โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

การเมือง

ประชากรกับพลังอำนาจรัฐ

ไทยโพสต์

อัพเดต 5 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 11 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ประชากรเป็นได้ทั้งผลดีผลเสียต่อรัฐ คนเป็นทรัพยากรที่มีค่าสูงสุด และสามารถสร้างปัญหาแก่รัฐได้มากที่สุดเช่นกัน

ในรัฐศาสตร์ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ประชากร (Population) เป็นองค์ประกอบหนึ่งของอำนาจรัฐ (State Power) ประชากรมีบทบาทสำคัญทุกมิติ ไม่ว่าจะเศรษฐกิจ สังคม การทหาร ความรุ่งเรืองและความมั่นคงของประเทศ ขึ้นกับองค์ประกอบดังกล่าว โดยพิจารณาดังนี้

ภาพ: AI กับระบบอัตโนมัติเพิ่มประสิทธิภาพและการผลิต

เครดิตภาพ: ภาพจากปัญญาประดิษฐ์

ประการแรก กำลังแรงงาน

ประชากรเป็นแหล่งกำลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นภาคเกษตรกรรม อุตสาหกรรม หรือบริการ ขนาดและคุณภาพแรงงานส่งผลโดยตรงต่อผลิตภาพทางเศรษฐกิจและความสามารถในการแข่งขันในเวทีโลก

ประเด็นจำนวนประชากรมีความสำคัญ เป็นได้ทั้งข้อดีกับข้อเสีย

ประชากรมากคือมีแรงงานมาก สามารถสร้างกองทัพใหญ่ ข้อเสียคือเป็นงานหนักที่รัฐบาลต้องดูแล ครอบครัวกับรัฐบาลอาจดูแลไม่ทั่วถึง บางประเทศถึงกับขาดแคลนอาหาร รัฐบาลต้องใช้งบประมาณมหาศาลในการดูแลประชาชน

ในอีกฟาก ประชากรน้อยเป็นปัจจัยลบต่อการขยายอำนาจ หลายประเทศในแถบสแกนดิเนเวีย รวมทั้งประเทศญี่ปุ่นกับสิงคโปร์ มีปัญหาประชากรน้อยเกินไปและส่อว่าจะลดลง เพราะหนุ่มสาวสมัยใหม่ไม่นิยมมีลูก แม้รัฐบาลส่งเสริมการมีบุตร

บางประเทศคนวัยแรงงานไปหางานต่างแดน แรงงานภายในประเทศลดลง บางครั้งเป็นผู้มีความรู้มีการศึกษา มักเกิดกับประเทศกำลังพัฒนา เศรษฐกิจอ่อนแอ อัตราว่างงานสูง พวกวัยแรงงานจึงหวังทำงานต่างประเทศเพื่อหาเลี้ยงครอบครัว

โลกาภิวัตน์มีส่วนสนับสนุนการอพยพย้ายถิ่น การเคลื่อนย้ายแรงงาน เนื่องจากข้อมูลเชื่อมโยงกันโดยง่ายและทั่วถึง การเดินทางสะดวกรวดเร็ว อัตราค่าแรงแต่ละประเทศที่แตกต่าง เหล่านี้เป็นเหตุให้แรงงานเคลื่อนย้าย

ประเทศที่คนวัยแรงงานไปทำงานต่างแดนมักมีปัญหาภายในประเทศ ไม่เฉพาะเศรษฐกิจเท่านั้น มักเป็นผลพวงจากเรื่องอื่นๆ เช่น รัฐบาลอ่อนแอ คอร์รัปชันสูง ความไม่สงบในประเทศ สงคราม ล้วนกระตุ้นให้คนอพยพออกนอกประเทศ

ในหลายประเทศ รัฐบาลพยายามสกัดกั้นไม่ให้แรงงานต่างด้าวเข้าเมืองผิดกฎหมาย เนื่องจากจำนวนมากเกินไป เป็นปัญหาสังคม เช่น คนแอฟริกากับตะวันออกกลางพยายามเข้ายุโรป รัฐบาลสหรัฐผลักดันแรงงานต่างด้าวออกนอกประเทศ

ช่วงอายุ (Age Distribution) เป็นอีกเรื่องที่ต้องพิจารณา ปัจจุบันบางประเทศก้าวสู่สังคมสูงวัย ไม่เป็นผลดีต่อเศรษฐกิจ วัยที่ต้องการคือวัยทำงานอายุ 15-64 ปีตามมาตรฐานนานาชาติ

ประเทศที่มีเด็กหรือคนวัยชราจำนวนมาก เป็นภาระที่รัฐต้องดูแล คนวัยทำงานที่ต้องแบกรับภาระภาษี เช่น ญี่ปุ่น สแกนดิเนเวีย ประเทศพัฒนาแล้วมักเผชิญปัญหาขาดแรงงานคนรุ่นใหม่

