“พิพัฒน์” แนะไทยปรับตัวฝ่าวิกฤติสหรัฐ เปิดเสรีเกษตร-บริการ
ดร.พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร เปิดเผยในงานเสวนาโต๊ะกลม "Roundtable: The Art of (Re)Deal” ซึ่งจัดโดยหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจว่า ประเทศไทยกำลังเผชิญกับศึกที่ค่อนข้างหนัก และไม่ควรwaste a useful crisis หรือปล่อยให้วิกฤตครั้งนี้ผ่านไปโดยไม่ได้ใช้เป็นโอกาสนี้ในการปรับตัวให้ได้ เพราะศึกครั้งนี้มาแน่นอน
ทั้งนี้ หากดูการวางโครงสร้างซัพพลายเชนของไทยในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ไทยวางโครงสร้างซัพพลายเชนและการพัฒนาอุตสาหกรรมของไทย บนพื้นฐานของโลกาภิวัฒน์ (globalization) โดยไทยได้ผนวกตัวเองเข้าไปอยู่ในห่วงโซ่อุปทานของโลก (global supply chain) และอยู่ในกฎเกณฑ์ของโลกเช่น องค์การการค้าโลก (WTO) รวมถึงหลักการ MFN Most Favored Nation ที่มีหลักปฏิบัติเท่าเทียมภายใต้สมาชิก WTO เว้นแต่ในกรณีของข้อตกลงการค้าเสรี FTA
อย่างไรก็ดี ปัจจุบันโดนัลด์ ทรัมป์กำลังเปลี่ยนแปลงหลักการดังกล่าวอย่างสิ้นเชิง มาเป็นการให้ความสำคัญกับสหรัฐเป็นพิเศษ หรือสหรัฐต้องมาก่อน (preferential treatment) ไม่เช่นนั้นอาจโดนผลกระทบ ซึ่งสหรัฐมีข้อเรียกร้อง 3 ประการ ประกอบด้วย
- การเปิดอุตสาหกรรมภายในประเทศ ซึ่งรวมถึงการลดอัตราภาษี ยกเลิกมาตรการที่มิใช่ภาษี (non-tariff barriers) และปรับปรุงพิธีการศุลกากร
- การย้ายฐานการผลิตไปลงทุนในสหรัฐ
- ประเด็นเรื่อง Transhipment ซึ่งเป็นเรื่องที่ถูกพูดถึงกันอย่างกว้างขวาง
โดยเป้าหมายหลักของสหรัฐจากการขู่ใช้มาตรการภาษีเหล่านี้ คือต้องการ disrupt ซัพพลายเชนของทั้งภูมิภาค หรือการรบกวนห่วงโซ่อุปทานในภูมิภาคทั้งหมด โดยมีจีนเป็นเป้าหมายสำคัญ สหรัฐกำลังบีบให้ประเทศต่างๆ รวมถึงไทย ต้องเผชิญกับ trade-off ในประเทศ หรือการตัดสินใจเลือกในหลายมิติ ทั้งให้เลือกระหว่างภาคอุตสาหกรรม เกษตรและบริการ ที่ต้องการให้ไทยเปิดตลาดมากขึ้น
ดร.พิพัฒน์ กล่าวอีกว่า อุตสาหกรรมของไทยได้รับผลกระทบอย่างแน่นอน เนื่องจากสหรัฐ เป็นตลาดส่งออกที่ใหญ่ที่สุดของไทย ซึ่งตามข้อมูลระบุว่าเมื่อ 5 ปีที่แล้ว สหรัฐเป็นเพียง 10% ของการส่งออกของไทย แต่ปัจจุบันเพิ่มขึ้นเป็น 18% การเติบโตดังกล่าวอาจมาจากการเพิ่มขึ้นของความสามารถในการแข่งขันของไทยเอง หรืออาจมีประเด็นเรื่อง transhipment และการสวมสิทธิ์เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
