โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธรรมะ

‘นฤมล’ เดินหน้าแก้หนี้ครู เล็งจัดตั้งสหกรณ์กลางสกสค. ช่วยครูปรับโครงสร้างหนี้

เดลินิวส์

อัพเดต 19 กรกฎาคม 2568 เวลา 0.40 น. • เผยแพร่ 7 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เดลินิวส์
‘นฤมล’ ลุยใต้ ฟังปัญหาการศึกษา เตรียมเดินหน้าแก้หนี้ครู เล็งจัดตั้งสหกรณ์กลางสกสค. ยกระดับวิชาประวัติศาสตร์ให้เป็นหลักสูตรกลาง ปลุกคนรุ่นใหม่เข้าใจประชาธิปไตย

เมื่อวันที่ 18 ก.ค. ศ.ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รมว.ศึกษาธิการ นายอรรถกร ศิริลัทธยากร รมว.เกษตรและสหกรณ์ และนายอัครา พรหมเผ่า รมช.เกษตรฯ ตรวจเยี่ยมการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนฉวางรัชดาภิกเษก อ.ฉวาง จ.นครศรีธรรมราช

โดยศ.ดร.นฤมล ได้กล่าวตอนหนึ่งในการมอบนโยบายให้แก่ผู้บริหารและข้าราชการครูว่า ตนไม่ได้ตั้งใจจะมาดำรงตำแหน่งรมว.ศึกษาธิการ เพราะตอนแรกชื่อของตนได้ไปดำรงตำแหน่งรมว.อว. แต่ก่อนจะมีการโปรดเกล้าฯ ก็มีการหารือกันระหว่างพรรคร่วมรัฐบาลว่า ให้ตนมาดำรงตำแหน่งรมว.ศึกษาธิการ ซึ่งให้ตนไปทำหน้าที่ตรงไหน ตนสามารถทำได้หมด ดังนั้นเมื่อเข้า ศธ. อย่างเป็นทางการ ตนจึงไม่สามารถมอบนโยบายด้านการศึกษาได้ เพราะตนอยากให้นโยบายมาจากคนในกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งผู้บริหารและข้าราชการ ศธ.คือผู้ปฏิบัติ ตนจึงอยากให้นโยบายออกมาจากผู้ปฏิบัติงานมากกว่า และตนจะช่วยขับเคลื่อนในมิติของการเมืองให้ ซึ่งเท่าที่ทราบแต่ละองค์กรหลักใน ศธ.ก็ทำนโยบายหลายเรื่องไว้ดีมาก และก็ยังมีอีกหลายเรื่องที่ยังผลักดันไม่สุด ตนก็พร้อมจะสานต่อให้

รมว.ศธ.กล่าวต่อไปว่า ทั้งนี้ในมิติการเมือง เมื่อตนเข้ามารับตำแหน่ง รมว.ศึกษาธิการ ก็มีเสียงสะท้อนและฝากให้ยกระดับการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์และหน้าที่พลเมืองให้เด่นชัดยิ่งขึ้น เนื่องจากความขัดแย้งทางการเมืองส่งผลให้มีความคิดเห็นต่าง ซึ่งจากประเด็นนี้ก็มาจากส่วนหนึ่ง จากการบ่มเพาะด้านการศึกษาทำให้เนื้อหาการเรียนประวัติศาสตร์และหน้าที่พลเมืองขาดหายไปจนส่งผลให้เยาวชนที่เติบโตขึ้นมาเป็นพลเมืองของประเทศไม่เข้าใจหน้าที่ของตัวเอง ในฐานะพลเมืองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ดังนั้นในอนาคตตน ตนอยากให้มีการวางแผนระยะยาว ถ้าสามารถยกวิชาประวัติศาสตร์และหน้าที่พลเมืองเป็นวิชาสำคัญที่มีแบบเรียนกลางได้เป็นที่ยอมรับกันได้จะทำให้เยาวชนเข้าใจหน้าที่ของตัวเองมากขึ้น และต้องเป็นการเข้าใจระบอบประชาธิปไตยของไทย ไม่ใช่การไปเข้าใจระบอบประชาธิปไตยของประเทศอื่นเพราะแต่ละประเทศมีระบบการปกครองที่แตกต่างกัน

