โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

การเมือง

ศบ.ทก. ผ่อนผันแรงงานต่างด้าว อยู่ต่อได้เป็นกรณีพิเศษ จนกว่าสถานการณ์ชายแดนเข้าสู่ภาวะปกติ

MATICHON ONLINE

อัพเดต 2 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 5 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ศบ.ทก. ผ่อนผันแรงงานต่างด้าว อยู่ต่อได้เป็นกรณีพิเศษ จนกว่าสถานการณ์ชายแดนเข้าสู่ภาวะปกติ พร้อมเร่งเยียวยาผู้รับผลกระทบ เตือน ระวังข่าวปลอม

เมื่อเวลา 12.00 น. วันที่ 7 กรกฎาคม ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.ร.ต.สุรสันต์ คงสิริ รองโฆษกกองบัญชาการกองทัพไทย และ นางมาระตี นะลิตา อันดาโม รองอธิบดีกรมสารนิเทศ และรองโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ แถลงผลการประชุมศูนย์เฉพาะกิจบริหารสถานการณ์บริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา (ศบ.ทก.)

พล.ร.ต.สุรสันต์กล่าวว่า มีเรื่องที่สำคัญหลายเรื่อง โดยเรื่องแรกที่ ที่ประชุมสภาความมั่นคงแห่งชาติ เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2568 ซึ่งเป็นประชุมครั้งที่ 6/2568 ที่ประชุมมีมติให้อำนาจ ศบ.ทก.ดำเนินการแก้ไขปัญหาความตึงเครียดตามแนวชายแดนให้คลี่คลายลง โดยให้มีอำนาจเต็มในเรื่องของการกำหนดมาตรการเพิ่มเติม หากสถานการณ์เลวร้ายลงหรือดีขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะนั้น โดยเน้นย้ำในเรื่องของการหลีกเลี่ยงการใช้กำลังทหาร นอกจากนี้ที่ประชุมยังให้ ศบ.ทก.ดำเนินการใช้มาตรการที่เข้มงวดในการแก้ไขปัญหากลุ่มอาชญากรรมข้ามชาติอย่างต่อเนื่องตามภาระหน้าที่ แต่อย่างไรก็ตามเรื่องดังกล่าวในมิติของงานปกติก็ยังเป็นการทำงานของหน่วยงานตามสายงานปกตินั่นเอง

พล.ร.ต.สุรสันต์กล่าว่า สำหรับสถานการณ์ชายแดน ณ ปัจจุบันมีการดำเนินการมาตรการผ่านแดนหรือผ่านจุดด่านเข้าออกของประชาชนสองฝ่ายที่ได้รับอนุญาต ไม่ว่าจะเป็นในกลุ่มของประชาชนที่พักอาศัยอยู่ในพื้นที่ประชาชนท้องถิ่นที่สามารถเดินทางผ่านเข้าออกเพื่อมาจับจ่ายใช้สอยสินค้าอุปโภคบริโภคที่ใช้ประจำวัน ก็สามารถดำเนินการเข้าออกได้ หรือแม้กระทั่งในกลุ่มเปราะบางที่มีความจำเป็นต้องเดินทางผ่านเข้าออก ทางเจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยก็ยังอนุญาตให้ดำเนินการหรือให้เดินทางผ่านเข้าออกได้เช่นเดียวกัน รวมไปถึงกลุ่มนักเรียนนักศึกษา การขนส่งเวชภัณฑ์ ผู้ป่วยที่มีความจำเป็นต้องเข้ามารับการบริการรักษาพยาบาลในอีกประเทศหนึ่งนี้ ก็สามารถที่จะยังดำเนินการเข้ามาได้ตามหลักมนุษยธรรม

โดยตั้งแต่วันที่ 7 มิ.ย.-7ก.ค.นั้น จากการรวบรวมตัวเลขพบว่ามีบุคคลที่เข้ามาในราชอาณาจักร 212,766 คน และมีกลุ่มประชาชนเดินทางออกจากราชอาณาจักรจำนวน 206,100 คน และตัวเลขในกองกำลังสุรนารีก็มีผู้ที่เดินทางผ่านเข้าออกจำนวนถึง 2,454 คน จะเห็นได้ว่าในพื้นที่แต่ละพื้นที่ก็จะมีตัวเลขที่ค่อนข้างหลากหลายกัน ขึ้นอยู่กับประเด็นความตึงเครียดของแต่ละสถานการณ์ตามแนวชายแดนนั้นๆ

