โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

สังคม

เสียงชุมชนเผชิญปัญหา "ขยะพลาสติก" วอนรัฐดัน พ.ร.บ.อากาศสะอาด

Thai PBS

อัพเดต 4 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 4 ชั่วโมงที่ผ่านมา • Thai PBS
เมื่อโลกเสียสมดุลจากขยะพลาสติก ตัวแทนชุมชนจากนครสวรรค์และระยอง เปิดใจสะท้อนผลกระทบรุนแรงจากมลพิษพลาสติกที่คุกคามสุขภาพ ทำลายสิ่งแวดล้อม และวิถีชีวิต พร้อมเรียกร้องกฎหมาย เพื่อปกป้องประชาชนอย่างแท้จริง

เมื่อวันที่ 17 ก.ค. 2568 คณะกรรมาธิการการที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับมูลนิธิความยุติธรรมเชิงสิ่งแวดล้อม (EJF) ได้จัดการเสวนาเพื่อแก้ไขปัญหาขยะพลาสติก ณ ห้องโถง B1-5 อาคารรัฐสภา โดยมีการฉายสารคดีสั้นเรื่อง "Unmasked : ใต้เถ้าธุลีพลาสติก" ที่ถ่ายทอดวงจรชีวิตพลาสติก ตั้งแต่การผลิต การบริโภค ไปจนถึงการกำจัด พร้อมตั้งคำถามเชิงสร้างสรรค์ว่า "เหตุใดเรายังไม่สามารถรับมือกับมลพิษพลาสติกได้อย่างมีประสิทธิภาพ"

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานในพิธีเปิดงาน โดยมีนายพูนศักดิ์ จันทร์จำปี ประธานคณะกมธ.การที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวรายงาน

ในช่วงเวลาหนึ่งของงาน ได้เปิดเวทีสนทนาในหัวข้อ "ใช่ทางออกหรือไม่ ? การแก้ปัญหาพลาสติกและผลกระทบในประเทศไทย" โดยมีตัวแทนจากชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากในพี้นที่ จ.นครสวรรค์ จ.ระยอง และพื้นที่หนองพะวา มาร่วมแบ่งปันประสบการณ์และเสียงสะท้อนจากสถานการณ์จริง

เสียงสะท้อน "ความจริง" จากผู้ได้รับผลกระทบ

ตัวแทนจากทั้ง 2 จังหวัด ได้เปิดเผยความรู้สึกหลังจากรับชมสารคดี "Unmasked : ใต้เถ้าธุลีพลาสติก"

ตัวแทน จ.ระยอง กล่าวว่า ตกใจมากกับตัวเลข 8.8 ล้านตันของขยะพลาสติกที่กระจายไปทั่ว มันสร้างผลกระทบต่อทุกคน พร้อมบอกว่า ครอบครัวตนมีคนป่วยเป็นมะเร็งแล้วถึง 2 คน อยากให้ทุกคนตระหนักเกี่ยวกับเรื่องพลาสติก สำหรับสารคดีสะท้อนปัญหาพลาสติก ทั้งในบ้านเราที่กำลังกระจายไปถึงนครสวรรค์ แม้กระทั่งปัญหาโรงงานรีไซเคิลที่เกิดขึ้นมา คือปัญหาการตอบโจทย์แล้วจริงหรือ ?

ตัวแทน จ.นครสวรรค์ กล่าวว่า สารคดีทำให้รู้อะไรที่ไม่รู้เยอะเลย ทั้งปริมาณขยะ ทั้งต้นตอของปัญหา แต่สิ่งที่คิดขึ้นมา คือเราฟังเสียงที่มันเป็นปัญหาอย่างแท้จริงกันหรือเปล่า ? ตั้งแต่ระบบการผลิต ระบบการใช้ ไปจนถึงระบบการกำจัด ปัญหาก็ยังไม่จบ แก้ปัญหานี้แล้วก็เกิดปัญหาใหม่ ประชาชนส่วนใหญ่ไม่รู้ว่าพลาสติกเล็ก ๆ ในน้ำดื่มเข้าไปในร่างกายได้

เพราะฉะนั้นสิ่งสำคัญคือทำยังไงให้เกิดตระหนักรู้มากขึ้นในที่สิ่งที่มีผลกระทบ อันนี้สำคัญที่สุดเลย ตราบใดที่เราไม่รู้ เราแก้อะไรไม่ได้ ป้องกันอะไรก็ไม่ได้

