โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที

ระวังมัลแวร์ใหม่บน Android AntiDot มีความสามารถควบคุม และขโมยข้อมูลแบบ 3-in-1

Thaiware

อัพเดต 18 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 18 ชั่วโมงที่ผ่านมา • Sarun_ss777
มัลแวร์แฝงมากับโฆษณาปลอม สามารถดักจับข้อมูล SMS, หลอกขโมยผ่านหน้าจอล็อกอินปลอม และเข้าคุมเครื่องเหยื่อได้

Android นั้นถึงแม้จะเป็นระบบปฏิบัติการบนอุปกรณ์ต่าง ๆ มากมายโดยเฉพาะอย่างยิ่งโทรศัพท์สมาร์ทโฟน ซึ่งเป็นที่นิยมสูง ในขณะเดียวกัน ตัวระบบปฏิบัติการตัวนี้ก็ตกเป็นเป้าใหญ่สำหรับมัลแวร์หลากชนิดเช่นเดียวกัน

จากรายงานโดยเว็บไซต์ The Hacker News ได้ตรวจพบแคมเปญในการแพร่กระจายมัลแวร์ตัวใหม่ที่มุ่งเน้นการโจมตีเครื่องมือที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Android โดยมัลแวร์ดังกล่าวนั้นมีชื่อว่า AntiDot ซึ่งเป็นมัลแวร์ที่ถูกสร้างขึ้นโดยมุ่งเน้นจุดประสงค์ไปยังการโจรกรรมทางการเงินในรูปแบบของ Botnet (มัลแวร์ประเภทสำหรับการสร้างเครือข่ายเครื่องที่ติดเชื้อในการร่วมกันยิงระบบที่ใหญ่กว่า แต่ก็มีความสามารถในการใช้งานอื่น ๆ เช่นการโจรกรรมข้อมูลจากเครื่องของเหยื่อได้ด้วย) โดยถูกปล่อยขายในตลาดใต้ดินในรูปแบบมัลแวร์เช่าใช้งาน (Malware-as-a-Service หรือ MaaS) ภายใต้การพัฒนาและดูแลโดยทีมแฮกเกอร์ที่มีชื่อว่า LARVA-398 ในปัจจุบันมัลแวร์ตัวนี้มีความเกี่ยวข้องกับแคมเปญการแพร่กระจายมัลแวร์มากกว่า 273 แคมเปญ มีเครื่องที่ตกเป็นเหยื่อแล้วกว่า 3,775 เครื่อง

สำหรับมัลแวร์ตัวนี้นั้น ทางทีมพัฒนาได้ทำการโฆษณาว่า เป็นมัลแวร์ที่มีความสามารถในระดับ 3 in 1 หรือแค่ตัวเดียวสามารถทำงานได้ถึง 3 อย่าง ทั้งการเข้าแทรกแซงเพื่อดูดข้อมูลจากข้อความสั้นที่ถูกส่งมาบนเครื่องของเหยื่อ (SMS หรือ Short Message Service), การเข้าควบคุมระบบช่วยเหลือสำหรับคนพิการ (Accessibility Mode), และ การเข้าขโมยข้อมูลที่อยู่ภายใน 3rd Party Application นอกจากนั้น ยังมีความสามารถในการข้อมูลที่มากมาย ไม่ว่าจะเป็น การแทรกหน้าจอปลอมเพื่อหลอกให้กรอกรหัสผ่าน (Overlay Attack), การบันทึกการพิมพ์ของเหยื่อ, ไปจนถึงการควบคุมเครื่องของเหยื่อผ่านทางการใช้งาน MediaProjection API ไม่เพียงเท่านั้น ตัวมัลแวร์ยังมีการใช้ระบบการติดต่อสื่อสารแบบสองทางระหว่างมัลแวร์กับเซิร์ฟเวอร์ผ่านทาง WebSocket อีกด้วย

