โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

‘ธรรมศาสตร์’ จับมือ 39 อปท. ปั้นโมเดลดูแลผู้สูงวัย 4 ด้าน

ไทยโพสต์

อัพเดต 4 กรกฎาคม 2568 เวลา 22.34 น. • เผยแพร่ 5 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ระเบิดพลัง! ขับเคลื่อนนวัตกรรมบริการสุขภาพโดยท้องถิ่น “ธรรมศาสตร์” ผนึก 39 อปท. - ภาคีประเทศญี่ปุ่น สร้างโมเดลจัดบริการผู้สูงอายุในชุมชนตามบริบทพื้นที่ ปักหมุดปี 2568-2571 ขยายความร่วมมือไปสู่ 50 อปท.ทั่วประเทศ มุ่ง 4 ประเด็นสำคัญ “สมองเสื่อม-โภชนาการ-สุขภาพช่องปาก-เฝ้าระวังภัยพิบัติ” ด้าน “นายกเทศมนตรีเมืองบึงยี่โถ“ ตอกย้ำความสำคัญสถาบันการศึกษาจับมือท้องถิ่นรับมือสังคมสูงวัย

4 กรกฎาคม 2568 - มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ร่วมกับเทศบาลเมืองบึงยี่โถ จ.ปทุมธานี องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JICA) และภาคีเครือข่ายภาควิชาการจากประเทศญี่ปุ่น จัดกิจกรรม TU Care & Ageing Society ‘ธรรมศาสตร์’ เพื่อนร่วมทางสังคมสูงวัย ครั้งที่ 2 ขึ้น เมื่อวันที่ 3 ก.ค. 2568 โดยมีสาระสำคัญคือการถ่ายทอดองค์ความรู้และแลกเปลี่ยนผลการขับเคลื่อนงานตามโครงการการพัฒนาการจัดบริการสำหรับผู้สูงอายุในชุมชน ผ่านการสร้างเครือข่ายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ในประเทศไทย (SMART AND STRONG PROJECT) ที่ธรรมศาสตร์ ได้ให้บริการวิชาการสนับสนุนการยกระดับการจัดบริการสุขภาพใน อปท. 39 แห่ง ทั่วประเทศ

รศ. ดร.อรรถสิทธิ์ พานแก้ว ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกิจการพิเศษ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดเผยว่า ปัจจุบันประเทศไทยกำลังเผชิญกับความท้าทาย 2 ด้าน ได้แก่ 1. การก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ (Complete Aged Society) อย่างเป็นทางการตั้งแต่เมื่อ 2 ปีก่อน2. กระแสการปฏิรูประบบบริการสุขภาพครั้งใหญ่ของประเทศไทย ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา จากการถ่ายโอนภารกิจโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) และสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯ ไปอยู่ภายใต้การบริหารจัดการของ อปท. ซึ่งทำให้ อปท. มีบทบาทสำคัญในฐานะ Change maker ที่จะยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน ผ่านการจัดบริการปฐมภูมิ และงานสร้างเสริมสุขภาพ

ทั้งนี้ ในฐานะมหาวิทยาลัยเพื่อสังคม ธรรมศาสตร์จึงได้ทำงานร่วมกับ 39 อปท. เพื่อดำเนินการสร้างคน สร้างทีมนักบริหารจัดการสังคมสูงวัยให้กับบุคลากร เจ้าหน้าที่ด้านสาธารณสุข ของหน่วยงานท้องถิ่นทั้ง 39 อปท. ผ่านการอบรมและร่วมกันออกแบบนวัตกรรมการจัดบริการสุขภาพให้กับผู้สูงวัย โดยยึดหลักความต้องการของพื้นที่เป็นแกนกลางในการออกแบบ จนก่อให้เกิดเป็นความสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม สามารถยกระดับการให้บริการสุขภาพแก่ผู้สูงอายุได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงเป็นที่มาของการจัดงานในวันนี้ ที่ได้นำผลการดำเนินการดังกล่าวมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ พร้อมทั้งวางแนวทางต่อยอดองค์ความรู้ไปสู่ อปท. อื่นๆ ทั่วประเทศต่อไป

สำหรับตัวอย่างนวัตกรรมที่เกิดขึ้นจากการทำงาน อาทิ นวัตกรรม Happy Oldie and Family Innovation จากเทศบาลตำบลเขาพระงาม จ.ลพบุรี ซึ่งเป็นนวัตกรรมการบูรณาการเครือข่าย เพื่อดูแลผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคม กลุ่มเสี่ยง กลุ่มติดบ้าน กลุ่มติดเตียงและกลุ่มสมองเสื่อม นวัตกรรมการสร้างศูนย์ดูแลและฟื้นฟูผู้สูงอายุ ช่วงกลางวันแบบเช้าไปเย็นกลับ ด้วยแนวคิดการดูแลระยะกลาง (Intermediate Care)ของเทศบาลตําบลนาสาร จ.สุราษฎร์ธานี และนวัตกรรมการสนับสนุนครอบครัวผู้ป่วยสมองเสื่อม (Dementia Café) ด้วยการสนับสนุนทางสังคม (Social Support) ของเทศบาลเมืองหัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ เป็นต้น