พล.ร.ต.สุรสันต์กล่าวว่า สำหรับเรื่องที่ 3 คือ มาตรการในการช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการนำเข้าแรงงานต่างด้าวนั้น ทาง ศบ.ทก.ได้มีการประชุมหารือแนวทางในการผ่อนปรนการนำเข้าแรงงาน โดยบูรณาการหารือกับผู้แทนกระทรวงที่เกี่ยวข้อง คือกระทรวงแรงงานและกระทรวงมหาดไทย โดยจากการหารือกันเมื่อวันที่ 4 ก.ค.ที่ผ่านมา กรมการจัดหางานได้ประชุมเพื่อหารือแนวทางการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน เพื่อแก้ไขข้อขัดข้องที่เกิดขึ้น กับคนต่างด้าวที่เข้ามาทำงานตามมาตรา 64 แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวพุทธศักราช 2560 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

โดยในที่ประชุมกระทรวงมหาดไทยจะพิจารณาผ่อนผันคนต่างด้าวที่มีใบอนุญาตหรือที่ใบอนุญาตนั้นหมดอายุแล้วระหว่างอยู่ในประเทศไทย ให้สามารถอยู่ต่อได้เป็นกรณีพิเศษ โดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมใดๆ จนกว่าด่านชายแดนจะกลับเข้าสู่สภาวะปกติ ทั้งนี้ภายหลังจากที่ด่านเปิดเป็นปกติแล้ว ให้คนต่างด้าวเหล่านั้น เดินทางออกนอกราชอาณาจักรภายใน 14 วัน

ส่วนทางกระทรวงแรงงานจะออกมาตรการให้คนต่างด้าวสามารถยื่นคำขออนุญาตทำงานพร้อมเอกสารและหลักฐานการทำงาน ต่อนายทะเบียนอนุญาต โดยสามารถทำงานได้ครั้งละ 90 วัน แล้วก็ต่อใบอนุญาตอย่างต่อเนื่องทุกๆ 90 วัน ส่วนคนต่างด้าวที่มีงานทำอยู่แล้ว สามารถเปลี่ยนนายจ้างและสามารถเพิ่มนายจ้างได้สามรายตลอดระยะเวลาที่คนต่างด้าวนั้นได้รับอนุญาตให้ทำงานพื้นที่หรือจังหวัดที่ตนเองทำงานอยู่

“ทั้งหมดเป็นมาตรการเร่งด่วน เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ประกอบการในการนำเข้าแรงงานต่างด้าว ซึ่งมาตรการต่างๆ เหล่านี้ก็เพื่อช่วยเหลือพี่น้องประชาชนที่ได้รับผลกระทบทั้งสิ้น ทั้งนี้จากผลการประชุมดังกล่าว ทางกรมการหางานก็จะนำเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวในวันที่ 8 ก.ค.นี้ จากนั้นก็จะนำเข้าสู่ที่ประชุมของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในโอกาสแรกต่อไป โดยทั้งนี้จะให้มีผลย้อนหลังไปจนถึงวันที่ 7 มิ.ย.2568 ”

นางมาระตีกล่าวว่า สำหรับมิติด้านการต่างประเทศ ขณะนี้หน่วยงานความมั่นคงในพื้นที่ได้รายงานสถานการณ์ในพื้นที่ทุกจุดตรวจผ่านแดนพบว่า มีความสงบเรียบร้อยดี โดยฝ่ายไทยยังคงอนุโลมให้มีการผ่านแดนบ้าง แต่ขอยืนยันว่า มาตรการควบคุมจุดผ่านแดนของฝ่ายไทยยังคงดำเนินการอย่างเข้มงวดอยู่ เพื่อความมั่นคงโดยรวมของพื้นที่และความปลอดภัยของพี่น้องประชาชนทั้งสองฝ่าย ที่สำคัญคือเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติ โดยเฉพาะขบวนการหลอกลวงทางออนไลน์ เช่น สแกมเมอร์หรือแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ที่ได้สร้างความเสียหายต่อประชาชนและประเทศอย่างร้ายแรง โดยทุกมาตรการได้รับการพิจารณาอย่างรอบคอบโปร่งใสและเป็นไปตามนโยบายที่ทาง ศบ.ทก. และอาจปรับเปลี่ยนในอนาคตตามสถานการณ์ในพื้นที่หากมีความจำเป็น โดยจะคำนึงถึงการดำรงชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่เป็นสำคัญ

นางมาระตีกล่าวว่า ส่วนมาตรการเยียวยาประชาชนนั้น ขณะนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงพาณิชย์ ได้ดำเนินมาตรการเชิงรุก โดยเร่งระบายสินค้าสดและสินค้าอุปโภคบริโภคของเกษตรกรที่ไปยังตลาดและแหล่งกระจายสินค้าขนาดใหญ่ ทั้งในห้างสรรพสินค้า งานแสดงสินค้าในจังหวัดต่างๆ รวมถึงการเพิ่มช่องทางการขายผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ต่างๆ พร้อมทั้งมีการประสานงานกับหน่วยงานความมั่นคงในพื้นที่ เพื่อให้เกิดความชัดเจนและอำนวยความสะดวก ตามความเหมาะสม ส่วนของหน่วยงานฝ่ายความมั่นคงในพื้นที่เองก็ได้ช่วยซื้อผลผลิตของเกษตรกรรายย่อย ตามแนวชายแดน ขอย้ำอีกครั้งว่ารัฐบาลไทยโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่นิ่งนอนใจต่อผลกระทบที่เกิดขึ้นกับพี่น้องประชาชน และตระหนักดีว่าความเดือดร้อนของประชาชนรอไม่ได้

