โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ต่างประเทศ

พฤติกรรม "ดื่มน้ำ" ที่คิดว่าดี แต่กลับทำร้ายกระเพาะไม่รู้ตัว! หลายคนยังทำอยู่ทุกวัน

sanook.com

เผยแพร่ 4 ชั่วโมงที่ผ่านมา • Sanook
หมอเวียดนาม เตือน พฤติกรรม

หมอเวียดนาม เตือน พฤติกรรม "ดื่มน้ำ" ที่คิดว่าดี แต่กลับทำร้ายกระเพาะโดยไม่รู้ตัว แต่หลายคนยังทำอยู่ทุกวัน

อากาศร้อนจัดแบบนี้ หลายคนพยายามดื่มน้ำให้มากเพื่อบำรุงร่างกายและดูแลสุขภาพ แต่ถ้าดื่มผิดวิธี อาจกลายเป็นโทษต่อกระเพาะโดยไม่รู้ตัว

นพ.ญ.เหงียนเจิ่นญือถวี แพทย์เฉพาะทางจากโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์และเภสัชศาสตร์ โฮจิมินห์ (สาขา 3) ประเทศเวียดนาม เผยว่า หลายคนชอบดื่มน้ำแก้วใหญ่รวดเดียวเวลารู้สึกกระหาย เพราะคิดว่าเป็นวิธีเติมน้ำให้ร่างกายได้ดีที่สุด

แต่จริง ๆ แล้ว การดื่มน้ำปริมาณมากในคราวเดียวอาจทำให้ระบบย่อยอาหารช็อกและทำงานหนักเกินไป วิธีที่ดีกว่าคือ ค่อย ๆ จิบน้ำทีละนิด กระจายตลอดทั้งวัน อย่ารอให้กระหายน้ำแล้วค่อยดื่ม

หมอถวียังแนะนำว่า “ควรจิบน้ำทีละน้อย และดื่มสม่ำเสมอตลอดวัน จะช่วยให้ร่างกายดูดซึมน้ำได้ดีขึ้น ไม่กดดันกระเพาะ และยังช่วยรักษาสมดุลของน้ำในร่างกายได้ตลอดเวลา”

อีกหนึ่งพฤติกรรมผิดที่หลายคนมักทำคือ ดื่มน้ำขณะกินอาหาร หรือดื่มทันทีหลังมื้ออาหารตอนที่กระเพาะยังเต็มอยู่ ซึ่งอาจทำให้น้ำไปเจือจางน้ำย่อยในกระเพาะ ขัดขวางการดูดซึมสารอาหาร และส่งผลเสียต่อกระเพาะในระยะยาว

หมอถวีแนะนำว่า ควรดื่มน้ำหลังอาหารอย่างน้อย 30 นาที เพื่อให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้เต็มประสิทธิภาพก่อน

นอกจากนี้ ในช่วงหน้าร้อน หลายคนมักเลือกดื่มน้ำเย็นหรือน้ำใส่น้ำแข็งเพื่อคลายร้อน แต่หมอถวีแนะนำว่า ควรหลีกเลี่ยงพฤติกรรมนี้

Photo By: Kaboompics.com

ตามศาสตร์แพทย์แผนจีน น้ำมีคุณสมบัติช่วยขับความร้อนและหล่อลื่นร่างกาย การดื่มน้ำอุ่นที่อุณหภูมิประมาณ 20–30 องศาเซลเซียส จะช่วยให้ร่างกายดูดซึมได้ดีขึ้น ลดความเสี่ยงที่อวัยวะภายในจะหดตัวเพราะความเย็น และยังช่วยรักษาสมดุลหยินหยางในร่างกาย โดยเฉพาะในผู้สูงอายุและเด็กเล็กที่ระบบย่อยอาหารยังอ่อนแอ

การดื่มน้ำน้อยเกินไป หรือดื่มผิดวิธี เช่น ดื่มน้ำเย็นจัด หรือลงน้ำทีละมากๆ ในครั้งเดียว อาจส่งผลให้ระบบการย่อยและการดูดซึมของม้ามและกระเพาะ ซึ่งเป็นศูนย์กลางการย่อยอาหารตามศาสตร์จีนทำงานผิดปกติ เกิดอาการเบื่ออาหาร ย่อยไม่ดี ท้องเสีย ท้องผูก หรือร่างกายอ่อนเพลียเรื้อรัง

หมอถวียังฝากข้อแนะนำอีกว่า การดื่มน้ำอุ่นหลังตื่นนอนตอนเช้า ช่วยทดแทนน้ำที่สูญเสียไปขณะนอนหลับ กระตุ้นการทำงานของระบบย่อยอาหาร กระตุ้นการไหลเวียนของเลือด และช่วยปรับสมดุลหยินหยางให้ร่างกาย เป็นการเตรียมพร้อมระบบย่อยอาหารให้ทำงานดีตั้งแต่เช้า

