โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

ไม่หวั่น ท่วม-แล้ง! ‘ธนาคารน้ำใต้ดิน’ ช่วยสร้างโมเดลบริหารจัดการน้ำเกษตรกร

The Bangkok Insight

อัพเดต 7 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 7 ชั่วโมงที่ผ่านมา • The Bangkok Insight

เมื่อพูดถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลต่อวิถีเกษตรกรรม "น้ำ" คือปัจจัยสำคัญอันดับต้น ๆ ที่หลายชุมชนต้องเผชิญ ไม่ว่าจะเป็น น้ำท่วม น้ำแล้ง หรือการขาดแคลนแหล่งน้ำสำรอง ยิ่งในยุคที่สภาพอากาศแปรปรวน การบริหารจัดการน้ำ จึงไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป

ภักดี ไทยสยาม ประธานกรรมการ หมู่บ้านเกษตรกรรมหนองหว้า อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา เล่าว่า เมื่อปี 2564 หมู่บ้านเกษตรกรรมหนองหว้า มีปัญหาภัยแล้งซ้ำซาก จนต้องซื้อน้ำมาใช้ในการเลี้ยงหมู และปลูกพืช

บริหารจัดการน้ำ

แต่เมื่อฝนตกหนัก กลับมีปัญหาน้ำท่วมขัง จึงนึกถึงแนวคิด "ธนาคารน้ำใต้ดิน" ซึ่งเป็นระบบเติมน้ำฝน หรือน้ำส่วนเกินในฤดูฝน ลงไปเก็บในชั้นหินอุ้มน้ำใต้ดิน เหมือนการออมทรัพยากรธรรมชาติไว้ใช้ยามจำเป็น จึงเริ่มทำโครงการ นับตั้งแต่นั้นมาก็ไม่เคยมีปัญหาภัยแล้ง หรือน้ำท่วมขังอีกเลย

โครงการเริ่มต้นด้วยการร่วมมือกันของเกษตรกรในหมู่บ้าน และทีมงานซีพีเอฟ ที่เป็นพี่เลี้ยงคอยสนับสนุนหมู่บ้านมาตลอด 48 ปี ควบคู่กับการถ่ายทอดความรู้อย่างลึกซึ้ง จากสถาบันน้ำนิเทศศาสนคุณ

บริหารจัดการน้ำ

โดยผนวกความรู้ทางธรณีวิทยา การไหลของน้ำ และแนวคิดพึ่งพาตนเอง จนสามารถพัฒนาระบบธนาคารน้ำใต้ดิน ทั้งแบบเปิด และแบบปิด ได้อย่างครบวงจร ช่วยหล่อเลี้ยง ทั้งการเลี้ยงหมู และการปลูกพืช ซึ่งเป็นอาชีพหลักของชุมชนได้อย่างเพียงพอตลอดทั้งปี

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น ไม่ใช่แค่น้ำที่เพียงพอ แต่ยังช่วยลดต้นทุนค่าน้ำได้ถึงปีละ 1 ล้านบาท แก้ปัญหาน้ำท่วมขัง น้ำเน่าเสีย เพิ่มความชุ่มชื้นในดิน ยกระดับสุขอนามัยในชุมชน จนทำให้หมู่บ้านแห่งนี้กลายเป็น "ศูนย์เรียนรู้ธนาคารน้ำใต้ดิน" ที่หลายชุมชนเข้ามาศึกษาและนำไปปรับใช้

บริหารจัดการน้ำ

จากความสำเร็จของหนองหว้า ที่เป็นต้นแบบของการ "ฝากน้ำไว้กับดิน" ขยายผลสู่ หมู่บ้านเกษตรกรรมกำแพงเพชร ตำบลเทพนคร อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งประสบปัญหาน้ำท่วมขังในฤดูฝน และขาดแคลนน้ำหน้าแล้งมายาวนาน

