โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

สังคม

เศรษฐกิจชะงัก การเมืองติดหล่ม ฉุดเชื่อมั่นทรุด Perfect Storm ทุบ GDP ตํ่าแค่ 1%

ฐานเศรษฐกิจ

อัพเดต 16 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 6 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ฝุ่นตลบการปรับคณะรัฐมนตรี (ครม.)ล่าสุด “แพทองธาร 1/2” เพิ่งจะจางหาย รัฐบาลชุดใหม่ที่ยังไม่ได้เข้าปฏิบัติหน้าที่ ต้องเผชิญวิกฤตความเชื่อมั่นทันควัน หลังจากที่ประชุมตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีมติเป็นเอกฉันท์ 9 : 0 รับคำร้อง สว.ยื่นถอดถอน นางสาวแพทองธาร ชินวัตร ขณะที่มีมติ 7 : 2 สั่งหยุดปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรีชั่วคราว จากกรณีคลิปสนทนากับสมเด็จฮุน เซน ประธานวุฒิสภากัมพูชา โดยมีผลตั้งแต่ 1 กรกฎาคม 2568 เป็นต้นไป จนกว่าศาลจะมีคำวินิจฉัยชี้ขาด และให้ส่งเอกสารชี้แจงภายใน 15 วัน

ขณะในการปรับคณะรัฐมนตรีล่าสุด มีรัฐมนตรีหน้าใหม่ และหน้าเก่าที่โยกไปดำรงตำแหน่งใหม่ในหลายกระทรวง โดยที่มีการปรับเปลี่ยนที่สำคัญ อาทินางสาวแพทองธาร ชินวัตรนายกรัฐมนตรี ควบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมอีกตำแหน่งหนึ่ง,นายภูมิธรรม เวชยชัยเป็นรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

นางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ขณะที่รัฐมนตรีหน้าใหม่ในกระทรวงเศรษฐกิจ นายจตุพร บุรุษพัฒน์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์, นายอรรถกร ศิริลัทธยากร เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และนายพงศ์กวิน จึงรุ่งเรืองกิจ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นต้น

ท่ามกลางขุมกำลัง ครม.ใหม่ยังไม่ทันตั้งหลัก แต่มีความท้าทายรอบทิศ ทั้งเศรษฐกิจ และราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ ปัญหาภาษีสหรัฐ ข้อพิพาทกับกัมพูชา ประชานิยมที่ไร้ทิศทาง ภาคธุรกิจและประชาชนมีความเห็นที่หลากหลายต่อสถานการณ์ดังกล่าว ขณะที่มีข้อเรียกร้องต่อ ครม.ชุดใหม่ให้เร่งแก้ไขปัญหาต่าง ๆ มากมาย

อสังหาฯไม่สะเทือนนายกฯหยุดปฏิบัติหน้าที่

นางอาภา อรรถบูรณ์วงศ์ นายกกิติมศักดิ์ สมาคมอาคารชุดไทย และประธานกรรมการบริหาร บริษัท ริชี่เพลซ 2002 จำกัด (มหาชน) (บมจ.) เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า กรณีศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้นายกรัฐมนตรีหยุดปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งเป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ มองว่าไม่กระทบมากนัก เนื่องจากรัฐบาลยังคงบริหารประเทศต่อได้ และมีรักษาการนายกรัฐมนตรี เพียงแต่มีความเปราะบางขาดเสถียรภาพ จากเสียงที่ปริ่มน้ำ

ท่ามกลางความผันผวนเศรษฐกิจ และมีปัจจับลบจากภายนอกมากมาย ไม่ว่ารัฐบาลจะออกมาตรการที่ถือเป็นยาแรงออกมาก็ไม่สามารถต้านทานได้ เห็นได้จากมาตรการลดค่าโอนและจดจำนองรวมถึงผ่อนผัน LTV (Loan to Value) หรืออัตราส่วนสินเชื่อต่อมูลค่าทรัพย์สิน ที่ช่วยไม่ได้มากนัก ขณะเดียวกันภาคเอกชนส่วนใหญ่ต่างช่วยเหลือตนเอง และใช้กลยุทธ์ที่มีดึงกำลังซื้อลูกค้าแม้จะเจอด่านยากจากความเข้มงวดของสถาบันการเงินก็ตาม

นายพรนริศ ชวนไชยสิทธิ์ นายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย ประเมินว่า รัฐบาลยังคงทำหน้าที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศได้ เพียงแต่ขาดเสถียรภาพ อย่างไรก็ตาม หวังว่ารัฐบาลจะมีมาตรการใหม่ออกมา เพื่อพยุงเศรษฐกิจให้เดินต่อได้ ในช่วงเวลาที่เหลือของปีนี้

