โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

มาถ่องเจ็ง เจ้าสัวจีนกวางตุ้งยุครัชกาลที่ 5 บรรพบุรุษกลุ่มมาบุญครองและฟาร์มโชคชัย

ศิลปวัฒนธรรม

อัพเดต 23 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 9 ชั่วโมงที่ผ่านมา
มาถ่องเจ็ง เจ้าสัวชาวจีนกวางตุ้ง (ภาพจากหนังสือประวัติจีนกรุงสยาม เล่มที่ 2 ยุคล่าอาณานิคม)

มาถ่องเจ็ง เจ้าสัวจีนกวางตุ้งยุครัชกาลที่ 5 บรรพบุรุษตระกูล “บูลกุล” กลุ่มมาบุญครองและฟาร์มโชคชัย

รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) มีชาวจีนนับแสนรายที่ลงหลักปักฐานในสยาม ในจำนวนนี้มีที่เก็บหอมรอมริบ สร้างเนื้อสร้างตัว และมองเห็นโอกาสทางธุรกิจ กระทั่งมีฐานะมั่งคั่ง อย่าง มาถ่องเจ็ง เจ้าสัวจีนชาวกวางตุ้ง

หนังสือ “ประวัติจีนกรุงสยาม A History of the Thai-Chinese” เล่มที่ 2 ยุคล่าอาณานิคม (สำนักพิมพ์มติชน) โดย เจฟฟรี ซุน และ พิมพ์ประไพ พิศาลบุตร เล่าถึงชาวจีนในสยามเมื่อร้อยกว่าปีก่อนว่า

ปลายรัชกาลที่ 5 มีการสำรวจประชากรจีนในกรุงเทพฯ อย่างจริงจัง พบว่า จีนแต้จิ๋วมีมากสุดราว 100,000 คนหรือมากกว่านั้น รองลงมาคือจีนกวางตุ้งประมาณ 30,000 คน อันดับ 3 คือจีนฮกเกี้ยนมีอยู่ 20,000 คนเศษ จีนไหหลำและจีนแคะมีพอๆ กัน คือราว 10,000 คน

ข้อมูลนี้ค้านกับสำนึกในปัจจุบันว่า ประเทศไทยมีจีนแคะและจีนไหหลำมากกว่าจีนกวางตุ้ง ที่ส่วนใหญ่อพยพจากจีนมุ่งไปสหรัฐอเมริกา

แต่เมื่อคิดถึงว่ายุคนั้นงานก่อสร้างในสยามเฟื่องฟู ทั้งงานสร้างทางรถไฟ งานก่อสร้างอาคารในพระนคร รวมทั้งงานก่อสร้างติดตั้งเครื่องจักรในโรงสีไฟ ตามการขยายตัวของเศรษฐกิจ ปัจจัยเหล่านี้อาจเป็นเหตุผลว่าทำไมชาวกวางตุ้งในกรุงเทพฯ จึงเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในสมัยรัชกาลที่ 5 เพราะความเชี่ยวชาญของจีนกวางตุ้งสอดคล้องกับอาชีพเหล่านี้นั่นเอง

ประวัติศาลเจ้ากวางตุ้งระบุว่า ใน พ.ศ. 2420 หว่องจนเฮ้ง เถ้าแก่ร้านจำหน่ายเครื่องยาจีนในตรอกข้าวสาร ถนนสำเพ็ง ซึ่งเป็นคนอำเภอต๊งกุ๋น มณฑลกวางตุ้ง รวบรวมเงินจากชุมชนกวางตุ้งในกรุงเทพฯ ราว 17,000 บาท ซื้อที่ดินบนถนนเจริญกรุง สร้าง “ศาลากว๋องสิว” เพื่อเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของชาวกวางตุ้ง ภายในมีศาลเจ้าประดิษฐานอยู่