ประเทศมหาอำนาจจำต้องมีแรงงานคุณภาพมากพอ

สหรัฐมีประชากรราว 340 ล้านคน (2025) ส่วนจีนมี 1,400 ล้านคน มากพอต่อการเป็นมหาอำนาจ ส่วนสิงคโปร์มีประชากร 6 ล้านคน ยากจะก้าวขึ้นเป็นมหาอำนาจ เนื่องจากข้อจำกัดกำลังคนสำหรับกองทัพขนาดใหญ่ ตลาดภายในที่ไม่ใหญ่พอ

อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยี AI หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและการผลิต (Productivity and Efficiency) น่าติดตามว่า ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีจะมีผลต่อปัจจัยประชากรอย่างไร อนาคตมหาอำนาจทางทหารอาจมีกองทัพใหญ่ที่เป็นหุ่นยนต์ โดรนสารพัดชนิด

ประการที่ 2 สุขภาพกับการศึกษา

ชาติต้องการประชากรที่มีความรู้ความสามารถ และสุขภาพแข็งแรง

คุณภาพการศึกษาไม่อาจวัดง่ายๆ จากจำนวนประชากรที่รู้หนังสือหรือจบปริญญา เพราะมีระดับคุณภาพแตกต่างกันในแต่ประเทศ การศึกษาที่ต้องการคือการเรียนรู้ตลอดชีวิต เสริมศักยภาพตลอดเวลา ทันยุคทันสมัย ดึงศักยภาพคนออกมามากที่สุด ทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมมากที่สุด

ปัจจุบันสามารถเรียนรู้ด้วยตัวเองและมีประสิทธิภาพ มีเกียรติบัตรรับรองการศึกษาด้วยตนเอง

การศึกษายังรวมถึงการที่ประชาชนเข้าใจสถานการณ์ทั้งภายในกับภายนอกประเทศ มีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างถูกต้อง ส่งเสริมให้มีรัฐบาลเข้มแข็ง ทำประโยชน์แก่ประชาชน

ในด้านสุขภาพ ประชากรที่มีสุขภาพดีทั้งร่างกายและจิตใจ ย่อมมีพละกำลังและกระตือรือร้นในการทำงาน ผลิตภาพแรงงานสูง เศรษฐกิจเติบโตและสามารถแข่งขัน

กองทัพต้องการกำลังพลที่สุขภาพแข็งแรง มีความพร้อมร่างกายและจิตใจ

อบายมุข ยาเสพติดบั่นทอนพลังอำนาจรัฐ ทำลายรากฐานรัฐในหลายมิติ ส่งผลกระทบต่อเนื่องถึงศักยภาพประเทศในการแข่งขัน และมีอิทธิพลบนเวทีโลก

ประการที่ 3 ขวัญกำลังใจ

ถ้าประชาชนมีขวัญกำลังใจ (Morale) เชื่อมั่นรัฐบาลและทิศทางบริหารประเทศ จะเกิดความสามัคคีปรองดอง และพร้อมให้ความร่วมมือนโยบายต่างๆ ไม่ว่าการพัฒนาเศรษฐกิจ การรักษาความสงบเรียบร้อย หรือการเผชิญกับภัยคุกคาม

ในยามวิกฤต เช่น ภัยพิบัติ สงคราม หรือโรคระบาด ขวัญกำลังใจประชาชนสำคัญอย่างยิ่ง ทำให้ประชาชนพร้อมใจเสียสละเพื่อส่วนรวม ไม่ว่าจะเป็นการปฏิบัติตามมาตรการของรัฐ การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ร่วมเป็นกำลังสำคัญในการแก้ไขปัญหา

ทหารญี่ปุ่นในสงครามโลกครั้งที่สองมีกำลังใจสูงมาก เช่นเดียวกับพวกเวียดกงในสงครามอินโดจีน ตรงข้ามกับทหารอเมริกันในสงครามเวียดนามที่ไม่มีใจจะสู้รบ

ขวัญกำลังใจที่สำคัญคือขวัญกำลังใจในภาวะปกติ ถ้ามีกำลังใจดีจะช่วยให้ประชาชนกระตือรือร้นในการทำงาน การศึกษา และการพัฒนาตนเอง เป็นปัจจัยสำคัญต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมให้เติบโตยั่งยืน

ความสามารถในการหล่อหลอมคนทั้งประเทศเข้าด้วยกัน เป็นอีกประเด็นที่ทำให้มีพลังอำนาจ สหรัฐเป็นชาติที่รับคนต่างชาติเป็นพลเมือง สามารถหล่อหลอมคนเหล่านี้ที่หลากหลายเชื้อชาติและวัฒนธรรม พลเมืองคุณภาพเป็นพลังอำนาจของประเทศ ในขณะที่ประเทศเยอรมนี ญี่ปุ่นมีอคติทางชาติพันธุ์ (Ethnocentrism) สูงมาก สังคมไม่ค่อยยอมรับคนต่างเชื้อชาติ จึงขวางความก้าวหน้า