ขาดเชื่อมั่นรัฐบาลมานานแล้ว

นายสุรเชษฐ กองชีพ หัวหน้าฝ่ายวิจัยและที่ปรึกษา คุชแมน แอนด์ เวคฟีลด์ ประเทศไทย ประเมินว่า สถานการณ์รัฐบาลโดยเฉพาะนายกรัฐมนตรีก่อนหน้านี้ไม่ค่อยดีอยู่แล้ว ตั้งแต่เรื่องคลิปเสียงที่ออกมา การที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีมติให้นายกรัฐมนตรีหยุดปฏิบัติหน้าที่ จึงน่าจะเป็นผลดีต่อภาพรวมของรัฐบาลมากกว่า เพราะถ้ายังทำหน้าที่ต่อไปจะยิ่งเพิ่มความไม่พอใจให้กับประชาชนจนอาจจะมีการประท้วงวุ่นวาย

แต่หลังจากนี้ต้องดูว่ารัฐบาลจะเดินหน้าต่อไปในรูปแบบใด ฝ่ายการเมืองต่าง ๆ จะมีการดำเนินการขั้นตอนอย่างไรต้องติดตาม อย่างไรก็ตามความเชื่อมั่นในรัฐบาล ณ ปัจจุบันของคนไทยหรือในสายตาของนักลงทุนทั่วไปแทบไม่มีแล้ว เพราะไม่มีมาตรการหรือนโยบายใด ๆ ที่ออกมาเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาหรือกระตุ้นเศรษฐกิจรวมไปถึงความชัดเจนในเรื่องต่างๆ

ห่วงขับเคลื่อนเศรษฐกิจสะดุด

นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ขณะนี้สถานการณ์เศรษฐกิจและการเมืองของไทยกำลังเผชิญกับความท้าทายรอบด้าน โดยเฉพาะคะแนนนิยมของนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และรัฐบาลพรรคเพื่อไทย ที่ลดลงอย่างเห็นได้ชัดจากผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน สะท้อนถึงอารมณ์และความรู้สึกของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ต่าง ๆ

ขณะที่ยังมีแรงกดดันจากภายนอกประเทศ โดยเฉพาะกรณีการเจรจาภาษีตอบโต้ (Reciprocal Tariff) กับสหรัฐฯ ที่ยังไม่มีความชัดเจนว่าไทยจะถูกจัดเก็บภาษีในอัตราใด จากเดิมที่มีแนวโน้มถูกเก็บภาษีสูงถึง 36% นอกจากนี้ ยังมีประเด็นข้อพิพาทกับกัมพูชา และสถานการณ์การเมืองภายในประเทศที่ขาดเสถียรภาพ ซึ่งส่งผลกระทบต่อบรรยากาศการลงทุนและความเชื่อมั่นของทั้งภาคธุรกิจและประชาชน

สำหรับการปรับคณะรัฐมนตรี (ครม.) แพทองธาร 1/2 ที่มีการเปลี่ยนตัวรัฐมนตรีหลายตำแหน่งนั้น ภาคเอกชนพร้อมร่วมมือกับทุกรัฐบาลในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงบ่อยครั้ง โดยเฉพาะตำแหน่งที่เกี่ยวข้องกับการเจรจาการค้าและการลงทุน อาจทำให้เกิดความล่าช้าในการดำเนินงาน เนื่องจากต้องใช้เวลาในการเรียนรู้และสร้างความเข้าใจใหม่

“อย่างไรก็ตามการเมืองนับจากนี้ หากมีการยุบสภาฯ หรือนายกรัฐมนตรีลาออก สิ่งที่คาดจะเกิดขึ้นคือภาคเอกชนจะชะลอการลงทุนเพื่อรอดูภาพความชัดเจน (wait and see) ว่าใครจะมาเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่รวมถึงใครจะอยู่ในคณะรัฐมนตรีและจะมีอำนาจขับเคลื่อนนโยบายแค่ไหน”

คาดหวังสูง รมว.พาณิชย์คนใหม่

นายธนากร เกษตรสุวรรณ ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) เปิดเผยว่า แม้ศาลรัฐธรรมนูญสั่งให้นางสาวแพทองธาร หยุดปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรี แต่ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมยังสามารถทำงานและเข้าร่วมประชุมครม.ได้ โดยระบุว่าหากมีคำสั่งถอดถอนจะส่งผลกระทบรุนแรงกว่า