“ชัดเจนแล้วว่า อปท. มีความสามารถและมีศักยภาพสูง มีความใกล้ชิดเข้าใจสภาพปัญหา บริบท และความต้องการของประชาชนในพื้นที่ แต่ในเรื่องสังคมสูงวัยและการจัดบริการปฐมภูมิ อาจถือเป็นเรื่องใหญ่และใหม่ของหลายท้องถิ่น การสร้างกลไกสนับสนุนทางองค์ความรู้ ผ่านการจับมือทำงานร่วมกันระหว่างสถาบันการศึกษากับ อปท. จะยิ่งช่วยให้การรับมือกับสังคมสูงวัยเป็นไปอย่างมั่นคงและมั่นใจ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของ TU Care & Ageing ที่มุ่งสนับสนุนองค์ความรู้ และเป็นกลไกสนับสนุนการทำงานทั้งระดับนโยบายและระดับท้องถิ่น” รศ. ดร.อรรถสิทธิ์ กล่าว

รศ. ดร.อรรถสิทธิ์ กล่าวว่า ในปี 2568-2571 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ จะเป็นเจ้าภาพในการขยายความร่วมมือไปยัง อปท. 50 แห่ง ทั่วประเทศ เพื่อการรับมือ 4 ประเด็นสำคัญ ได้แก่ 1. การดูแลผู้สูงอายุสมองเสื่อม 2. การให้บริการดูแลโภชนาการ 3. การดูแลสุขภาพช่องปากและฟัน 4. การจัดการเฝ้าระวังความเสี่ยงและภัยพิบัติ

ด้าน นายรังสรรค์ นันทกาวงศ์ นายกเทศมนตรีเมืองบึงยี่โถ กล่าวว่า จำนวนประชากรผู้สูงวัยในพื้นที่เทศบาลเมืองบึงยี่โถเติบโตขึ้นอย่างก้าวกระโดด จากต้นปี 2568 ที่มีไม่ถึง 6,000 คน ผ่านไปเพียง 4-5 เดือน พบว่าเพิ่มเป็น 6,400 คน คาดว่าภายในสิ้นปีนี้ สัดส่วนผู้สูงอายุในพื้นที่จะเพิ่มเป็น 20% ของประชากรทั้งหมด เทศบาลจึงต้องคิดหาทางออก โดยให้ความสำคัญกับการออกแบบและจัดระบบบริการเพื่อรองรับสังคมสูงวัย มาตั้งแต่ปี 2550 จนถึงปัจจุบัน จากเดิมที่เน้นโครงสร้างพื้นฐาน เปลี่ยนมาเป็นการให้ความสำคัญกับสวัสดิการรองรับสังคมสูงวัย

อย่างไรก็ดี การจัดบริการสุขภาพต่างๆ หากขาดองค์ความรู้และทฤษฎีทางวิชาการเข้ามารองรับ อาจทำให้ อปท. ดำเนินการอย่างกระจัดกระจาย โดยเฉพาะเทศบาลเมืองบึงยี่โถที่เป็นสังคมเมือง มีความซับซ้อนต้องมีการทำงานในเชิงลึกมากกว่าการดูข้อเท็จจริงผ่านเอกสาร ฉะนั้นการลงพื้นที่เก็บข้อมูลตามชุมชนโดยคณาจารย์ นักวิชาการ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงช่วยสนับสนุนให้เห็นข้อเท็จจริง นำมาสู่การวิเคราะห์ สังเคราะห์ และออกแบบนวัตกรรมต่างๆ ที่สอดคล้องกับความต้องการผู้สูงอายุ

“แม้เรามีงบประมาณ มีคน มีสถานที่ แต่เรามีองค์ความรู้จำกัด จึงอาจทำงานได้ไม่ครอบคลุมทุกมิติเดียว การที่ธรรมศาสตร์เข้ามาช่วยกันคิด โดยเฉพาะเรื่องสังคมสูงวัยและการดูแลผู้สูงอายุที่ธรรมศาสตร์คือเพื่อนคู่คิดหลักของเราในการทำงาน ซึ่งจากความร่วมมือทำให้ผลประโยชน์สูงสุดเกิดขึ้นกับประชาชน” นายรังสรรค์ กล่าว

นายรังสรรค์ กล่าวอีกว่า สำหรับโครงการ SMART AND STRONG PROJECT เทศบาลเมืองบึงยี่โถ มีบทบาทหลักในการเป็นพื้นที่ต้นแบบให้กับ อปท. อื่นๆ สามารถเข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ศึกษาดูงาน เพื่อนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทพื้นที่ของตนเอง โดยมีธรรมศาสตร์เป็นผู้ขับเคลื่อนและเป็นตัวกลางในเชิงวิชาการ ให้ภาคีเครือข่ายได้มาถ่ายทอดองค์ความรู้และประสบการณ์ซึ่งกันและกัน ซึ่งจากการหารือร่วมกันในเบื้องต้น ทั้งทางมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เทศบาลเมืองบึงยี่โถ JICA เห็นตรงกันว่า ในปี 2568-2571 อยากจะมุ่งเป้าความสำคัญไปยังผู้สูงวัยที่ป่วยด้วยโรคสมองเสื่อมให้มากขึ้น เพราะเป็นกลุ่มที่มีความเปราะบาง และต้องการสนับสนุนทางสังคมเป็นอย่างยิ่ง

