โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

การเมือง

“เท้ง” ถามตรง “บิ๊กเล็ก” มาตราการชายแดนไทย-กัมพูชา ยกระดับอยู่หรือไม่

The Better

อัพเดต 5 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 5 ชั่วโมงที่ผ่านมา • THE BETTER
“เท้ง” ตั้งกระทู้ถามสด สถานการณ์ไทย-กัมพูชา ยังใช้มาตรการทางทหารกดดันอยู่หรือไม่ ด้าน “ บิ๊กเล็ก“ ออกโรงแจง มีสัญญาณบวก ติง โซเชียลกระหน่ำปั่นข่าว

ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร สมัยสามัญประจำปี 2568 นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ หัวหน้าพรรคประชาชน ในฐานะผู้นำฝ่ายค้าน ตั้งกระทู้ถามสดด้วยวาจาในเรื่องสถานการณ์ความมั่นคงบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา ว่า จากสถานการณ์วิกฤตไทย-กัมพูชา ที่เกิดขึ้นในขณะนี้ สิ่งที่ประชาชนทั่วประเทศต้องการคือรัฐบาลที่มีความเข้มแข็งไม่อ่อนแอ แต่ขณะเดียวกันต้องมีการบริหารสถานการณ์อย่างมีวุฒิภาวะและรอบคอบได้รับการยอมรับจากนานาประเทศ โดยเฉพาะการที่เพื่อนบ้านให้ความเกรงอกเกรงใจรัฐบาลไทย ซึ่งการที่รัฐบาลจะสามารถดำเนินมาตรการต่าง ๆ เหล่านี้ได้อย่างเข้มแข็ง และมีวุฒิภาวะเหมาะสมได้มีหลายส่วนด้วยกัน ทั้งการทางทหาร มาตรการกดดันทางเศรษฐกิจ รวมถึงมาตรการที่พุ่งเป้าไปยังเครือข่ายกลุ่มอิทธิพลของผู้นำกัมพูชาที่วันนี้ได้เห็นตามหน้าข่าวแล้วว่าสถานการณ์ที่เกิดขึ้น หรือคลิปเสียงสนทนาที่หลุดออกมานั้น เกิดจากการบริหารราชการแผ่นดินที่ผิดพลาด ซึ่งผู้นำประเทศใช้ความสัมพันธ์ส่วนตัวระหว่างครอบครัวจนนำมาสู่วิกฤตในครั้งนี้ที่คลี่คลายได้อย่างยากขึ้น

ในฐานะที่รัฐมนตรี ช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม เป็น ผอ.ศูนย์เฉพาะกิจการบริหารสถานการณ์ไทย-กัมพูชา (ศบ.ทก.) ที่เพิ่งให้สัมภาษณ์นักข่าวว่าถึงแม้ ครม.ชุดใหม่ อยู่ระหว่างการโปรดเกล้าฯ และรอเข้าเฝ้าถวายสัตย์ปฏิญาณ ยังไม่มีสุญญากาศใด ๆ เกิดขึ้น เพราะในฐานะรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม ยังสามารถบริหารราชการแผ่นดินนี้ทดแทนได้

ตามที่นายกรัฐมนตรีเคยวางแนวทางปฏิบัติไว้ก่อนหน้านี้ว่ามาตรการต่าง ๆ ล้วนต้องใช้อย่างเหมาะสม นายกรัฐมนตรีเคยมีการสื่อสารต่อสื่อมวลชนว่า มาตรการทางเศรษฐกิจที่บางกรณีหรือหลายกรณีส่งผลกระทบต่อประชาชนเป็นวงกว้างต้องใช้ไปเพื่อการสร้างแรงกดดันในการลดผลกระทบการเคลื่อนไหวทางทหาร และการใช้อาวุธที่ใช้ปฏิบัติการในระยะไกลของกัมพูชา ซึ่งมาตรการอื่น ๆ เช่น มาตรการเศรษฐกิจนี้สามารถเปลี่ยนแปลงได้หากสถานการณ์ปรับเปลี่ยนในทิศทางที่ดีขึ้น ตั้งแต่วันที่ 8 มิถุนายน 2568 เป็นต้นมามีรายงานข่าวที่สอดคล้องกันระหว่าง 2 ประเทศ ว่ากัมพูชาได้ปรับกำลังทหาร ในบริเวณพื้นที่พิพาทแล้ว

