โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

การเมือง

ชงฟัน229สว.โยงคดีฮั้ว

สยามรัฐ

อัพเดต 3 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 3 ชั่วโมงที่ผ่านมา

อนุ กกต.ชงดำเนินคดีฮั้ว สว. 229 ราย เป็น สว. 138 คน กก.บห.ภูมิใจไทย-เครือข่าย 91 ราย ส่อผิดกฎหมาย-ขัดรัฐธรรมนูญ ม.113 หาก กกต.เห็นชอบ ส่อนำไปสู่การยื่นยุบพรรคได้ "เท้ง" ชี้เป็นแค่ข้ออ้าง "เพื่อไทย" บอกเตรียมช่วยคนติดคดี ม.112 ไม่รู้โยง "ทักษิณ" ด้วยหรือไม่

เมื่อวันที่ 17 ก.ค.68 ที่รัฐสภา นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ สส.บัญชีรายชื่อ และหัวหน้าพรรคประชาชน ในฐานะผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่พรรคเพื่อไทยระบุว่าไม่ทิ้งเยาวชนที่โดนคดี ม.112 ยืนยันว่ามีแนวทางในการหาทางออก แต่ยังไม่สามารถบอกรายละเอียดได้ ว่า ความจริงมีวิธีในการสื่อสารเพื่อให้เกิดความชัดเจนกับคนที่ได้รับผลกระทบคดีทางการเมืองต่างๆ แต่ก็ไม่ทราบเหตุผลว่าเหตุใดจึงไม่สามารถสื่อสารได้ จากการติดตามคำให้สัมภาษณ์ของนายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ ประธานวิปรัฐบาล ที่ให้เหตุผลในการโหวตไม่รับร่าง เป็นเพราะมติของพรรคร่วมรัฐบาลและเกรงใจพรรคร่วมรัฐบาล และอาจกระทบกับเสถียรภาพของรัฐบาลนั้น ส่วนตัวเห็นว่ามีวิธีการโหวตในสภาหลายแนวทาง แม้จุดยืนจะไม่สามารถบีบบังคับให้พรรคร่วมฯรับร่างได้ แต่หากพรรคเพื่อไทยสื่อสารอย่างเข้มแข็งเพียงพอและเป็นปากเป็นเสียงให้ประชาชนที่ถูกดำเนินคดีทางการเมือง อาจจะสามารถเจรจาในวิปได้ว่าไม่จำเป็นต้องออกเป็นมติของพรรคร่วมรัฐบาล โดยที่พรรคเพื่อไทยสามารถงดออกเสียงเพื่อเปิดโอกาสให้กับร่างของพรรคประชาชนและภาคประชาชนได้ผ่านไปในวาระที่หนึ่ง และได้พิจารณาในชั้นกรรมาธิการ (กมธ.) ได้ครอบคลุมมากกว่านี้ ดังนั้นการอ้างมติของวิปรัฐบาลอาจจะไม่มีน้ำหนักเท่าไหร่

เมื่อถามย้ำว่าที่รัฐบาลมีมติไม่รับแม้กระทั่งงดออกเสียงให้ เป็นเพราะเป็นข้อตกลงในพรรคร่วมรัฐบาลตั้งแต่ต้น นายณัฐพงษ์ กล่าวว่า ก่อนที่จะออกมาเป็นมติของวิปพรรคร่วมรัฐบาล ในที่ประชุมวิปต้องมีการคุยกัน ในฐานะที่พรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำ ควรมีการแสดงออกเรื่องการเป็นจุดยืนของพรรค ไม่สามารถปฏิเสธร่างของภาคประชาชนหรือร่างคนอื่นๆ ได้โดยไม่ควรออกมาเป็นมติของวิปรัฐบาล และเปิดให้พรรคแต่ละพรรคในพรรคร่วมรัฐบาลมีเอกสิทธิ์ในการโหวต และพรรคเพื่อไทยก็มีจุดยืนไม่ไปคว่ำร่างของคนอื่น โดยเฉพาะร่างของภาคประชาชน ซึ่งมีส่วนสำคัญไม่แพ้กัน

