โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

อัลลูมิเนียมลูป โชว์ความสำเร็จรีไซเคิลทะลุ 1,300 ล.กระป๋อง ดัน Closed Loop สู่มาตรฐานใหม่ หนุน EPR จัดการบรรจุภัณฑ์ไทย

Manager Online

เผยแพร่ 5 ชั่วโมงที่ผ่านมา • MGR Online

อัลลูมิเนียมลูป (Aluminium Loop) ก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำในการพัฒนาระบบรีไซเคิลบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่มอลูมิเนียมแบบวงจรปิด (Closed Loop Recycling) ในประเทศไทย เดินหน้ารีไซเคิลกระป๋องอลูมิเนียมใช้แล้วมากกว่า 1,300 ล้านกระป๋อง ช่วยลดการปล่อยคาร์บอนมากกว่า 100 ล้านกิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (kg CO2 eq) หรือเทียบการปลูกต้นไม้ 11 ล้านต้น ตอกย้ำจุดยืนในการเป็นหนึ่งในโครงสร้างต้นแบบการผลิตบรรจุภัณฑ์อย่างมีความรับผิดชอบของผู้ผลิต สนับสนุนแนวคิด Extended Producer Responsibility (EPR) ที่ประเทศไทยกำลังผลักดันอย่างจริงจัง

นายภวินท์ ชยาวิวัฒน์กุล ผู้ก่อตั้ง Aluminium Loop เปิดเผยว่า บริษัทมุ่งสร้างระบบรีไซเคิลบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่มอลูมิเนียมที่มีประสิทธิภาพในรูปแบบวงจรปิด (Closed Loop Recycling) และใช้งานได้จริงในประเทศไทย โดยอาศัยการทำงานร่วมกันกับพันธมิตรตลอดทั้งห่วงโซ่คุณค่า ตั้งแต่ผู้ผลิตวัตถุดิบ ผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์ แบรนด์เครื่องดื่ม ผู้ค้าปลีก ไปจนถึงผู้เก็บกลับ และโรงงานรีไซเคิล เพื่อให้สามารถนำกระป๋องอลูมิเนียมใช้แล้วกลับมารีไซเคิลและผลิตเป็นกระป๋องใหม่ได้อย่างไม่จำกัด ซึ่ง Aluminium Loop เป็นรายแรกและรายเดียวในประเทศไทยที่ดำเนินการระบบนี้ และเป็น 1ใน 4 ประเทศของเอเชียที่สามารถดำเนินการระบบนี้ได้อย่างครบวงจร

สิ่งที่ทำให้ระบบของเราแตกต่าง คือความโปร่งใสซึ่งสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ เราติดตามข้อมูลตั้งแต่จำนวนกระป๋องที่ผลิตออกสู่ตลาด จนถึงจำนวนที่ถูกเก็บกลับมารีไซเคิลได้จริงในปริมาณเทียบเท่าโดยน้ำหนัก

“นั่นหมายความว่าแบรนด์เครื่องดื่มที่เข้าร่วมโครงการกับเรา จะไม่ได้เป็นเพียงแค่ผู้ผลิตสินค้าเท่านั้น แต่มีความรับผิดชอบร่วมกันตลอดทั้งห่วงโซ่อุตสาหกรรมทั้งหมด โดยบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้วจะถูกนำกลับมารีไซเคิลในปริมาณเท่าเดิมหรือมากกว่า ตอกย้ำว่าระบบของเราทำให้การรีไซเคิลเกิดขึ้นได้จริงและสามารถรายงานผลได้อย่างชัดเจน โดยที่แบรนด์และผู้บริโภคสามารถมั่นใจกับกระบวนการทำงานที่โปร่งใสนี้ได้”

ส่วนการรีไซเคิลบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่มอลูมิเนียมแบบวงจรปิดมีจุดเด่นด้านการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่ลดลง ซึ่งบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่มอลูมิเนียมผลิตจากวัสดุเพียงชนิดเดียว (Mono-material) ไม่มีวัสดุอื่นผสม ทำให้สามารถรีไซเคิลได้ง่าย ไม่ต้องผ่านกระบวนการแยกวัสดุอื่นออก นอกจากนี้ คุณสมบัติของอลูมิเนียมยังสามารถหลอมเป็นวัตถุดิบตั้งต้นได้ใหม่โดยไม่สูญเสียคุณภาพ และทำได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง ซึ่งการใช้พลังงานในการผลิตบรรจุภัณฑ์อลูมิเนียมจากอลูมิเนียมรีไซเคิลจะลดลงถึง 95% เมื่อเทียบกับการผลิตจากวัตถุดิบจากการขุดแร่ใหม่ ส่งผลให้มีการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและยั่งยืน

