โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

มลพิษ ‘โรงขยะอ่อนนุช’ ปัญหาคาราคาซัง

ไทยโพสต์

อัพเดต 20 กรกฎาคม 2568 เวลา 21.59 น. • เผยแพร่ 5 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ปัญหากลิ่นเหม็นและควันพิษจากศูนย์กำจัดมูลฝอยอ่อนนุช หรือที่คนกรุงเทพฯ เรียก”โรงขยะอ่อนนุช” ซอยอ่อนนุช 68 ถูกชาวบ้านและชุมชนรอบโรงขยะร้องเรียนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาตั้งแต่ปี 2563 เพราะผลกระทบจากกลิ่นบ่อหมักและสารเคมีที่ใช้หมักขยะ ปี 2565 คณะกรรมการกิจการพลังงานและกรมโรงงานอุตสาหกรรมสั่งพักใบอนุญาตประกอบกิจการประกอบไฟฟ้า และสั่งให้โรงงานปรับปรุงระบบป้องกันเพื่อแก้ไขปัญหากลิ่นเหม็น แต่ยังไม่สามารถแก้ปัญหามลพิษได้

เมื่อต้องเผชิญผลกระทบทางสุขภาพและสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง เพราะโรงขยะตั้งใกล้ชุมชน ปี 2566 ประชาชนผู้ได้รับผลกระทบทางสุขภาพและสิ่งแวดล้อมจากเขตประเวศ จากโรงงานผลิตก๊าซชีวภาพจากน้ำหมักขยะมูลฝอย และโรงงานผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงก๊าซชีวภาพของบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด ภายใต้โครงการจ้างเหมาบริหารจัดการมูลฝอยชุมชนเพื่อผลิตพลังงานขนาดไม่น้อยกว่า 800 ตันต่อวันของกรุงเทพมหานคร (กทม.) ที่ตั้งอยู่ภายในศูนย์กำจัดมูลฝอยอ่อนนุช เขตประเวศ กรุงเทพฯ รวมตัวกันยื่นฟ้องศาลปกครอง ขอเพิกถอนใบอนุญาตโรงงานขยะอ่อนนุช แต่ก็ยังมีเสียงร้องเรียนเรื่องกลิ่น ล่าสุดโรงงานกำจัดมูลฝอยติดเชื้ออ่อนนุชส่งเขม่าควันจากเตาเผาคละคลุ้ง กระทบชาวบ้าน ตามมาด้วยภาพผู้บริหาร กทม. ผอ.สำนักสิ่งแวดล้อม ลงพื้นที่ตรวจสอบ กำชับให้บริษัทฯ ผู้รับจ้างเร่งแก้ปัญหา

มลพิษจากโรงขยะอ่อนนุชนั้นยาวนานกว่า 6 ปี กลิ่นขยะและควันยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างจริงจังจากโรงขยะ ขณะที่ กทม. เองไม่ดำเนินการกับบริษัทอย่างจริงจัง ประเด็นดังกล่าวชัดเจนเมื่อ นายจักกพันธุ์ ผิวงาม รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ซึ่งกำกับดูแลสำนักสิ่งแวดล้อม ชี้แจงความคืบหน้าการแก้ไขปัญหากลิ่นและควันจากศูนย์กำจัดมูลฝอยอ่อนนุชและยอมรับข้อผิดพลาด หลังจากที่มีสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) เขตบางซื่อ น.ส. ภัทราภรณ์ เก่งรุ่งเรืองชัย ตั้งกระทู้ถามสดในสภาเกี่ยวกับผลกระทบต่อชุมชนรอบโรงขยะอ่อนนุช ในการประชุมสภากรุงเทพมหานคร สมัยประชุมสามัญ สมัยที่สาม (ครั้งที่ 3) พ.ศ. 2568 เมื่อวันก่อน

