นักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีใช้ “สาหร่าย” บำบัดน้ำเสีย ช่วยพื้นที่แล้งในออสเตรเลีย
สำนักข่าวซินหัวรายงานจากกรุงแคนเบอร์รา ประเทศออสเตรเลีย เมื่อวันที่ 7 ก.ค. ว่าทีมนักวิจัยกำลังทดลองระบบบ่อเลี้ยงสาหร่ายประสิทธิภาพสูง ที่มีการพัฒนาเพิ่มเติม โดยใช้สาหร่ายเส้นใยชนิดพื้นถิ่น ซึ่งช่วยให้บำบัดน้ำเสียได้เร็วขึ้นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น พร้อมกำจัดตะกอนได้ง่ายขึ้น
ความก้าวหน้าดังกล่าวไม่เพียงช่วยยกระดับคุณภาพน้ำ ซึ่งสามารถนำไปใช้ในกิจกรรมที่ไม่ต้องบริโภคอย่างการเกษตร แต่ยังเป็นทางเลือกต้นทุนต่ำและใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ มากกว่าระบบบำบัดน้ำเสียแบบดั้งเดิม ซึ่งตอบโจทย์ปัญหาการขาดแคลนน้ำอย่างรุนแรงในชุมชนชนบท
เทศบาลท้องถิ่นได้นำบ่อเลี้ยงสาหร่ายดังกล่าวมาใช้งานในพื้นที่ต่าง ๆ ของรัฐเซาท์ออสเตรเลีย ซึ่งเป็นระบบกังหันน้ำพลังงานต่ำที่พายพัดหมุนเวียนน้ำเสียผ่านร่องน้ำ ที่เต็มไปด้วยสาหร่ายขนาดเล็กและแบคทีเรีย เพื่อกำจัดสิ่งปนเปื้อนในน้ำ
นายแซม บัตเตอร์เวิร์ธ นักวิจัยระดับปริญญาเอกของมหาวิทยาลัยฟลินเดอร์ส เปิดเผยว่า การก่อตัวของเม็ดกลุ่มสาหร่ายร่วมกับแบคทีเรีย เป็นวิธีที่ทำให้ไบโอฟิล์มจับตัวแน่นและตกตะกอนได้เร็ว ส่งผลให้น้ำเสียที่ผ่านการบำบัดมีคุณภาพดีขึ้น
ปัจจุบัน ทีมนักวิจัยกำลังทดลองเทคโนโลยีบ่อเลี้ยงสาหร่ายแบบระบบบำบัดน้ำเสียที่ทำงานเป็นช่วงเวลา ซึ่งงโรงบำบัดน้ำเสียแห่งหนึ่งในรัฐเซาท์ออสเตรเลีย โดยมีเป้าหมายเพื่อปรับกระบวนการทางชีวภาพให้เร็วขึ้นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น และไม่ต้องลงทุนโครงสร้างพื้นฐานใหม่ขนาดใหญ่.
ข้อมูล-ภาพ : XINHUA