ผลกระทบกำแพงภาษี ทุนชะลอ-แรงงานสะดุด | ข่าวเย็นประเด็นร้อน
1 ดูข่าวเย็นประเด็นร้อน - เริ่มต้น 1 สิงหาคม นี้ สหรัฐฯ เตรียมปรับขึ้นอัตราภาษีนำไทยก็ตกอยู่ในกลุ่มประเทศที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการนี้ ซึ่งภาษี 36 ไม่ใช่แค่ตัวเลขที่กระทบต่อ GDP ของไทยเท่านั้น แต่คือแรงสั่นสะเทือนที่กระทบต่อเราทุกคน บางประเทศมีภาษีสูงถึง 40 กว่า แต่ก็เดินหน้าเจรจากันมาตลอด ซึ่ง ณ ขณะนี้หลายประเทศก็ทำสำเร็จอย่างเช่น กัมพูชา ที่เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมากำแพงภาษีของเขาสูงถึง 49 แต่เดือนกรกฎาคมเหลือ 36 ลดลงจากเดิมมากถึง 13 ขณะที่ประเทศแถบอาเซียนอย่างเวียดนาม ผลการเจรจาบรรลุผล จากเดิม 46 ลดเหลือเพียง 20 ส่วนไทยเดินหน้าเจรจาไปแล้วแต่ยังคงเดิม เมษายน 36 กรกฎาคมก็ยังอยู่ที่ 36 เช่นเดิม แสดงว่าเราไปเจรจามาแล้วกำแพงภาษีไม่ขยับเลย สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นตัวชี้วัดและความท้าทายของรัฐบาล ว่าเวลาอีก 20 กว่าวัน ก่อน 1 สิงหาคม ทีมไทยแลนด์ ที่นำโดย คุณพิชัย ชุณหวชิร จะทำอย่างไร ผลกระทบไม่ได้เกิดขึ้นกับภาพรวมใหญ่ หรือ GDP ของประเทศเท่านั้น วันนี้ผมจะฉายให้เห็นความเชื่อมโยงของแรงสั่นสะเทือนนี้ ที่กระทบต่อเราทุกคน อุตสากรรมส่งออก เป็นแท่งใหญ่ของประเทศ มูลค่ารวมในปี 2566 การส่งออกของไทยมีมูลค่ารวมเกือบ 2.9 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งการที่ไทยจะส่งออกได้มากขนาดนี้จะต้องมีโรงงานการผลิต ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตที่สำคัญสำหรับสหรัฐฯ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์ในสหรัฐฯ ที่ใช้ไทยเป็นฐานการผลิตชิ้นส่วนให้ เพราะค่าแรงถูก ต้นทุนการผลิตถูก แต่ถ้าเกิดการย้ายฐานการผลิตออกจากไทยจะสร้างวิกฤตครั้งใหญ่ต่อเศรษฐกิจ โรงงานปิด นำไปสู่ปัญหาการว่างงาน เอาเฉพาะแรงงานธุรกิจผลิตยานยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์ ไทยมีมากกว่า 800,000 คน และยังไม่รวมด้านอื่น ๆ อีก เรื่องที่น่าเป็นห่วงเรื่องสุดท้ายคือ ห่วงโซ่อุปทาน Supply Chain คือตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบ การผลิต การจัดเก็บ การขนส่ง จนกระทั่งสินค้าถึงมือผู้บริโภค ซึ่งแน่นอนว่ากระทบเป็น โดมิโนเอฟเฟกต์ ที่ล้มลงไปตามห่วงโซ่อุปทานทั้งหมด ยกตัวอย่างเช่น การส่งออกปลากระป๋อง ปลาแมคเคอเรล หรือ ปลาซาร์ดีน ซึ่งส่วนใหญ่มาจากทะเลอ่าวไทยและทะเลอันดามัน ถ้าไม่ต้องส่งออก ชาวประมงจะขายปลาให้ใคร โรงงานอาจต้องลดวันทำงาน หยุดสายพาน หรือเลิกจ้างพนักงาน งานแผนกสนับสนุน เช่น การขนส่ง, โลจิสติกส์, ซัปพลายเออร์ ก็จะเกิดปัญหา เรียกได้ว่าตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ไปจนถึงปลายน้ำเลยทีเดียว คุณกรณ์ จาติกวณิช อดีต รมว.คลัง มองว่า การเจรจาเรื่องภาษีนำเข้าสหรัฐฯ น่าเป็นห่วง หนีไม่พ้นเรื่องการเมือง หากการเมืองดี มีเสถียรภาพ เศรษฐกิจก็จะดีไปด้วย ระบุข้อความว่า การปฏิรูป การเพิ่มประสิทธิภาพ ภาคอุตสาหกรรมด้านต่าง ๆ ล้วนต้องอาศัยนโยบาย ความชัดเจนโดยการเมือง สิ่งที่เราขาด คือ ขาดผู้นำทางการเมืองที่ขับเคลื่อนเรื่องเหล่านี้ อดีตขุนคลัง ยังเผยอีกว่า ถ้าดูประเทศเวียดนาม เขาทำได้ เพราะรัฐบาลเอาจริง มีศักยภาพเพียงพอที่ขับเคลื่อนเรื่องยาก ๆ เราเห็นหลายประเทศในอดีตที่ผ่านมา เกือบจะเป็นรัฐล้มเหลว แต่สามารถฟื้นคืนกลับมาได้ ด้วยการเมืองที่ดี เช่น อาร์เจนตินา ด้วยนโยบายที่ชัดเจนการปฏิรูประบบการเงิน การคลัง และระบบเศรฐกิจ กลับมาเป็นประเทศนักลงทุนกลับมาสนใจอีกครั้ง กดติดตามช่อง CH7HD News ได้ที่ : https://cutt.ly/YTch7hdnews ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ : https://news.ch7.com #ข่าวเย็นประเด็นร้อน #ข่าวช่อง7 #CH7HDNEWS ติดตาม CH7HD News และ TERO Digital ได้ที่ : https://linktr.ee/ch7hdnews_tero
เล่นอัตโนมัติ