โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

KTB ประเมินค่าเงินบาทวันนี้

ทันหุ้น

อัพเดต 9 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 9 ชั่วโมงที่ผ่านมา

#ทันหุ้น - นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ ที่ระดับ 32.39 บาทต่อดอลลาร์ “อ่อนค่าลงเล็กน้อย แทบไม่เปลี่ยนแปลง” จากระดับปิดสัปดาห์ก่อนหน้า ณ ระดับ 32.36 บาทต่อดอลลาร์

โดยนับตั้งแต่ช่วงคืนวันศุกร์ที่ผ่านมา เงินบาท (USDTHB) เคลื่อนไหวในกรอบ Sideways (แกว่งตัวในกรอบ 32.33-32.40 บาทต่อดอลลาร์) สอดคล้องกับการเคลื่อนไหวไร้ทิศทางที่ชัดเจน หรือ Sideways ของทั้งเงินดอลลาร์และราคาทองคำ โดยผู้เล่นในตลาดต่างรอรับรู้ปัจจัยใหม่ๆ เพิ่มเติม

โดยเฉพาะแนวโน้มการดำเนินนโยบายการค้าของสหรัฐฯ ที่คาดว่าจะมีการประกาศอัตราภาษีนำเข้าใหม่ในเร็ววันนี้ หลังครบกำหนดพักมาตรการเรียกเก็บภาษีนำเข้าตอบโต้ (Reciprocal Tariffs) ในวันที่ 9 กรกฎาคม ทั้งนี้ เงินบาทมีจังหวะอ่อนค่าลงบ้าง ในช่วงเช้าของตลาดการเงินเอเชีย ตามการทยอยปรับตัวลดลงของราคาทองคำเข้าใกล้โซนแนวรับระยะสั้นอีกครั้ง

สัปดาห์ที่ผ่านมา มุมมองของผู้เล่นในตลาดที่ทยอยปรับลดความคาดหวังต่อแนวโน้มการลดดอกเบี้ยของเฟด หลังรายงานข้อมูลตลาดแรงงานสหรัฐฯ ส่วนใหญ่ออกมาดีกว่าคาด หนุนให้เงินดอลลาร์รีบาวด์สูงขึ้น

สำหรับในสัปดาห์นี้ เรามองว่า ควรรอลุ้น การประกาศอัตราภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ ต่อบรรดาประเทศคู่ค้า หลังครบกำหนดการพักมาตรการเรียกเก็บภาษีนำเข้าตอบโต้ (Reciprocal Tariffs)

มุมมองเศรษฐกิจทั่วโลก

▪ ฝั่งสหรัฐฯ – ไฮไลท์สำคัญจะอยู่ที่ การเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับบรรดาประเทศคู่ค้า ซึ่งในสัปดาห์นี้ ทางการสหรัฐฯ อาจมีการประกาศอัตราภาษีนำเข้าใหม่ที่จะเรียกเก็บกับบรรดาประเทศคู่ค้า หลังครบกำหนด 90 วัน พักมาตรการเรียกเก็บภาษีนำเข้าตอบโต้ (Reciprocal Tariffs) ส่วนในฝั่งรายงานข้อมูลเศรษฐกิจนั้น ผู้เล่นในตลาดจะรอลุ้น รายงานดัชนีความเชื่อมั่นภาคธุรกิจขนาดเล็ก-กลาง (NFIB Small Business Optimism) เดือนมิถุนายน โดยเฉพาะในส่วนของแนวโน้มการจ้างงานในภาคธุรกิจดังกล่าว เนื่องจากการจ้างงานส่วนใหญ่ของสหรัฐฯ นั้นมาจากภาคธุรกิจขนาดเล็ก-กลาง พร้อมกันนั้น ผู้เล่นในตลาดจะรอติดตาม รายงานยอดผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงาน (Jobless Claims) เพื่อประเมินภาวะและแนวโน้มตลาดแรงงานสหรัฐฯ รวมถึงรอจับตา รายงานการประชุม FOMC ของเฟดล่าสุด (FOMC Meeting Minutes) ในการประเมินแนวโน้มการดำเนินนโยบายการเงินของเฟด โดยล่าสุด ผู้เล่นในตลาดทยอยปรับลดความคาดหวังต่อแนวโน้มการลดดอกเบี้ยของเฟด โดยเริ่มกลับมาเชื่อว่า เฟดมีโอกาสลดดอกเบี้ยได้ราว 2 ครั้ง ในปีนี้ และเดินหน้าลดดอกเบี้ยได้อีกราว 3 ครั้ง ในปีหน้า

▪ ฝั่งยุโรป – ผู้เล่นในตลาดจะรอประเมินแนวโน้มการดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลางยุโรป (ECB) ผ่านถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่ ECB รวมถึง รายงานข้อมูลเศรษฐกิจของยูโรโซน อย่าง ดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุน (Sentix Investor Confidence) ในเดือนมิถุนายน และรายงานยอดค้าปลีก (Retail Sales) เดือนพฤษาคม นอกจากนี้ ผู้เล่นในตลาดจะรอติดตามแนวโน้มการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับสหภาพยุโรป (EU) เพื่อประเมินผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น หากสหรัฐฯ ปรับเปลี่ยนอัตราภาษีนำเข้าที่จะเรียกเก็บกับสินค้าจากบรรดาประเทศในสหภาพยุโรป

