โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

ชัวร์ก่อนแชร์: ใช้ยาย้อมผม เสี่ยงมะเร็ง จริงหรือ?

ชัวร์ก่อนแชร์

อัพเดต 22 กรกฎาคม 2568 เวลา 13.29 น. • เผยแพร่ 5 ชั่วโมงที่ผ่านมา • สำนักข่าวไทย อสมท

22 กรกฎาคม 2568
แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถ
ตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล

ข้อมูลน่าสงสัย :

มีความกังวลใจเกี่ยวกับการเสริมความงามและความเสี่ยงมะเร็ง เมื่อมีคดีฟ้องร้องบริษัทผู้ผลิตยาย้อมผมในสหรัฐอเมริกา ในข้อหาปกปิดความเสี่ยงการเกิดมะเร็งจากการใช้ยาย้อมผม โดยเฉพาะความเสี่ยงต่อช่างทำผมที่ย้อมผมให้ลูกค้าเป็นประจำจนป่วยเป็นมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

บทสรุป :

1.มีคดีฟ้องร้องบริษัทยาย้อมผมข้อหาทำให้ช่างทำผมป่วยเป็นมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
2.หน่วยงานมะเร็งของ WHO ไม่พบว่าการย้อมผมเป็นประจำทำให้เสี่ยงมะเร็ง
3.แต่พบว่าช่างทำผมที่สัมผัสยาย้อมผมเป็นประจำมีความเสี่ยงมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
4.งานวิจัยความเสี่ยงมะเร็งชนิดอื่น ๆ จากยาย้อมผมยังไม่ชัดเจน

FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง :

คนย้อมผมไม่เสี่ยงมะเร็ง แต่ช่างทำผมมีความเสี่ยงมะเร็ง

ข้อมูลจากองค์กรวิจัยมะเร็งนานาชาติ (International Agency for Research on Cancer : IARC) ขององค์การอนามัยโลก (WHO) อ้างอิงงานวิจัยของประเทศเยอรมนีในปี 2010 ที่ศึกษางานวิจัยจำนวน 42 ชิ้น พบความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญของการป่วยเป็นมะเร็งกระเพาะปัสสาวะในกลุ่มช่างทำผม โดยเฉพาะช่างทำผมที่ทำงานเกินกว่า 10 ปี

IARC จึงระบุว่า ผลจากการทดลองในสัตว์ทดลองและมนุษย์พบว่า การสัมผัสสารที่อยู่ในยาย้อมผมเป็นเวลานาน ทำให้ช่างทำผมและช่างตัดผมมีความเสี่ยงมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

ส่วนความเสี่ยงมะเร็งชนิดอื่น ๆ ยังไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดเพียงพอ

แต่สำหรับการใช้ยาย้อมผมทั่วไป IARC ไม่จัดว่ามีความเสี่ยงมะเร็ง เนื่องจากข้อมูลการทดลองในมนุษย์ยังไม่เพียงพอที่จะยืนยันว่าเป็นอันตราย

ส่วนโครงการพิษวิทยาแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (National Toxicology Program – NTP) ไม่จัดให้การย้อมผมเพิ่มความเสี่ยงมะเร็ง แต่จัดให้สารบางชนิดที่อยู่หรือเคยอยู่ในยาย้อมผม มีความเสี่ยงการก่อมะเร็งในมนุษย์

ความกังวลจากยาย้อมผมถาวร

ยาย้อมผมชนิดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือยาย้อมผมชนิดถาวร ซึ่งผมจะกลับเป็นสีเดิมต่อเมื่อมีผมใหม่งอกขึ้นแทน

แต่กระนั้นยาย้อมผมชนิดถาวรก็สร้างความกังวลเรื่องความเสี่ยงมะเร็งมากที่สุด เนื่องจากมีส่วนประกอบของสารเคมีหลายชนิด ทั้ง Aromatic Amine และ Hydrogen Peroxide โดยเฉพาะยาย้อมผมสีเข้มมากเท่าไหร่ จะยิ่งมีสารเคมีเหล่านี้มากขึ้นเท่านั้น การได้รับอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน ทั้งการสัมผัสหรือการสูดดม อาจเพิ่มความเสี่ยงการเกิดมะเร็ง

ในทศวรรษที่ 1970s มีงานวิจัยที่พบว่า สาร Aromatic Amine บางชนิดในยาย้อมผมก่อให้เกิดมะเร็งในสัตว์ทดลอง นำไปสู่การยุติการใช้สารเคมีที่เป็นอันตรายในยาย้อมผมที่สหรัฐฯ ตั้งแต่ทศวรรษที่ 1980s ทำให้
ยาย้อมผมในปัจจุบันมีความปลอดภัยมากกว่าในอดีตอย่างมาก