Lisa from Pexels

ดื่มน้ำน้อย อันตรายกว่าที่คิด

ตามศาสตร์แพทย์แผนจีน การดื่มน้ำไม่ใช่แค่ช่วยดับกระหาย แต่ยังช่วยบำรุงอวัยวะภายใน รักษาสมดุลหยินหยาง และปกป้องสารน้ำสำคัญที่ได้จากอาหารและเครื่องดื่ม ซึ่งช่วยหล่อเลี้ยงร่างกาย ทำให้เย็นสบายและชุ่มชื้น หากดื่มน้ำไม่เพียงพอ ร่างกายอาจเกิดความผิดปกติต่างๆ เช่น

  • การสูญเสียน้ำในร่างกาย: ทำให้คอแห้ง กระหายน้ำตลอดเวลา ร้อนใน มีแผลร้อนใน วิงเวียนศีรษะ และเสี่ยงเป็นลมแดดง่าย
  • ความร้อนสะสมในร่างกาย: ขาดสารน้ำ ยิ่งช่วงอากาศร้อนจัด อาจทำให้เกิดความร้อนชื้นสะสม เสี่ยงเป็นไข้ ปวดหัว เป็นลมแดด หรือรุนแรงถึงขั้นลมแดดจนช็อก
  • ความร้อนในร่างกายพุ่งสูง: ดื่มน้ำน้อย ทำให้เลือดและพลังหยินหล่อเลี้ยงหัวใจไม่พอ ส่งผลให้นอนไม่หลับ ฝันร้าย ใจสั่น วิตกกังวล หงุดหงิดง่าย

ผู้เชี่ยวชาญเตือนว่า อย่ามองข้ามความสำคัญของการดื่มน้ำ เพราะแม้จะเป็นเรื่องเล็กๆ แต่ถ้าทำผิดวิธีหรือดื่มไม่พอ อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาว โดยเฉพาะช่วงหน้าร้อนนี้

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก sanook.com

ปภ. เตือน! 57 จังหวัด เฝ้าระวังน้ำท่วม จากอิทธิพล "พายุวิภา" ช่วง 20-24 ก.ค.68

27 นาทีที่แล้ว

ย้อนดูคลิปชัดๆ "ปาเกียว" โคตรกำปั้นชาวฟิลิปปินส์ในวัย 46 ปี ยืนสู้ครบ 12 ยก

45 นาทีที่แล้ว

ไม่ใช่มันหมู! "ราชาคอเลสเตอรอล" อาหารที่หลายบ้านคุ้นเคย แต่ไม่ใช่ทุกคนที่รู้

57 นาทีที่แล้ว

เอ็นดูไม่ไหว ด.ญ.3 ขวบ พลิกวิกฤตน้ำตา ช่วยพี่ชายรอดจากการถูกพ่อลงโทษ (มีคลิป)

2 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความต่างประเทศอื่น ๆ

ไร้ปาฏิหาริย์ เจ้าชายนิทราซาอุฯ เสียชีวิตแล้ว หลังโคม่าจากอุบัติเหตุนาน 20 ปี

Thaiger

ไม่ใช่มันหมู! "ราชาคอเลสเตอรอล" อาหารที่หลายบ้านคุ้นเคย แต่ไม่ใช่ทุกคนที่รู้

sanook.com

บริษัทจีนคว้าสัญญาสร้าง “เอ็นเตอร์เทนเมนต์ คอมเพล็กซ์” ในซาอุดีอาระเบีย

เดลินิวส์

สหรัฐเตรียมขึ้นค่าวีซ่าอีกอย่างน้อย 8,000 บาท คาดเริ่มใช้ 1 ต.ค. 2568

เดลินิวส์

‘จีน’ ควบคุม!! แม่น้ำพรหมบุตร ในรัฐอัสสัม ‘อินเดีย’ ถึงคราว!! หายใจติดเขื่อน

THE STATES TIMES

แฉเบื้องหลังโรงแรมผู้ลี้ภัย ถ่ายหนังโป๊ OnlyFans ชีวิตหรู หิ้ว Louis Vuitton

Thaiger

กัมพูชา ครองแชมป์อันดับ 1 ประเทศที่มีอาชญากรรมสูงสุดอาเซียน ปี 68

ฐานเศรษฐกิจ

รัฐบาลญี่ปุ่นจ่อเสียเสียงข้างมากในวุฒิสภา “อิชิบะ” อาจหลุดตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

เดลินิวส์

ข่าวและบทความยอดนิยม

แพทย์เตือนแล้วนะ 3 ประเภท "เคสมือถือ" อาจทำลายไต และก่อให้เกิดมะเร็ง!

sanook.com

หมดยุคอ่านนิทาน? คุณพ่อแชร์ทริค "ลูกหลับใน 15 นาที" แค่เปลี่ยนมาเล่าเรื่องนี้ก่อนนอน!

sanook.com

จะอายุยืนหรือไม่ ดูแค่ "ไขมันหน้าท้อง" ก็รู้! เผยวิธีเช็กตัวเอง ใช้เวลาไม่ถึง 1 นาที

sanook.com
ดูเพิ่ม
Loading...