สำหรับการรีไซเคิลแบบ Closed Loop มีความสำคัญมาก เพราะคือการนำวัสดุใช้แล้วรีไซเคิลกลับมาเป็นผลิตภัณฑ์เดิม อย่างของเราคือการรีไซเคิลกระป๋องกลับมาเป็นกระป๋องใหม่ ทำซ้ำได้แบบไม่จำกัด ต่างจากการรีไซเคิลแบบวงจรเปิด (Open Loop Recycling) ที่นำวัสดุใช้แล้วไปรีไซเคิลเพื่อผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ประเภทอื่น ซึ่งมักไม่สามารถนำกลับเข้าสู่ระบบเดิมได้อีก เนื่องจากคุณภาพลดลง ระบบ Closed Loop จึงไม่เพียงลดการใช้ทรัพยากร แต่ยังช่วยรักษาคุณภาพของวัสดุให้สามารถใช้งานได้ไม่รู้จบ และลดการสูญเสียในกระบวนการรีไซเคิล

ขณะที่เครือข่ายการดำเนินงานของ Aluminium Loop ยังครอบคลุมพื้นที่รีไซเคิลภายในรัศมีเพียง 400 กิโลเมตร ถือเป็นหนึ่งในระบบที่มีระยะทางสั้นที่สุดในโลก ทำให้การดำเนินงานตลอดทั้งกระบวนการมีความสะดวกและรวดเร็ว เกิดเป็นวงจรการรีไซเคิลบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่มอลูมิเนียมที่สมบูรณ์ มีประสิทธิภาพสูง และลดระยะเวลาการขนส่ง นำไปสู่การลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของภาคอุตสาหกรรมในระยะยาว

ปัจจุบัน Aluminium Loop ดำเนินการมา 4 ปี มีแบรนด์เครื่องดื่มเข้าร่วมกว่า 100 ราย และจุดเก็บกลับกระป๋องใช้แล้วมากกว่า 200 จุดทั่วประเทศ สามารถเก็บกลับบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่มอลูมิเนียมเข้าสู่ระบบรีไซเคิลแบบวงจรปิดได้มากกว่า 1,300 ล้านใบ โดยเป้าหมายใน 5 ปีข้างหน้า คือการผลักดันแบรนด์เครื่องดื่มในประเทศให้เข้าร่วมและเก็บคืนกระป๋องเข้าสู่ระบบให้ได้ 4,000 ล้านใบ พร้อมขยายจุดรับคืนครอบคลุมทุกภูมิภาคทั่วประเทศ เพื่อรองรับการเติบโตของระบบรีไซเคิล และเป็นต้นแบบรองรับนโยบาย EPR ของประเทศไทยในอนาคต

EPR หรือ หลักการขยายความรับผิดชอบของผู้ผลิตไปยังตลอดทั้งวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ เป็นแนวคิดที่หลายประเทศทั่วโลกเริ่มใช้ในการผลักดันให้เกิดการจัดการขยะอย่างเป็นระบบ โดยเฉพาะบรรจุภัณฑ์ที่ใช้เพียงครั้งเดียว เช่น พลาสติก หรือกล่องบรรจุอาหาร ซึ่งผู้ผลิตต้องรับผิดชอบต่อบรรจุภัณฑ์ที่ผลิต ตั้งแต่การออกแบบ กระบวนการผลิต การจำหน่าย การเก็บกลับ การรีไซเคิล ไปจนถึงการกำจัดอย่างถูกวิธี ปัจจุบันประเทศไทยอยู่ระหว่างการจัดทำนโยบายและแนวทางผลักดันร่วมกับหลายภาคส่วน

“เราตั้งใจสร้างระบบรีไซเคิลที่ไม่ใช่แค่ลดขยะ แต่ต้องการสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบให้ทั้งอุตสาหกรรมและสังคมเดินหน้าอย่างยั่งยืนได้จริง วันนี้เราพร้อมเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สามารถรองรับ EPR ได้ทันที ฃึ่งมีระบบรองรับครบทุกด้าน สามารถติดตามเส้นทางของบรรจุภัณฑ์ตั้งแต่ผลิตจนถึงการเก็บกลับมารีไซเคิล และพร้อมร่วมมือกับภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียนอย่างเป็นรูปธรรม” ภวินท์ กล่าว