ภัทราภรณ์ เก่งรุ่งเรืองชัย ส.ก.เขตบางซื่อ กล่าวว่า ปัญหามลพิษทางกลิ่นและควันดำจากโรงงานภายในศูนย์กำจัดมูลฝอยอ่อนนุชคาราคาซังมานาน แต่ปัญหานี้ไม่ได้รับการแก้ไขเสียที หรือว่ามีนอกมีในหรือเปล่า จากการติดตามปัญหามลพิษ สส.พรรคพลังประชาชน นำเรื่องเข้าอภิปรายในสภาผู้แทนราษฎรและหารือในคณะกรรมธิการที่เกี่ยวข้อง รวมถึงเข้าพบผู้ว่าฯ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รวมถึง สก.ตั้งญัตติถามในสภา กทม. ตนเองนำเรื่องมลพิษโรงขยะเข้า กมธ.รักษาความสะอาดและสิ่งแวดล้อมมาแล้วถึง 2 ครั้ง ยังไม่จบ

“ ข้อมูลจากเพจ Facebook ผู้ได้รับผลกระทบจากกลิ่นโรงงานขยะ 800 ตันอ่อนนุช 86 ที่รวมตัวประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากโรงขยะอ่อนนุช มีประชาชนกว่า 1,900 ครัวเรือน หรือราว 7,600 คนแล้วได้รับผลกระทบจากกลิ่นขยะ สะท้อนถึงการบริหารจัดการปัญหาโรงขยะของ กทม. ไม่ว่าจะศรีนครินทร์ ประเวศ อุดมสุข รามคำแหง 2 กลิ่นแรงมาก ชาวบ้านต้องอดทนดมกลิ่นขยะเหม็นเน่าทุกวัน แม้แต่โรงพยาบาลสิรินธร สังกัด กทม. เอง คนไข้ป่วยก็ยังต้องดมกลิ่นขยะอีก “ภัทราภรณ์ กล่าว

ส.ก.เขตบางซื่อ กล่าวด้วยว่า ถึงแม้โรงขยะขนาด 800 ตัน จะปิดดำเนินการไปแล้ว แต่กลิ่นเหม็นยังคงกระจายจากศูนย์กำจัดมูลฝอยอ่อนนุช ขนาด 600 และ 1,000 ตัน ที่มีโรงหมักปุ๋ยรวมอยู่ด้วย ทุกครั้งที่ถามไป ได้คำตอบรอโรงขยะทั้ง 2 โรง หมดสัญญาในเดือนธันวาคม ปี 2569และมิถุนายน 2570 แต่เราไม่เคยได้รับคำตอบเลยว่าระหว่างนี้ กทม. จะแก้ไขอย่างไร ประชาชนต้องทนดมกลิ่นเหม็นไปอีก 2 ปี ใช่หรือไม่ รองผู้ว่าฯ จักกพันธุ์ ลงพื้นที่ตรวจสอบตลอด ปี 2567 ปรับปรุงเป็นระบบปิดและติดตั้งประตูบางส่วน ปี 2568 ไปตรวจโรงขยะเมื่อเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา ปรับปรุงระบบปิดเหมือนเดิม จากนั้นรองผู้ว่าฯ ไปชี้แจง กมธ.งบประมาณ คำตอบที่ได้ก็ไม่ลงรายละเอียดเหมือนเดิม ตกลงระบบปิดคืบหน้าอย่างไร จะดำเนินการแล้วเสร็จ 100% เมื่อไหร่ ตั้งข้อสงสัยว่าเป็นการดึงเวลาให้สัญญาหมด บริษัทจ้างเหมาจะได้ไม่ต้องลงทุนปรับปรุงเพิ่มใช่หรือไม่ จากการได้รับฟังเสียงประชาชนที่ได้รับผลกระทบ ม่านพลาสติกและประตูมีการทำขึ้นจริง แต่เมื่อโรงขยะดำเนินงานกลับเปิดอยู่ ฝากให้ตรวจสอบจริงจัง

