้างภาพที่น่าทึ่งและสมจริงได้มากขึ้นเรื่อย ๆ แต่ก็ยังมีร่องรอยบางอย่างที่เราสามารถจับได้ หากรู้จักสังเกตและใช้เครื่องมือช่วยตรวจสอบ เราจะสามารถปกป้องตัวเองจากการถูกหลอกลวงและใช้งานภาพอย่างมีวิจารณญาณได้มากขึ้นในยุคดิจิทัลที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก TNN ช่อง16

เบเบ้ ธันย์ชนก ขอยึดความถูกต้อง! แถลงการณ์ยุติทุกความเกี่ยวข้องบริษัทดัง

30 นาทีที่แล้ว

ชุมชนท่องเที่ยวไทยคว้า 6 รางวัลระดับนานาชาติจาก PATA 2025

34 นาทีที่แล้ว

สิงคโปร์เปิดตัว myACP ช่วยวางแผนวาระสุดท้ายของชีวิต

43 นาทีที่แล้ว

ทุ่นสำหรับ “นักดำน้ำ” รู้ได้อยู่ที่ไหน แถมส่งข้อความหากันได้

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความไอทีอื่น ๆ

ข่าวและบทความยอดนิยม

ถึงกับท้อ! น้ำแข็ง ทิพวรรณ ถูกมิจฉาชีพตัดต่อภาพตั้งท้อง จับโยงเว็บพนัน

TNN ช่อง16

วิศวกร AI ระดับสูงกลายเป็น "สมบัติ" ที่มีค่าที่สุดในการแข่งขัน AI l Editor's Pick

TNN ช่อง16

“ท๊อป จิรายุส” ย้ำ "AI" "หุ่นยนต์" มาแน่ เตรียมรับมือ "อินเดีย" เป็นโรงงานโลกแห่งใหม่แทนจีน !?

TNN ช่อง16
ดูเพิ่ม
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...