สำหรับนายจตุพร บุรุษพัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์คนใหม่มองว่ามีความรู้ความสามารถ พร้อมเปิดเผยว่าได้รับการติดต่อจากรมว.พาณิชย์เพื่อหารือแนวทางส่งเสริมการส่งออก โดยสรท.ได้เสนอให้ฟื้นฟูคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนด้านการพาณิชย์ (กรอ.พาณิชย์) เพื่อผลักดันการส่งออกไทยอย่างเป็นรูปธรรม

ขณะนี้เรื่องสำคัญที่ต้องเร่งดำเนินการ คือ การรับมือกับภาษีตอบโต้จากสหรัฐ โดยนายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง พร้อมทีมเจรจาได้เดินทางไปสหรัฐฯ เพื่อเจรจากับสำนักงานตัวแทนการค้าสหรัฐฯ (USTR) และรอผลการเจรจาต่อไป

นายสิทธิเดช มัยลาภ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สกาย ไอซีที จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า แม้จะเกิดกรณียื่นถอดถอนนายกรัฐมนตรี แพทองธาร ชินวัตร ซึ่งตามกระบวนการก็ต้องมีการคัดเลือกนายกฯคนใหม่ เอกชนยังมั่นใจแม้เสียงก็ยังเกินครึ่ง อยากให้ไปต่อ การปรับ ครม.ประเทศเดินหน้า เศรษฐกิจ และธุรกิจก็ไปได้ รวมไปถึงการตอบโจทย์ความมั่นคงโดยเร็วที่สุด เพื่อให้ทางเศรษฐกิจเราเติบโตอย่างไม่มีความกังวล มั่นคงทั้งในประเทศ และภาพนอกประเทศ ถ้าเรามั่นคง เรื่องเศรษฐกิจก็จะตามมา

จี้แก้ปัญหาข้าว-ยางตกต่ำ

ขณะที่ผู้นำภาคเกษตรไทยร่วมแสดงความยินดีกับนายอรรถกร ศิริลัทธยากร ที่ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์คนใหม่ พร้อมเสนอข้อเรียกร้องเร่งด่วนเพื่อแก้ปัญหาเกษตรกรในหลายมิติ

โดย ดร.อุทัย สอนหลักทรัพย์ นายกสมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย แสดงความกังวลต่อสถานการณ์ราคายางพาราที่ตกต่ำต่อเนื่อง อันเป็นผลจากหลายปัจจัย ทั้งผลผลิตล้นตลาด การนำเข้าน้ำยางราคาถูก การแข่งขันจากยางสังเคราะห์ ค่าเงินบาทแข็ง และเศรษฐกิจโลกชะลอตัว โดยที่ผ่านมาแม้จะมีการยื่นข้อเสนอแนวทางแก้ไขต่อภาครัฐหลายครั้ง แต่ยังไร้ความคืบหน้า จึงขอให้รัฐมนตรีคนใหม่เร่งพิจารณาและขับเคลื่อนอย่างเป็นรูปธรรมโดยด่วน

ด้าน นายปราโมทย์ เจริญศิลป์ นายกสมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย เปิดเผยว่า ได้ติดต่อแสดงความยินดีต่อรัฐมนตรีอรรถกร พร้อมเร่งผลักดันการจ่ายเงินช่วยเหลือชาวนาฤดูนาปรังไร่ละ 1,000 บาท (ไม่เกิน 10 ไร่) ซึ่งคณะกรรมการนโยบายและบริหารข้าวแห่งชาติ (นบข.) มีมติเห็นชอบไว้แล้วตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2568 แต่การประชุมคณะอนุกรรมการฯ ที่จะพิจารณาแนวทางปฏิบัติเมื่อ 30 มิถุนายน ต้องเลื่อนออกไปเพื่อรอรัฐมนตรีใหม่สานต่อทั้งนี้ นายอรรถกรรับปากจะเร่งดำเนินการ

เร่ง 6 นโยบายฟื้นเศรษฐกิจ

นายสุภัค หมื่นนิกร ผู้ก่อตั้งสถาบันธุรกิจแฟรนไชส์อาหาร และซีอีโอ บริษัท อีซี่ส์ อินเตอร์เนชั่นแนล แฟรนไชส์ จำกัด มองว่า การปรับคณะรัฐมนตรีชุด “แพทองธาร 1/2” ไม่ได้รับความสนใจจากประชาชนมากนัก เนื่องจากขาดแรงจูงใจ ความไม่พอใจต่อผู้นำ และความไม่มั่นคงของรัฐบาล ขณะเดียวกันประชาชนให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาเศรษฐกิจมากกว่ารายชื่อ ครม.