การพบสาร 4-ABP ในยาย้อมผมรุ่นใหม่

ในปี 2003 ศูนย์วิจัยพิษวิทยาระดับชาติ (National Center for Toxicological Research : NCTR) หน่วยงานขององค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา (FDA) นำยาย้อมผมในท้องตลาดมาตรวจสอบ พบว่า 8 จาก 11 ยี่ห้อมีสาร 4-aminobipheny หรือ 4-ABP เป็นส่วนประกอบ โดยพบในยาย้อมผมสีดำ แดง และบลอนด์ ยกเว้นสีน้ำตาล

4-ABP จัดเป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์ โดยเฉพาะมะเร็งกระเพาะปัสสาวะและมะเร็งตับ และถูกห้ามใช้เป็นส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ที่จำหน่ายในสหรัฐฯ ตั้งแต่ทศวรรษที่ 1950s

ผู้วิจัยย้ำว่า จำเป็นต้องมีการวิจัยเพิ่มเติมเพื่อยืนยันความเสี่ยงของ 4-ABP ในยาย้อมผม กับการเกิดมะเร็งในมนุษย์

ในปี 2025 สำนักข่าว NBC อ้างความเห็นของแพทย์และนักวิจัยหลายราย ที่ยืนยันว่า ยังพบสาร 4-ABP ในยาย้อมผมที่จำหน่ายในปัจจุบัน

อดานา ยานอส รองศาสตราจารย์ภาควิชาระบาดวิทยา มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ย้ำว่า 4-ABP ไม่ควรมีอยู่ในผลิตภัณฑ์ที่เข้าถึงมือประชาชน พร้อมระบุว่าสาเหตุที่ไม่มีการระบุรายชื่อสาร 4-ABP ในฉลากยาย้อมผม เพราะสาร 4-ABP จะเกิดขึ้นภายหลัง ไม่ว่ากระบวนการผลิตหรือตอนที่น้ำยาย้อมผมถูกนำไปผสมกับสาร Hydrogen Peroxide อีกที

ข้อจำกัดของ FDA ในการควบคุมเครื่องสำอาง

ในสหรัฐอเมริกา องค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา (FDA) เป็นผู้ออกระเบียบความปลอดภัยผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง รวมถึงยาย้อมผม แต่ไม่มีอำนาจในการอนุมัติส่วนประกอบทุกชนิดที่อยู่ในยาย้อมผม ความรับผิดชอบด้านความปลอดภัยทั้งหมด เป็นหน้าที่ของผู้ผลิต

FDA มีหน้าที่ดำเนินคดีในกรณีที่ผู้ผลิตทำผิดกฎหมาย เช่น จำหน่ายสินค้าไม่ตรงกับฉลาก หากพบว่าในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางมีสารอันตรายเป็นส่วนประกอบ FDA มีสิทธิแจ้งจดหมายเตือนผู้ผลิตให้เรียกคืนสินค้า แต่ไม่มีอำนาจออกคำสั่งเรียกคืนสินค้าด้วยตนเอง นอกจากจะได้รับการอนุมัติจากคำสั่งศาล

งานวิจัยมะเร็งเต้านมกับการย้อมผม

งานวิจัยปี 2020 ของสถาบันสุขภาพแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (NIH) ได้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างมะเร็งกับยาย้อมผมในผู้หญิง 47,000 ราย พบว่าการใช้ยาย้อมผมแบบถาวรเพิ่มความเสี่ยงการเป็นมะเร็งเต้านม

โดยพบว่า กลุ่มที่เสี่ยงที่สุดคือสตรีแอฟริกันอเมริกัน โดยคาดว่าน่าจะมาจากความนิยมใช้ยาย้อมผมสีเข้มให้เข้ากับสีผมธรรมชาติของตนเอง ซึ่งยาย้อมผมสีเข้มมีสารเคมีสูงกว่ายาย้อมผมสีอ่อน

อย่างไรก็ตาม งานวิจัยดังกล่าวเป็นงานวิจัยแบบการสังเกตการณ์เท่านั้น ยังไม่อาจพิสูจน์ได้ว่ายาย้อมผมคือปัจจัยทำให้เกิดมะเร็งเต้านมจริงหรือไม่

งานวิจัยมะเร็งผิวหนังกับการย้อมผม

งานวิจัยปี 2020 โดยคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด ศึกษาความเสี่ยงมะเร็งกับการใช้ยาย้อมผม กับกลุ่มตัวอย่างผู้หญิงจำนวน 117,200 ราย รวบรวมข้อมูลตั้งแต่ปี 1976 จนถึงปี 2012

ผลวิจัยพบว่าการใช้ยาย้อมผมเป็นประจำ ไม่ทำให้ผู้ใช้มีความเสี่ยงเสียชีวิตจากมะเร็งมากกว่าผู้ไม่ใช้ยาย้อมผม

