โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

รู้จักอุทยานแห่งชาติเซเรนเกติ ดินแดนแห่งการอพยพของสัตว์ป่าครั้งใหญ่

Amarin TV

เผยแพร่ 2 วันที่แล้ว
รู้จัก อุทยานแห่งชาติเซเรนเกติ ทุ่งหญ้าสะวันนา ดินแดนขึ้นชื่อการอพยพของสัตว์ป่าครั้งยิ่งใหญ่ ที่ โอปอล สุชาตา มิสเวิลด์2025 เดินทางไปปฏิบัติภารกิจ

รู้จัก อุทยานแห่งชาติเซเรนเกติ ทุ่งหญ้าสะวันนา ดินแดนขึ้นชื่อการอพยพของสัตว์ป่าครั้งยิ่งใหญ่ ที่ โอปอล สุชาตา มิสเวิลด์2025 เดินทางไปปฏิบัติภารกิจ

หนึ่งในภารกิจที่ โอปอล สุชาตา ช่วงศรี มิสเวิลด์2025 คนแรกของประเทศไทย ต้องเดินทางไปปฏิบัติภารกิจ Royal Tour ที่ประเทศแทนซาเนีย ทวีปแอฟริกา ซึ่งมีเป้าหมายในการส่งเสริมการท่องเที่ยวและมรดกทางวัฒนธรรมของประเทศแทนซาเนียสู่สายตาชาวโลก ภายใต้ความร่วมมือของ สภาศิลปะแห่งชาติแทนซาเนีย (BASATA) , กระทรวงวัฒนธรรม และองค์กรเอกชนด้านการท่องเที่ยว พร้อมกับจูเลีย มอร์ลีย์ ประธานและซีอีโอองค์กรมิสเวิลด์ และ ฮัสเซ็ต เดเรเจ รองอันดับ 1 จากประเทศเอธิโอเปีย

หนึ่งในนั้นคือการเดินทางเข้าชมสถานที่สำคัญและขึ้นชื่อทางประวัติศาสตร์อย่าง อุทยานแห่งชาติเซเรนเกติ (Serengeti National Park) ทุ่งหญ้าสะวันนา เขตอนุรักษ์ธรรมชาติที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลกของประเทศแทนซาเนีย ที่ได้ชื่อว่าเป็นดินแดนขึ้นชื่อการอพยพของสัตว์ป่าครั้งยิ่งใหญ่ และเป็นหมุดหมายสำคัญของกลุ่มนักท่องเที่ยวที่อยากไปสัมผัสประสบการณ์ความงดงามของทุ่งหญ้าสะวันนาแห่งนี้

อุทยานแห่งชาติเซเรนเกติ ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศแทนซาเนีย เป็นอุทยานที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก World Heritage ทางธรรมชาติของประเทศแทนซาเนียในทวีป แอฟริกาในปี พ.ศ. 2524 เป็นพื้นที่แห่งนี้ได้รับการยอมรับว่าเป็นระบบนิเวศที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ชุกชุมไปด้วยสัตว์สารพัดชนิด เต็มไปด้วยสัตว์ป่านานาชนิด ครอบคลุมพื้นที่อนุรักษ์โงรองโกโร เขตอนุรักษ์สัตว์ป่าขนาดเล็กหลายแห่งของแทนซาเนีย และ เขตอนุรักษ์แห่งชาติมาไซมาราในประเทศเคนยา ประเทศเพื่อนบ้าน

อุทยานแห่งชาติเซเรนเกติ (Serengeti National Park)

ภูมิประเทศทางธรรมชาติอันเลื่องชื่อระดับโลกแห่งนี้เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์อพยพที่ยังคงสภาพสมบูรณ์ และยังคงมีชีวิตอยู่มากที่สุดในโลก เป็นอุทยานแห่งชาติหนึ่งในสถานที่แรกๆ ที่ได้รับการเสนอชื่อให้เป็นมรดกโลก โดยองค์การยูเนสโกในการประชุมที่กรุงสตอกโฮล์มในปี พ.ศ. 2515 ก่อนจะได้รับขึ้นทะเบียนอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2524 รวมถึง Africa Geographic ยังได้ประกาศให้เป็น 1 ใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ทางธรรมชาติของแอฟริกา

แผ่นดินผืนใหญ่แห่งนี้เต็มไปด้วยสัตว์ป่ามากมาย ไม่ว่าจะเป็น วิลเดอบีสต์ ม้าลาย กวางนู กาเซลล์ ยีราฟ ฮิปโปโปเตมัส วัวป่า สิงโต เสือดาว เสือชีตาห์ ไฮยีน่า หมาป่า นกอินทรี ไฮยีน่า แร้ง เต่า กิ้งก่า งู นกกระจอกเทศ นกเงือก นกกระจิบ นกกระสา รวมถึงสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก ลิงชิมแปนซี กระรอก เม่น สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก และสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังอีกมากมาย

ฝูงสัตว์ในอุทยานแห่งชาติเซเรนเกติ

การอพยพย้ายถิ่นประจำปีของสัตว์ที่อยู่ในอุทยานแห่งชาติเซเรนเกติ ถือเป็นปรากฏการณ์สัตว์ป่าที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในแอฟริกาและอาจรวมถึงโลกด้วย แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นทุกปี แต่การอพยพย้ายถิ่นของเซเรนเกติเป็นไปตามวัฏจักรประจำปีที่คาดการณ์ได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำฝนในท้องถิ่น การอพยพของสัตว์ที่นี่แบ่งออกเป็นช่วงเวลาต่างๆ ดังนี้