▪ ฝั่งเอเชีย – ผู้เล่นในตลาดจะรอประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจจีน ผ่านรายงานอัตราเงินเฟ้อ CPI และดัชนีราคาผู้ผลิต PPI ในเดือนมิถุนายน นอกจากนี้ ตลอดทั้งสัปดาห์ ผู้เล่นในตลาดจะรอติดตามผลการประชุมบรรดาธนาคารกลางฝั่งเอเชีย โดยบรรดานักวิเคราะห์ต่างประเมินว่า ธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) และธนาคารกลางมาเลเซีย (BNM) อาจลดดอกเบี้ย 25bps สู่ระดับ 3.60% และ 2.75% ตามลำดับ ตามแนวโน้มการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจและเงินเฟ้อที่ทยอยกลับสู่เป้าหมายของธนาคารกลาง ขณะที่ ธนาคารกลางนิวซีแลนด์ (RBNZ) และธนาคารกลางเกาหลีใต้ (BOK) อาจคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 3.25% และ 2.50% เพื่อรอประเมินสถานการณ์โดยเฉพาะนโยบายการค้าของรัฐบาล Trump 2.0 ซึ่งภายในสัปดาห์นี้ ทางรัฐบาลสหรัฐฯ อาจทยอยประกาศอัตราภาษีนำเข้าใหม่ที่จะเรียกเก็บจากบรรดาประเทศคู่ค้า หลังครบกำหนดพักมาตรการภาษีนำเข้าตอบโต้

▪ ฝั่งไทย – ผู้เล่นในตลาดจะยังคงติดตามพัฒนาการของสถานการณ์การเมืองไทย ท่ามกลางความเสี่ยงที่อาจจะมีการเลือกนายกรัฐมนตรีใหม่ หรือ การยุบสภา เพื่อเลือกตั้งในช่วงปลายปี พร้อมกันนั้น ผู้เล่นในตลาดจะรอลุ้น แนวโน้มการเจรจาการค้าระหว่างไทยกับสหรัฐฯ และการประกาศอัตราภาษีนำเข้าของรัฐบาลสหรัฐฯ หลังครบกำหนดพักมาตรการภาษีนำเข้าตอบโต้ ในส่วนของรายงานข้อมูลเศรษฐกิจ ผู้เล่นในตลาดจะรอลุ้น รายงานอัตราเงินเฟ้อ CPI และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ในเดือนมิถุนายน

สำหรับ แนวโน้มเงินบาท เรามองว่า โมเมนตัมการแข็งค่าขึ้นของเงินบาทได้ชะลอลง เปิดโอกาสให้เงินบาทเสี่ยงอ่อนค่าลงได้ ซึ่งเรามองว่า ในระยะสั้น เงินบาทมีโอกาสผันผวนอ่อนค่าลง หากทางการสหรัฐฯ ปรับเพิ่มอัตราภาษีนำเข้ากับสินค้าไทย จากระดับปัจจุบันที่ถูกเรียกเก็บในอัตรา 10% (Universal Tariffs) ซึ่ง เรามองว่า ทางการสหรัฐฯ อาจเลือกที่จะประกาศอัตราภาษีนำเข้าใหม่ในลักษณะ 10%, 20% (เรียกเก็บกับสินค้านำเข้าจากเวียดนามล่าสุด) และ 30% (ซึ่งเรียกเก็บกับสินค้านำเข้าจากจีน) และหากประเมินจากการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับเวียดนามล่าสุด เรามองว่า สินค้าไทยก็เสี่ยงเผชิญอัตราภาษีนำเข้าในระดับ 20% เช่นกัน (30%-40% สำหรับสินค้าเสี่ยงมีการสวมสิทธิ์ หรือ Transshipment)

ทั้งนี้ หากเทียบเคียงกับช่วงสหรัฐฯ ประกาศมาตรการภาษีนำเข้าตอบโต้ (Reciprocal Tariffs) ที่ไทยเผชิญอัตราภาษีที่สูงถึง 36% กดดันให้เงินบาททยอยอ่อนค่าลงในช่วง 2%-3% ภายในระยะสั้น ทำให้ เรามองว่า หากไทยเผชิญอัตราภาษีนำเข้าใหม่ที่สูงเกิน 10% ก็อาจกดดันให้เงินบาทอ่อนค่าลงได้ไม่ยาก แม้อาจไม่ได้อ่อนค่าหนักเท่ากับช่วงการประกาศ Reciprocal Tariffs ก็ตาม อย่างไรก็ดี เงินบาทอาจพอได้แรงหนุนบ้าง หากราคาทองคำทยอยปรับตัวสูงขึ้นบ้าง ในกรณีที่ตลาดการเงินกลับมาอยู่ในภาวะปิดรับความเสี่ยง (Risk-Off) จากความกังวลนโยบายการค้าของสหรัฐฯ โดยเงินบาท (USDTHB) ยังมีโซนแนวต้านแถว 32.65-32.75 บาทต่อดอลลาร์ (แนวต้านถัดไป 32.90-33.00 บาทต่อดอลลาร์) ส่วนโซนแนวรับจะอยู่แถว 32.30-32.40 บาทต่อดอลลาร์ (แนวรับถัดไป 32.10 บาทต่อดอลลาร์)

