โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

การเมือง

บันทึกหน้า 4

ไทยโพสต์

อัพเดต 3 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 5 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ไทยโพสต์ อิสรภาพแห่งความคิด เฉลยออกมาแล้ว หลังพยายามเก็บงำตั้งแต่การประชุม ครม.นัดพิเศษเมื่อวันที่ 3 ก.ค. หลัง ปกรณ์ นิลประพันธ์ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา ระบุว่า อำนาจรักษาราชการแทนนายกฯ ยุบสภาไม่ได้ สวนทางกับความเห็นของ วิษณุ เครืองาม อดีตรองนายกฯ ที่บอกว่ายุบสภาได้

ประเด็นการรักษาการแทนนายกฯ ยุบสภา ขณะที่ แพทองธาร ชินวัตร นายกฯ ถูกสั่งหยุดปฏิบัติหน้าที่ ถือมีความสำคัญอย่างมากสำหรับพรรคเพื่อไทย เพราะสามารถไว้ต่อรองกับพรรคร่วมรัฐบาลที่กำลังขี่คออยู่ และไม่พร้อมเลือกตั้ง อีกทั้งยังสามารถชิงความได้เปรียบ เพราะจะมีการรักษาการอย่างน้อย 6 เดือน จนกว่าจะได้รัฐบาลใหม่หลังเลือกตั้ง

ขณะที่เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาโพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว “Alex Pakorn” ว่า อธิบายซ้ำ : ผมอธิบายว่า ตามประเพณีการปกครองในระบอบ ประชาธิปไตยของบ้านเรา การเสนอแต่งตั้ง รมต. และการยุบสภา เป็นอำนาจเฉพาะตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี หรือ (นรม.) เท่านั้น เช่นเดียวกับกลุ่มประเทศที่ปกครองในระบอบรัฐสภาแบบ Westminster เป็นไปตาม "หลักความไว้วางใจ"

ประเทศไทยจะเห็นได้ชัดในประกาศแต่งตั้ง นรม. ซึ่งมีความสรุปว่า ประธานสภาฯ …. กราบบังคมทูลว่าสภาลงมติไว้วางใจให้ นาย/นางสาว … เป็นนายกรัฐมนตรี

จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็น นรม. ส่วนกรณีประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี ก็ชัดเจนว่า บัดนี้นาย/นางสาว … นายกรัฐมนตรี ได้กราบบังคมทูลเสนอชื่อบุคคลผู้สมควรไว้วางใจให้เป็นรัฐมนตรี จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งบุคคลดังต่อไปนี้เป็นรัฐมนตรี

จะเห็นได้ชัดว่าเป็นความไว้วางใจมาเป็นทอดๆ และพระมหากษัตริย์ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง นรม.ตามที่สภาเสนอและประธานสภาฯ นำความกราบบังคมทูล หรือทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง รมต. ตามที่ นรม.กราบบังคมทูลว่าสมควรไว้วางใจ

โดยนัยนี้เอง รนม.รักษาราชการแทน นรม. จึงไม่มีอำนาจเสนอแต่งตั้ง รมต. หรือเสนอให้ รมต.พ้นจากตำแหน่ง เพราะรักษาราชการแทนนายกฯ หรือ (รนม.) รักษาราชการแทน นรม.นั้น เป็นเพียง รมต. คนหนึ่งซึ่งได้รับความไว้วางใจจาก นรม. เฉกเช่นเดียวกับ รมต.คนอื่น ไม่ได้รับความไว้วางใจจากสภาให้เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร จึงจะแต่งตั้งหรือปลด รมต.คนอื่นๆ มิได้

หรือยิ่งไปกว่านั้นคือ รนม. รักษาราชการแทน นรม. จะเสนอให้ยุบสภาถ้ายังมีผู้ดำรงตำแหน่ง นรม.อยู่ ยิ่งไม่ได้ เพราะไม่ใช่ผู้ได้รับความไว้วางใจจากสภาให้เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร หากเป็นเพียงผู้ซึ่ง นรม.ถวายความเห็นต่อพระมหากษัตริย์ว่าเป็นผู้สมควรไว้วางใจให้แต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีเท่านั้น การยุบสภาจึงเป็นอำนาจเฉพาะของ นรม.เท่านั้น

กล่าวได้ว่า การกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง รมต.ก็ดี หรือถวายคำแนะนำให้ยุบสภาก็ดี เป็นเรื่องของ นรม. ซึ่งได้รับความไว้วางใจจากสภาให้เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารโดยแท้

ถ้า นรม.พ้นจากตำแหน่ง รนม. รักษาราชการแทน นรม. จะมีอำนาจเช่นนั้นหรือไม่ ต้องทราบว่าถ้า นรม.พ้นจากตำแหน่งไปไม่ว่าด้วยเหตุใด ผลคือ ครม.จะพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ และ รธน.บัญญัติรองรับไว้ว่า เมื่อ ครม.พ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ ให้ดำเนินการเพื่อให้มี ครม.ขึ้นใหม่ implication จึงชัดเจนว่าสภาต้องดำเนินการเพื่อให้มีการเลือก ครม.ใหม่ขึ้น

ดังนั้น จึงต้องมีสภาอยู่เพื่อดำเนินการดังกล่าว เป็นบทบังคับที่ต้องดำเนินการ สภาจึงไม่อาจถูกยุบได้ในห้วงเวลานี้ และถึงอยากจะทำ ก็ทำไม่ได้ เพราะไม่มีความชอบธรรมที่จะทำดังกล่าวมาข้างต้น

ถ้า นรม.เกิดป่วยจนปฏิบัติหน้าที่ไม่ได้โดยสิ้นเชิง รนม. รักษาราชการแทน นรม. จะกราบ บังคมทูลเพื่อยุบสภาได้ไหม ต้องบอกว่าในระบบความไว้วางใจนั้น ถ้าผู้ซึ่งสภาให้ความไว้วางใจปฏิบัติหน้าที่ไม่ได้โดยสิ้นเชิง

สภาก็ต้องเรียกประชุมกันเพื่อถอดถอนความไว้วางใจสำหรับท่านเดิม แล้วพิจารณาลงมติกันว่าสมควรไว้วางใจผู้ใดขึ้นแทน เป็นกระบวนการของสภาที่จะต้องปรึกษาหารือตกลงกัน ไม่ใช่กิจของผู้รักษาราชการแทน.

คางดำ

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก ไทยโพสต์

ของดีเพียงหนึ่งเดียว

5 ชั่วโมงที่ผ่านมา

มหัศจรรย์แกงไทย

5 ชั่วโมงที่ผ่านมา

‘ทดสอบหรือจริง’

5 ชั่วโมงที่ผ่านมา

“ภูมิใจไทย” จะรีเทิร์น?

5 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความยอดนิยม