โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

การเมือง

พฤฒสภา คือ สภาปรีดี จริงหรือ ? (8)

ไทยโพสต์

อัพเดต 7 กรกฎาคม 2568 เวลา 19.09 น. • เผยแพร่ 4 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ไชยันต์ ไชยพร

ก่อนจะเกิดรัฐธรรมนูฉบับที่ 4 หรือรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2490 เรามีรัฐธรรมนูญฉบับที่ 2 คือฉบับ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 และฉบับที่ 3 คือฉบับ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 ผู้เขียนได้ชี้ให้เห็นแล้วว่า รัฐธรรมนูญฉบับที่ 2 ที่ใช้อยู่ระหว่าง พ.ศ. 2475-2489 เป็นรัฐธรรมนูญที่นำไปสู่ระบอบคณาธิปไตยสืบทอดอำนาจโดยคณะราษฎร สาเหตุสำคัญที่ทำให้รัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นรัฐธรรมนูญคณาธิปไตยสืบทอดอำนาจโดยคณะราษฎร ได้แก่

1. การเปิดให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 มีสิทธิ์รับรองคณะรัฐมนตรีร่วมกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 1

2. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 มีจำนวนเท่ากับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 1 ที่มาจากการเลือกตั้ง

3. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 มาจากการแต่งตั้งโดยคณะรัฐมนตรี และมีวาระอยู่ยาว

4. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 ชุดแรกที่แต่งตั้งขึ้นในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2476 มาจากการแต่งตั้งโดยคณะรัฐมนตรี คณะที่ 4 ที่มาจากการทำรัฐประหาร

5. คณะรัฐมนตรี คณะที่ 4 ที่มาจากการทำรัฐประหาร แต่งตั้งตัวเองและพวกพ้องซึ่งส่วนเป็นสมาชิกคณะราษฎรให้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2

6. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 รับรองตัวเองให้เป็นคณะรัฐมนตรี

จาก 1-5 บรรดาสมาชิกคณะราษฎรต่างแต่งตั้งตัวเองกลับไปกลับมาหมุนเวียนกันเป็นคณะรัฐมนตรี และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 เป็นระยะเวลาถึง 13 ปี จนมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ นั่นคือ ฉบับที่ 3 เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2489

รัฐธรรมนูญฉบับที่ 3 นี้ แม้จะยกเลิกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 และให้มีสมาชิกพฤฒสภาขึ้นแทน แต่ก็ยังกำหนดให้สมาชิกพฤฒสภามีสิทธิ์ในการรับรองคณะรัฐมนตรีร่วมกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้ง และแม้ว่าจะกำหนดให้สมาชิกพฤฒสภามาจากการเลือกตั้งของประชาชน แต่รัฐธรรมนูญฉบับที่ 3 นี้ได้กำหนดไว้ว่า ในช่วงแรกให้สมาชิกพฤฒสภามาจากการเลือกของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

ทีนี้ เรามาดูกันว่า สมาชิกพฤฒสภาที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้เลือกขึ้นมาเป็นจำนวน 80 คนตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญเป็นใครและพวกใครบ้าง และทำไมคนในสมัยนั้นถึงเรียกพฤฒสภาว่าเป็น “สภาปรีดี” พฤฒสภาเต็มไปด้วยคนของปรีดีจริงหรือ ?

ในการตอบข้อสงสัยข้างต้น ผู้เขียนจะขอกล่าวถึงภูมิหลังของสมาชิกพฤฒสภาทั้งหมด 80 ท่าน เพื่อเป็นข้อมูลในการประเมินข้อน้ำหนักความน่าเชื่อถือเกี่ยวกับการตั้งฉายา “พฤฒสภา” ว่าเป็น “สภาปรีดี” โดยไล่ไปตามลำดับตัวอักษร โดยตอนที่แล้วได้กล่าวถึงภูมิหลังของสมาชิกพฤฒสภาจำนวน 14 ท่าน พบว่า มีสมาชิกที่จัดได้ว่าเป็นพวกปรีดี 5 ท่าน มีแนวโน้มที่จะสนับสนุนปรีดี 1 ท่าน ไม่ใช่พวกปรีดี 4 ท่าน ไม่สามารถจัดได้ว่าเป็นฝ่ายใดแน่ 4 ท่าน