ที่น่าสนใจ คือ เทพเจ้าผู้บันดาลโชคลาภที่ตั้งบูชาในศาลเจ้า หลายองค์เป็นเทพที่อวยชัยในวิชาชีพ ได้แก่ เทพโลวปั้น (แต้จิ๋วเรียกลู่ปัง) ปรมาจารย์แห่งงานก่อสร้าง และ เทพหมั่นแช้ง (แต่จิ๋วเรียก บุ่งเชียง) เทพแห่งปัญญาความรู้และการแพทย์ ด้วยจีนกวางตุ้งในสยามประกอบอาชีพด้านการก่อสร้าง งานช่างกล โรงกลึง โรงพิมพ์ ซักรีด งานช่างไม้ และงานช่างปูนเป็นส่วนใหญ่

มาถ่องเจ็ง เจ้าสัวจีนชาวกวางตุ้ง ก่อนจะร่ำรวยมีบารมีเป็นที่นับหน้าถือตาของชาวจีนในกรุงเทพฯ ก็เคยทำงานด้านงานเครื่องกลมาก่อน

มาถ่องเจ็งเป็นช่างดูแลเครื่องจักรในโรงสีไฟ เขาโชคดีที่ได้เข้าไปเป็นลูกมือในโรงสีของชาวเยอรมัน จึงสั่งสมความรู้เรื่องเครื่องกล และวิธีการซ่อมบำรุงเครื่องจักรทันสมัย มาถ่องเจ็งมีทักษะด้านวิศวกรรม เมื่อฝีมือดีก็เริ่มรับงานซ่อมบำรุงเครื่องจักรให้โรงสีของชาวจีนในกรุงเทพฯ จนสามารถตั้งตัวได้

นอกจากความรู้ความชำนาญทางเทคนิคเกี่ยวกับเครื่องจักร เขายังศึกษาสภาพ “ข้าว” ซึ่งเป็นวัตถุดิบป้อนเข้าเครื่อง หาทางแก้ไขปัญหาต่างๆ และริเริ่มประดิษฐ์อุปกรณ์สีข้าวที่สำคัญขึ้นเองหลายอย่าง เช่น หินขัดข้าว ตะแกรงโยกคัดข้าว เพื่อขายให้บรรดาโรงสี โดยไม่ต้องสั่งซื้อจากต่างประเทศ ซึ่งประสิทธิภาพของอุปกรณ์ทั้งหลายล้วนใช้งานได้ดีกว่าของต่างประเทศ เพราะเหมาะสมกับลักษณะของวัตถุดิบ

จากงานซ่อมบำรุงเครื่องจักรให้โรงสีต่างๆ ที่เรียงรายสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ในที่สุดมาถ่องเจ็งก็ขยายเข้าสู่ธุรกิจค้าข้าว เริ่มจากเช่าโรงสีแถวบุคคโล จากนั้นก็ก่อตั้งโรงสีขนาดใหญ่ของตนขึ้นใน พ.ศ. 2460 ชื่อ “โรงสีไฟจินเส็ง” มอบหมายให้บุตรชายคือ ม้าเลียบคุน หรือ มา บูลกุล ที่จบการศึกษาจากฮ่องกงเป็นผู้จัดการดูแล

พ่อค้ากวางตุ้งตระกูลนี้ได้ขยายกิจการไปลงทุนเกี่ยวกับธนาคาร บริษัทประกัน ธุรกิจเดินเรือ และธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งทายาทของม้าเลียบคุน คือ ศิริชัย บูลกุล เป็นผู้ก่อตั้ง “ข้าวมาบุญครอง” และ “ศูนย์การค้ามาบุญครอง เซ็นเตอร์” (ปัจจุบันธุรกิจข้าวและศูนย์การค้ามีการเปลี่ยนแปลงผู้บริหาร) โดยตั้งตามชื่อเจ้าสัวม้าเลียบคุน หรือ “มา” และภรรยาเจ้าสัว คือ “บุญครอง” ส่วน โชคชัย บูลกุล ทายาทอีกคนของม้าเลียบคุน ก็เป็นผู้ก่อตั้ง “ฟาร์มโชคชัย”