ผลกระทบที่ไม่ปรากฏในสารคดี ชีวิตที่เปลี่ยนไปจากมลพิษพลาสติก

ผู้ได้รับผลกระทบได้เล่าถึงผลกระทบเพิ่มเติมที่ไม่ได้อยู่ในสารคดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมในระยอง ตัวแทนจากระยอง กล่าวว่าสภาพอากาศเปลี่ยนไปมาก ผึ้งซึ่งเป็นแมลงผสมเกสรเริ่มหายไป ถ้าต่อไปในอนาคตเกิดขึ้นมากกว่านี้ หากผลไม้อย่างทุเรียนขายไม่ได้ ใครจะรับผิดชอบชีวิตพวกเรา ? พร้อมบอกว่า เกษตรกรในระยองมีถึงร้อยละ 80 รวมถึงภาคประมง อาชีพเกี่ยวกับการท่องเที่ยว กับอุตสาหกรรมที่มีประมาณร้อยละ 20 ใครจะรับผิดชอบชีวิตของพวกเรา ? ตอนนี้ในชายหาดทะเลไม่ได้มีแค่ถุงพลาสติกที่ลอยขึ้นมา แต่ยังรวมถึงเม็ดพลาสติกตามชายหาดอีกด้วย

นอกจากนี้ยังกล่าวถึง การเปลี่ยนแปลงจากการขยายตัวของโรงงานอุตสาหกรรมในระยองที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ก่อให้เกิดมลพิษที่ส่งผลให้ปลาในลำคลองหายไป สัตว์น้ำที่เคยอุดมสมบูรณ์ในอดีต เช่น ปูก้ามดาบ กลับกลายเป็นสิ่งหายาก "อยากให้ทุกคนตระหนักเรื่องสิ่งแวดล้อมให้มาก" พร้อมเล่าถึงความพยายามของชุมชนในการสร้าง "ตลาดสีเขียว" เพื่อลดการใช้พลาสติก แต่ก็ยังไม่สามารถสู้กับกระแสความสะดวกสบายที่ผลักดันให้คนส่วนใหญ่ยังคงใช้พลาสติก

ด้านตัวแทนจากนครสวรรค์ เล่าถึงการต่อสู้กับโรงงานอุตสาหกรรมว่าเหมือน "เสียงแมลงหวี่แมลงวัน" ที่ถูกปัดทิ้ง เธอตั้งคำถามถึงความโปร่งใสในการอนุญาตให้เปิดโรงงาน และชี้ให้เห็นถึงกรณีที่วิศวกรเข้าคุมงานก่อสร้างก่อนได้รับใบอนุญาต ซึ่งผลการร้องเรียนกลับเป็นเพียงการ "ว่ากล่าวตักเตือน" โดยไม่ส่งผลกระทบต่อโรงงาน การตั้งโรงงานในพื้นที่ทำกินของชาวบ้าน ส่งผลให้ควันพิษลอยข้ามหัวชาวบ้าน ไดออกซินที่อันตรายยังคงคุกคามสุขภาพ

ข้อเสนอแนะเชิงกฎหมายและนโยบายจากผู้ได้รับผลกระทบ

เมื่อถูกถามถึงกฎหมายที่อยากผลักดัน ตัวแทนจากระยอง เสนอให้ผลักดันกฎหมาย PDPA พ.ร.บ.อากาศสะอาด และกองทุนภัยพิบัติ โดยยกตัวอย่างเหตุการณ์เพลิงไหม้ ที่มาบตาพุด จ.ระยอง ชาวบ้านที่ไม่มีที่อยู่ได้รับความช่วยเหลือเพียงไข่คนละแผง และปัญหาการอพยพที่ไม่ได้รับการดูแลที่ดีเพียงพอ เพราะตอนนี้โลกเปลี่ยนไป อากาศเปลี่ยน พร้อมระบุว่า ในขณะที่บ้านตนไม่เคยลมแรงหลังคาไม่เคยหลุด ตอนนี้หลังคาหลุดไป 2 รอบ สิ่งพวกนี้มันต้องรวมหมด ทั้งสภาวะโลกร้อน ฝนกด ผลไม้ขายไม่ได้ รวมถึงการอพยพ พ.ร.บ. ภัยพิบัติพวกนี้ต้องดูแลเหล่าชาวบ้านด้วย
นอกจากนี้ ยังเรียกร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องชี้แจงข้อมูลมลพิษแก่ชาวบ้านในพื้นที่อย่างละเอียด เพื่อให้รับรู้ถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้น เช่น การมีสารแคดเมียมในใต้ดิน

พลังชุมชนต้านพลาสติก เมื่อความสะดวกแลกด้วยปัญหามลพิษ

ประชาชนตัวแทนจากระยอง มองว่าการนำฟอสซิลขึ้นมาผลิตเป็นพลาสติกเป็นการสร้างความสะดวกสบาย แต่โลกกำลังเสียสมดุล ชุมชนเล็ก ๆ กำลังพยายามเป็นตัวอย่างในการลดใช้พลาสติก โดยเริ่มจากที่บ้านและขยายสู่ศูนย์เรียนรู้เฝ้าระวังและปกป้องสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ในอ.ตะพงและอ.บ้านแหลม จ.ระยอง