อนึ่งโครงการ TU Care & Ageing Societyเป็นกลไกที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มุ่งหวังจะเป็นแพลตฟอร์มสนับสนุนการดูแลผู้สูงอายุทั้งการให้บริการวิชาการ การให้บริการสังคม การฝึกอบรมพัฒนาทักษะต่างๆ และการสื่อสารสังคม โดยจะระดมทรัพยากรและใช้วิธีทำงานแบบข้ามสายงาน ตามค่านิยม ONE TU เพื่อให้เกิดศักยภาพสูงสุดในการทำงาน

สำหรับปี 2568 ซึ่งเป็นเฟสแรกจะทำงานร่วมกับ จ.ปทุมธานี โดยในระดับนโยบายมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จะจัดบริการวิชาการให้กับท้องถิ่นในภาพใหญ่ และโฟกัสอบจ.ปทุมธานี เพื่อแสวงหาความต้องการและ Pain Point การดูแลผู้สูงอายุระดับชุมชน จากนั้นจะตกผลึกเป็นข้อเสนอเชิงนโยบายให้กับ อบจ.ปทุมธานี และเป็นโจทย์ให้ธรรมศาสตร์นำทรัพยากรเข้าไปสนับสนุนการแก้ไขปัญหาต่อไปส่วนในระดับพื้นที่ จะนำองค์ความรู้ คณาจารย์ และงานวิจัย เข้าไปสร้างคน สนับสนุนการพัฒนาศักยภาพบุคลากรที่ทำหน้าที่ดูแลผู้สูงอายุใน จ.ปทุมธานี ต่อไป

ทั้งนี้ ในอนาคตจะมีการขยายพื้นที่การทำงานให้ครอบคลุมจังหวัดที่เป็นที่ตั้งของศูนย์ต่างๆ ของมหาวิทยาลัย เพื่อสร้างโมเดลการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ซึ่งที่เป็นที่ตั้งของธรรมศาสตร์ท่าพระจันทร์ จ.ชลบุรี ซึ่งที่เป็นที่ตั้งของศูนย์พัทยา และ จ.ลำปาง ซึ่งเป็นที่ตั้งของศูนย์ลำปาง‘

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก ไทยโพสต์

ฝ่ายปกครอง จ.พังงา ปลอมตัวเป็นชาวประมง ไล่ตะครุบวัยรุ่นแอบมั่วยาบนกระชังเลี้ยงปลา

25 นาทีที่แล้ว

เปิดตัวผลงานวิจัย ‘สังข์วิชัย’ นวัตกรรมสมุนไพรไทยสกัดจากพืช 40 ชนิด

27 นาทีที่แล้ว

ชาวบ้านในเทศบาลขอนแก่น ไม่เชื่อมั่น ‘ครม.อิ๊งค์ 2’ สิ้นหวังแก้ปัญหาปากท้อง

43 นาทีที่แล้ว

‘ภูมิธรรม’ รับอนุมัติค้นบ่อนสะพานใหม่เอง ยันไม่ทราบโยงนักการเมือง

59 นาทีที่แล้ว

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความทั่วไปอื่น ๆ

“โฆษก ทบ.” แจงปมทหารพรานไทยปะทะคารม ทหารกัมพูชา ไม่ถึงขั้นใช้ความรุนแรง

Manager Online

ด่วน! สั่งเด้งแล้ว 5 เสือ สน.บางเขน เซ่นปกครองบุกจับ บ่อนสะพานใหม่

Khaosod

อัปเดต ประมาณการ GDP ไทยปี 2568

THE STANDARD

เปิดตัวผลงานวิจัย ‘สังข์วิชัย’ นวัตกรรมสมุนไพรไทยสกัดจากพืช 40 ชนิด

ไทยโพสต์
วิดีโอ

อดิศร เพียงเกษ แต่งกลอนให้กำลังใจนายกฯ แพทองธาร จงเข้มแข็ง คนหลายล้านเคียงข้างคุณ

BRIGHTTV.CO.TH

นักธุรกิจเขมร ล่าสุดแฉกันเอง!! ตีเนียนแบนของไทย แต่แอบจ้างผลิตในไทย

มุมข่าว

9 ทันโลก : มังงะพยากรณ์ แผ่นดินไหวใหญ่ 5 ก.ค.

สำนักข่าวไทย Online

ตร.เรียก สีกา ก. ให้ปากคำเชื่อมโยงสัมพันธ์ อดีตเจ้าคุณอาชว์ รับถูกกระแสตีกลับ

JS100

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...