ศ.ดร.นฤมล กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ยังมีประเด็นที่ตนอยากจะผลักดันให้เกิดผลสำเร็จคือนโยบายลดภาระครู ซึ่งเท่าที่ทราบนโยบายดังกล่าวมีการผลักดันมาแล้วแต่ยังทำได้ไม่สุด ซึ่งตนได้มอบเป็นการบ้านให้สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาและสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ร่วมมือกันวางแนวทางการแก้ปัญหาเรื่องภาระครูให้ชัดเจน ว่ามีปัญหาและอุปสรรคอยู่ตรงไหน โดยจะต้องทำให้ครูทำหน้าที่การสอนอย่างแท้จริง ซึ่งการลงมาตรวจติดตามราชการลงพื้นที่ครั้งนี้ก็ทำให้ตนพบว่าครูมีภาระงานนอกเหนือจากการสอนจริงๆ

รมว.ศธ.กล่าวอีกว่า ขณะเดียวกันเรื่องการจัดวิทยฐานะของครูก็เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่ตนได้รับเสียงสะท้อนมา แม้ระบบใหม่จะทำให้การเลื่อนและขอมีวิทยฐานะของครูรวดเร็วขึ้นแต่กลับพบว่าจำนวนคนได้เลื่อนและมีวิทยฐานะสัดส่วนกลับลดน้อยลง ซึ่งตรงนี้ต้องมีการแก้ปัญหาอย่างเร่งด่วน เพราะเรื่องของวิทยฐานะถือเป็นแรงจูงใจหนึ่งของการเป็นครู เนื่องจากที่ผ่านมาหลายภาคส่วนพูดกันอย่างมากว่าอยากได้คนคุณภาพมาเป็นครูแต่ขณะที่ปัญหาเชิงโครงสร้างด้านค่าตอบแทนกลับทำให้เด็กเก่งไปเลือกเรียนคณะอื่นที่ไม่ใช่คณะครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ ดังนั้นการจะดึงครูที่มีคุณภาพได้จะต้องปรับโครงสร้างเรื่องค่าตอบแทนซึ่งก็ถือเป็นเรื่องใหญ่ เพราะครูของเรามีจำนวนมาก เมื่อมีการปรับค่าตอบแทนจะทำให้มีภาระผูกพันด้านงบประมาณ ดังนั้นเราจึงต้องวกกลับมาแก้ปัญหาการขอมีและเลื่อนวิทยฐานะ เพราะหากระบบการขอมีและเลื่อนวิทยฐานะทำได้เร็ว ครูก็จะมีค่าตอบแทนที่ดีขึ้น

