กางอำนาจ รักษาการนายกรัฐมนตรี หลัง แพทองธาร หยุดทำหน้าที่ | ข่าวเย็นประเด็นร้อน
1 ดูข่าวเย็นประเด็นร้อน - วันพรุ่งนี้ นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม จะนำ ครม.ชุดใหม่ เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนปฎิบัติหน้าที่ วันนี้และพรุ่งนี้จะเป็น 2 วันที่นายสุริยะจะทำหน้าที่ รักษาการนายกฯ ก่อนที่ นายภูมิธรรม เวชยชัย จะรับไม้ต่อ วันนี้ัเรามาดูกันว่า รักษาการนายกฯ อำนาจและหน้าที่อย่างไรและที่สำคัญ สามารถ ยุบสภา ได้หรือไม่ ย้อนกลับไปเราเคยมี รักษาการนายกฯ มาแล้วถึง 5 คน ในปี 2535 หลังเกิดเหตุการณ์นองเลือด พฤษภาทมิฬ พลเอก สุจินดา คราประยูร ได้ลาออกหลังทำหน้าที่ และแต่งตั้ง นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ทำหน้าที่เป็น รักษาการนายกฯ ปี 2551 นายสมัคร สุนทรเวช ถูกศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้พ้นจากตำแหน่ง เนื่องจากรับจ้างเป็นพิธีกรรายการทำกับข้าวออกทีวี เป็นเหตุให้ สมชาย วงศ์สวัสดิ์ ทำหน้าที่เป็น รักษาการนายกฯ ในปีเดียวกัน พรรคพลังประชาชนได้ตั้ง นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ เป็นรักษาการหัวหน้าพรรค และเป็นนายกรัฐมนตรีต่อเนื่อง แต่สุดท้ายไม่รอด พรรคพลังประชาชน ถูกยุบพรรคในคดีทุจริตเลือกตั้ง โดยมี นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล ทำหน้าที่รักษาการนายกรัฐมนตรี ปี 2557 ศาลรัฐธรรมนูญ ได้วินิจฉัยให้น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีรักษาการ หลังมีการยุบสภา จากกรณีแต่งตั้งโยกย้าย นายถวิล เปลี่ยนศรี ส่งผลให้ นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล ทำหน้าที่รักษาการนายกฯ ปี 2565 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ต้องยุติปฏิบัติหน้าที่ระหว่างรอตีความนายกฯ 8 ปี ทำให้ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ ทำหน้าที่รักษาการนายกฯ และในครั้งนี้ นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คมนาคม ต้องก้าวขึ้นมาเป็น รักษาการนายกฯ เนื่องจาก นายภูมิธรรม เวชยชัย ซึ่งอยู่ในโผคณะรัฐมนตรีแพทองธาร 2 ยังไม่ได้เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนปฎิบัติหน้าที่ ทีนี้มาดูกันว่า กรณีนายกฯ ถูกศาลสั่งหยุดปฏิบัติหน้าที่ชั่วคราว จะต้องมีรักษาราชการแทนโดยอัตโนมัติตามกฎหมาย ไม่ต้องมีคำสั่งแต่งตั้ง และการรักษาราชการแทนจะสิ้นสุด เมื่อผู้ดำรงตำแหน่งเดิมกลับมาปฏิบัติหน้าที่ หรือ มีการแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งใหม่ ตำแหน่งผู้รักษาการนายกรัฐมนตรีอยู่ในขอบเขตนี้ ส่วนอำนาจและหน้าที่ของ รักษาการนายกฯ นั้น ตามรัฐธรรมนูญ 2560 รักษาการนายกฯ มีอำนาจและหน้าที่เช่นเดียวกับนายกรัฐมนตรีทุกประการ แต่มีข้อจำกัดคือ 1.ห้ามบริหารงานบุคคลและงบประมาณ 2.ห้ามแต่งตั้ง หรือ โยกย้ายข้าราชการ พนักงานหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ หรือ กิจการที่รัฐถือหุ้นใหญ่ 3.ห้ามอนุมัติงบประมาณ หรือ โครงการที่มีผลผูกพัน ครม. ชุดต่อไป และห้ามอนุมัติงบประมาณเพื่อกรณีฉุกเฉิน หรือ จำเป็น 4.ห้ามใช้ทรัพยากร บุคลากรของรัฐ ที่อาจมีผลต่อการเลือกตั้ง ต้องได้รับความเห็นชอบจากนายกฯ ตัวจริง หรือ ผ่านกลไกอื่นตามกฎหมาย และคำถามสำคัญ รักษาการนายกฯ สามารถตัดสินใจยุบสภาได้ด้วยตนเองได้หรือไม่ ตามรัฐธรรมนูญ 2560 คือ ไม่สามารถยุบสภาได้ เนื่องจากการยุบสภา เป็นอำนาจเฉพาะตัวของนายกรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญ รักษาการนายกรัฐมนตรีมีอำนาจเต็มตามกฎหมายการบริหารราชการแผ่นดินปี 2534 แก้ไขเมื่อปี 2553 มาตรา 48 คืออำนาจการบริหารเท่านั้น อย่างไรก็ตาม นายวิษณุ เครืองาม อดีตรองนายกรัฐมนตรี เคยให้สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2565 หลังศาลรัฐธรรมนูญ สั่ง พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา หยุดปฏิบัติหน้าที่ชั่วคราว รักษาการนายกฯ มีอำนาจเหมือนนายกรัฐมนตรีทุกอย่าง แม้แต่การยุบสภาฯ ก็ประกาศได้ นักวิชาการแสดงความคิดเห็น ตีความแตกต่างกันออกไป ด้าน นายชูศักดิ์ ศิรินิล รมต.ประจำสำนักนายกฯ ในฐานะรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ฝ่ายกฎหมาย ออกมาบอกว่า รักษาการนายกฯ สามารถยุบสภาได้ เพราะไม่มีกฎหมายห้าม เพียงแต่ที่ผ่านมา ไม่มีใครเขาทำกัน กดติดตามช่อง CH7HD News ได้ที่ : https://cutt.ly/YTch7hdnews ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ : https://news.ch7.com #ข่าวเย็นประเด็นร้อน #ข่าวช่อง7 #CH7HDNEWS ติดตาม CH7HD News และ TERO Digital ได้ที่ : https://linktr.ee/ch7hdnews_tero
เล่นอัตโนมัติ