แต่พบว่ามีความเสี่ยงเป็นมะเร็งผิวหนังเบซัลเซลล์มากกว่าผู้ไม่ใช้เล็กน้อย

มะเร็งผิวหนังเบซัลเซลล์ (Basal cell carcinoma) คือ มะเร็งผิวหนังที่พบมากที่สุดในคนไทย มักพบในผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 60 ปี แต่ในปัจจุบันมีรายงานพบมะเร็งผิวหนังชนิดนี้ในประชากรที่อายุน้อยมากขึ้น

เช่นเดียวกับความเสี่ยงมะเร็งเต้านมและมะเร็งรังไข่ที่พบมากกว่าในกลุ่มที่ใช้ยาย้อมผมชนิดถาวรเป็นเวลานาน

นอกจากนี้ ผู้หญิงที่มีสีผมต่างกันมีความเสี่ยงมะเร็งจากการใช้ยาย้อมผมต่างกัน เช่น ผู้หญิงผมสีเข้มเสี่ยงมะเร็งต่อมน้ำเหลืองมากกว่า ผู้หญิงผมสีอ่อนเสี่ยงมะเร็งผิวหนังเบซัลเซลล์มากกว่า

แต่กระนั้น งานวิจัยดังกล่าวยังมีข้อจำกัดเรื่องกลุ่มตัวอย่างที่ไม่หลากหลาย และยาย้อมผมที่มีการเปลี่ยนแปลงสูตรในช่วง 36 ปีที่ผ่านมา ทำให้ไม่แน่ชัดว่าความเสี่ยงมะเร็งมาจากการใช้ยาย้อมผมสูตรเก่าหรือไม่

ผู้วิจัยย้ำว่าผลวิจัยแสดงถึงความสัมพันธ์ของสองเหตุการณ์ แต่ยังไม่อาจพิสูจน์ได้ว่า ยาย้อมผมคือสาเหตุของมะเร็งหรือไม่ และต้องมีการวิจัยที่ชัดเจนมากกว่านี้

การเปรียบเทียบความเสี่ยงมะเร็งแต่ละชนิด

สมาคมโรคมะเร็งแห่งสหรัฐอเมริกา (American Cancer Society : ACS) แยกความเสี่ยงของการใช้ยาย้อมผมกับการเกิดมะเร็งแต่ละชนิด ดังนี้

มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ – งานวิจัยส่วนใหญ่พบว่าช่างทำผมและช่างตัดผมที่สัมผัสกับยาย้อมผมเป็นประจำ มีความเสี่ยงเกิดมะเร็งกระเพาะปัสสาวะมากกว่าคนปกติเล็กน้อย แต่ไม่พบความเสี่ยงในคนทั่วไปที่ใช้ยาย้อมผมอย่างต่อเนื่อง

มะเร็งโรคเลือด – ผลการทดลองความเสี่ยงการใช้ยาย้อมผมกับมะเร็งเม็ดเลือดขาวและมะเร็งต่อมน้ำเหลืองยังไม่มีความชัดเจน บางรายงานพบว่าความเสี่ยงมะเร็งต่อมน้ำเหลืองเพิ่มขึ้นในกลุ่มผู้หญิงที่ใช้ยาย้อมผมสีเข้มหรือใช้ยาย้อมผมก่อนทศวรรษที่ 1980s แต่ไม่เพิ่มความเสี่ยงมะเร็งเม็ดเลือดขาว บางงานวิจัยพบความเสี่ยงมะเร็งเม็ดเลือดขาว แต่ก็มีงานวิจัยที่ไม่พบความเสี่ยงใด ๆ

มะเร็งเต้านม – งานวิจัยมะเร็งเต้านมกับยาย้อมผมยังไม่แน่ชัด แม้งานวิจัยยุคหลังเริ่มพบความสัมพันธ์ระหว่างมะเร็งเต้านมบางชนิดกับการใช้ยาย้อมผมมากขึ้น

ส่วนความเสี่ยงมะเร็งชนิดอื่น ๆ ยังไม่มีความชัดเจน

สมาคมโรคมะเร็งแห่งสหรัฐอเมริกาแนะนำการใช้ยาย้อมผมอย่างปลอดภัย ดังนี้

1.ส่วนผสมบางอย่างในสีย้อมผมอาจทำให้เกิดอาการแพ้อย่างรุนแรงในบางคน
2.สีย้อมผมอาจทำให้ผมร่วงได้ในบางคน
3.แพทย์บางคนแนะนำให้ผู้หญิงหลีกเลี่ยงการย้อมผมในระหว่างตั้งครรภ์ หรืออย่างน้อยจนกว่าจะผ่านช่วงไตรมาสแรก เพราะยังไม่มีข้อมูลการใช้ยาย้อมผมในระหว่างตั้งครรภ์มากพอที่จะทราบได้อย่างแน่ชัดว่ามีความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์หรือไม่ แพทย์จึงแนะนำเพื่อความปลอดภัย