มิถุนายน - กรกฎาคม สัตว์ป่าจะอพยพจากทุ่งหญ้าสะวันนาทางตอนใต้ ไปยังทุ่งหญ้าสะวันนาทางตอนเหนือ เพื่อหาอาหารและน้ำ

สิงหาคม - กันยายน เป็นฤดูที่ฝูงสัตว์จะออกลูกและรวมตัวกันอยู่ในทุ่งหญ้าสะวันนาทางตอนเหนือ

ตุลาคม - พฤศจิกายน ช่วงเวลาแห่งการยพยพกลับไปยังทุ่งหญ้าสะวันนาทางตอนใต้

ช่วงปลายเดือนเมษายนถึงต้นเดือนมิถุนายน ถือเป็นช่วงเวลาทองของกลุ่มนักท่องเที่ยวที่จะมีโอกาสได้เห็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกอย่างหนึ่ง อย่างขบวนของสัตว์มากกว่าหนึ่งล้านตัว เรียงเป็นแถวยาวถึง 40 กิโลเมตร ในการเคลื่อนตัวอพยพกันไป

ฝูงวิลเดอบีสต์อพยพข้ามแม่น้ำ Mara ในอุทยานแห่งชาติเซเรนเกติ

นอกจากนี้ในปัจจุบัน อุทยานแห่งชาติเซเรนเกติยังคงเป็นที่อยู่อาศัยของชนเผ่าพื้นเมืองหลายเผ่า หนึ่งในชนเผ่าที่มีชื่อเสียงที่สุดคือชนเผ่ามาไซ ที่มีความโดดเด่นและเป็นที่นิยมเนื่องจากวัฒนธรรมที่สืบทอดมาอย่างยาวนาน แม้จะมีการศึกษา อารยธรรม และอิทธิพลทางวัฒนธรรมตะวันตก ชาวมาไซก็ยังคงยึดมั่นในวิถีชีวิตดั้งเดิม ทำให้พวกเขาเป็นสัญลักษณ์ของวัฒนธรรมแทนซาเนียและเคนยามาจนถึงปัจจุบัน

ที่มา : Serengeti: Home to the great migration

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก Amarin TV

หนุ่มรัสเซียเมาสติหลุดปีนหลังคาวิลล่า ก่อนจบชีวิต

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ระทึก! ไฟไหม้ภายในคอนโคมิเนียม บริเวณถนนพญาไท เขตราชเทวี กทม.

2 ชั่วโมงที่ผ่านมา

BYD ชาร์จพลังบอลไทย! สนับสนุนทีมชาติไทย เปลี่ยนชื่อไทยลีกใหม่ทุกระดับ

4 ชั่วโมงที่ผ่านมา

หมดยุคอเมริกามหาอำนาจเดียว สรุป 5 ไฮไลท์เศรษฐกิจโลกในSummer Davos 2025

5 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความไลฟ์สไตล์อื่น ๆ

สายการบินแห่งชาติกัมพูชา เปิดเส้นทางนครเซินเจิ้น - นครวัด (เสียมราฐ) ชาวเน็ตไทยแซว “ดูคุ้นๆนะ!”

Manager Online

ไม่ธรรมดา ชุมชนท่องเที่ยวอพท.+เครือข่าย คว้า 6 รางวัลระดับนานาชาติ

Manager Online

ทำไมเรียก “พริกไทย” แล้วพริกอื่น ๆ ไม่ไทยหรือ?

ศิลปวัฒนธรรม

“ฉันปล่อยวางเก่ง ฉันเป็นคนประเภทที่เชื่อสุดใจเลยว่าทุกอย่างที่เกิดขึ้นมีเหตุผลเสมอ” Julia Garner

THE STANDARD

“ภาษีโสเภณี” หลักฐานการมีอยู่ของ “โสเภณี” ถูกกฎหมายในสยาม

ศิลปวัฒนธรรม

สมัยพุทธกาล ภิกษุณี 2 รูป ถูกชายชั่วชวน "สังวาส"

ศิลปวัฒนธรรม

กิน 80 ออกกำลังกาย 20 ทริคสร้างเอวสับง่ายๆ ไม่หนัก ไม่เหนื่อยเกินไป

SistaCafe

โลกมันโหดก็แค่หัดมีความสุขไอสัตว์! ปรัชญาปลากระเบนวิถี ‘Srirajah Rockers’

a day magazine

ข่าวและบทความยอดนิยม

วิกฤตปะการังสีขาว สัญญาณเตือนภัยจากธรรมชาติ รุนแรงมากกว่าทุกปี

Amarin TV

ไอ้คางดำรุกถิ่น 16 จังหวัด เผยไม่ส่งตัวอย่างปลา 50 ตัวให้กรมประมง

Amarin TV

ไขข้อสงสัย ทำไมถึงไม่ควรกินปูม้าที่มีไข่สีดำ แต่ควรปล่อยกลับคืนสู่ธรรมชาติ

Amarin TV
ดูเพิ่ม
Loading...