นายณัฐพงษ์ กล่าวว่า เป็นที่ทราบกันดีว่าในขณะนี้การควบคุมด่านชายแดนที่รัฐมนตรีอาจใช้คำว่าเป็นการเปิดด่านอย่างจำกัดเวลา ปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นมาตรการกดดันทางด้านเศรษฐกิจที่ด้านหนึ่งก็เป็นมาตรการที่มีประสิทธิภาพ แต่อีกด้านหนึ่งก็ส่งผลกระทบต่อประชาชนชาวไทย เป็นวงกว้างด้วยเช่นเดียวกัน

จึงอยากเน้นย้ำว่ารัฐบาลต้องเข้มแข็ง พรรคฝ่ายค้านไม่ได้เห็นต่างที่จะใช้มาตรการกดดันทางด้านเศรษฐกิจ ซึ่งจะใช้อย่างไรให้เหมาะสม และใช้อย่างไรให้แสดงออกว่ารัฐบาลบริหารสถานการณ์อย่างรอบคอบและมีวุฒิภาวะ สถานการณ์ที่เกิดขึ้นที่รับทราบตามหน้าข่าวอาจไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริง จึงอยากได้ข้อเท็จจริงว่าทางกัมพูชาได้ปรับกำลังทหารไปแล้ว นายกรัฐมนตรีเคยวางแนวทางไว้แล้ว ว่าจะมีมาตรการกดดันทางเศรษฐกิจต้องใช้อย่างเหมาะสมและปรับเปลี่ยนได้ตามสถานการณ์ในอนาคต จึงอยากสอบถามรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม ณตอนนี้สถานการณ์ระหว่างไทยและกัมพูชาตามแนวชายแดนมีความตึงเครียดหรือความกดดันทางด้านการทหาร ที่กัมพูชาดำเนินการอยู่ใช่หรือไม่ เพราะตอนนี้เห็นอยู่ว่าทางรัฐบาลดำเนินการเรื่องควบคุมด่านชายแดนอยู่

ด้าน พลเอกณัฐพล นาคพาณิชย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ชี้แจงถึงสถานการณ์ปัจจุบันบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา ตามที่ได้รับทราบว่า วันที่ 28 มิถุนายน มีการเคลื่อนย้าย กำลังกลับจากจุดที่เผชิญหน้ากันอยู่ ซึ่งในครั้งนั้นไทยพยายามเจรจากับฝ่ายกัมพูชา มีกำลังที่เผชิญหน้ากันอยู่ในระยะใกล้และมีความเสี่ยง ที่จะเกิดการใช้อาวุธได้ ซึ่งหากมีการเริ่มใช้อาวุธจะทำให้ความตึงเครียดและอาจจะบานปลายได้ ถึงแม้ว่ากำลังที่ได้เผชิญหน้ากันได้ย้ายกำลังออกไปแล้ว แต่กำลังส่วนที่เหลือซึ่งมีจำนวนมากมีทั้งอาวุธหนัก ทั้งรถถังและปืนใหญ่ ยังเป็นกำลังระลอกสองที่อยู่ในพื้นที่ ซึ่งบริเวณนี้มีความเสี่ยงที่วันใดอาจเกิดทำให้สถานการณ์บานปลายถึงขั้นใช้อาวุธหนักกัน

ปัจจุบันรัฐบาล ได้มีการตั้งมาตรการคลี่คลายความตึงเครียด ดังนี้ ประการแรกรัฐบาลไทยโดย ศบ.ทก. เป็นกลไกเฉพาะกิจของรัฐบาลตั้งขึ้นภายใต้การอำนวยการของสภาความมั่นคงแห่งชาติ ซึ่งได้กำหนดแนวทางไว้อย่างชัดเจน ภายใต้สันติวิธียึดถือศักดิ์ศรีแห่งความเป็นรัฐของทั้ง 2 ฝ่าย ทั้งนี้ในการเจรจามุ่งเน้นการเจรจาแบบทวิภาคีกับฝ่ายกัมพูชาเพื่อคลี่คลายสถานการณ์โดยสันติและป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ลุกลามบานปลาย

พลเอกณัฐพล ยอมรับว่า การจัดการสถานการณ์ชายแดนไทยกัมพูชาเป็นเรื่องที่น่าหนักใจมาก เพราะสังคมในไทยมี 2 กระแส กระแสแรกจากการที่ไปเยี่ยม ประชาชนตามแนวชายแดนทั้งจังหวัดอุบลราชธานี สระแก้ว และสุรินทร์ ประชาชนตามแนวชายแดนเรียกร้องให้รัฐบาลยุติสถานการณ์โดยเร็ว และต้องการความเห็นใจเนื่องจากเดือดร้อนมาก ส่วนประชาชนส่วนกลาง ไม่อยากให้อ่อนข้อและอยากให้ใช้มาตรการที่เข้มแข็ง ยึดถือศักดิ์ศรีเป็นหลัก จึงขอความเห็นใจทุกภาคส่วน ทำให้ ศบ.ทก.ต้องใช้ความรอบคอบในการตัดสินใจและชั่งน้ำหนักให้ดี

นอกจากนี้ รัฐบาลยังตระหนักถึงความตึงที่เกิดขึ้นเป็นผลจากการดำเนินการนโยบายของประเทศเพื่อนบ้านซึ่งอาจมีการชี้นำจากฝ่ายการเมือง แต่ต้องรักษาไว้ซึ่งความสัมพันธ์อันดีของประชาชนทั้ง 2 ประเทศ ต้องพึงตระหนักไว้เสมอว่าความขัดแย้งที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องส่วนบุคคลและต้องไม่นำความตึงเครียดนี้ขยายไปสู่ประชาชนโดยทั่วไป และไม่ควรเป็นเหยื่อของการเมืองระดับรัฐ

รัฐบาลยังต้องจำเป็นที่จะดำเนินมาตรการความเข้มงวดตามแนวชายแดนเนื่องจากมีข้อมูลที่ชัดเจนว่าทางการกัมพูชาได้มีการสั่งกำลังเคลื่อนย้ายเข้ามาตามแนวชายแดน และฝ่ายไทยเองต้องมีการปรับกำลังที่เหมาะสม เพื่อรักษาธิปไตยและความมั่นคงแต่ขอย้ำว่าทุกการเคลื่อนไหวของไทยอยู่ในกรอบสันติวิธี และหลีกเลี่ยงการปะทะโดยเด็ดขาดหากกัมพูชาไม่ล่วงล้ำอธิปไตยด้วยกำลังติดอาวุธ

ส่วนการควบคุมชายแดนรัฐบาลไทยยังมีความร่วมมือกับสำนักงานว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรมข้ามชาติ (UNODC) และพันธมิตรในการปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติโดยเฉพาะแสกมเมอร์ ที่แฝงตัวอยู่ในพื้นที่ใกล้แนวชายแดนเป็นจำนวนมาก จึงจำเป็นต้องตรวจสอบและควบคุมตามแนวชายแดนอย่างเข้ม ทางด้านตะวันตกและตะวันออกของประเทศ

