กลุ่มทิสโก้ เผยผลประกอบการครึ่งปี 2568 กำไรสุทธิ 3,287 ล้านบาท ลดลง 5.7%
กลุ่มทิสโก้ เผยผลประกอบการงวดครึ่งปี แรกของปี 2568 กำไรสุทธิ 3,287 ล้านบาท ลดลง 5.7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี ก่อน ผลจากภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้ นตัวช้าและความเสี่ยงที่เพิ่มสู งขึ้น พร้อมทั้งดำเนินมาตรการช่ วยเหลือลูกหนี้ผ่านโครงการ “คุ ณสู้ เราช่วย” อย่างต่อเนื่อง สะท้อนถึงความมุ่งมั่นในการยื นหยัดเคียงข้างลูกค้าในช่ วงเวลาที่ท้าทาย พร้อมเดินหน้ าขับเคลื่อนธุรกิจในช่วงครึ่งปี หลังด้วยความรอบคอบ โดยยึดมั่ นในแนวทาง “ธุรกิจยั่งยืน”
นายศักดิ์ชัย พีชะพัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มทิ สโก้ (Mr. Sakchai Peechapat, Group Chief Executive, TISCO Financial Group Public Company Limited) เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยในช่ วงครึ่งแรกของปีนี้ยังคงเผชิญกั บความไม่แน่นอน แม้จะได้รั บแรงสนับสนุนจากการส่งออกที่เร่ งตัวขึ้นก่อนมาตรการภาษีศุ ลกากรสหรัฐฯ จะมีผลบังคับใช้ แต่อุปสงค์ภายในประเทศกลับอ่ อนแรงลงอย่างชัดเจน โดยมีสาเหตุ หลักจากการชะลอการ ลงทุ นของภาคเอกชน และความระมัดระวั งในการใช้จ่ายของครัวเรือน อั นเนื่องมาจากความกังวลเกี่ยวกั บรายได้ในอนาคตและปัญหาหนี้สิน ขณะเดียวกันภาคการท่องเที่ยวยั งไม่ฟื้นตัวตามที่คาดการณ์ไว้ ส่งผลให้การขับเคลื่อนเศรษฐกิ จโดยรวมยังไม่เต็มประสิทธิภาพ
สำหรับผลประกอบการครึ่งปีแรก กลุ่มทิสโก้มีกำไรสุทธิ 3,287 ล้านบาท ลดลง 5.7% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน สาเหตุจากรายได้ธุรกิจหลักปรั บตัวลดลง โดยรายได้ดอกเบี้ยสุ ทธิลดลงสืบเนื่องจากการปรับลดอั ตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารแห่ งประเทศไทย และการลดดอกเบี้ยเพื่ อช่วยเหลือลูกหนี้ภายใต้ โครงการ “คุณสู้ เราช่วย” ขณะที่ ธุรกิจสินเชื่อยังคงขยายตัวที่ 1.4% จากปีก่อน จากกลุ่มสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ เป็นหลัก ส่วนสินเชื่อเช่าซื้ อรถยนต์ใหม่เริ่มมีสัญญาณฟื้นตั วในกลุ่มรถยนต์นั่งส่วนบุคคล จากการร่วมมือกับพันธมิตรทางธุ รกิจที่แข็งแกร่งในกลุ่มแบรนด์ รถยนต์เป้าหมาย พร้อมคั ดสรรการเติบโตไปในกลุ่มลูกค้าที่ มีคุณภาพดี ซึ่งเป็นปัจจัยสำคั ญที่ช่วยผลักดันให้สามารถเพิ่ มอัตราการเข้าถึง (Penetration Rate) ในกลุ่มรถยนต์ใหม่ได้อย่ างมีประสิทธิภาพ และมียอดสินเชื่ อปล่อยใหม่เติบโตขึ้นถึง 17% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
อย่างไรก็ดี รายได้ค่าธรรมเนียมโดยรวมได้รั บผลกระทบจากภาวะตลาดทุนที่ยั งคงผันผวน แต่การฟื้นตัวของสิ นเชื่อเช่าซื้อช่วยหนุนให้ รายได้ค่าธรรมเนียมจากธุรกิ จนายหน้าประกันภัยกลับมาเติ บโตอีกครั้ง อีกทั้ง ธุรกิจจัดการกองทุน บลจ.ทิสโก้ จำกัด ยังคงสร้างผลงานโดดเด่น โดยสามารถขยายฐานลูกค้าได้อย่ างต่อเนื่อง โดยเฉพาะใน ธุรกิ จกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ได้รั บความไว้วางใจจากลูกค้าองค์ กรขนาดใหญ่เข้ามาเป็นลูกค้าใหม่ เพิ่มขึ้น สะท้อนถึงความเชื่อมั่ นในคุณภาพการให้บริการ และตอกย้ำ ความเป็นผู้นำอันดับหนึ่ งในตลาดอย่างต่อเนื่อง ในขณะเดียวกัน กลุ่มทิสโก้ยังคงดำเนิ นนโยบายควบคุมจัดการค่าใช้จ่ ายอย่างมีประสิทธิภาพ โดยชะลอการขยายสาขาใหม่และมุ่ งเน้นการเพิ่มประสิทธิ ภาพของสาขาเดิมให้ดียิ่งขึ้น พร้อมกันนี้ยังเดินหน้าตั้ งสำรองตามแผน เพื่อรองรั บความเสี่ยงทางเศรษฐกิจที่อยู่ ในระดับสูงต่อเนื่อง
ท่ามกลางแนวโน้มเศรษฐกิจไทยที่ ชะลอตัวในครึ่งปีหลัง และมี ความเสี่ยงเข้าสู่ ภาวะถดถอยทางเทคนิค จากแรงกด ดั นด้านการส่งออก การท่องเที่ยว และความไม่แน่นอนทางการเมือง ขณะที่กำลังซื้อภายในประเทศยั งคงอ่อนแอจากรายได้ที่ไม่เพิ่ มขึ้นและภาระหนี้ครัวเรือน กลุ่ มทิสโก้ยังคงยึดมั่นในยุ ทธศาสตร์ “ธุรกิจยั่งยืน” ( Sustainable Focus) โดยให้ความสำคัญกับการดำเนินธุ รกิจอย่างรอบคอบ พร้อมปรับกลยุ ทธ์ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่ เกิดขึ้น เพื่อให้สามารถเติ บโตได้อย่างแข็งแกร่งและต่อเนื่ อง ควบคู่กับการดูแลลูกค้าอย่ างใกล้ชิดผ่านโครงการ “คุณสู้ เราช่วย” ซึ่งได้รับการตอบรั บอย่างดี โดยมีลูกหนี้ที่เข้ าเกณฑ์ได้รับความช่วยเหลือแล้ วกว่า 40% พร้อมขยายความช่วยเหลือต่อเนื่ องในเฟสที่สอง ขณะเดียวกันจะเดิ นหน้าบริการที่ปรึกษาทางการเงิ นแบบองค์รวม (Holistic Advisory) ครอบคลุมทั้งด้านการลงทุ นและการวางแผนสุขภาพ ผ่านผลิตภั ณฑ์และบริการใหม่ๆ เพื่อส่งเสริ มความมั่งคั่งอย่างยั่งยืนของลู กค้าในทุกช่วงชีวิต
สรุปผลประกอบการสำหรับงวดไตรมาส 2 และครึ่งปีแรกของปี 2568
ผลการดำเนินงานของกลุ่มทิสโก้ สำหรับไตรมาส 2 ปี 2568 บริษั ทมีกำไรสุทธิจำนวน 1,644 ล้านบาท ลดลง 6.2% เทียบกั บไตรมาส 2 ปี 2567 จากรายได้ รวมที่อ่อนตัวลง 2.9% เนื่องมาจากการลดอัตราดอกเบี้ ยเงินกู้ให้สอดคล้องกับการลดอั ตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารแห่ งประเทศไทย รวมถึ งการลดภาระดอกเบี้ยให้แก่ลูกหนี้ ในโครงการ “คุณสู้ เราช่วย” อี กทั้ง รายได้ค่าธรรมเนียมธุรกิจที่เกี่ ยวกับตลาดทุนชะลอตัวลง ตามปริมาณการซื้อขายในตลาดหลั กทรัพย์ฯ ที่ลดลงในภาวะตลาดทุนที่ไม่เอื้ ออำนวย นอกจากนี้ ค่าใช้จ่ายสำรองผลขาดทุนด้ านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ( Expected Credit Loss – ECL) เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 1.0% ของสิ นเชื่อเฉลี่ย ตามแผนการปรั บสำรองกลับเข้าสู่ระดับปกติ พร้อมรองรับความเสี่ ยงทางเศรษฐกิจที่ยังเปราะบาง ในขณะเดียวกัน บริษัทยังคงดำเนิ นการควบคุมค่าใช้จ่ายอย่างมี ประสิทธิภาพ มีค่าใช้จ่ ายในการดำเนินงานปรับลดลง 7.0%