อีกทั้งมีการของบประมาณปี 2569 เพื่อจัดหาอุปกรณ์ติดตั้งระบบบำบัดกลิ่นสำหรับโรงหมักปุ๋ยอินทรีย์ แต่ปัญหากลิ่นยังมาจากโรงพักขยะ โรงคัดแยกอีกด้วย อุปสรรคของการแก้ปัญหากลิ่นจากโรงขนาด 600 ตัน และขนาด 1,000 ตัน คืออะไร ทำไมแก้ปัญหาไม่ได้ โดยทั้ง 2 โรงนี้เป็นบริษัทเดียวกัน

ประเด็นมลพิษควันดำจากโรงขยะอ่อนนุช ภัทราภรณ์ย้ำว่า ปัจจุบันยังไม่มีการติดตั้งปล่องควันเพื่อเข้าสู่ระบบตรวจสอบคุณภาพอากาศจากปล่องอย่างต่อเนื่อง (CEMS) ซึ่งจากประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมเรื่องกำหนดให้โรงงานต้องติดตั้งเครื่องมือหรือเครื่องอุปกรณ์พิเศษเพื่อรายงานมลพิษจากปล่องโรงงาน พ.ศ. 2565 ได้กำหนดเวลาให้โรงงานและโรงกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ ต้องติดตั้งให้เสร็จภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2570 ต่อมามีประกาศฉบับที่ 2 ให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 31 ธ.ค. 2568 แทน จะสามารถทำได้ทันตามกำหนดตามกฎหมายหรือไม่ ใช้งบประมาณส่วนไหนจัดทำ

ด้าน จักกพันธุ์ ผิวงาม รองผู้ว่าฯ กทม. กล่าวว่า สำหรับโรงขยะในพื้นที่อ่อนนุชมีทั้งหมด 5 โรง ในจำนวนนี้แก้ไขปัญหาแล้วเสร็จ 2 โรง ได้แก่ โรงขนาด 1,000 ตัน และสถานีขนถ่ายฝังกลบ MBT 800 ตัน มีปัญหา 3 โรง คือ โรงงานกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ โรงหมักปุ๋ย 600 ตัน และ 1,000 ตัน สิ่งที่กทม. พยายามทำ ไม่ใช่เพิ่งเริ่มทำ โดยดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2565 โดย กทม. ได้แจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ประกอบการรับดำเนินการตั้งแต่ เดือน ก.ค.65 โดยแจ้ง 2 ส่วน ส่วนแรกให้ปฏิบัติตามสัญญา

“ ยอมรับว่า บริษัทผู้ประกอบการทั้ง 600 ตัน และ 1,000 ตัน ไม่ได้ปฏิบัติตามสัญญา และยอมรับว่าสำนักสิ่งแวดล้อมไม่ได้ดำเนินการกับบริษัทอย่างจริงจัง อย่างน้อยที่สุดจากข้อมูลไม่มีการปรับทางบริษัทเลย แต่บางส่วนสัญญาไม่ได้ระบุไว้ ขณะเดียวกันจากการลงพื้นที่ล่าสุด บริษัทเริ่มทำจริง แต่ยังไม่เรียบร้อย “ จักกพันธุ์ กล่าว

รองผู้ว่าฯ ที่กำกับดุแลสำนักสิ่งแวดล้อม กล่าวด้วยว่า กรุงเทพมหานครได้ลงพื้นที่ตรวจสอบและปรับปรุงระบบปิดในโรงงานอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งมีการของบประมาณปี 2569 เพื่อจัดซื้ออุปกรณ์บำบัดกลิ่นสำหรับโรงหมักปุ๋ย อย่างไรก็ตาม ปัญหากลิ่นยังครอบคลุมโรงพักขยะและโรงคัดแยกด้วย แม้จะมีกฎหมายและสัญญาที่ต้องปฏิบัติ แต่บริษัทโรง 600 และ 1,000 ตัน ยังไม่ปฏิบัติตามอย่างครบถ้วน และสำนักสิ่งแวดล้อมยังไม่ดำเนินการปรับอย่างจริงจัง แม้ว่าจะมีสิทธิปรับตามสัญญา นอกจากนี้ ยังมีคำสั่งเพิ่มเติมให้ติดตั้งระบบปิดและระบบบำบัดอากาศ ขณะนี้มีเพียง 2 โรงที่ติดตั้งเครื่องวัดกลิ่น ประตูอัตโนมัติ และกล้องวงจรปิด ตามที่ตกลงกันไว้ แต่ยังไม่เรียบร้อย