ในการแพร่กระจายมัลแวร์ดังกล่าวนั้น ทางทีมวิจัยคาดว่า ตัวมัลแวร์ดังกล่าวนั้นถูกแพร่กระจายผ่านทางแคมเปญโฆษณาปลอมต่าง ๆ โดยแคมเปญแรก ๆ ที่ตรวจเจอในช่วงเดือนธันวาคม ค.ศ. 2024 (พ.ศ. 2567) นั้นใช้การหลอกลวงว่าเป็นข้อเสนองาน (Job Offer) เพื่อให้เหยื่อทำการดาวน์โหลดและเปิดไฟล์ ขณะที่แคมเปญใหม่ ๆ ซึ่งทางทีมวิจัยไม่ได้ให้รายละเอียดไว้มาก เพียงแต่กล่าวว่า เป็นการแพร่กระจายผ่านเครือข่ายโฆษณาของทางแฮกเกอร์เพียงเท่านั้น

สำหรับการฝังมัลแวร์ลงสู่เครื่องของเหยื่อนั้น ก็เรียกได้ว่ามีหลายขั้นตอนและซับซ้อน โดยเริ่มจากไฟล์ที่เหยื่อดาวน์โหลดไปนั้นจะถูกสร้างเป็นแพ็คเกจด้วยเครื่องมือ Commercial Android Packer เพื่อให้สามารถหลีกเลี่ยงการถูกตรวจจับโดยระบบป้องกัน โดยจะถูกสร้างเป็นไฟล์ติดตั้งในรูปแบบ APK หลังจากที่เหยื่อทำการรันขึ้นมาแล้ว จะมีการขึ้น Update Bar ปลอมขึ้นมา เพื่อให้เหยื่อทำการอนุมัติสิทธิ์ในการเข้าถึงระบบ Accessibility ของเครื่องเหยื่อ เพื่อที่จะทำการดาวน์โหลดไฟล์ DEX ที่บรรจุฟังก์ชัน Botnet เอาไว้ลงมา

ในส่วนของการทำงานเพื่อขโมยข้อมูลมูลของเหยื่อนั้น ตัวมัลแวร์จะมีการคอยจับตามองแอปพลิเคชันต่าง ๆ ที่ถูกเปิดขึ้นใช้งาน โดยถ้าแอปพลิเคชันนั้นเข้าข่าย อย่างเช่น แอปพลิเคชันเกี่ยวกับคริปโตเคอร์เรนซี ก็จะมีการเปิดหน้าต่างล็อกอินปลอมขึ้นมา เพื่อหลอกเอารหัสผ่านเข้าใช้งานจากเหยื่อ ซึ่งหน้าจอล็อกอินปลอมนั้นจะถูกดาวน์โหลดลงมาจากเซิร์ฟเวอร์ควบคุม (C2 หรือ Command and Control) นอกจากนั้นแล้ว การที่มัลแวร์สามารถใช้งานโหมด Accessibility ได้ ก็ยังทำให้มัลแวร์สามารถเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ ที่อยู่บนหน้าจอของเหยื่อได้โดยง่าย ทั้งยังมีความสามารถในการดักจับข้อความ SMS ได้ทั้งขาเข้าและขาออก รวมไปถึงมีความสามารถในการจัดการการโทร เช่น แอบดักมองว่าผู้ใช้งานมีการโทรติดต่อไปที่เบอร์ไหนบ้าง, การใช้ความสามารถของมัลแวร์ในการบล็อกเบอร์ หรือแม้กระทั่งเปลี่ยนทางการโทรออก (Redirect) ไปยังเบอร์ที่แฮกเกอร์ต้องการ นอกจากนั้นยังสามารถดักจับการแจ้งเตือน (Notification) ต่าง ๆ บนเครื่องของเหยื่อได้อีกด้วย

ระวังมัลแวร์ใหม่บน Android AntiDot มีความสามารถควบคุม และขโมยข้อมูลแบบ 3-in-1

ภาพจาก: https://thehackernews.com/2025/06/new-android-malware-surge-hits-devices.html

นอกจากนั้นทางทีมวิจัยยังได้เปิดเผยถึงวิธีการของเซิร์ฟเวอร์ C2 ที่ใช้ในการเข้าควบคุมเครื่องของเหยื่อจากระยะไกลผ่านทางมัลแวร์ ผ่านการใช้ JavaScript Framework ที่มีชื่อว่า MeteorJS ซึ่งหน้าจอการใช้งานนั้นจะมีแท็บให้เลือกใช้ถึง 6 แท็บ นั่นคือ