มาถ่องเจ็ง เจ้าสัวจีนยุครัชกาลที่ 5 จึงเป็นอีกหนึ่งตำนานชาวจีนในสยามที่สร้างตัวจนเติบใหญ่ มีทายาทสืบต่อมาถึงทุกวันนี้

อ่านเพิ่มเติม :

สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่

อ้างอิง :

พิมพ์ประไพ พิศาลบุตร, สมชาย จิว และนิรันดร นาคสุริยันต์ แปลและเรียบเรียง. ประวัติศาสตร์จีนกรุงสยาม เล่มที่ 2 ยุคล่าอาณานิคม. กรุงเทพฯ: มติชน, 2568

สั่งซื้อหนังสือชุดนี้ที่เว็บไซต์สำนักพิมพ์มติชน ได้ที่นี่

เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 3 กรกฎาคม 2568

อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : มาถ่องเจ็ง เจ้าสัวจีนกวางตุ้งยุครัชกาลที่ 5 บรรพบุรุษกลุ่มมาบุญครองและฟาร์มโชคชัย

ติดตามข่าวล่าสุดได้ทุกวัน ที่นี่
– Website : https://www.silpa-mag.com

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก ศิลปวัฒนธรรม

“ต้นไม้อายุยืน” หลัก 1,000 ปี ของไทย มีต้นอะไร ต้นที่อายุยืนสุดเท่าใด

6 ชั่วโมงที่ผ่านมา

หลวงวิจิตรฯ หวังไทยเป็น “มหาประเทศ” มีอาณาเขต 9 ล้านตารางกิโลเมตร

9 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความทั่วไปอื่น ๆ

อ.สุขุม ชี้เปิดฉากภูมิใจไทยฝ่ายค้านน้องใหม่ได้ดี

สำนักข่าวไทย Online

ภูมิธรรมยืนยันใช้ความกล้าหาญสางปมที่ดินเขากระโดง-อัลไพน์

THE STANDARD

กสทช.แถลงผลจับกุมวิทยุสื่อสาร-อุปกรณ์สื่อสารปลอม

สำนักข่าวไทย Online

"ศุภชัย" ซัดกลับ "สมศักดิ์" ปล่อยน้ำกระท่อมเกลื่อนเมือง คือผลงานอดีต รมว.ยธ.

The Better
วิดีโอ

เปิดกิจกรรมให้ชมนกบินอิสระ จ.พิษณุโลก

Thai PBS
วิดีโอ

ฮอลลิวูดโหวต Parasite อันดับ 1 ภาพยนตร์ยอดเยี่ยมแห่งศตวรรษ

Thai PBS

เปิดโพสต์สุดท้าย ‘ดิโอโก้ โชตา’ ลงคลิปงานแต่งไม่กี่ชั่วโมงก่อนประสบอุบัติเหตุ

สยามรัฐ

ผู้การสุรินทร์ รับธารน้ำใจจากชาวปราจีนฯ สู่เจ้าหน้าที่แนวชายแดนไทย–กัมพูชา

สยามรัฐ

ข่าวและบทความยอดนิยม

มาถ่องเจ็ง เจ้าสัวจีนกวางตุ้งยุครัชกาลที่ 5 บรรพบุรุษกลุ่มมาบุญครองและฟาร์มโชคชัย

ศิลปวัฒนธรรม

กำแพงเพชร ไม่ใช่เมืองชากังราว เมืองชากังราวอยู่ที่ไหน

ศิลปวัฒนธรรม

ไทย "สถาปนา" กษัตริย์เขมรองค์สุดท้าย แต่ไฉนผู้สวมมงกุฎให้ กลับไม่ใช่ชาวสยาม

ศิลปวัฒนธรรม
ดูเพิ่ม
Loading...