นางาระตีกล่าวว่า สำหรับมาตรการด้านการต่างประเทศ ที่ผ่านมาได้มีการจัดการเรื่องกลไกภายในกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อบริหารสถานการณ์ในขณะนี้ ตั้งแต่เกิดเหตุการณ์ความตึงเครียดของสถานการณ์ไทย-กัมพูชา ทางกระทรวงการต่างประเทศก็ได้ดำเนินการและประสานงานด้านต่างๆ ในมิติการต่างประเทศมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่แรกก็มีการจัดตั้งคณะทำงานระดับกระทรวง เพื่อติดตามสถานการณ์และประสานงานสนับสนุนการบูรณาการการทำงาน และการประสานงานภายในกระทรวงเอง และระหว่างกรมที่เกี่ยวข้อง

และอีกภารกิจสำคัญก็คือเพื่อเผยแพร่ข้อมูลระหว่างกระทรวงกับสถานเอกอัครราชทูตไทยในต่างประเทศทั่วโลก และสถานกงสุลใหญ่ด้วยเช่นกัน เพื่อประโยชน์ในการชี้แจงกับมิตรประเทศของประเทศไทย ในคณะทำงานนี้ได้บูรณาการการทำงานระหว่างหน่วยงานต่างๆ ได้แก่ กรมเอเชียตะวันออก ซึ่งเป็นกรมที่รับผิดชอบในเรื่องของการบริหารความสัมพันธ์ทวิภาคีไทย-กัมพูชา กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย ดำเนินภารกิจที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายระหว่างประเทศ และเรื่องเขตแดน กรมอาเซียน ติดตามในเรื่องของการเคลื่อนไหวหรือพัฒนาการที่สำคัญในเวทีการประชุมของอาเซียน กรมองค์การระหว่างประเทศก็จะรับผิดชอบในเรื่องของการติดตามท่าทีของกัมพูชาในเวทีระหว่างประเทศ รวมถึงท่าทีของประเทศอื่นๆ ด้วย กรมสารนิเทศ ก็รับผิดชอบในเรื่องของการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ และบริหารข้อมูลเพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง และกรมการกงสุลซึ่งมีความรับผิดชอบเกี่ยวกับการดูแลคนไทยในต่างประเทศ รวมถึงคนไทยในกัมพูชา ซึ่งงานของกระทรวงต่างประเทศทั้งหมดนี้ก็จะมีความประณีต และเกี่ยวโยงกับหลายหน่วยงาน ซึ่งกระทรวงพยายามที่จะสื่อสารภารกิจที่เกี่ยวข้องให้สาธารณชนทราบอย่างต่อเนื่องต่อไป

นางมาระตีกล่าวว่า ส่วนกรณีข่าวเกี่ยวกับหนังสือของเอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรกัมพูชาประจำสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก ถึงเลขาธิการสหประชาชาติ ซึ่งลงเมื่อวันที่ 16 มิ.ย. แจ้งความประสงค์ของกัมพูชาที่จะฟ้องร้องเกี่ยวกับประเด็นชายแดนระหว่างไทยกับกัมพูชาต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ICJ) ที่มีการเผยแพร่ผ่านโซเชียลในช่วง 2 วันที่ผ่านมานั้น ล่าสุด ทางกระทรวงการต่างประเทศได้สั่งการไปยังเอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรไทยประจำสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก ให้มีหนังสือเช่นกันถึงเลขาธิการสหประชาชาติด้วย เพื่อชี้แจงข้อเท็จจริงตลอดจนท่าทีและการดำเนินการของฝ่ายไทยในเรื่องนี้ ซึ่งเป็นไปตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ และหลักสิทธิมนุษยชนและมนุษยธรรม และฝ่ายไทยก็ได้ขอให้เลขาธิการสหประชาชาติ เวียนหนังสือชี้แจงของไทย เป็นเอกสารของสมัชชาสหประชาชาติเพื่อให้รัฐสมาชิกสหประชาชาติทั้งหมด 193 ประเทศรับทราบด้วย