แต่โดยรวมสหรัฐถือเป็นตลาดที่ใหญ่มาก ทั้ง อิเล็กทรอนิกส์, เซมิคอนดักเตอร์, ปิโตรเคมี, ยาง, จิวเวลรี่, และอาหาร ฯลฯ
ซึ่งล้วนเป็นอุตสาหกรรมใหญ่ ดังนั้นประเด็นสำคัญไม่ได้อยู่ที่ว่าไทยได้รับผลกระทบเท่าใด แต่อยู่ที่ว่าไทยได้รับผลกระทบ เมื่อเทียบกับคู่แข่งของไทยที่วันนี้ส่วนใหญ่มีอัตราภาษีต่ำกว่าไทย ดังนั้นความสามารถในการแข่งขันอุตสาหกรรม เวลูแอดเดรจต่างๆได้รับผลกระทบแน่นอน
นอกจากผลกระทบต่ออุตสาหกรรมแล้ว การลงทุนก็ได้รับผลกระทบอย่างมากเช่นกัน อาจเกิดคำถามว่า ทําไมต้องมาอยู่ในเมืองไทย ในวันที่ความไม่แน่นอนหรือ unserity เต็มไปหมดซึ่งการใช้ unserity หรือความไม่แน่นอน เป็นเครื่องมือในการเจรจาของทรัมป์ หากไม่มีการตกลงอย่างรวดเร็ว ทุกอย่างจะยังคงอยู่ในภาวะที่ไม่แน่นอนตลอดไป (up in the air) ซึ่งจะส่งผลเสียต่อความสามารถในการการเดินฐานของการลงทุนมากกว่าความสามารถในการแข่งขัน สิ่งนี้จะกระทบภาพระยะยาวแน่ ดังนั้น หากไทยไม่สามารถเจรจาได้จะเหนื่อย
อย่างไรก็ตามมองว่าวันนี้ ไทยกำลังถูกบังคับให้เลือกระหว่างสองทางเลือกที่สำคัญ ทั้งภาคอุตสาหกรรมกับการลงทุน ภาคเกษตรและบริการ เพื่อให้ไทยเปิดตลาด ดังนั้นควรใช้โอกาสจากวิกฤตสถานการณ์นี้อาจถูกใช้เป็น โอกาสที่ดีในการเปิดเสรีภาคเกษตรอย่างค่อยเป็นค่อยไป เปิดเสรีภาคบริการอย่างเป็นค่อยเป็นค่อยไป เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันและลดผลกระทบ
เพราะหากความท้าทายหลังจากนี้จะเพิ่มขึ้น จากการเปิดเสรีภาคเกษตร หากไทยต้องเปิดเสรีภาคเกษตร จะต้องมีกลไกในการชดเชย และกลไกในการบรรเทาผลกระทบ เพราะการเปิดเสรีโดนแน่นอน เนื่องจากในหลายอุตสาหกรรม เกษตรกรรมไทยไม่สามารถแข่งขันได้ และแม้ว่าภาคเกษตรอาจมีผลกระทบทางเศรษฐกิจโดยรวมน้อยกว่าภาคอุตสาหกรรม แต่จํานวนแรงงานคนที่รับผลกระทบต่างกันเยอะมากทำให้การตัดสินใจนี้ยิ่งซับซ้อน
“วันนี้ไทยกำลังถูกให้เลือกระหว่างสหรัฐกับจีน ซึ่งเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดของไทยและเป็นผู้ซื้อที่ใหญ่ที่สุดของโลก ดังนั้นการตัดสินใจดังกล่าวถือเป็นเรื่องที่ท้าทายมาก และมีนัยสำคัญในมิติทางภูมิรัฐศาสตร์ (geopolitics) และภูมิเศรษฐศาสตร์ที่กำลังเกิดขึ้นในภูมิภาค และรวมถึงประเทศไทย
