โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

แล้ว “สังคม” ก็จะล้างสิ่งเลวร้ายไปเอง (จบ)

สยามรัฐ

อัพเดต 4 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 4 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ทวี สุรฤทธิกุล

สังคมทหารปรับตัวไปมากแล้ว แต่สังคมนักการเมืองไทยยังหมักหมมเน่าเหม็นไม่ไปไหน

เมื่อสัปดาห์ก่อนได้เล่าถึง “สิ่งเลวร้าย” อย่างหนึ่งของการเมืองไทย คือ “การปฏิวัติรัฐประหาร” ไว้อย่างยืดยาว ก็เพื่อให้เห็นว่าทหารได้มีวิวัฒนาการในทางการเมืองไปค่อนข้างมาก คือเริ่มต้นที่ทำรัฐประหาร 24 มิถุนายน 2475 ก็เพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง จึงจำเป็นต้อง “ขึงขัง” เหมือนจะล้างผลาญพวกอำนาจเก่าให้สิ้นซาก แต่เมื่อเผชิญความจริงทางสังคมไทยว่า คนไทยยัง “ยึดเหนี่ยว” อยู่กับสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างแน่นเหนียว ทหารเองก็เอนเอียงไปสนับสนุนพระมหากษัตริย์อย่างใกล้ชิดมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อเกิดเหตุการณ์สวรรคตของรัชกาลที่ 9 ใน พ.ศ. 2489 อันนำมาซึ่งการรัฐประหารใน พ.ศ. 2490 เพื่อเชื่อมทหารเข้ากับพระมหากษัตริย์ อันทำให้ทั้งทหารและพระมหากษัตริย์มีความเข้มแข็งขึ้นมากตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

ทหารมาถูก “ปิดสวิตช์” ในเหตุการณ์วันที่ 14 ตุลาคม 2516 แต่ก็มา “เปิดสวิตช์” กลับคืนสู่อำนาจได้ในการทำรัฐประหารวันที่ 6 ตุลาคม 2519 และมีการปกครองเผด็จการอยู่ช่วงหนึ่ง จนถึงหลังการเลือกตั้งใน พ.ศ. 2522 ทหารก็ปรับตัวโอนอ่อนเข้าหานักการเมือง แต่ทหารก็ได้เปรียบเพราะใกล้ชิดกับพระมหากษัตริย์มากกว่า ดังจะเห็นได้จากการอยู่ในอำนาจอย่างยาวนานของพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ แต่เมื่อทหารมีปัญหาในกองทัพมากขึ้น ทำให้พลเอกเปรมต้องยุติบทบาทหลังการเลือกตั้ง พ.ศ. 2531 แต่ด้วยการคอร์รัปชั่นอย่างมโหฬารของรัฐบาลชุดนั้น ทำให้ทหารมายึดอำนาจอีกใน พ.ศ. 2534 แต่ก็อยู่ในอำนาจได้ไม่นาน เพราะผู้นำทหารคิดจะครองอำนาจอย่างเบ็ดเสร็จ ที่สุดก็เกิดเหตุการณ์จลาจลในเดือนพฤษภาคม 2535 ที่จบลงด้วยบทบาทของพระมหากษัตริย์ที่เข้ามาเป็นผู้ไกล่เกลี่ยในวิกฤตครั้งนี้อีกครั้ง (ครั้งแรกเมื่อ 14 ตุลาคม 2516)

อย่างไรก็ตาม ทหารก็ได้มาทำรัฐประหารอีก ใน พ.ศ. 2549 เพื่อกำจัดระบอบทักษิณ (แต่บางกระแสก็บอกว่าเพราะทักษิณมีท่าทีที่เป็นอันตรายต่อสถาบันพระมหากษัตริย์) แต่ผู้คนบางฝ่ายก็เป็นกังวลว่าทหารไม่คิดที่จะจัดการกับระบอบทักษิณให้สิ้นซากอย่างจริงจัง ถึงขั้นตั้งฉายาผู้นำทหารยุคนั้นว่า “ปัสสาวะไม่สุด” อันทำให้หลังการเลือกตั้งในปี 2550 บ้านเมืองก็เกิดความวุ่นวายอย่างยืดเยื้อ จนถึงวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ทหารก็ทำรัฐประหารอีก และอยู่ในอำนาจได้อย่างยาวนาน แม้จะมีการเลือกตั้งในปี 2566 ทหารก็ยังสามารถคุมนักการเมืองไว้ได้เป็นส่วนใหญ่ ดังจะเห็นได้จากการจัดตั้งรัฐบาลที่พรรคเพื่อไทยต้องยอมตามการจัดการของ “รัฐพันลึก – Deep State” ที่มีทหารเป็นแกนนำสำคัญ แม้กระทั่งในการเปลี่ยนรัฐบาลในเดือนสิงหาคม 2567 ทหารก็ยังสามารถควบคุม “ทิศทางการเมือง” ไว้ได้อีก ภายใต้ “ดีลลับ” ที่ทำให้ “สทร.ทักษิณ” ต้องหงออยู่ภายใต้ท็อปบูตนั้น (ล่าสุดคงจะ สทร.มากไป จึงประกาศบนเวที “ปลดล็อกอนาคตประเทศไทยสู้วิกฤติโลก” เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2568 ว่าขอลดบทบาทเป็นแค่ “เสมียนประเทศ – National Clerk” นี่ก็ว่ากันว่าเป็นผลจากมีคนเรียกทักษิณไป “ตบปาก” เพื่อทบทวนดีลที่มีไว้ต่อกันเมื่อก่อนนั้น)

ขณะนี้ท่ามกลางความวุ่นวายและความไม่แน่นอนของการเมืองของประเทศไทย ก็มีเสียงร่ำลือว่าทหารอาจจะต้องออกมาทำรัฐประหารอีก ถึงขนาดที่พวกนักการเมืองวัวสันหลังหวะ ทั้งพรรคแดงและพรรคส้มต้องออกมาแหกปากร้องด้วยความกลัวรัฐประหารกันเป็นแถว ซึ่งผู้เขียนขอ “วิแคะ” คือ “แกะความจริง” ตามความเชื่อที่ประมวลรวมด้วยวิชาการด้านรัฐศาสตร์ ว่าทหารไทยตอนนี้ “เปี๊ยนไป” พอสมควรแล้ว

ประการแรก ความใกล้ชิดของทหารกับพระมหากษัตริย์ทำให้คนรุ่นใหม่เริ่มมองทั้งสองสถาบันนี้ด้วยความหวั่นไหว โดยเฉพาะบทบาทของทหารที่เข้ามาควบคุมนักการเมืองตั้งแต่ พ.ศ. 2522 เป็นต้นมา ดังนั้นทหารจึงต้องระมัดระวังการที่จะคิดรัฐประหาร ที่อาจจะมีคนเชื่อมโยงขึ้นไปถึงสถาบันเบื้องสูงนั้นได้

ประการต่อมา ทหารได้ “วางบทบาท” ของกองทัพในทางการเมืองไว้อย่างระมัดระวัง กรณีล่าสุดที่ยืนยันในเรื่องนี้ก็คือ วิกฤติชายแดนกับเขมรและคลิปฮุนเซน ที่ทหารไม่เอนเอียงไปข้างรัฐบาล เพื่อแสดงว่าทหารจะไม่เข้าไปร่วมใน “สงครามการเมือง” แต่จะทำหน้าที่ใน “สงครามชายแดน” เป็นหลัก

อีกประการหนึ่ง ทหารยังจะเป็น “แกนหลัก” ของฝ่ายอนุรักษ์ เพียงแต่จะไม่ออกมาทำรัฐประหารแบบที่เคยทำมาในปี 2549 และ 2557 ที่มีความเชื่อว่าทหารทำตามกระแสเรียกร้องของฝ่ายอนุรักษ์นั้น (หมายถึงฝ่ายอนุรักษ์ในทุกระดับ ไม่ใช่แต่ที่ออกมาเรียกร้องตามสถานที่ชุมนุม) ที่สุดทหารก็จะมีตราบาปว่าเป็น “ขี้ข้าพวกอนุรักษ์” พร้อมกับ “ศัตรูประชาธิปไตย” ไปตลอดทุกชาติไม่จบสิ้น

ดังนั้น กระแสการเมืองที่จะเป็นไปในช่วงเวลานี้ น่าจะเริ่มจาก “เปลี่ยนตัวนายกรัฐมนตรี” เป็นทางเลือกที่ 1 หรือ “การตั้งรัฐบาลเฉพาะกิจ” เป็นทางเลือกที่ 2 และ “ยุบสภาแล้วเลือกตั้งใหม่” เป็นทางเลือกที่ 3 ส่วนการทำรัฐประหารนั้นน่าจะเป็นทางเลือกสุดท้าย แต่อาจจะเป็นเพียงแค่ “ตัวขู่” เพื่อนำไปสู่ทางเลือกทั้งสามนั้น โดยไม่น่าจะเกิดขึ้นได้จริง (ความจริงอุปสรรคในการทำรัฐประหารของทหารยุคนี้มีมากกว่าสมัยก่อน โดยเฉพาะเหตุผลที่ผู้เขียนยกให้เห็นถึงบทบาทของทหารที่ “เปี๊ยนไป” ในประการแรกก่อนหน้านี้)

ผู้เขียนมีความเชื่อตรงข้ามกับ “เสมียนประเทศ” ที่ชื่อทักษิณ ชินวัตร ที่ว่ารัฐบาลนี้ยังไปต่อได้ ซึ่งมีคนเดาว่าทักษิณคงจะไปทำดีลลับกับทหารอีกแล้วกระมัง ถึงขั้นที่เชื่อมั่นอีกว่าในการตัดสินคดี 112 ที่ทักษิณไปปากพล่อยไว้ที่เกาหลีเมื่อปี 2558 ซึ่งจะตัดสินในวันที่ 22 สิงหาคมนี้ ตัวเขาก็จะรอด แต่เนื่องด้วยทักษิณได้เผลอพูดถึง “พระเมตตา” ในการพูดที่งาน “ปลดล็อกประเทศไทยฯ” เมื่อวันก่อน อาจจะทำให้ทหารมีความไม่สบายใจ และเกิดเรื่องตรงข้ามกับที่ทักษิณคิด

ย้อนกลับไปเมื่อ พ.ศ. 2490 เมื่อทหารเห็นว่านักการเมืองในพวก “คณะราษฎร” ได้ทำร้ายสถาบันพระมหากษัตริย์มามาก หัวหน้าทหารที่เคยเป็นแกนนำของคณะราษฎรอย่างจอมพล ป. พิบูลสงคราม ก็ยัง “กลับเนื้อกลับตัว” กลับมาปกป้องและส่งเสริมสถาบันพระมหากษัตริย์ หรือในการรัฐประหารสองครั้งหลัง เมื่อ พ.ศ. 2549 กับ 2557 ก็มีหลายคนเชื่อว่าทหารทำไปเพื่อปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์นั้นด้วย

คนที่เคารพเทิดทูนพระมหากษัตริย์ด้วยความ “ไม่จริงใจ” คงจะมีชะตากรรมที่น่าสมเพช หลายคนเชื่อว่าในคดี “ป่วยทิพย์” จะต้องมีคนรับกรรมอย่างสาสม บางส่วนก็เพื่อชำระ “คนชั่ว - ความชั่ว” ออกไปจากสังคมไทย แต่ส่วนสำคัญที่สุดนั้นก็เพื่อเรียกคืนซึ่งพระเกียรติยศของพระมหากษัตริย์ ที่คนชั่ว ๆ บางคน “แอบอ้าง” เอาไปปกป้องและลบรอยความชั่วที่มันได้กระทำมานั้น

ขอสังคมไทยอย่าให้มันได้มีที่ผุดที่เกิด รวมถึงโคตรตระกูลของมันก็จงเสื่อมโทรมสูญสิ้น ด้วยการไม่ลืมเรื่องของมัน บันทึกไว้และนำไปเล่าขานให้คนไทยในทุก ๆ รุ่นได้ประณามได้เรียนรู้ต่อ ๆ ไป