นอกจากนี้ ในด้านสังคม การรีไซเคิลรูปแบบ Closed Loop ยังช่วยให้เกิดการเก็บกลับบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่มอลูมิเนียมใช้แล้วเพื่อส่งต่อไปรีไซเคิลเพิ่มมากขึ้น และด้วยมูลค่ารับซื้อที่สูงที่สุดในกลุ่มบรรจุภัณฑ์ใช้แล้ว จึงสร้างรายได้ให้แก่ผู้เก็บกลับ ทั้งยังลดขยะตกค้างสู่สิ่งแวดล้อม ช่วยสร้างกลไกด้านการจัดการขยะบรรจุภัณฑ์หลังบริโภคได้อย่างเป็นระบบ

“บริษัทอยากสื่อสารและทำให้ผู้บริโภครู้สึกว่าการเลือกบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่มอลูมิเนียมที่สามารถรีไซเคิลได้ ไม่ใช่ทำเพียงเพื่อสิ่งแวดล้อม แต่คือการแสดงจุดยืนต่อระบบที่เราอยากเห็นในประเทศ ถ้าผู้บริโภคแสดงพลังเลือกซื้อที่ชัดเจน ฃึ่งจะสามารถขับเคลื่อนให้ทั้งอุตสาหกรรมเปลี่ยนตามได้ สุดท้ายแล้วการรีไซเคิลที่ยั่งยืนต้องเริ่มต้นจากความร่วมมือของทุกฝ่าย ซึ่งจะสามารถเปลี่ยนขยะให้กลายเป็นเศรษฐกิจ เปลี่ยนวิกฤตสิ่งแวดล้อมให้กลายเป็นโอกาสของประเทศได้” ภวินท์ กล่าวย้ำ

ด้วยความมุ่งมั่นในการยกระดับระบบรีไซเคิลของไทยให้เดินหน้าได้จริง Aluminium Loop จึงไม่ได้เป็นเพียงแค่โครงการด้านสิ่งแวดล้อม แต่คือโครงสร้างพื้นฐานที่มีศักยภาพ พร้อมรองรับการดำเนินนโยบาย EPR อย่างเป็นระบบ โดยเปิดโอกาสให้ทั้งผู้ผลิตแบรนด์เครื่องดื่มและผู้บริโภคมีบทบาทร่วมกันในการพัฒนาระบบการรีไซเคิลที่แข็งแกร่ง โปร่งใส และยั่งยืน เพื่อให้ขยะบรรจุภัณฑ์หลังการบริโภคไม่กลายเป็นภาระของสังคม แต่กลับมาเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าในระบบเศรษฐกิจของประเทศ

เพียงแค่เริ่มต้นจากสิ่งใกล้ตัวที่สุด อย่างการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์เครื่องดื่มอลูมิเนียม หรือมองหาสัญลักษณ์ Aluminium Loop บนกระป๋องเครื่องดื่ม นั่นคือการมีส่วนร่วมในระบบที่ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เสริมสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียน เพิ่มรายได้แก่คนในชุมชน และร่วมผลักดันให้ประเทศมีระบบจัดการทรัพยากรที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง

website : mgronline.com
facebook : MGRonlineLive
twitter : @MGROnlineLive
instagram : mgronline
line : MGROnline
youtube : MGR Online VDO

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก Manager Online

จะเป็นลม! “พีท กันตพร” โอนเงินผิดธนาคาร 30 ล้าน! แชร์ประสบการณ์บาทเนตครั้งแรก

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

จบแล้วรักแรก! “พิกเล็ท” เลิก “วิคเตอร์” ปิดฉากความรัก 10 ปี

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

“ฌอห์ณ-เพชร” เตรียมปั๊มลูกหลังเคลียร์งาน เน้นธรรมชาติ ดูก่อนกี่คนตามเศรษฐกิจ-งบประมาณ

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

กลับมาสร้างปรากฏการณ์ครั้งใหม่ในไทย Labubu Baby ครั้งแรกของโลก โดยแบรนด์ไทย RAVIPA

2 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความธุรกิจ-เศรษฐกิจอื่น ๆ

ข่าวและบทความยอดนิยม

SCGCลั่นรง.LSPเดินเครื่องผลิตอีกครั้งปลายส.ค.-ก.ย.นี้

Manager Online

GLOBAL WORK แบรนด์แฟชั่นสัญชาติญี่ปุ่น เปิดตัวที่ไทยเป็นสาขาแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

Manager Online

พลังงานเผยน้ำมันสำรอง ก.ค.พอใช้ 60 วัน ชี้เขมรงดนำเข้าจากไทยไม่กระทบ OR ซื้อจากสิงคโปร์ไปขายในปั๊ม PTT กัมพูชาแทน

Manager Online
ดูเพิ่ม
Loading...