เขาระบุว่า รัฐบาลยังไม่สามารถสร้างความเชื่อมั่นในการฟื้นเศรษฐกิจได้ทันที และควรเร่งดำเนินการเชิงรุกในช่วงเวลาที่เหลือ พร้อมเสนอ 6 นโยบายสำคัญที่ประชาชนต้องการจาก ครม.ชุดใหม่ ได้แก่

1.การกระตุ้นเศรษฐกิจ ด้วยการดึงการลงทุนในและต่างประเทศ 2.ลดหนี้ครัวเรือน เพื่อเสริมความมั่นคงทางการเงิน 3.ส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก ด้วยการสนับสนุน SMEs และสตาร์ทอัพ 4.ปกป้องสินค้าเกษตรไทย ผ่านการคุ้มครองลิขสิทธิ์และเพิ่มมูลค่าผลผลิต 5.พัฒนาแรงงานไทย เน้นทักษะและความอดทนเพื่อให้ตรงความต้องการตลาด และ 6.รักษาวัฒนธรรมไทยในยุคดิจิทัล แก้ปัญหาคอนเทนต์ไม่เหมาะสมที่กระทบเยาวชน

ขณะที่ รองศาสตราจารย์ ดร.อัทธ์ พิศาลวานิช ผู้เชี่ยวชาญเศรษฐกิจระหว่างประเทศและอาเซียน กล่าวว่า ขณะนี้เศรษฐกิจไทยกำลังเผชิญภาวะ “Perfect Storm” จากแรงกระแทกรอบทิศ ทั้งความไม่แน่นอนทางการเมืองในประเทศ แรงกดดันจากสงครามการค้าสหรัฐฯ โดยเฉพาะภาษีทรัมป์และข้อพิพาทชายแดนไทย-กัมพูชาที่กำลังลุกลาม กดดันความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจอย่างหนัก คาดเศรษฐกิจไทยในปี 2568 จะขยายตัวเพียง 1-1.5% เท่านั้น ซึ่งอาจต่ำที่สุดในอาเซียน เป็นอันดับ 10 รองจากเมียนมา

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก ฐานเศรษฐกิจ

วันธงชัย ฤกษ์มงคล วันพระเดือนกรกฎาคม 68 ตรงกับวันใด เช็กที่นี่

46 นาทีที่แล้ว

เปิดตลาดหุ้นภาคเช้าบวก 0.66 จุด ยืน 1,110.67 จุด พบ KTC-SCB ราคาเด้ง

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

เช็กตารางแข่ง รายชื่อ 8 ทีมทะลุรอบก่อนรองฯฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลก 2025

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

สรุป “ค่าแรงขั้นต่ำ” ใหม่ 1 ก.ค.2568 สูงสุดวันละ 400 บาท 6 จังหวัด

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความสังคมอื่นๆ

รฟม. กำชับผู้รับจ้างขุดลอกท่อระบายน้ำตลอดแนวสายทาง โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) รับมือฝนตกหนัก

สวพ.FM91

วิธีเยียวยาหัวใจ รับมือความเศร้าเมื่อสูญเสียสัตว์เลี้ยงที่รัก

ThaiNews - ไทยนิวส์ออนไลน์

ราชกิจจาฯ เผยแพร่ประกาศ กระทรวงมหาดไทย ขอสละสัญชาติไทย จำนวน 195 ราย

สยามนิวส์

เตือน "โรคผื่นกุหลาบ" เจอได้บ่อยช่วงฤดูฝน พบเกิดกับผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ผู้ป่วยตั้งครรภ์ระวังเสี่ยงแท้งได้

สวพ.FM91

แชร์สนั่น! เปลี่ยนอีเมลลงทะเบียน “เที่ยวไทยคนละครึ่ง 2568” หลังระบบ OTP ล่ม

ข่าวเวิร์คพอยท์ 23

ปิดฉากภารกิจ! พบแล้วร่าง “หมวดเขียว” ตำรวจจมหายระหว่างไล่จับผู้ต้องหา

สยามนิวส์

กทพ. มอบสิทธิพิเศษ! ลูกค้า Easy Pass สมัคร EXAT Reward ครั้งแรกรับโค้ดส่วนลด GrabFood ฟรี 50 บาท

สวพ.FM91

สรุป “ค่าแรงขั้นต่ำ” ใหม่ 1 ก.ค.2568 สูงสุดวันละ 400 บาท 6 จังหวัด

ฐานเศรษฐกิจ

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...