อย่างไรก็ดี ผลกำไรงวดไตรมาส 2 ปี 2568 อยู่ ในระดับเดียวกันกับไตรมาส 1 ปี 2568 จากรายได้รวมที่เติบโต 2.4% ชดเชยกับค่าใช้จ่ายสำรอง (ECL) ที่เพิ่มสูงขึ้น รายได้ดอกเบี้ยสุทธิทรงตั วจากไตรมาสก่อนหน้า ในขณะที่รายได้ค่าธรรมเนี ยมขยายตัว โดยเฉพาะธุรกิจธนาคารพาณิชย์ และนายหน้าประกันภัย รวมถึงผลกำไรจากพอร์ตเงินลงทุน บริษัทยังคงควบคุมค่าใช้จ่ายอย่ างมีประสิทธิภาพ มีค่าใช้จ่ายในการดำเนิ นงานลดลงต่อเนื่อง 2.3% ส่งผลให้กำไรก่อนการตั้ งสำรองเติบโต
สำหรับกำไรสุทธิของบริษัทงวดครึ่ งปีแรกของปี 2568 มีจำนวน 3, 287 ล้านบาท ลดลง 5.7% เมื่อเที ยบกับงวดครึ่งปีแรกของปี 2567 เป็นผลมาจากรายได้ที่ชะลอตัวลง 1.7% ทั้งรายได้ดอกเบี้ยสุทธิที่ ลดลงจากการลดอัตราดอกเบี้ยเงิ นกู้และการช่วยเหลือลูกหนี้ ในโครงการ “คุณสู้ เราช่วย” รวมทั้ง รายได้ค่าธรรมเนียมธุรกิจหลั กทรัพย์ยังคงอ่อนแอ ทั้งค่าธรรมเนียมซื้อขายหลักทรั พย์ ค่าธรรมเนียมธุรกิจวาณิชธนกิจ และกำไรจากพอร์ตเงินลงทุน อย่างไรก็ดี รายได้ค่าธรรมเนี ยมธนาคารพาณิชย์ฟื้นตัวจากธุรกิ จนายหน้าประกันภัยและรายได้ที่ เกี่ยวกับสินเชื่ออื่นๆ รวมถึ งรายได้ค่าธรรมเนียมธุรกิจจั ดการกองทุนขยายตัว จากการเติ บโตของธุรกิจกองทุนสำรองเลี้ ยงชีพและกองทุนรวม ในส่วนของค่ าใช้จ่ายในการดำเนินงานลดลง 4. 0% จากการควบคุมค่าใช้จ่ายอย่ างมีประสิทธิภาพ ขณะที่ค่าใช้จ่ ายสำรองผลขาดทุนด้านเครดิต ( ECL) อยู่ที่ 0.8% ของสินเชื่อเฉลี่ ย ทั้งนี้ บริษัทมีอั ตราผลตอบแทนต่อผู้ถือหุ้น (ROE) อยู่ที่ 15.5%
เงินให้สินเชื่อรวมของกลุ่มทิ สโก้ ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2568 มีจำนวน 235,512 ล้านบาท เติบโต 1.4% จากสิ้นปี 2567 สาเหตุหลักมาจากสินเชื่อบริษั ทที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่สินเชื่อ SME อ่อนตัวลงจากสิ้นปี 2567 จากการเข้มงวดในการติดตาม การวางแผนสต็อกรถยนต์อย่างใกล้ ชิด อีกทั้ง บริษัทยังคงระมั ดระวังในการปล่อยสินเชื่ อจำนำทะเบียน ท่ามกลางสภาวะที่ หนี้ครัวเรือนยังอยู่ในระดับสู ง สำหรับสินเชื่อที่ไม่ก่อให้ เกิดรายได้ (NPLs) ทรงตัวที่ 2.4% ของสินเชื่อรวม ตามกลยุทธ์การขยายสินเชื่ออย่ างระมัดระวัง พร้อมด้วยการช่ วยเหลือลูกหนี้ ตามแนวทางของธนาคารแห่ งประเทศไทย ทั้งนี้ ระดับค่าเผื่ อสำรองผลขาดทุนด้านเครดิตต่อหนี้ ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL Coverage Ratio) อยู่ที่ 154.8%
ธนาคารทิสโก้ยังคงรักษาระดั บฐานะเงินกองทุนที่แข็งแกร่ง โดยมีประมาณการอัตราเงินกองทุ นต่อสินทรัพย์เสี่ยง (BIS Ratio) อยู่ที่ 20.6% สูงกว่าอัตราเงิ นกองทุนขั้นต่ำ 11.0% ที่ กำหนดโดยธนาคารแห่งประเทศไทย และมีอัตราเงินกองทุนชั้นที่ 1 และชั้นที่ 2 ต่อสินทรัพย์เสี่ ยงอยู่ที่ 18.6% และ 2.0% ตามลำดับ