องค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา (FDA) แนะนำการใช้ยาย้อมผมอย่างปลอดภัย ดังนี้

1.ปฏิบัติตามคำแนะนำบนบรรจุภัณฑ์ ทั้ง ข้อควรระวัง และ คำเตือน ทั้งหมด
2.อย่าลืมทดสอบอาการแพ้บนผิวหนังก่อนใช้ยาย้อมผมทุกครั้ง เพราะบางคนจะแพ้ส่วนผสมบางอย่างมากขึ้นเมื่อสัมผัสมากขึ้น
3.สวมถุงมือเมื่อย้อมผม อย่าทิ้งสีย้อมผมไว้บนศีรษะนานเกินกว่าที่คำแนะนำ
4.ล้างหนังศีรษะด้วยน้ำให้สะอาดหลังใช้งาน
5.อย่าใช้สีย้อมผมเพื่อย้อมคิ้วหรือขนตา เพราะอาจทำให้ดวงตาของคุณได้รับบาดเจ็บ และอาจถึงขั้นตาบอดได้
6.เก็บสีย้อมผมให้พ้นจากมือเด็ก
7.ห้ามเกาหรือแปรงหนังศีรษะเป็นเวลา 3 วันก่อนใช้สีย้อมผม
8.ห้ามย้อมผมหากหนังศีรษะของคุณระคายเคือง ถูกแดดเผา หรือเสียหาย
9.หลังจากกัดสีผม ยืดผม หรือดัดผม ควรรออย่างน้อย 14 วันหลังก่อนใช้ยาย้อมผม

สมาคมโรคมะเร็งแห่งสหรัฐอเมริกาแนะนำว่า สำหรับผู้ที่มีความกังวลเรื่องความเสี่ยงมะเร็งจากการใช้ยาย้อมผม อาจลดความกังวลด้วยการหันมาใช้ยาย้อมผมสูตรสมุนไพรแทนก็ได้

ข้อมูลอ้างอิง :

https://www.cancer.org/cancer/risk-prevention/chemicals/hair-dyes.html
https://www.health.harvard.edu/blog/do-hair-dyes-increase-cancer-risk-2021012021767
https://www.nbcnews.com/health/health-news/-hair-stylist-sues-beauty-brands-bladder-cancer-rcna191706

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก ชัวร์ก่อนแชร์

ชัวร์ก่อนแชร์ : คำเตือนห้ามเด็กนอนคว่ำ จริงหรือ?

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : เตรียมตัวอย่างไร เมื่อต้องอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วม

4 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความทั่วไปอื่น ๆ

ศูนย์ทุ่นระเบิดฯ ย้ำชัดเขมรวางกับระเบิดใหม่ ร่อนแถลงการณ์ถึง 10 องค์กรภาคีเครือข่ายแล้ว

THE STATES TIMES

"รัฐบาล"ขอความร่วมมือ พร้อมใจใส่เสื้อเหลือง แสดงความจงรักภักดี 28 ก.ค.- 1 ส.ค.68

The Better

ผลบุญยิ่งใหญ่ คุณตาสมนึก บริจาคให้ รพ.โพธิ์ทอง รวมกว่า 100 ล้านบาท

Thairath - ไทยรัฐออนไลน์

เคลียร์ชัด กองทัพบกชี้แจง ปมตู้บริจาคชายแดน ไทย-กัมพูชา

มุมข่าว

แม่ทัพภาค 2 ขู่ปิดกลุ่มปราสาทตาเมือนธม 7 วัน หากกัมพูชาปล่อยคนมาป่วน

WeR NEWS

ปักธงแดงเตือน ห้ามเล่นน้ำทุกชายหาด จ.ภูเก็ต

Thai PBS

ไทยเร่งประสานมนตรีซีเกมส์ สั่งสอบกัมพูชา ปล่อยภาพอ้างเป็นโลโก้ซีเกมส์ รูปร่างคล้ายควาย

Thaiger

พัทลุง น้ำเค็มเข้าทะเลสาบ ชาวบ้านแห่ทอดแหจับกุ้ง สร้างรายได้

INN News

ข่าวและบทความยอดนิยม

กษัตริย์อังกฤษพบแพทย์เรื่องรักษามะเร็ง

ชัวร์ก่อนแชร์

ชัวร์ก่อนแชร์: เคี้ยวหมากและใบพลู ฆ่าเชื้อในปาก ต้านโควิด-มะเร็ง จริงหรือ?

ชัวร์ก่อนแชร์

งานวิจัยมะเร็งหลอดอาหารกับการดื่มน้ำอัดลม

ชัวร์ก่อนแชร์
ดูเพิ่ม
Loading...