โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

สุขภาพ

เสมา 1 พร้อม สพฐ. ลงพื้นที่นครศรีธรรมราช แก้หนี้ครู ปรับระบบการศึกษา

กรุงเทพธุรกิจ

อัพเดต 12 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 5 ชั่วโมงที่ผ่านมา

เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2568 ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) พร้อมด้วย นางภัทริยาวรรณ พันธุ์น้อย ผู้ช่วยเลขาธิการ กพฐ. และผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ร่วมคณะลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมสถานศึกษา ที่โรงเรียนเบญจมราชูทิศ และโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 19 จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยมี ศ.ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ(รมว.ศธ.) นำทีม

โดยมีผู้บริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา(สพท.) ผู้อำนวยการสถานศึกษา ครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน ให้การต้อนรับ โดย รมว.ศธ.ได้ตรวจเยี่ยมบูทแสดงนิทรรศการผลงานเด่นของโรงเรียน ซึ่งสะท้อนศักยภาพของนักเรียน ในด้านวิชาการและกิจกรรมสร้างสรรค์

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

"นฤมล”ถก ก.ค.ศ.-สพฐ.ลดภาระงานครู เล็งดึงกลุ่มเกินเกณฑ์ทำธุรการ

สพป.นครปฐมฯ นำร่อง 'เขตอัจฉริยะ' สพฐ.ลุยต่อทั่วประเทศ!

ตั้งสหกรณ์กลาง สกสค. แก้หนี้สินครู

ศ.ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ กล่าวว่า การลงพื้นที่วันนี้ได้มารับฟังเสียงสะท้อนจากครู นักเรียน และผู้บริหารการศึกษาในพื้นที่ พบว่า มีหลายประเด็นสำคัญที่พ้องกับพื้นที่อื่นๆ เช่น เรื่องการแก้ไขปัญหาหนี้สินครู โดยขณะนี้มีแนวคิดที่จะตั้ง “สหกรณ์กลาง สกสค.” เพื่อรองรับการโอนหนี้ครู โดยเริ่มจากวงเงิน 1 แสนล้านบาทจากธนาคารรัฐ และอาจขยายเป็นเฟส จนครอบคลุมหนี้ทั้งหมดประมาณ 9 แสนล้านบาท พร้อมวางแผนหาทุนดอกเบี้ยต่ำเพื่อลดภาระดอกเบี้ยแก่ครู และทำให้กองทุนมั่นใจว่าความเสี่ยงต่ำ คาดว่าจะได้รูปแบบชัดเจนภายในสัปดาห์หน้า

ทั้งนี้ น่าจะเปิดให้ลงทะเบียนได้ภายใน 3 เดือน ซึ่งคงต้องแก้ระเบียบของกรมส่งเสริมสหกรณ์ก่อน หากไม่สามารถดำเนินการได้ตามแนวทางเดิม จะพิจารณาทางเลือกอื่นต่อไป และต้องมีมาตรการไม่ให้ครูเป็นหนี้เพิ่มในอนาคต เรื่องหนี้ครูเป็นปัญหาที่รัฐบาลทุกชุดพยายามแก้ไขมาอย่างต่อเนื่อง แม้จะยังไม่สำเร็จลุล่วง แต่เราก็จะเดินหน้าต่อไปให้สำเร็จ สิ่งใดที่ผู้บริหารชุดก่อนทำมาดีแล้วเราก็จะมาต่อยอดให้สำเร็จลุล่วงให้ได้

รมว.ศธ. กล่าวด้วยว่า ในส่วนของการลดภาระงานครู ก็ได้มีแผนลดภาระงานที่ไม่ใช่ภารกิจหลักของครู เช่น งานบัญชี พัสดุ และการเงิน ซึ่งเสี่ยงต่อความผิดพลาดทางกฎหมาย โดยจะจัดหาอัตรากำลังช่วยงานสนับสนุน เพื่อให้ครูมุ่งสอนและพัฒนาเด็กได้เต็มที่ พร้อมทั้งผลักดันการปรับปรุงหลักเกณฑ์การขอมีและเลื่อนวิทยฐานะให้ทันสมัยและจูงใจมากขึ้น เพื่อสร้างเส้นทางเติบโตในสายอาชีพครู และดึงดูดคนเก่งเข้าสู่วงการ ซึ่งจะส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาในอนาคต

พัฒนาคุณภาพผู้เรียน แก้ปัญหาเด็กออกนอกระบบ

พร้อมกันนี้ ได้มอบแนวทางให้ สพฐ. สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) และ กรมส่งเสริมการเรียนรู้ (สกร.) ดำเนินการผลักดันการเรียนการสอน “วิชาประวัติศาสตร์และหน้าที่พลเมือง” ภายใต้ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เพื่อให้เยาวชนเข้าใจรากเหง้าและพัฒนาการของประเทศอย่างถูกต้อง ไม่สับสนกับประชาธิปไตยในแบบต่างประเทศ เน้นให้เป็นวิชาหลักที่มีแบบเรียนชัดเจน และจัดการเรียนการสอนอย่างจริงจังเช่นในโรงเรียนต่างประเทศ

ด้าน ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา กล่าวว่า จังหวัดนครศรีธรรมราช มีโรงเรียนในสังกัด สพฐ. ทั้งสิ้น 711 โรงเรียน จำแนกเป็น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช (สพม.นศ.) จำนวน 71 โรงเรียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช (สพป.นศ.) 1 จำนวน 105 โรงเรียน สพป.นศ.2 จำนวน 188โรงเรียน สพป.นศ.3 จำนวน 210 โรงเรียน สพป.นศ. 4 จำนวน 132 โรงเรียน และสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ (สศศ.) จำนวน 5 โรงเรียน มีนักเรียนรวมทั้งหมด 157,529 คน ครู/บุคลากร/อัตราจ้าง 9,431 คน ผู้อำนวยการสถานศึกษา 621 คน และ บุคลากรในเขตพื้นที่การศึกษา 544 คน

ผลการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามนโยบาย ศธ. และนโยบาย สพฐ. พบว่า การพัฒนาคุณภาพผู้เรียน และการแก้ปัญหาเด็กออกนอกระบบการศึกษา (ZERO DROPOUT) ทาง สพท. และสถานศึกษา มีแนวทางป้องกันปัญหา ส่งผลให้แนวโน้มเด็กออกนอกระบบลดลง นักเรียนเรียนจบใช้วุฒิไปศึกษาต่อหรือประกอบอาชีพได้ ผลการสอบ O-NET ของนักเรียนชั้นม.3 ในปีการศึกษา 2567 มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าระดับประเทศ และค่าเฉลี่ยรวมสูงกว่าระดับ สพฐ. 4 รายวิชา คือ ภาษาไทย วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และคณิตศาสตร์

ส่วน ม. 6 มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าระดับประเทศ และค่าเฉลี่ยรวมสูงกว่าระดับ สพฐ. ทั้ง 5 วิชา ได้แก่ ภาษาไทย สังคมศึกษา ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ตลอดจนมีการขับเคลื่อนผู้บริหาร ครู ให้ตระหนักรู้ในการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางการประเมินระดับนานาชาติ (PISA) และเตรียมนักเรียนให้เกิดความพร้อม เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาตามแนวทางการประเมิน PISA เป็นต้น

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก กรุงเทพธุรกิจ

ทักษิณ เททองหล่อหลวงพ่อคูณองค์ใหญ่ที่สุด ให้ศรัทธาพระพุทธศาสนา มีพระดี 99%

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ทักษิณ เททองหล่อหลวงพ่อคูณองค์ใหญ่ที่สุด ให้ศรัทธาพระพุทธศาสนา มีพระดี 99%

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

'กองทัพไทย' จี้ 'กัมพูชา' รับผิดชอบ ลงโทษคนวางกับระเบิด พร้อมเยียวยา

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

‘เมตา’ จะไม่ลงนามข้อตกลงเอไอฉบับใหม่ของอียู หวั่นจำกัดการพัฒนา

2 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความสุขภาพอื่น ๆ

สปสช. ยันงบผู้ป่วยในคงเดิม ย้ำตรวจสอบเวชระเบียนเป็นมาตรฐานเบิกจ่าย

ฐานเศรษฐกิจ

ชัยชนะ ดันงบ 30 ล้าน สร้างตึกผู้ป่วยใน รพ.นบพิตำ รับพื้นที่เศรษฐกิจ

ฐานเศรษฐกิจ

อัตราเด็กเกิดใหม่ตกต่อเนื่อง สธ.เร่งตั้งคลินิกส่งเสริมการมีบุตร 901 แห่ง

ฐานเศรษฐกิจ

6 กลุ่มอาการป่วยทางจิต สัญญาณใจบอกไม่โอเค อย่าปล่อยเบลอ!

กรุงเทพธุรกิจ

สมศักดิ์ เปิดมหกรรมสุขภาพดี ชวนคนภูเก็ต 'นับคาร์บ-ออกกำลังกาย'

ฐานเศรษฐกิจ

'Cosdent' ชูนวัตกรรม 'Tooth Age Scan' No.1 Brand Thailand 2025

กรุงเทพธุรกิจ

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...