  • Bots: สำหรับใช้ในการรวบรวมรายชื่อและข้อมูลเครื่องที่ติดมัลแวร์ทั้งหมดที่อยู่ในเครือข่าย
  • Injects: เป็นการรวบรวมรายชื่อแอปพลิเคชันทั้งหมดสำหรับใช้ในการยิงหน้าจอปลอม หรือ Overlay Injection รวมทั้งมี Template หน้าจอปลอมสำหรับใช้ในการยิงในแต่ละครั้งด้วย
  • Analytic: เป็นการรวบรวมรายชื่อแอปพลิเคชันบนเครื่องของเหยื่อเช่นเดียวกัน แต่คาดการณ์ว่าใช้ในการวิเคราะห์หาแอปใหม่ ๆ สำหรับการโจมตีในอนาคต
  • Settings: สำหรับใช้ในการปรับแต่งการใช้งานของตัวมัลแวร์
  • Gate: สำหรับใช้ในการจัดการส่วน Endpoints ของตัวมัลแวร์บอทแต่ละตัว
  • Help: สำหรับใช้ในการค้นหาข้อมูลวิธีการใช้งานมัลแวร์อย่างมีประสิทธิภาพจากแหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

➤ Website : https://www.thaiware.com
➤ Facebook : https://www.facebook.com/thaiware
➤ Twitter : https://www.twitter.com/thaiware
➤ YouTube : https://www.youtube.com/thaiwaretv

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก Thaiware

นักทดสอบพบ Windows 11 ตัว Beta รุ่นล่าสุด ถูกสลับเสียง Startup ตอนบูทเครื่องเป็นของ Vista แทน

1 วันที่แล้ว

วิธีหลอกลวงแห่งปี !? ClickFix ฮิตไม่เลิก รอบนี้ปล่อยมัลแวร์ LightPerlGirl ฝังลงเครื่องเหยื่อ

1 วันที่แล้ว

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความไอทีอื่น ๆ

Xiaomi Pad 7S Pro แท็บเล็ตขุมพลัง Xring O1 หน้าจอใหญ่ 12.5 นิ้ว รีเฟรช 144Hz

Siamphone

Insight Talk — รู้จักเทคโนโลยีกล้องสมาร์ตโฟน 2025 แต่ละแบรนด์เรียกว่าอะไร?

Insight Daily

Tecno เปิดตัวซีรีส์ Pova 7 : จอ 144 Hz, ไฟ Delta Light, แบตฯ ใหญ่ 6,000 mAh, เริ่มต้นเพียง 5,700 บาท

BT Beartai

Huawei เร่งพัฒนาชิปใหม่ : เผย Kirin 9030 จะมีประสิทธิภาพสูงขึ้น 20% จากรุ่นก่อน

BT Beartai

5 การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่อาจทำให้คุณต้องอัปเกรด! iPhone 17 Pro

sanook.com

Fujifilm X Half เมื่อเทคโนโลยีดิจิทัลผสานสุนทรียะ สู่ประสบการณ์ฟิล์มในวันวาน

Techhub

ChatGPT หลอน ให้ผสมสารฟอกขาวกับน้ำส้มสายชู หวิดทำผู้ใช้ถึงฆาต

Techhub

Xiaomi เปิดตัว Smart Audio Glasses ในระดับโลก พร้อมราคาเพียง 2,800 บาท

BT Beartai

ข่าวและบทความยอดนิยม

Google ปล่อย Android 16 เวอร์ชันเสถียร ให้กับผู้ใช้งานโทรศัพท์ Pixel หลากหลายรุ่นแล้ว

Thaiware

ผลวิจัย Malwarebyte พบผู้คนกว่า 44% จากหลากชาติ ตกเป็นเหยื่อการหลอกลวงผ่านทางโทรศัพท์มือถือทุกวัน

Thaiware

Xiaomi เปิดตัวผลิตภัณฑ์ AIoT และเครื่องใช้ไฟฟ้ารุ่นใหม่ เพื่อชีวิตอัจฉริยะ ปี 2025 (2568)

Thaiware
ดูเพิ่ม
Loading...