ต่อไปคือ คุณจำลอง ดาวเรือง

คุณจำลองไม่ได้เป็นสมาชิกคณะราษฎร ก่อนหน้าที่จะได้รับเลือกเป็นสมาชิกพฤฒสภาในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2489 คุณจำลอง จำลอง ได้รับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกใน พ.ศ. 2480 และครั้งที่สอง พ.ศ. 2481 โดยเป็นผู้แทนจังหวัดมหาสารคาม และเคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีในคณะรัฐมนตรีที่ 12 ที่มีนายทวี บุณยเกตุเป็นนายกรัฐมนตรี และคณะที่ 13 ที่มีหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมชเป็นนายกรัฐมนตรี คุณจำลองมีพื้นเพเป็นลูกอีสานคนมหาสารคาม ครอบครัวมีฐานะยากจน แต่เป็นผู้มีความรู้ความสามารถและมีใจรักใฝ่รู้ใฝ่เรียน เมื่อสำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ซึ่งเป็นชั้นสูงสุดของโรงเรียนแล้ว จึงได้เข้ามาศึกษาต่อด้านช่างเครื่องยนต์ ณ โรงเรียนช่างกล ในกรุงเทพมหานคร โดยได้รับการสนับสนุนจากหลวงพิศิษฐ์ศุภกร (เจ๊กหยงนี) ซึ่งเป็นเจ้าของบริษัทรถขนส่งในจังหวัดร้อยเอ็ด เมื่อสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนช่างกลแล้ว จึงได้เดินทางกลับมาประกอบอาชีพโชเฟอร์ขับรถ รับส่งของและผู้โดยสารจากจังหวัดร้อยเอ็ด - สุรินทร์ ให้กับบริษัทของหลวงพิศิษฐ์ศุภกรราว ๆ 2-3 ปี โดยได้รับเงินเดือนเดือนละ 50 บาท จนกระทั่งมีเงินเก็บมากพอ เขาจึงตัดสินใจซื้อรถยนต์ขนส่งมาครอบครองและออกทำงานรับส่งด้วยตนเองได้ในที่สุด [1]

นอกจากเป็น ส.ส. มหาสารคามแล้ว คุณจำลองยังเป็นเสรีไทยสายอีสาน จากการที่ปรีดีให้ความไว้วางใจชักชวนให้คุณจำลองเข้าร่วมขบวนการเสรีไทย

เช่นเดียวกันกับคุณจินดา จินตนเสรี แม้ว่าคุณจำลองจะไม่ได้เป็นสมาชิกพฤฒสภาที่เป็นสมาชิกคณะราษฎร แต่ก็มีความสนิทสนมกับปรีดี พนมยงค์ และเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้พฤฒสภาได้รับการขนานนามว่าเป็น “สภาปรีดี”

ต่อไปคือ พลโท จรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์

ท่านเป็นสมาชิกคณะราษฎร สายทหารบก [2] ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 ในปี พ.ศ. 2476 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรี (ลอย) ครั้งแรกในคณะรัฐมนตรี คณะที่ 9 (วันที่ 21 ธันวาคม 2481 – 7 มีนาคม 2485) ที่มีหลวงพิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี ต่อมาภายใต้คณะรัฐมนตรีคณะเดียวกันนี้ ท่านได้รับแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเศรษฐการเมื่อวันที่ 6 กันยายน 2482 และวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2484 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ เนื่องจากมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวงทบวงกรม พ.ศ. 2484 ต่อมาวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2484 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม ภายใต้จอมพล ป. พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี

ต่อมาในคณะรัฐมนตรี คณะที่ 10 (7 มีนาคม 2485 – 1 สิงหาคม 2487) [3] ที่มีจอมพล ป. พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี ท่านได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเป็นครั้งแรก โดยเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ ต่อมาวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2485 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ต่อมาในปี พ.ศ. 2487 ท่านได้เสกสมรสกับสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา

ท่านได้อยู่ร่วมรัฐบาลของหลวงพิบูลฯ จนหลวงพิบูลฯ ลาออกจากนายกฯในปี พ.ศ. 2487 เมื่อหลวงพิบูลฯ ถูกกล่าวหาเป็นอาชญากรสงครามท่านก็ถูกกล่าวหาด้วย แต่พ้นคดีเพราะกฎหมายเป็นโมฆะใช้ย้อนหลังไม่ได้ จึงพ้นคดีเมื่อวันที่ 23 มีนาคม ปี 2489 และได้รับแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกพฤฒสภาในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2489 จนคณะรัฐประหารยึดอำนาจ ในวันที่ 8 พฤศจิกายน ปี 2490 เมื่อหลวงพิบูลฯ กลับมามีอำนาจทางการเมืองเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง หลวงเสรีเริงฤทธิ์จึงได้กลับมามีตำแหน่งสำคัญแม้จะมิใช่ตำแหน่งทางการเมืองนั่นคือตำแหน่งอธิบดีกรมรถไฟ ในวันที่ 11 พฤศจิกายน ปี 2492 [4]

จากข้อมูลข้างต้น การที่หลวงเสรีเริงฤทธิ์ได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกพฤฒสภา จึงไม่มีส่วนที่ทำให้พฤฒสภาเป็น “สภาปรีดี”

สรุปล่าสุด คือ

สมาชิกพฤฒสภา

ปรีดี

ไม่ใช่พวกปรีดี

แนวโน้มสนับสนุนปรีดี

ไม่สามารถจัดได้ว่าเป็นฝ่ายใด

ม.ล. กรี เดชาติวงศ์

+

ร.อ. กำลาภ กาญจนสกุล ร.น.

+

พ.ท. ก้าน จำนงภูมิเวท

+

แก้ว สิงหะคเชนทร์

+

หลวงกาจสงคราม

+

พลเรือตรี กระแส ประวาหะนาวิน สรยุทธเสนี

+

พลโท หลวงเกรียงศักดิ์พิชิต

+

เขียน กาญจพันธุ์

+

พลโท จิระ วิชิตสงคราม

+

จรูญ สืบแสง

+

จิตตะเสน ปัญจะ

+

พันโท เจือ สฤษฎิ์ราชโยธิน

+

จำรัส สุวรรณชีพ

+

จินดา จินตนเสรี

+

จำลอง ดาวเรือง

+

หลวงเสรีเริงฤทธิ์ (จรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์)

+

จากที่ศึกษาภูมิหลังสมาชิกพฤฒสภาไปทั้งสิ้น 16 ท่านในทั้งหมด 80 ท่าน พบว่า มีสมาชิกที่จัดได้ว่าเป็นพวกปรีดี 6 ท่าน มีแนวโน้มที่จะสนับสนุนปรีดี 1 ท่าน ไม่ใช่พวกปรีดี 5 ท่าน ไม่สามารถจัดได้ว่าเป็นฝ่ายใดแน่ 4 ท่าน

(โปรดติดตามตอนต่อไป)

[1] https://www.facebook.com/photo.php?fbid=3206767326038870&id=418729291509368&set=a.797398676975759

[2] ประเสริฐ ปัทมะสุคนธ์, “คณะราษฎร” ผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2475, https://pridi.or.th/th/content/2023/06/1563

[3] https://www.soc.go.th/?page_id=5772

[4] นรนิติ เศรษฐบุตร, หลวงเสรีเริงฤทธิ์, ฐานข้อมูลสถาบันพระปกเกล้า,

https://wiki.kpi.ac.th/index.php?title =หลวงเสรีเริงฤทธิ์

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก ไทยโพสต์

ชาวทุ่งใหญ่ผวา ต้นยางนา 100 ปี 500 ต้นถูกโค่นกลางวัด เชื่อมีตำรวจใหญ่เอี่ยว

7 นาทีที่แล้ว

🛑LIVE ดิ้นแถกเหงือก | ห้องข่าวไทยโพสต์

10 นาทีที่แล้ว

เลขาฯสภา ชี้ ‘ลุงป้อม’ เสนอชื่อตัวเองชิงนายกฯ ไม่ได้ เสียง สส.ปัจจุบันไม่ถึงเกณฑ์

19 นาทีที่แล้ว

‘SIWOO-SEOHYEON’ คว้าดับเบิ้ลแชมป์ กอล์ฟเยาวชน’ดิทโต้’

19 นาทีที่แล้ว

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความการเมืองอื่น ๆ

ข่าวและบทความยอดนิยม