ศ.ดร.นฤมล ยังกล่าวอีกว่า ส่วนปัญหาหนี้สินครูก็เป็นสิ่งที่ตนอยากจะแก้ปัญหาให้สำเร็จ เพราะถือเป็นปัญหาโลกแตกที่ครูมีหนี้สินรวม 1.4 ล้านล้านบาท ซึ่งในจำนวนนี้ส่วนใหญ่เป็นครูเกษียณอายุราชการมีแต่เงินบำนาญ อะไรที่เคยผ่อนอยู่ก็ผ่อนไม่ไหวจึงกลายเป็นปัญหาหนี้เสีย ซึ่งที่สำคัญหนี้ส่วนใหญ่อยู่จะไปอยู่ที่สหกรณ์ออมทรัพย์ครู โดยเมื่อเร็วๆ นี้ได้หารือกับดร.พีระพันธ์ เหมะรัต เลขาธิการสกสค.ว่าจะทำอย่างไรที่จะรวมหนี้ของครูจากสหกรณ์ออมทรัพย์ มาอยู่ในรูปแบบสหกรณ์ออมทรัพย์กลางสกสค. ซึ่งขณะนี้กำลังดูข้อกฎหมายอยู่ว่าสามารถทำได้หรือไม่ เพราะถ้าเรามีสหกรณ์กลางจะเป็นทางเลือกให้แก่ผู้ที่เป็นหนี้อยู่และอยากจะปรับโครงสร้างหนี้โดยการโอนหนี้และทุนเรือนหุ้นมาอยู่ที่สหกรณ์กลางสกสค. และรัฐบาลจะหาแหล่งเงินทุนเข้ามาสนับสนุนโดยให้ดอกเบี้ยต่ำกับสหกรณ์ใหม่แห่งนี้ ซึ่งผู้ที่เข้าร่วมโครงการจะได้อัตราดอกเบี้ย เช่น ปีแรก 0% ปีที่สอง 1% และไปจบที่ไม่เกิน 4% ก็จะช่วยลดภาระครูและรายจ่าย ทำให้ครูลืมตาอ้าปากได้ ซึ่งเรื่องนี้จะทำคู่ขนานไปกับการเพิ่มสวัสดิการครูให้สอดรับกับบริบทในปัจจุบัน

"อย่างไรก็ตามการลงพื้นที่ครั้งนี้ทำให้ดิฉันได้ฟังเสียงสะท้อนของครูและผู้บริหาร เพื่อมาร่วมกำหนดเป็นนโยบายของแต่ละองค์กรหลักไปบริหารจัดการ ดังนั้นหากถามว่านโยบายของดิฉันคืออะไรก็จะมีเรื่องของการยกระดับวิชาการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ ลดภาระครู วิทยฐานะ เพิ่มสวัสดิการครู และการแก้ปัญหาหนี้สินครู" รมว.ศธ.กล่าว

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก เดลินิวส์

“แพรรี่”โพสต์ภาพสมัยบวช กระซิบพระสมปอง “ใกล้แล้วค่ะพี่ปอง” เวรกรรมกำลังทำงาน

53 นาทีที่แล้ว

‘เด่นคุณ’ ปัดไอเดียพี่ชาย ไม่กล้าทำ OnlyFans – อัปเดตหน้าใหม่ เสริมหล่อไม่สนโหงวเฮ้ง!

53 นาทีที่แล้ว

‘ศาลแพ่ง-ศาลอาญามีนบุรี’ จัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ ‘ในหลวง’

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วธ.จับมือ ศธ.-สำนักพุทธฯ สร้าง ‘แกนนำคนรุ่นใหม่’ ฟื้นฟูศรัทธาชาวพุทธ

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความธรรมะอื่น ๆ

วธ.จับมือ ศธ.-สำนักพุทธฯ สร้าง ‘แกนนำคนรุ่นใหม่’ ฟื้นฟูศรัทธาชาวพุทธ

เดลินิวส์

รวมพลังผู้นำการศึกษา สพป.ภูเก็ต เปิดเวทีกีฬา สร้างศักยภาพผู้บริหาร

เดลินิวส์

สึกแล้ว 13 รูป เซ่นสัมพันธ์ฉาว ‘สีกากอล์ฟ’ พบกว่าครึ่งเคยเป็น ‘เสาหลักการศึกษาสงฆ์’

เดลินิวส์

‘ศธ.-ก.เกษตรฯ’ ยกระดับชีวิตชาวนครศรีฯ ลุ้นแผนแก้หนี้ครู-ลดภาระงาน

เดลินิวส์

20 ปี ‘Starfish Education’ ก้าวต่อไปสู่อนาคต ยกระดับการศึกษาด้วยนวัตกรรม

เดลินิวส์

นิทรรศการสัญจร ‘ปลอดทอยพอด’ ป้องเยาวชนห่างไกลบุหรี่ไฟฟ้า

เดลินิวส์

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...