ส่วนของแผนดำเนินงานปรับปรุงระบบปิดในโรงงานเพื่อลดปัญหากลิ่นนั้น จักกพันธุ์ กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ ได้สั่งจัดทำแผน แต่ผู้ประกอบการยังไม่ได้ส่งแผนให้ กทม. ขณะที่ กทม. จะเชิญบริษัทเข้าหารือพร้อมกับสำนักสิ่งแวดล้อมเพื่อกำหนดไทม์ไลน์การดำเนินงานให้ชัดเจนว่า จะเสร็จเรียบร้อยเมื่อไหร่ จะติดตามความคืบหน้า และยอมรับว่าคณะกรรมการควบคุมงานและตรวจรับงานไม่ได้ปฏิบัติตามสัญญา ครบถ้วนถูกต้องเหมือนกัน คณะกรรมการนี้สำนักสิ่งแวดล้อมขึ้นมา ตนในฐานะผู้กำกับดูแล กทม.ไม่ปัดความรับผิดชอบในเรื่องนี้

กรณีควันดำจากโรงกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ รองผู้ว่าฯ ชี้แจงมีโรงงาน 3 แห่ง ในจำนวนนี้มี 1 โรง ไม่สามารถแก้ไขปัญหาเรื่องควันได้ ต้องมีการซ่อมแซม ขณะนี้สำนักสิ่งแวดล้อมมีคำสั่งให้โรงงานนี้หยุดดำเนินการไปแล้ว ขณะเดียวกันถ้าไม่สามารถแก้ไขปัญหาควันได้ จะไม่ให้เผาขยะติดเชื้อ ขณะที่โรงงานอื่นๆ อยู่ระหว่างปรับปรุงแก้ไขตามมาตรฐาน โดยตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม โรงงานต้องติดตั้งระบบตรวจวัดค่ามลพิษจากปล่องโรงงานให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2568 ซึ่ง กทม. กำลังเตรียมความพร้อมทั้งในด้านงบประมาณและการดำเนินงานเพื่อให้ทันตามกรอบเวลาดังกล่าว

สำหรับโรงงานกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ ศูนย์กำจัดมูลฝอยอ่อนนุช มีจำนวน 3 แห่ง ประกอบด้วย โรงงานกำจัดมูลฝอยติดเชื้ออ่อนนุช โรงงานที่ 1 มีการใช้เทคโนโลยีในการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ ประสิทธิภาพการเผา 750 กิโลกรัม/ชั่วโมง หรือ 15 ตัน/วัน/เตา จำนวน 2 เตาเผา คิดเป็น 30 ตันต่อวัน โดยเป็นเตาเผามูลฝอยติดเชื้อชนิดไม่เคลื่อนที่ มีลักษณะเป็นแบบ 2 ห้องเผา ห้องเผาที่ 1 เผาขยะติดเชื้อ อุณหภูมิไม่ต่ำกว่า 760 องศาเซลเซียส ห้องเผาที่ 2 เผามลพิษอากาศ อุณหภูมิไม่ต่ำกว่า 1,000 องศาเซลเซียส ระบบบำบัดอากาศ Wet Scrubber เริ่มใช้งานเมื่อปี 2536 อายุการใช้งาน 32 ปี โรงงานกำจัดมูลฝอยติดเชื้ออ่อนนุช

