โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ท่องเที่ยว

16 เขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืด 2568 ตามหาหมู่ดาวและทางช้างเผือก

เดลินิวส์

อัพเดต 22 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 12 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เดลินิวส์
เมื่อแสงตะวันลาลับขอบฟ้า แสงระยิบระยับของดวงดาวก็ปรากฏขึ้นโดยพลัน ทันทีที่ความมืดเข้าปกคลุมก็เป็นช่วงเวลาที่เหล่าผู้ที่หลงใหลในความมหัศจรรย์ของหมู่ดาวเริ่มออกปฏิบัติการ แต่ไม่ว่าจะออกตามหา “ทางช้างเผือก” หรือกลุ่มดาวปัจจัยสำคัญแรกที่จะต้องมีอยู่ก็คือ สภาพท้องฟ้ามืดที่ไม่ได้ถึงคืนเดือนมืด แต่คือหมายถึงพื้นที่ที่ไม่มีแสงรบกวนจากแสงไฟใด ๆ

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ร่วมกับ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) (NARIT) ผลักดันการท่องเที่ยวเชิงดาราศาสตร์ต่อเนื่องเข้าสู่ปีที่ 4 ในโครงการ AMAZING DARK SKY IN THAILAND #Season 4” โดยในปีนี้มี 16 พื้นที่ดูดาวแห่งใหม่ทั่วประเทศ ที่ได้รับการขึ้นทะเบียน “เขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืดในประเทศไทย” โดยเป็น อุทยานท้องฟ้ามืด (Dark Sky Park) เขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืดในพื้นที่อุทยานแห่งชาติ 5 แห่ง ได้แก่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูสีฐาน จ. มุกดาหาร ที่มีทุ่งโนนป่าก่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวเรียนรู้ด้านสัตว์ป่าที่สำคัญหลากหลายชนิด พื้นที่โดยรอบเป็นทุ่งหญ้ากว้างเหมาะสำหรับกางเต็นท์ ส่องสัตว์ป่า และดูดาวยามค่ำคืน เพราะในช่วงเวลาที่ท้องฟ้ามืดสนิทสามารถเห็นดวงดาวและสังเกตเห็นวัตถุท้องฟ้าในห้วงอวกาศลึกได้ด้วยตาเปล่าแบบ 360 องศา เช่น เนบิวลานายพราน กระจุกดาวลูกไก่ และทางช้างเผือก เป็นต้น

อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร จ. ศรีสะเกษ มีพื้นที่โล่งกว้างหลายแห่ง เหมาะต่อการสังเกตวัตถุท้องฟ้าและวัตถุในห้วงอวกาศลึก สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า เช่น เนบิวลานายพราน กระจุกดาวลูกไก่ กระจุกดาวรวงผึ้ง กระจุกดาวเปิด กาแล็กซีแอนโดรเมดา และกาแล็กซีทางช้างเผือก กลุ่มดาวจักราศี และดาวเหนือ ทั้งยังมีมุมถ่ายภาพวัตถุบนท้องฟ้ามากมายและกว้างไกล

อุทยานแห่งชาติภูสวนทราย จ. เลย มีพื้นที่โล่งกว้างที่สามารถทำกิจกรรมทางดาราศาสตร์ และสังเกตวัตถุท้องฟ้าด้วยตาเปล่าได้ ได้แก่ เนบิวลานายพราน กระจุกดาวลูกไก่ และกระจุกดาวเปิดในกลุ่มดาวหมาใหญ่ เป็นต้น นอกจากนี้ สามารถชมวิวพระอาทิตย์ขึ้น-ตก ทะเลหมอกในยามเช้าและวิวภูเขาที่สลับซับซ้อนสวยงาม ทั้งห่างไกลจากแหล่งชุมชน ไม่มีแสงสว่างรบกวน จึงมีความมืดสนิท เหมาะแก่การถ่ายภาพทางดาราศาสตร์

อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า จ. พิษณุโลก มีพื้นที่เป็นลานหินกว้างขนาดใหญ่ ไม่มีสิ่งบดบังทางทัศนียภาพ สามารถมองเห็นท้องฟ้าที่เต็มไปด้วยดวงดาว และทางช้างเผือกได้อย่างชัดเจนทุกฤดูกาล ทั้งยังเป็นสถานที่ที่เหมาะต่อการชมปรากฏการณ์ฝนดาวตก ซึ่งรองรับการติดตั้งกล้องโทรทรรศน์ได้ ทั้งยังมีเส้นทางคมนาคมที่สะดวกเข้าถึงง่าย

อุทยานแห่งชาติแม่ปิง จ. ลำพูน เป็นพื้นที่ราบเนินเขา โล่ง กว้าง ปกคลุมด้วยทุ่งหญ้าสลับป่า บรรยากาศเงียบสงบ อยู่ห่างไกลชุมชน ไม่มีแสงสว่างรบกวน สามารถมองเห็นดวงดาวและวัตถุบนท้องฟ้าได้ด้วยตาเปล่า เหมาะสำหรับทำกิจกรรมทางดาราศาสตร์ และกิจกรรมค่ายเยาวชน

สำหรับ เขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืดในพื้นที่ส่วนบุคคล (Dark Sky Properties) มีพื้นที่ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืดประเทศไทยในปีนี้ถึง 9 แห่ง ได้แก่ โกลเด้น คลิฟ บีช รีสอร์ท จ. ตราด ด้วยความที่ตั้งอยู่บน “หาดผาทอง” ซึ่งเป็นชายฝั่งหน้าผาอันเงียบสงบ รายล้อมด้วยทะเลอ่าวไทยและเทือกเขาบรรทัด โดยมีลานดูดาวขนาด 3 ไร่ แบบ 360 องศา มองเห็นวิวทะเลพาโนรามา เหมาะสำหรับการตั้งกล้องโทรทรรศน์และกิจกรรมสังเกตท้องฟ้ายามค่ำคืน อีกทั้งมีบริการกล้องดูดาวของรีสอร์ทให้ผู้เข้าพักได้ใช้ด้วย

ขึ้นเหนือไปที่ ดารกะ เชียงดาว จ. เชียงใหม่ ที่พักที่สามารถเห็นวิวดอยหลวงเชียงดาวได้แบบพาโนรามา มีการออกแบบวางผังพื้นที่ เพื่อให้เกิดความสงบและมีความเป็น อีกทั้งห้องพักยังตั้งชื่อตามดวงดาวเพื่อให้คล้องจองกับชื่อที่พักซึ่งแปลว่าดวงดาว ซึ่งรวมทั้งห้องดาว B612 ที่เป็นบ้านเกิดของเจ้าชายน้อยในวรรณกรรมเด็กยอดนิยม ในช่วงเวลากลางวัน นักท่องเที่ยวสามารถเข้าร่วมกิจกรรมดูนก ดูผีเสื้อ พายซับบอร์ด ทำผ้าย้อมคราม และทำเครื่องปั้นดินเผา ส่วนกลางคืนสามารถสังเกตวัตถุบนท้องฟ้าได้อย่างชัดเจน ณ ลานดูดาว สามารถมองเห็นทางช้างเผือกเคียงข้างดอยหลวงเชียงดาว ฝนดาวตก วัตถุท้องฟ้า และกลุ่มดาวสำคัญด้วยตาเปล่าได้อย่างชัดเจน

ออกไปที่วนธารา รีสอร์ท จ.พิษณุโลก มีสนามหญ้าโล่งกว้างที่มีการจัดการแสงสว่างอย่างเหมาะสม เหมาะสำหรับการดูดาว ฝนดาวตก และวัตถุในห้วงอวกาศลึกนอกจากนี้ยังมีกิจกรรมอื่น ๆ เช่น พายเรือ ล่องแก่งลำน้ำเข็ก สตูดิโอ งานคราฟท์ และงานศิลปะธรรมชาติ ส่วนสวนป่าแม่ละเมา จ. ตาก มีบ้านพักและลานกางเต็นท์สำหรับนักท่องเที่ยว มีเส้นทางคมนาคมที่สะดวก และกิจกรรมหลากหลายเหมาะกับแต่ละฤดูกาล ที่นี่สามารถสังเกตดาวฤกษ์ กลุ่มดาวแคสซิโอเปีย กลุ่มดาวนายพราน และสามารถสังเกตวัตถุในห้วงอวกาศลึกได้ด้วยตาเปล่า เช่น กระจุกดาวลูกไก่ เนบิวลานายพราน และกระจุกดาวเปิด เป็นต้น