อนึ่ง เมื่อประเมินด้วยกลยุทธ์ Trend-Following เงินบาทจะกลับมาอยู่ในแนวโน้มอ่อนค่าลงอีกครั้ง หากสามารถอ่อนค่าทะลุโซน 32.70-32.80 บาทต่อดอลลาร์ ได้ชัดเจน (หรืออ่อนค่าทะลุเส้นค่าเฉลี่ย 50 วัน)

ในส่วนเงินดอลลาร์นั้น เรามองว่า เงินดอลลาร์อาจแข็งค่าขึ้นได้ หนุนโดยการอ่อนค่าลงของบรรดาสกุลเงินคู่ค้าของสหรัฐฯ โดยเฉพาะบรรดาสกุลเงินฝั่งเอเชีย ที่อาจเผชิญการเรียกเก็บภาษีนำเข้าใหม่ในอัตราที่สูงขึ้นจาก Universal Tariffs 10% ทั้งนี้ ทิศทางเงินดอลลาร์จะยังคงขึ้นกับมุมมองของผู้เล่นในตลาดต่อแนวโน้มดอกเบี้ยเฟดและประเด็นเสถียรภาพการคลังของสหรัฐฯ

เราคงคำแนะนำว่า ผู้เล่นในตลาดควรเลือกใช้เครื่องมือในการปิดความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนที่หลากหลายมากขึ้น ท่ามกลางความผันผวนของเงินบาท รวมถึงสกุลเงินอื่นๆ ที่สูงขึ้นกว่าช่วงอดีตที่ผ่านมาพอสมควร โดยผู้เล่นในตลาดอาจเลือกใช้เครื่องมือเพิ่มเติม อาทิ Options หรือ Local Currency ควบคู่ไปกับการปิดความเสี่ยงผ่านการทำสัญญา Forward

มองกรอบค่าเงินบาทสัปดาห์นี้ ที่ระดับ 32.10-33.00 บาท/ดอลลาร์

ส่วนกรอบเงินบาทในช่วง 24 ชั่วงโมงข้างหน้า คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 32.30-32.50 บาท/ดอลลาร์

รู้ทันเกม รู้ก่อนใคร ติดตาม "ทันหุ้น" ได้ทุกช่องทางเหล่านี้

Facebook คลิก https://www.facebook.com/thunhoonnews

Youtube คลิก https://www.youtube.com/c/ThunhoonOfficial

Tiktok คลิก https://www.tiktok.com/@thunhoon_/

Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก ทันหุ้น

SIRI เรื่องต้องรู้! ก่อนลงทุน

29 นาทีที่แล้ว

LH Bank รุกตลาดลูกค้าไต้หวัน-ต่างชาติ ออกโปรโมชันโอนเงินไปตปท.ฟรีค่าธรรมเนียม

49 นาทีที่แล้ว

OR ผนึก BA นำร่องใช้น้ำมัน SAF ผลิตในไทยครั้งแรก ดันการบินยั่งยืน

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

เมย์แบงก์ หั่นเป้าดัชนีหุ้นไทยปีนี้เหลือ 1,290 จุด ชู ADVANC-PR9 หุ้นปลอดภัย

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความไอที ธุรกิจอื่น ๆ

TFG ต้อนรับนักลงทุนจาก บล.ลิเบอเรเตอร์ เยี่ยมชมกิจการ

สยามรัฐ

5 วิธีเพิ่มรายได้ แบบไม่ต้องออกจากงานประจำ!

Wealth Me Up

ดีอี เผยศูนย์ AOC 1441 คว้ารางวัลชนะเลิศ “WSIS PRIZES 2025” จาก ITU

ฐานเศรษฐกิจ

หุ้นไทยวันนี้(7 ก.ค.) พลิกบวก 3.06 จุด ซื้อ TRUE-ADVANC-DELTA

ทันหุ้น

เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์-เดอะมอลล์-ฟอร์ด จัดงาน “Special Private Screening for F1 The Movie”

สยามรัฐ

SIRI เรื่องต้องรู้! ก่อนลงทุน

ทันหุ้น

สรุปภาพรวมภาวะตลาดหลักทรัพย์เดือนมิถุนายน 2568

สยามรัฐ

‘เอกนัฏ’ ส่ง “มอก.วอทช์” AI สแกนสินค้าไม่ได้มาตรฐาน พร้อมโปรเดือด 7.7 จ่อฟันแพลตฟอร์มออนไลน์ 777 คดี

THE STATES TIMES

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...