โรงงานที่ 2 มีการใช้เทคโนโลยีในการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ ประสิทธิภาพการเผา 500 กิโลกรัม/ชั่วโมง หรือ 10 ตัน/วัน/เตา จำนวน 2 เตา คิดเป็น 20 ตันต่อวัน โดยเป็นเตาเผามูลฝอยติดเชื้อไร้อากาศ ระบบไพโลไรซีส (Pyrolysis) ชนิดหมุนแนวตั้ง (Rotary Kiln) มีลักษณะเป็นแบบ 2 ห้องเผา ห้องเผาที่ 1 เผาขยะติดเชื้อ อุณหภูมิไม่ต่ำกว่า 760 องศาเซลเซียส ห้องเผาที่ 2 เผามลพิษอากาศ อุณหภูมิไม่ต่ำกว่า 1,000 องศาเซลเซียส ระบบบำบัดอากาศ ระบบลดอุณหภูมิ Wet Scrubber Bag Filter เริ่มใช้งานเมื่อปี 2559 อายุการใช้งาน 9 ปี

โรงงานที่ 3 มีการใช้เทคโนโลยีในการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ ประสิทธิภาพการเผา 750 กิโลกรัม/ชั่วโมง หรือ 15 ตัน/วัน/เตา จำนวน 2 เตาเผา คิดเป็น 30 ตันต่อวัน โดยเป็นเตาเผามูลฝอยติดเชื้อไร้อากาศ ระบบไพโลไรซีส (Pyrolysis) ชนิดหมุนแนวตั้ง (Rotary Kiln) มีลักษณะเป็นแบบ 2 ห้องเผา ห้องเผาที่ 1 เผาขยะติดเชื้อ อุณหภูมิไม่ต่ำกว่า 760 องศาเซลเซียส ห้องเผาที่ 2 เผามลพิษอากาศ อุณหภูมิไม่ต่ำกว่า 1,000 องศาเซลเซียส ระบบบำบัดอากาศ ระบบลดอุณหภูมิ Wet Scrubber Bag Filter เริ่มใช้งานเมื่อปี 2563 อายุการใช้งาน 5 ปี

ภาพ : เพจบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก ไทยโพสต์

สัญญาณอันตราย เด็กวัยประถมทดลองสูบบุหรี่ไฟฟ้ามากขึ้น

30 นาทีที่แล้ว

‘หมอวรงค์’ ลั่นนโยบาย ‘ไทยภักดี’ ลุยปราบโกง-ปฏิรูปกองทัพ ชู สว.ราชประชาสมาสัย

50 นาทีที่แล้ว

สัญญาณโหวต 2 ตุลาการศาลรธน. ‘ที่ปรึกษาทวี’ รอดหรือร่วง

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

พิรุธอื้อ! กระตุก คกก.พักโทษ ยธ. ทบทวนคำตอบพักโทษชั้น14 ก่อนเสี่ยงร่วมรับผิดด้วย

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความทั่วไปอื่น ๆ

กรมอุตุนิยมวิทยา 7 วันข้างหน้า เตือนพายุวิภา ฝนถล่มหนัก 20-24 ก.ค.นี้

ประชาชาติธุรกิจ

เชียงใหม่-เชียงรายเตรียมพร้อมรับมือ "วิภา" ฝนตกหนัก 21-24 ก.ค.

Thai PBS

ราคาน้ำมันวันนี้ 21 ก.ค. 68 อัพเดท จาก ปั๊มน้ำมัน ปตท.บางจาก และ เชลล์

สยามคาร์ - Siamcar

เปิดพิกัดไฟดับพรุ่งนี้ 7 จุด 21 ก.ค. 68

มุมข่าว

ดญ.วัย 12 ท้องเสีย อ่อนเพลียรุนแรง ขาดสารอาหาร ตะลึง พยาธิแส้ม้าเต็มท้อง

Khaosod

จีนสั่งปิดสะพานฮ่องกง-จูไห่-มาเก๊า ‘ไห่หนาน-กว่างตง’ เตรียมรับมือไต้ฝุ่นวิภา

Xinhua

หาชมยากประเพณีโบราณใช้ควายเทียมเกวียน เคลื่อนร่างผู้วายชนม์ ไปประกอบพิธีฌาปนกิจที่วัด

Manager Online

หนุ่มใหญ่งมหอย-หาปลา กลายเป็นศพติดในท่อใต้น้ำ หน้าศาลเจ้าพ่อจุ้ย ชาวบ้านลืออาถรรพ์

Khaosod

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...