นอกจากนี้ในประเด็นเรื่อง transhipment นั้นสหรัฐอาจใช้คำว่า regional value content (RVC) มากกว่า domestic value added มูลค่าเพิ่มที่เกิดในประเทศ มีการพูดถึงตัวเลข RVC เช่น 60% คำถามคือ หากสินค้ามี privactive ของจีน หรือส่วนประกอบจากจีนเข้ามาเกี่ยวข้อง จะนับอย่างไร ซึ่งไม่ใช่แค่การสวมสิทธิ์ ที่หมายถึงมูลค่าสินค้า 80-90% มาจากจีนแล้วส่งออกไป แต่สหรัฐอาจบีบให้มีคอนเทนต์จากเมืองจีนน้อยกว่า 50% ซึ่งในหลายอุตสาหกรรม อาจจะทําได้ยากมาก เหล่านี้คือความท้าทายและมีผลต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมในเมืองไทยค่อนข้างเยอะ
ดังนั้นหากต้องเลือกข้าง คงเลือกไม่ง่าย หรือจะเก็บไว้ทั้งสองประเทศ ทั้งสหรัฐและจีน สหรัฐคงไม่ต้องการเห็นภาพนั้น ซึ่งจีนเองก็ไม่ได้นิ่งเฉย ดังนั้นก็ยืนยันว่าคงไม่สามารถเลือกทั้งสองประเทศได้
ดร.พิพัฒน์ กล่าวอีกว่า สถานการณ์ในปัจจุบันที่แรงกดดันค่อนข้างรุนแรง ถึงขั้นเรียกได้ว่าเป็นวิกฤต หรือที่เน้นย้ำว่า Don't waste a good crisis ซึ่งหมายความว่า ควรหาวิธีใช้ประโยชน์จากแรงกดดันเหล่านี้ ทั้งผ่านการปรับโครงสร้าง ต้องมีการเปิดเสรีอย่างค่อยเป็นค่อยไป และต้องหาวิธีชดเชยเยียวยา
อย่างไรก็ตาม มองว่าการชดเชยเยียวยา อาจฟังดูเหมือนเป็นการชดเชยอย่างเดียว แต่สิ่งที่สำคัญมากกว่านั้นคือจะทำอย่างไรเพื่ออัพสกิล (up-skill) คนที่อยู่ในกลุ่มแรงงานนั้นให้มากขึ้น รวมถึงรัฐบาลต้องหาช่องทางในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้มากขึ้น
เพราะการใช้เงินอาจจะไม่ใช่แค่การชดเชยเยียวยาอย่างเดียวแต่ควรเน้นที่การทำอย่างไรให้เราสามารถแข่งขันได้ในระยะยาวเพราะหากเงินหมดลง การเยียวยาอาจทำได้ไม่มากนัก แต่ประเด็นที่สำคัญที่สุดคือทำอย่างไรให้ผู้ประกอบการไทยและแรงงานไทยสามารถแข่งขันได้ในตลาดที่ยากขึ้นเรื่อยๆ
“หากกลับไปตอน WTO ที่เข้ามาบังคับให้มีการเปิดเสรี ซึ่งในเวลานั้นหลายอุตสาหกรรมของไทยก็สามารถแข่งขันได้ แต่รอบนี้ยากกว่า เพราะแทนที่ทุกคนจะเปิดเสรีพร้อมๆ กัน มันกลับกลายเป็น deal based transaction ซึ่งทำให้สถานการณ์ซับซ้อนมากยิ่งขึ้น ขณะที่อาจไม่มีเวลาเหลือเยอะนักในการคุ้มครองอุตสาหกรรม บนความไม่แน่นอนสูง และยังไม่รู้ว่าจะทำอะไร ไปเยียวยากลุ่มไหน เพราะสถานการณ์ยังไม่สิ้นสุด ดังนั้นเรื่องนี้ท้าทายมาก”