“ทั้งนี้หนังสือเวียนดังกล่าวเป็นแนวทางปฏิบัติปกติ ที่สมาชิกทุกรัฐสามารถทำได้ โดยสำหรับฝ่ายไทยก็ได้ไม่ได้นิ่งนอนใจและได้ชี้แจงในส่วนของจุดยืนของไทยเกี่ยวกับเรื่องนี้ไปแล้ว”

นางมาระตีกล่าวว่า สำหรับท่าทีของไทยนั้น เมื่อวันที่ 6 ก.ค.ที่ผ่านมา ทางกระทรวงการต่างประเทศก็ได้มีการชี้แจงเพิ่มเติมเกี่ยวกับท่าทีของไทยและข้อคิดเห็นในเรื่องนี้ เพื่อประโยชน์ของการทำความเข้าใจที่ถูกต้อง โดยเฉพาะโดยที่ในพื้นที่สื่อ ซึ่งมีการนำเสนอข้อมูลจำนวนมากจากหลายแหล่ง ซึ่งบางส่วนอาจไม่ได้นำเสนอข้อเท็จจริงทั้งหมด ขอสรุปว่าเอกสารข่าวสารนิเทศฉบับนี้ ก็ได้ชี้แจงถึงการดำเนินการของฝ่ายไทย ตั้งแต่เกิดเหตุปะทะกันระหว่างทหารไทยและกัมพูชาเมื่อวันที่ 28 พ.ค. และจุดยืนของรัฐบาลไทยคือการแก้แก้ไขปัญหาเขตแดนกับกัมพูชาโดยสันติวิธี ภายใต้พันธกรณีตามเอ็มโอยูปี 2543 ซึ่งระบุอย่างชัดเจนว่าทั้งสองฝ่ายต้องแก้ไขปัญหาเขตแดนผ่านการเจรจาภายใต้กลไก JBC ซึ่งสอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายสหประชาชาติ

“สุดท้ายนี้ขอความร่วมมือพี่น้องประชาชนและสื่อมวลชนทุกท่านเช่นเคย ให้ระมัดระวังการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่ไม่ได้ตรวจสอบก่อน หรือขยายเนื้อหาที่อาจจะมีผลปลุกระดมในขณะนี้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเข้าใจผิด หรือเสี่ยงต่อการเกิดประเด็นขัดแย้งเพิ่มเติม รวมถึงในสังคมและตัวประชาชน ในส่วนของข้อมูลข่าวสารจากทางการไทยขอยืนยันอีกครั้ง ว่าเราตรวจสอบประสานงานและกลั่นกรองอย่างรอบคอบเพื่อป้องกันปัญหาข่าวปลอม และจะเป็นแนวทางปฏิบัติของเราต่อไป ที่จะเผยแพร่ในช่องทางต่างๆ มากที่สุดเท่าที่จะทำได้”

อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : ศบ.ทก. ผ่อนผันแรงงานต่างด้าว อยู่ต่อได้เป็นกรณีพิเศษ จนกว่าสถานการณ์ชายแดนเข้าสู่ภาวะปกติ

ติดตามข่าวล่าสุดได้ทุกวัน ที่นี่
– Website : https://www.matichon.co.th

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก MATICHON ONLINE

โมนา เคลียร์เหตุปะทะเดือด หญิงออน ภรรยาตั้ม วิชญะ ท้ากางหลักฐาน

39 นาทีที่แล้ว

กมธ.คอมเพล็กซ์ ส.ว. รายงานผลกระทบ ชี้พนันไม่ขับเคลื่อนศก. - ส่อขัดรธน. 4 มาตรา

41 นาทีที่แล้ว

สีกากอล์ฟ คนสนิท ทิดอาชว์ ให้ข้อมูล ตร.ไซเบอร์ ปมเว็บพนัน พบเคยเล่นได้มากกว่า 10 ล.

42 นาทีที่แล้ว

เปิดพฤติการณ์ ส.ว. ล่วงละเมิด สาวที่ปรึกษาอนุกมธ. บังคับขึ้นคอนโดขอมีเพศสัมพันธ์

46 นาทีที่แล้ว

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความการเมืองอื่น ๆ

ข่าวและบทความยอดนิยม

อิเคดะ ยังได้ไปต่อ มาดามแป้ง ใช้ ซีเกมส์ ตัดสินชะตา ต้องทองสถานเดียว

MATICHON ONLINE

เซ็นทรัลตั้ง 'ฌอน ฮิลล์' เจน 4 จิราธิวัฒน์ นั่ง CEO ห้างหรู 'ดี แบนคอร์ฟ' เนเธอร์แลนด์

MATICHON ONLINE

สมพร เผยเหตุถอดชื่อ บุ๋มบิ๋ม-เตย สนามท้าย VNL 2025 รักษาตัวพร้อมลุยชิงแชมป์โลก

MATICHON ONLINE
ดูเพิ่ม