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก สยามรัฐ

NER แจงเพลิงไหม้ บริษัทฯคุมเพลิงได้แล้ว ยันไม่กระทบการผลิต

26 นาทีที่แล้ว

ชาวสุราษฎร์มีเฮ! ลุยโครงการพัฒนาลุ่มตาปี-พุมดวง เร่งแก้น้ำท่วม-แล้ง

35 นาทีที่แล้ว

รมว.อว.ปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติ ในหลวง ร.10 พร้อมมอบเครื่องหมักปุ๋ยให้ชาวโคราช

36 นาทีที่แล้ว

"สมศักดิ์" ยกทัพใหญ่ "เพื่อไทย" ปราศรัย 4 เวทีรวด ช่วย "ภูริกา" เบอร์ 1 ศึกเลือกตั้งซ่อมศรีสะเกษ

40 นาทีที่แล้ว

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความทั่วไปอื่น ๆ

สัญญาณอันตราย เด็กวัยประถมทดลองสูบบุหรี่ไฟฟ้ามากขึ้น

ไทยโพสต์

อาชีวศึกษา ‘จีน-อาเซียน’ จับมือภาคธุรกิจ ผลิตบัณฑิตพร้อมทำงาน-ตอบโจทย์ตลาดยุคใหม่

Xinhua

ปภ.แจ้ง 57 จังหวัดเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลัน-น้ำป่าไหลหลากจากอิทธิพลพายุ"วิภา" 20 - 24 ก.ค.นี้

สยามรัฐ

น่านระทึก! พบพนังกั้นน้ำมีรอยแตก เร่งเทปูนกันน้ำที่จะมาใหม่เข้าเทศบาลเมือง

สยามนิวส์

ฮานอย, 20 ก.ค. (ซินหัว) — สำนักข่าวเวียดนาม (Vietnam News Agency) รายงานในวันอาทิตย์ (20 ก.ค.) ว่ามีผู้ได้รับการช่วยเหลือและกู้ร่างจากอุบัติเหตุเรือนักท่องเที่ยวล่มในฮาลองเบย์ หรือ อ่าวฮาลอง ทางตอนเหนือของเวียดนามทั้งหมด 47 คน โดยในจำนวนนี้เป็นผู้รอดชีวิต 10 คน และเป็นผู้เสียชีวิตที่ได้รับการยืนยันแล้ว 37 คน รายงานระบุว่าตัวเรือที่อับปางถูกกู้ขึ้นจากน้ำและลากกลับเข้าฝั่งเมื่อช่วงเช้าวันอาทิตย์ เพื่อดำเนินการตรวจสอบและสืบสวนต่อไป ทั้งนี้ เรือท่องเที่ยวลำดังกล่าวจมลงช่วงบ่ายวันเสาร์ (19 ก.ค.) ขณะกำลังบรรทุกนักท่องเที่ยวชาวเวียดนามจำนวน 48 คนล่องเรือชมวิว โดยรายงานจากของสื่อของรัฐระบุว่ามีลูกเรือ 5 คนอยู่บนเรือลำนี้ด้วย เจ้าหน้าที่จังหวัดกว๋างนิญของเวียดนามได้ระดมเรือขนาดใหญ่ 4 ลำ และกองกำลังหลักของหน่วยกู้ภัยเพื่อมาสนับสนุนภารกิจกู้เรือลำดังกล่าว ภายใต้คำสั่งของเจิ่น ฮอง ฮา รองนายกรัฐมนตรีเวียดนาม โดยวีเอ็นเอ็กซ์เพรส (VNExpress) สื่อท้องถิ่นเวียดนามรายงานว่า ตอนนี้ทีมกู้ภัยกำลังเร่งค้นหาผู้สูญหาย ขณะที่ไต้ฝุ่นวิภากำลังเคลื่อนตัวเข้าใกล้พื้นที่ดังกล่าว

Xinhua

กัน จอมพลัง โพสต์เดือด หลังเห็นกัมพูชาถือป้ายเคลมพยัญชนะไทย 44 ตัว

มุมข่าว

จวกยับ! ทัวร์สาวเขมร ‘โมนิก้า’ เที่ยว ‘ปราสาทตาควาย’ ทิ้งขยะเกลื่อน

เดลินิวส์

ศูนย์การค้าเซ็นทรัล ขออภัยปัญหาการจัดคอนเสิร์ต Cocktail เร่งตรวจสอบความปลอดภัย

Khaosod

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...