โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

สุขภาพ

การนอนน้อยส่งผลต่อนิสัย ทำให้คนเห็นแกตัวมากขึ้น

TNN ช่อง16

เผยแพร่ 6 ชั่วโมงที่ผ่านมา
การนอนน้อยส่งผลต่อนิสัย ทำให้คนเห็นแกตัวมากขึ้น ผู้เชี่ยวชาญแนะนำ ตื่นและเข้านอนให้ตรงเวลาทุกวัน ไม่เว้นวันหยุด

งานวิจัยล่าสุดชี้ว่า การนอนน้อยไม่เพียงส่งผลเสียต่อการทำงานสมองส่วนเกี่ยวข้องกับกสนคดวิเคราะห์ แต่ส่งผลต่อนิสัยอีกด้วย โดยคนที่นอนน้อยจะเห็นแก่ตัวมากขึ้น

งานวิจัยนี้จัดทำโดยกลุ่มนักวิจัยชาวอเมริกัน ระบุว่า การช่วยเหลือเกื้อกูลกันในสังคมนี้ เป็นรากฐานการอยู่ร่วมกันในสังคมที่สำคัญของมนุษย์ แต่การนอนไม่เพียงพอจะทำให้ความรู้สึกอยากช่วยเหลือผู้อื่นน้อยลงอย่างมีนัยยะสำคัญ

เราต่างรู้กันดีว่า การนอนไม่เพียงพอนั้นส่งเป็นเสียต่อสุขภาพหลายข้อ ทั้งเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ เบาหวาน และความดันโลหิตสูง อีกทั้งในคนที่มีความเครียดและวิตกกังวลเป็นทุนเดิม การนอนน้อยสะสมทำให้พวกเขามีแนวโน้มจะเป็นโรคซึมเศร้าในอนาคต

งานวิจัยใหม่นี้ยิ่งตอกย้ำผลเสียของการนอนไม่พอ เพราะเมื่อเทียบกับคนที่ได้นอนอย่างเต็มอิ่ม การน้อยนอนส่งผลต่อจิตสำนึกขั้นพื้นฐาน ทำให้ความต้องการช่วยเหลือคนรอบข้างลดลง

เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น?

จากการทดสอบความสัมพันธ์ของสมองกับการนอนน้อย 3 ครั้ง นักวิจัยตั้งสมมติฐานว่าการนอนหลับไม่เพียงพออาจส่งผลต่อความเต็มใจของมนุษย์ที่จะช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เพราะการนน้อยนอนส่งผลต่อความสามารถในการประมวลผลทางอารมณ์ ทำให้ไม่สามารถทำงานได้อย่างปกติ รวมถึงอาจทำให้เกิดความยากลำบากในการรับรู้อารมณ์และการแสดงออกของผู้อื่น ซึ่งเจ้าตัวเองไม่รู้ตัวหรือไม่สามารถควบคุมได้

ความเครียด รวมถึงระดับคอร์ติซอลที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นฮอร์โมนความเครียดหลัก จะเมขึ้น เมื่อเรานอนไม่เพียงพอ ฮอร์โมนนี้อาจทำให้ความต้องกาารเข้าสังคมลดลง และทำให้มนุษย์เลือกที่จะเห็นแก่ตัวมากขึ้น ซึ่งไม่ดีต่อสุขภาพจิตแน่นอน

เนื่องจากมนุษย์ถูกสร้างขึ้นให้เป้นสัตว์สังคม การเชื่อมต่อ ช่วยเหลือและเกื้อกูล ช่วยเติมเต็มความต้องการทางใจให้กับมนุษย์ ในทางกลับกัน หากมนุษย์เห็นแก่ตัว และโดดเดี่ยวจากสังคม ก็ย่อมส่งผลต่อสุขภาพจิต นำไปสู่โรคซึมเศร้าในท้ายที่สุด

แก้ไขอย่างไร?

คำตอบง่ายมาก คือ ต้องให้เพียงพอ ตามคำแนะนำคือวันละไม่น้อยกว่า 7 ชั่วโมง

เริ่มจากการให้ความสำคัญกับกิจกรรมการนอนมากที่สุด การนอนไม่ได้เริ่มต้นจากตอนกลางคืน แต่ส่งผลมาจากตอนตื่น หากตื่นอย่างเป็นธรรมชาติ การเข้านอนก็จะเป็นไปอย่างอัตโนมัติตามการทำงานของนาฬิกาชีวภาพของร่างกาย

ผู้เชี่ยวชาญด้านการนอน แนะนำว่า ควรเข้านอนและตื่นให้ตรงเวลาทุกวัน จนร่างกายสามารถจดจำเวลาของตัวเองได้ ไม่สลับเวลาเข้านอนและตื่นแม้จะเป็นวันหยุดก็ตาม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก TNN ช่อง16

กระทิงแดงลุยกลยุทธ์ Recharge เสริมพลังใจ ดันยอดขายปีนี้โต 5%

15 นาทีที่แล้ว

อาดิดาส กอล์ฟจับมือสปอร์ตมอลล์เปิด Pop Up Store

15 นาทีที่แล้ว

“ทรัมป์” ขู่ขึ้นภาษีญี่ปุ่นเหตุไม่ซื้อข้าวสหรัฐฯ

18 นาทีที่แล้ว

“เวียดนาม” เปิดทางต่างชาติ ดึงแรงงานสูง

18 นาทีที่แล้ว

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความสุขภาพอื่น ๆ

สธ. พร้อมหนุน WHO ด้านสาธารณสุขระหว่างปท. 1 ล้านเหรียญสหรัฐ/ปี

ฐานเศรษฐกิจ

สถานการณ์ผู้ติดเชื้อ HIV ในไทยสะสม 5.4 แสนราย พบรายใหม่ 1.3 หมื่นราย!

PPTV HD 36

ตะลึง ทั่วโลกกว่า 970 ล้านคนป่วยสุขภาพจิต รุนแรงขึ้นหลังโควิด

ฐานเศรษฐกิจ

เปิด (ร่าง)กฎกระทรวงใหม่ เกณฑ์อนุญาต ‘ร้านขายช่อดอกกัญชา’

กรุงเทพธุรกิจ

8 สัญญาณโรคเบาหวาน คอแห้ง หิวบ่อย ชาปลายมือปลายเท้า ต้องระวัง!

PPTV HD 36

อาหารป้องกันเบาหวาน ลดน้ำหนัก คุมน้ำตาล หยุดโรคเรื้อรังในอนาคต

PPTV HD 36

กลุ่มผู้ป่วยโรค NF1 ขอให้สิทธิบัตรทอง ครอบคลุมการรักษา

ฐานเศรษฐกิจ

7 เคล็บลับการนอนหลับ สำหรับคนหลับยาก ปรับพฤติกรรมช่วยคลายเครียด

PPTV HD 36

ข่าวและบทความยอดนิยม

โลกร้อนทำคนหลับไม่ลง เสี่ยงหยุดหายใจ-อายุสั้นไม่รู้ตัว

TNN ช่อง16

อยากนอนดี? วิจัยชี้ให้กินผักและผลไม้ให้เยอะขึ้น

TNN ช่อง16

วิจัยชี้ นอนน้อย ทำให้คนเห็นแก่ตัวมากขึ้น

TNN ช่อง16
ดูเพิ่ม
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...