พลเอกณัฐพล กล่าวต่อว่าความกดดันที่เกิดขึ้นไม่ได้เกิดขึ้นทางด้านเศรษฐกิจ แต่เรากดดันด้านกระบวนการอาชญากรรม ซึ่งเป็นความร่วมมือกับ UNODC โดยเฉพาะการปราบปรามแก๊งสแกมเมอร์ ตนเองเจ็บปวดในฐานะรัฐบาล เนื่องจากประชาชนในจังหวัดสระแก้ว จันทบุรีและตราดต่อว่า เขาไม่ได้อยู่ในพื้นที่ตึงเครียดทำไมถึงต้องดึงมาเกี่ยว จึงอยากชี้แจงเนื่องจากการบริหารสถานการณ์เป็นไปด้วยความยากมีความเห็นจากทั้งสองฝ่าย ฝ่ายที่อยากให้ใช้สายแข็งก็มี แต่พี่น้องประชาชนตามแนวชายแดนโอดครวญตัดพ้อต่อว่า รัฐบาลว่าวางแผนในห้องแอร์

ตนเองฟังเช่นนี้ก็รู้สึกเจ็บปวดมาก เพราะไม่ได้วางแผนในห้องแอร์ แต่ฟังข้อมูลจากทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เป็นข้อมูลที่สะเทือนใจเมื่อเด็กนักเรียนอยู่ในห้องเรียนต้องฟังเสียงไซเรน ศบ.ทก.จึงมีความระมัดระวังไม่ให้เหตุการณ์บานปลาย เพราะความเสียหายที่เกิดขึ้นจะเกิดกับประชาชน ย้ำว่าเราพยายามเชิญชวนให้กัมพูชาเข้าสู่การเจรจาแบบทวิภาคี การประชุม GBC บรรยากาศเริ่มดีขึ้น กัมพูชาเริ่มหันมาคุยปัจจุบันอยู่ขั้นของการต่อรองและประสานงาน

ขณะที่คดีการลอบสังหารนักเคลื่อนไหวกัมพูชาในประเทศไทย อยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จึงขออนุญาตไม่ชี้แจงเนื่องจากเป็นประเด็นละเอียดอ่อน ตนเองเคยเป็นเลขาธิการ สมช.มาก่อน เรื่องความมั่นคงจะยึดสมดุลเป็นหลัก สร้างความสมดุลระหว่างประเทศมหาอำนาจทุกทุกประเทศ เราพยายามระมัดระวังไม่ให้ประเทศไทยไปผูกพันกับประเทศไทยประเทศหนึ่ง

สำหรับที่สื่อมวลชนมีการเผยแพร่ว่า กัมพูชาได้รับการสนับสนุนจากประเทศตอนเหนือของไทย แต่สถานเอกอัครราชทูตของประเทศนั้นได้ชี้แจงชัดเจนว่าไม่เกี่ยวข้อง ส่วนการฝึก Golden Dragon 2025 ไม่ได้ฝึกมาเพื่อยั่วยุกับไทย ขณะที่ไทยก็ฝึก Conbra Gold กับอีกประเทศหนึ่ง ทั้งหมดเป็นเพียงความร่วมมือทางการทหาร

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก The Better

ก.ล.ต. แต่งตั้งกรรมการ ตลท. จำนวน 3 คน มีผล 5 ส.ค.68 นี้ หลังกรรมการตลท.พ้นตำแหน่งตามวาระ

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

KUN ยื่นไฟลิ่งเสนอขายหุ้นกู้ครั้งที่ 2/68 ดอกเบี้ย 7.40% ต่อปี เตรียมพัฒนาโครงการใหม่

2 ชั่วโมงที่ผ่านมา

"ศุภชัย" ซัดกลับ "สมศักดิ์" ปล่อยน้ำกระท่อมเกลื่อนเมือง คือผลงานอดีต รมว.ยธ.

2 ชั่วโมงที่ผ่านมา

สาวไต้หวันไม่รู้จัก'พนมเปญ'ไม่รู้ด้านมืดกัมพูชา ถูกลวงไปเป็นทาสแรงงานธุรกิจสีเทา

2 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความการเมืองอื่น ๆ

ข่าวและบทความยอดนิยม