ประการที่ 4 สนับสนุนหรือต่อต้านรัฐบาล

บางคนชี้ว่าสหรัฐแพ้สงครามเวียดนามเพราะคนอเมริกันไม่ต้องการให้ลูกหลานไปรบ ในประเทศที่ไม่รู้ว่าอยู่ตรงไหนของแผนที่โลก

ประเทศที่ประชาชนต่อต้านรัฐบาลรุนแรง ย่อมอ่อนแอ รัฐบาลอาจล้มในที่สุด และหากประชาชนแตกแยกเป็นหลายฝ่ายอาจกลายเป็นรัฐล้มเหลว กระทั่งอาจนำสู่การแบ่งแยกประเทศออกเป็นส่วนๆ สูญสิ้นความเป็นรัฐเดิม

Hans Morgenthau ชี้ว่า “ความคิดของประชาชนส่วนใหญ่มักต้องการผลลัพธ์เร็ว ยอมสละผลประโยชน์ของวันพรุ่งนี้เพื่อประโยชน์ที่เห็นได้ในวันนี้”

ประชาชนมักเห็นแก่สิบเบี้ยใกล้มือ แม้ต้องทิ้งผลประโยชน์แท้ในอนาคต ต่างจากผู้นำรัฐที่มักเป็นผู้มองการณ์ไกล อดทนดำเนินการอย่างช้าๆ ยอมสละสิ่งเล็กเพื่อประโยชน์ที่ยิ่งใหญ่กว่า เป็นคนเยือกเย็นและประนีประนอม

การสนับสนุนจากประชาชนเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง เพราะหากประชาชนไม่เห็นด้วยแล้ว การดำเนินนโยบายย่อมลำบากและอาจล้มเหลว การสร้างอำนาจรัฐไม่ว่าจะในทางใดย่อมไร้ประสิทธิภาพ

สำคัญยิ่งที่รัฐบาลต้องได้ใจประชาชน

บางกรณี นักการเมือง ผู้บริหารประเทศฉ้อฉล ไม่ยึดประโยชน์สุขของประชาชนเป็นที่ตั้ง เช่นนี้นำสู่ปัญหาเช่นกัน หลายประเทศทั่วโลกกำลังเผชิญปัญหานี้

ตลอดประวัติศาสตร์โลก หลายอาณาจักร หลายรัฐต้องล่มสลายเพราะประชาชนไม่ให้ความร่วมมือกับรัฐ หรือเป็นผู้ต่อต้านรัฐบาลเสียเอง ทุกวันนี้ยังมีตัวอย่างให้เห็นอยู่เสมอ

โดยรวมแล้ว ประชากรเป็นได้ทั้งผลดีผลเสียต่อรัฐ คนเป็นทรัพยากรที่มีค่าสูงสุด และสามารถสร้างปัญหาแก่รัฐได้มากที่สุดเช่นกัน.

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก ไทยโพสต์

‘จิรายุ’ วอนปิดเว็บพิกัดศูนย์พักพิงเสี่ยงถูกล็อคเป้า

12 นาทีที่แล้ว

เดือด! เตือนรัฐบาล ห้ามขายชาติแลกภาษีทรัมป์-ฐานทัพต่างชาติ

16 นาทีที่แล้ว

ฮุนมาเนต ตอบรับทรัมป์ เตรียมพร้อมหยุดยิง

27 นาทีที่แล้ว

สว.วีระพันธ์ จี้ ‘นายกฯ-ครม.’ ยกเลิก MOU 2543-44 กลับใช้แผนที่ 1 ต่อ 50,000 ทันที

35 นาทีที่แล้ว

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความการเมืองอื่น ๆ

‘โฆษกรัฐบาล’ ฟาด ‘กัมพูชา โกหกรายวัน! ‘ฮุน มาเนต’ ไม่จริงใจ ยัน ‘ทหารไทย’ เป็นสุภาพบุรุษ

The Bangkok Insight

‘จิรายุ’ วอนปิดเว็บพิกัดศูนย์พักพิงเสี่ยงถูกล็อคเป้า

ไทยโพสต์

"ภูมิธรรม" ลั่นไทยพร้อมหยุดยิง แต่กัมพูชาต้องจริงใจ

สวพ.FM91

‘สว.วีระพันธ์’ ชี้โอกาสมาแล้ว! ‘นายกฯ-ครม.’ ยกเลิก MOU 43-44 กลับใช้แผนที่ 1 ต่อ 50,000

เดลินิวส์

‘บิ๊กเล็ก’ขอฟังเสียงคนไทยทั้งประเทศหยุดยิงหรือไม่ ยังให้คำตอบ ‘ทรัมป์’ไม่ได้

เดลินิวส์

เดือด! เตือนรัฐบาล ห้ามขายชาติแลกภาษีทรัมป์-ฐานทัพต่างชาติ

ไทยโพสต์

ข่าวและบทความยอดนิยม