‘โรคหลอดเลือดสมองอุดตัน’ รู้ทันสัญญาณเตือน ป้องกันก่อนเกิดอัมพาต
บทความโดย : แพทย์หญิง พิมลพรรณ วิเสสสาระกูล แพทย์ผู้ชำนาญการด้านอายุรแพทย์ระบบประสาทและสมอง
โรคหลอดเลือดสมองอุดตัน (Stroke) คือ ภาวะที่สมองขาดเลือดไปเลี้ยง เนื่องจากการอุดตันของหลอดเลือด ส่งผลให้สมองบางส่วนขาดออกซิเจนและสารอาหารอย่างเฉียบพลัน ส่งผลให้เซลล์สมองเสียหายหรือทำงานผิดปกติ
โดยโรคหลอดเลือดสมองอุดตันถือเป็นหนึ่งในโรคอันตรายที่เกิดขึ้นฉับพลัน เป็นสาเหตุหลักของโรคอัมพฤกษ์และอัมพาต มักพบร่วมกับโรคอื่น เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หรือในผู้ที่มีประวัติครอบครัวเคยเป็นโรคหลอดเลือดสมอง เนื่องจากเป็นโรคที่เกิดขึ้นเฉียบพลัน
ควรหมั่นสังเกตอาการและความผิดปกติที่เกิดขึ้น จากสัญญาณดังนี้
- ตาพร่า มองภาพไม่ชัด
- ปวดศีรษะ บางรายอาจปวดรุนแรง
- เดินเซ ทรงตัวไม่ดี
- แขนขาอ่อนแรง
- หน้าเบี้ยวครึ่งซีก ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด
- คิดช้าลงหรือฟังไม่เข้าใจ ตอบสนองช้า
สาเหตุและปัจจัยเสี่ยง Stroke
- ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง
- ผู้ป่วยโรคหัวใจ
- ผู้ป่วยโรคเบาหวาน
- ผู้มีไขมันในเลือดสูง
- การดื่มแอลกอฮอล์
- สูบบุหรี่
การรักษาโรค Stroke
ผู้ป่วยควรรีบพบแพทย์เพื่อรับการรักษาทันที ภายใน 3 ชั่วโมงเมื่อเกิดอาการ ข้างต้น
โดยการรักษาเบื้องต้น จะต้องทำให้เลือดและออกซิเจนกลับมาเลี้ยงสมองให้เร็วที่สุด ด้วยยาละลายลิ่มเลือด (Thrombolysis)
สำหรับผู้ป่วยที่มาช้ากว่า 3 ชั่วโมงแต่ไม่เกิน 24 ชั่วโมง และแพทย์วินิจฉัยแล้วว่าเซลล์สมองยังไม่ตายจากการอุดตันของลิ่มเลือด ต้องใช้การใส่สายสวนหลอดเลือดสมอง
การป้องกันและลดความเสี่ยงการเกิด Stroke
ควบคุมปัจจัยเสี่ยง Stroke เช่น
- โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
- เลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์
หลอดเลือดอุดตันสมองเป็นโรคร้ายแรงที่เกิดขึ้นได้ฉับพลันและอาจร้ายแรงถึงชีวิตหากไม่ได้รับการรักษาทันท่วงที และมีแนวโน้มพบในคนอายุน้อยมากขึ้น ผู้ป่วยควรตรวจสุขภาพและดูแลร่างกายเป็นประจำเพื่อลดความเสี่ยง
อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : ‘โรคหลอดเลือดสมองอุดตัน’ รู้ทันสัญญาณเตือน ป้องกันก่อนเกิดอัมพาต
ติดตามข่าวล่าสุดได้ทุกวัน ที่นี่
– Website : https://www.prachachat.net