เปิดเอกสารมติครม. มอบอำนาจ "รักษาการนายกฯ" สั่ง "ยุบสภา" ได้
เปิดเอกสารมติครม. ให้ "รักษาการนายกฯ" มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับนายกฯ สามาาถสั่ง "ยุบสภา" ได้
เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2568 ที่ประชุมครม.มีมติ เห็นชอบ เรื่องการมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี รักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นที่ชัดเจน มีการมอบหมายให้ รองนายกฯเป็นผู้รักษาราชการแทนนายกฯ คือ 1. นายภูมิธรรม เวชยชัย 2. นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ 3. นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค 4. นายพิชัย ชุณหวชิร และ 5. นายประเสริฐ จันทรรวงทอง
ส่วนการมอบหมายอำนาจหน้าที่ให้ รักษาราชการแทนนายกฯ โดยเฉพาะรองนายกฯอันดับ 1 มีการระบุชัดเจนว่า มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับนายกฯ และมีอำนาจหน้าที่ในการเป็นประธานในคณะกรรมการ หรือองค์กรใด ขณะที่ รองนายกฯอันดับ 2-5 ที่จะมาทำหน้าที่รักษาราชการแทนนายกฯนั้น ระบุว่า การจะสั่งการใดอันเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลและการอนุมัติงบประมาณ อันอยู่ในอำนาจของนายกรัฐมนตรี ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีก่อน
โดยภายในเอกสารได้ระบุว่า มาตรา 9 บัญญัติให้เรื่องที่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีตามมาตรา 4 (1) ถ้าคณะรัฐมนตรีเห็นว่า
เป็นเรื่องที่เป็นปกติหรือมีแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนแล้ว คณะรัฐมนตรีจะมีมติมอบหมายเป็นการทั่วไปให้นายกรัฐมนตรี
หรือรองนายกรัฐมนตรีเป็นผู้อนุมัติ ให้ความเห็นชอบ หรือมีคำสั่งแทนคณะรัฐมนตรีก็ได้ ในกรณีเช่นช่นนั้นให้ถือว่า
การอนุมัติ ความเห็นชอบ หรือคำสั่งของนายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีเป็นมติของคณะรัฐมนตรี
4. ข้อพิจารณาและข้อเสนอ
เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย เหมาะสม เห็นควรเสนอ
คณะรัฐมนตรีพิจารณามอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี ในกรณีที่นายกรัฐมนตรี
ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ดังนี้
4.1 มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีเป็นผู้รักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี ตามลำดับ ดังนี้
1. นายภูมิธรรม เวชยชัย
2. นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ
3. นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค
4. นายพิชัย
ชุณหวชิร
5. นายประเสริฐ จันทรรวงทอง
4.2 ในการรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี ผู้รักษาราชการแทนตาม ๔.๑ (๑) มีอำนาจ
หน้าที่เช่นเดียวกับนายกรัฐมนตรี ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐
ะพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ รวมทั้งมีอำนาจหน้าที่ในการ
กรรมการในคณะกรรมการหรือองค์กรใด ตลอดจนสั่งการใดอันเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลและการอนุมัติ
เงินงบประมาณอันอยู่ในอำนาจของนายกรัฐมนตรี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติเป็นต้นไป
4.3 ในกรณีที่ผู้รักษาราชการแทนตาม ๔.๑ (๒) - (๕) จะสั่งการใดอันเกี่ยวกับการบริหาร
งานบุคคลและการอนุมัติเงินงบประมาณอันอยู่ในอำนาจของนายกรัฐมนตรี ต้องได้รับความเห็นชอบ
จากคณะรัฐมนตรีก่อน
จึงกราบเรียนมาเพื่อกรุณาพิจารณาให้ความเห็นชอบตามข้อ ๔ เพื่อสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
จะได้ดำเนินการนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณามอบหมายต่อไป
(นายพรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช)
เลขาธิการนายกรัฐมนตรี