คนปรับตัวได้อยู่แล้ว เมื่อพลาสติกไม่มี ผมเชื่อได้เลยว่า คนอาจจะต้องใช้สิ่งที่ทดแทนอย่าง เช่น ถุงผ้า

โดยเปรียบเทียบกับช่วงที่น้ำมันขาดแคลน ทำให้คนต้องปรับตัวมาใช้จักรยานหรือขนส่งสาธารณะ

ในขณะที่ตัวแทนจากหนองพะวา เรียกร้องให้ผู้มีอำนาจเข้ามาแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะโรงงานที่เข้ามาอย่างง่ายดายด้วยอำนาจและเงินทุน แต่กลับทิ้งปัญหาที่แก้ไม่ได้ให้ชุมชนต้องแบกรับต่อไปอีกหลายสิบปี

โรงงานที่มา มาง่าย เพราะเขามีทั้งเงิน ทั้งอำนาจ เมื่อพอมาทำแล้ว ปัญหามันแก้ไม่ได้ แล้วเราคิดว่าก็แก้ไม่ได้ด้วย มาแค่ 5-6 ปี แต่จะมาทิ้งปัญหาให้ชาวบ้านเขาเดือดร้อนอีกถึงกี่ 10 ปี

เรียบเรียง : ศศิมาภรณ์ สุขประสิทธิ์ นักศึกษาฝึกงาน โครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

อ่านข่าว :

ไทยใช้ถุงพลาสติกคนละ 3,000 ใบต่อปี ตั้งเป้าลด-เลิกแบบครั้งเดียวทิ้งในปี 2570

หาคำตอบ "ไมโครพลาสติก" อยู่ตรงไหนในชีวิตเรา ทำไมถึงใส่ใจ

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก Thai PBS

"ธนาธร" ปัดดีลลับการเมือง เชื่อมีบางกลุ่มดึงการเมืองไทยสู่ทางตัน

22 นาทีที่แล้ว
วิดีโอ

The EXIT : ตรวจสอบอาคารเรียนร้าง งบ 32 ล้านบาท ใช้งานไม่ได้

51 นาทีที่แล้ว
วิดีโอ

ค้นโกดังกระจายสินค้านำเข้า ไม่ขออนุญาต มอก.

53 นาทีที่แล้ว
วิดีโอ

กัมพูชาเลื่อนสำรวจ ทุ่นระเบิดริมพรมแดน

57 นาทีที่แล้ว

วิดีโอแนะนำ

ข่าว สังคม อื่น ๆ

วิดีโอ

“จ่าโอ”ประกาศตามตัว“ทหารกล้า”เสียขา! ฐานะทหารผ่านศึก พิการเหมือนกัน! ขอมอบสิ่ง คาดไม่ถึง?!

ThaiNews - ไทยนิวส์ออนไลน์

กองทัพบก วอนสื่อ อย่าเรียกผู้บังคับบัญชาว่า "บิ๊ก" หวั่นถูกมองมุมลบ

THE ROOM 44 CHANNEL

สยามพารากอนจัดงานใหญ่ เทิดไท้ในหลวง - ฉลองสัมพันธ์จีน

ฐานเศรษฐกิจ

กทม. ลงโทษเจ้าหน้าที่ใช้ภาพตัดต่อรายงานผล “Traffy Fondue” พร้อมประสานด่วน สวทช. พัฒนาระบบกรองภาพปลอม เร่งฟื้นความเชื่อมั่นประชาชน

สวพ.FM91
วิดีโอ

ไม่ใช่ระเบิดเก่า? "ผู้พันเบิร์ด" ชำแหละแผนลับ "เขมร" หลังฝังกับระเบิด ทำทหารไทยเสียขา!

ThaiNews - ไทยนิวส์ออนไลน์

"กฎห้ามถือเงินแสน" วัดป่าเห็นด้วย-วัดเมืองชี้ต้องปรับให้เหมาะสม

Thai PBS

ข่าวและบทความยอดนิยม

เสียงชุมชนเผชิญปัญหา "ขยะพลาสติก" วอนรัฐดัน พ.ร.บ.อากาศสะอาด

Thai PBS

การค้าโลกเสี่ยง-แข่งขันสูง สนค. เล็งปรับโครงสร้างส่งออก ยกระดับสินค้าไทย

Thai PBS

รู้จัก CVI "โรคหลอดเลือดดำบกพร่องเรื้อรัง" ที่หลายคนมองข้าม

Thai PBS
ดูเพิ่ม
Loading...