สำหรับทางออกในการช่วยผู้ที่ถูกคดีทางการเมืองนั้น นายณัฐพงษ์ กล่าวว่าพรรคเพื่อไทยควรออกมาสื่อสารให้ชัดเจนว่ามีแนวทางการแก้ไขปัญหาในอนาคตอย่างไร ตนเชื่อว่าสื่อสารได้ และมีวิธีในการสื่อสารอยู่ ขณะเดียวกันการดำเนินการในชั้น กมธ. พรรคประชาชนก็จะใช้กลไกทุกวิถีทางในสภา เพื่อให้ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมเปิดกว้างที่สุด

เมื่อถามว่าการออกมาพูดว่าไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดได้ เป็นเพราะพรรคเพื่อไทยไม่ได้เตรียมการมาก่อน นายณัฐพงษ์ กล่าวว่า ในทางหลังบ้าน เหตุผลที่จะโหวตคว่ำร่างของภาคประชาชนเป็นเพราะประเด็นหลักเรื่องการนิรโทษกรรม ม.112 หรือไม่ ตรงนี้น่าจะเป็นสาเหตุที่สำคัญที่สังคมรู้ดี ดังนั้น การให้เหตุผลตามหลังของนายวิสุทธิ์ เป็นเหตุผลที่ฟังไม่ขึ้น ซึ่งตนย้ำว่าถ้าในวิปมีการแสดงจุดยืนที่ชัดเจน พรรคเพื่อไทยก็มีน้ำหนักเพียงพอที่ทำให้พรรคร่วมรัฐบาลเข้าใจได้ ไม่ใช่มาอ้างว่าเสียงปริ่มน้ำแล้วต้องยอม

ส่วนเรื่องนี้อาจโยงถึงการที่นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี โดนคดี ม.112 มีนัยยะอะไรหรือไม่ นายณัฐพงษ์ กล่าวว่า ตนและพรรคประชาชนย้ำมาตลอดว่าการนิรโทษกรรมไม่ควรพุ่งเป้าบุคคลใดบุคคลหนึ่ง แต่ควรครอบคลุมและไม่เลือกปฏิบัติ จะสามรถสร้างสันติสุข และเดินหน้ากระบวนการปรองดองได้อย่างแท้จริง

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คณะกรรมการสืบสวนและไต่สวนกลาง ชุดที่ 26 ของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ซึ่งมีหน้าที่สอบสวนข้อกล่าวหากรณีการฮั้วเลือกสมาชิกวุฒิสภา (ฮั้ว สว.) ได้ประชุมพิจารณาสรุปสำนวนคดีสำคัญ และมีมติเห็นควรดำเนินคดีต่อผู้ถูกกล่าวหาทั้งหมด 229 ราย โดยแบ่งออกเป็น สมาชิกวุฒิสภา 138 คน กรรมการบริหารพรรคภูมิใจไทย (ภท.) และเครือข่ายที่เกี่ยวข้องอีก 91 ราย

ทั้งนี้ การพิจารณาชี้ว่าทั้งหมดเข้าข่ายความผิดตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2561 หลายมาตรา ได้แก่ มาตรา 70, มาตรา 36, มาตรา 62, มาตรา 76 และมาตรา 77(1)

โดยหนึ่งในบทบัญญัติสำคัญคือ มาตรา 76 ซึ่งห้ามไม่ให้กรรมการบริหารพรรคการเมือง หรือผู้ดำรงตำแหน่งใดๆ ในพรรคการเมือง รวมถึง ส.ส. หรือผู้มีตำแหน่งทางการเมือง ไปช่วยเหลือให้บุคคลใดได้รับเลือกเป็น สว. หรือทำให้ไม่ได้รับเลือก หากผู้สมัคร ส.ว. ยินยอมให้มีการช่วยเหลือดังกล่าว จะเข้าข่ายความผิดร่วมด้วย โดยมีโทษ จำคุก 1-10 ปี ปรับ 20,000-200,000 บาท และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง

คณะกรรมการสืบสวนฯ ระบุว่า พฤติการณ์ของผู้ถูกกล่าวหาเข้าข่ายมีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่า ทำให้ได้รับเลือกเป็น สว. โดยไม่สุจริต และขัดต่อหลักการเที่ยงธรรมในการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา อีกทั้งอาจขัดต่อ รัฐธรรมนูญมาตรา 113 ซึ่งบัญญัติว่า “สมาชิกวุฒิสภาต้องไม่ฝักใฝ่หรือยอมตนอยู่ใต้อาณัติของพรรคการเมืองใดๆ” หากที่ประชุม กกต. ชุดใหญ่เห็นชอบกับผลสรุปของคณะกรรมการสืบสวนฯ ก็อาจนำไปสู่กระบวนการยื่นศาลรัฐธรรมนูญ พิจารณายุบพรรคการเมืองที่เกี่ยวข้องได้ในที่สุด

ทั้งนี้ กระบวนการต่อไป คือการส่งสำนวนเข้าสู่ “ขั้นตอนที่ 2” โดย เลขาธิการ กกต. จะต้องพิจารณาให้ความเห็นในฐานะฝ่ายเลขานุการก่อนเสนอเข้าสู่การพิจารณาของ กกต. ชุดใหญ่ต่อไป

อย่างไรก็ตาม มีรายงานว่า เลขาธิการ กกต. อาจมอบหมายให้รองเลขาธิการ กกต. เป็นผู้พิจารณาแทน เนื่องจากตนเองเป็น “ผู้อำนวยการการเลือกสมาชิกวุฒิสภาระดับประเทศ” ซึ่งอาจถือเป็นผู้มีส่วนได้เสียในคดี

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก สยามรัฐ

เจาะลึก! รวมบทวิเคราะห์การลงทุน (หุ้น) รอบเช้า ประจำวันที่ 18 ก.ค.68

18 นาทีที่แล้ว

"อดีตบิ๊กข่าวกรอง" ถาม! ทหารไทยจะบาดเจ็บจากการตั้งรับทางยุทธวิธีไปอีกนานแค่ไหน?

25 นาทีที่แล้ว

ข้อมูลซื้อขายสกุลเงินดิจิทัล วันที่ 18 ก.ค.68

26 นาทีที่แล้ว

"กรุงเทพฯ"คว้าแชมป์โลก "เมืองในฝัน" จุดหมายปลายทางยอดนิยม สำหรับกลุ่ม Digital Nomads ปี 2025

29 นาทีที่แล้ว

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความการเมืองอื่น ๆ

ศาลฎีกาฯ เริ่มไต่สวน ‘2 แพทย์ใหญ่’ กับพวก คดีชั้น 14 นัดห้า

ไทยโพสต์

"กมธ.ทรัพย์ฯสว." จ่อชงรัฐบาลแก้กฎหมาย-ปิดช่องโหว่ สางปมวิกฤตขยะพิษลาม 5 จว.ก่อนกลายเป็น "แดนขยะโลก"

สยามรัฐ

“อิ๊งค์” ควง “บิ๊กเล็ก” บินอุบลฯ เยี่ยมให้กำลังใจทหาร เหยียบระเบิดช่องบก

THE ROOM 44 CHANNEL

กรุงเทพฯ คว้าแชมป์เมืองในฝันอันดับ 1 ของโลกสำหรับ Digital Nomads 2025

WeR NEWS

รู้จัก “ชัยชนะ เดชเดโช” รัฐมนตรีหนุ่ม วัย 39 ปี

AEC10NEWs

"อดีตบิ๊กข่าวกรอง" ถาม! ทหารไทยจะบาดเจ็บจากการตั้งรับทางยุทธวิธีไปอีกนานแค่ไหน?

สยามรัฐ

ข่าวและบทความยอดนิยม