สวนแม่ฟ้าหลวง โครงการพัฒนาดอยตุง (พื้นที่ทรงงาน) อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.เชียงราย มีพื้นที่โล่งกว้าง สามารถมองเห็นดาวเหนือ กลุ่มดาว ดาวเคราะห์ กระจุกดาว ทางช้างเผือก สังเกตปรากฏการณ์ด้านดาราศาสตร์ด้วยตาเปล่า สามารถถ่ายภาพทางดาราศาสตร์ในเวลากลางคืน ทั้งมีกิจกรรม Night Walk เดินสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพภายในสวน เรียนรู้ธรรมชาติของระบบนิเวศ ความเชื่อมโยงของสายใยอาหารเพื่อการอยู่ร่วมกันได้อย่างเข้าใจ รู้จักสัตว์กลางคืน ไลเคน และสิ่งมีชีวิตวาวแสง โดยมีผู้ดูแลคอยให้คำแนะนำสำหรับผู้ที่สนใจเริ่มต้นดูดาว และจัดกิจกรรมด้านดาราศาสตร์พื้นฐานโดยมัคคุเทศก์ดาราศาสตร์ โดยทุกวันศุกร์ที่หนึ่งและศุกร์ที่สี่ของเดือนจะมีกิจกรรม Doi Tung Stargazing” ด้วย

ลงใต้ไปที่ ดารา ควิซีน ภูเก็ต จ. ภูเก็ต ห้องอาหารไทยไฟน์ไดนิ่งที่ตั้งอยู่ในอนันตรา ลายัน ภูเก็ต รีสอร์ท ที่ผสมผสานเมนูอาหารกับธีมดาราศาสตร์ได้อย่างลงตัว บริเวณดาดฟ้าเป็นพื้นที่สำหรับการสังเกตวัตถุท้องฟ้า พร้อมทั้งมีกล้องโทรทรรศน์ Meade 14” คุณภาพสูงและผู้เชี่ยวชาญทางดาราศาสตร์คอยให้คำแนะนำ ทั้งยังมีการนำเสนอมุมมองการสังเกตวัตถุท้องฟ้าผ่าน VR headset, Planetarium, และ Astronomy application ด้วย

ไปทางอีสานกับ บ้านไร่นายเขียว จ. ขอนแก่น ความที่ตั้งอยู่ห่างจากชุมชน มีมลภาวะทางแสงน้อย สามารถมองเห็นดาวเหนือและกลุ่มดาวโดยรอบแบบ 360 องศา โดยเฉพาะอย่างยิ่งสามารถชมกาแล็กซีและทางช้างเผือกด้วยตาเปล่าได้อย่างชัดเจน มีพื้นที่สำหรับถ่ายภาพดาราศาสตร์ที่มีเอกลักษณ์ มีลานกิจกรรม มีวัสดุอุปกรณ์ และบุคลากรที่มีความรู้สำหรับจัดกิจกรรมดูดาวให้กับนักท่องเที่ยวและผู้สนใจ

ต่อด้วย ฟาวน์เท่นทรีรีสอร์ท จ. นครราชสีมา ที่พักในพื้นที่ธรรมชาติกว่า 300 ไร่ นอกจากโซนโรงแรมและฟาร์มแล้ว ยังมมีพื้นที่โล่งเหมาะกับการจัดกิจกรรมดูดาว พร้อมสถานีการเรียนรู้ที่หลากหลายสามารถต่อยอดเชื่อมโยงจัดกิจกรรมต่าง ๆ เช่น มุมนั่งชมดวงอาทิตย์ตกที่สวยงาม มุมอารีน่าสำหรับสายดนตรีดูดาว กิจกรรมแอดเวนเจอร์ กิจกรรม DIY และอุโมงค์ดวงดาว เพื่อสร้างความตื่นเต้นในการเรียนรู้ด้านดาราศาสตร์ ส่วน ภูพร้อมดาว ฟาร์มสเตย์ จ. ชัยภูมิ พื้นที่กว่า 40 ไร่ อยู่สูงจากระดับน้ำทะเล 600-870 เมตร ล้อมรอบด้วยพื้นที่ป่าของอุทยานแห่งชาติป่าหินงาม พื้นที่ส่วนใหญ่จึงเป็นภูเขา สามารถมองเห็นดาว และทางช้างเผือกด้วยตาเปล่าในคืนเดือนมืด

เขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืดในพื้นที่ชานเมือง (Dark Sky Suburbs) มี 2 แห่ง ได้แก่ คชอาณาจักร จ.สุรินทร์ เป็นพื้นที่ดำเนินการดูแลสวัสดิภาพของช้าง เป็นแหล่งรวมช้างเลี้ยงมากที่สุดในโลก จุดชมดาวอยู่บริเวณลานกางเต็นท์ติดลำน้ำชีที่ไหลผ่านบริเวณลานกว้าง มีบรรยากาศเย็นสบายเนื่องจากอยู่ใกล้แหล่งน้ำ สามารถกางเต็นท์มองวัตถุบนท้องฟ้าด้วยตาเปล่าได้แบบ 360 องศา สังเกตปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ และถ่ายภาพทางช้างเผือกที่ทอดยาวบนท้องฟ้า พร้อมกันกับช้างที่ออกมาหาอาหารยามค่ำคืน โดยมีควาญช้างทำหน้าที่ควบคุมความปลอดภัย อีกทั้งยังมีการควบคุมแสงสว่างที่เหมาะสมทำให้ท้องฟ้ามืดสนิทไร้แสงรบกวน

แห่งสุดท้ายคือ สวนวลัยรุกขเวช มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จ.มหาสารคราม ที่นี่ถือเป็นจุดชมท้องฟ้าที่โดดเด่น ด้วยพื้นที่กว้างขวาง และบรรยากาศเงียบสงบ เหมาะสำหรับสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์โดยเฉพาะ มีจุดชมหลัก 2 โซน ได้แก่ ลานกว้างทางทิศตะวันออกใกล้จุดพายเรือคายัค ที่สามารถมองเห็นกลุ่มดาวสำคัญได้อย่างชัดเจน โดยมีกิจกรรมพายเรือคายัคยามเย็นชมพระอาทิตย์ตก ต่อด้วยการชมดาว หรือจะนอนนับดวงดาวบนแพลอยน้ำท่ามกลางความเงียบสงบ พร้อมฟังนิทานดวงดาวที่จะเติมเต็มจินตนาการและความรู้ไปพร้อมกัน

นักท่องเที่ยวที่สนใจสามารถดาวน์โหลดคู่มือท่องเที่ยวดูดาว รวมข้อมูลเขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืดในประเทศไทยทุกแห่งได้ที่ https://bit.ly/3IFSJ7r?r=qr สำหรับหน่วยงาน โรงแรม รีสอร์ท ชุมชน ศูนย์วิทยาศาสตร์ หรือพิพิธภัณฑ์ ทั่วประเทศที่สนใจสามารถติดตามข้อมูลเพิ่มเติมและสมัครเพื่อขอรับการขึ้นทะเบียนเป็นเขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืดในประเทศไทยได้ที่ https://darksky.narit.or.th/

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก เดลินิวส์

รมว.ต่างประเทศสหรัฐฯต่อสายคุย ‘มาริษ’ ขอไทยตกลงหยุดยิงกับกัมพูชา

27 นาทีที่แล้ว

“เสือใต้” จ่องาบ “ดีอาซ” เข้ารังค่าตัว 75 ล้านยูโร

31 นาทีที่แล้ว

“ปืนใหญ่” หักปีก “สาลิกาดง” สุดมันเกมลับแข้งปรีซีซั่น

42 นาทีที่แล้ว

ผิดกฎบัตรโอลิมปิก! ‘บิ๊กแนต’ เผยไม่มีสิทธิ์ห้ามกัมพูชา ร่วมซีเกมส์ที่ไทย

47 นาทีที่แล้ว

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...