พิเชษฐ์ ใหญ่แก่นทราย ประธานหมู่บ้านเกษตรกรรมกำแพงเพชร บอกอย่างภูมิใจว่า ชุมชน องค์กรปกครองท้องถิ่น และซีพีเอฟ ร่วมมือกันภายใต้แนวคิด "ขีด คิด ร่วม ข่าย" ริเริ่มโครงการธนาคารน้ำใต้ดินอย่างเป็นระบบ

บริหารจัดการน้ำ

โดยศึกษาดูงานจากหมู่บ้านเกษตรกรรมหนองหว้า มีการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ ไปจนถึงการขุดบ่อธนาคารน้ำแบบเปิด และปิดภายในพื้นที่ รวม 10 บ่อ

ชาวชุมชนสามารถนำพื้นที่เดิมที่ถูกน้ำท่วมขังกลับมาใช้ประโยชน์ทางเกษตรได้มากกว่า 50 ไร่ มีน้ำใช้ในการเลี้ยงหมู และปลูกพืชได้ตลอดปี พร้อมต่อยอดสู่โครงการ"1 บ้าน 1 บ่อ" ให้ครอบคลุมครบ 40 ครัวเรือนภายในปี 2569

ที่นี่ไม่ได้หยุดอยู่แค่การจัดการน้ำ แต่ยังพัฒนาเป็นศูนย์เรียนรู้ ที่เปิดให้ชุมชนอื่น ๆ เข้ามาศึกษาดูงาน ถ่ายทอดองค์ความรู้สู่คนรุ่นใหม่ หน่วยงานท้องถิ่น และเกษตรกรจากทั่วประเทศ

ธนาคารน้ำใต้ดิน

สิ่งที่น่าทึ่งไม่ใช่แค่เทคโนโลยี หรือโครงสร้างของบ่อธนาคารน้ำ แต่คือ "กระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน" ที่ทำให้คนในชุมชนเชื่อมั่นว่า พวกเขาสามารถดูแลทรัพยากรของตนเองได้จริง

วันนี้ธุรกิจสุกร ซีพีเอฟ ต่อยอดความสำเร็จของโครงการธนาคารน้ำใต้ดินทั้งสองหมู่บ้าน สู่สถานประกอบการของบริษัทอีก 8 แห่ง ทั้งที่ ฟาร์มสุรินทร์ ฟาร์มยโสธร ฟาร์มจอมทอง ฟาร์มวังชมภู ฟาร์มอุดมสุข ฟาร์มราชบุรี รวมถึงที่โรงชำแหละสุกรจันทบุรี และยโสธร ให้หันมากักเก็บน้ำไว้ใช้เอง ลดการพึ่งพาน้ำดิบจากธรรมชาติ

@cpf.journeyหมู่บ้านนี้เคยซื้อน้ำ “ปีละ 2 ล้าน” แต่ตอนนี้…น้ำเต็มบ่อ ใช้ได้ตลอดปี! “ธนาคารน้ำใต้ดิน” นวัตกรรมจัดการน้ำ ที่เปลี่ยนชีวิตทั้งหมู่บ้าน! แก้น้ำแล้ง ลดน้ำท่วม ต้นไม้โตไว เรื่องจริงจากหมู่บ้านเล็กๆ ที่ฉะเชิงเทรา ดีแค่ไหน? ต้องดู #หมู่บ้านเกษตรกรรมหนองหว้า #ธนาคารน้ำใต้ดิน #เรื่องดีดีCPF #Sustainability #CPF #ซีพีเอฟ #แก้แล้งลดท่วม #นวัตกรรมเพื่อชุมชน

♬ เสียงต้นฉบับ - CPF.Journey

โครงการธนาคารน้ำใต้ดิน ทั้งที่หนองหว้า กำแพงเพชร รวมถึงฟาร์ม และโรงชำแหละของซีพีเอฟ สะท้อนให้เห็นว่า การบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืนไม่จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีราคาแพง แต่เป็นการผสานพลังของชุมชน ภาคเอกชน และองค์ความรู้ท้องถิ่นเข้าด้วยกัน

ธนาคารน้ำใต้ดิน

ธนาคารน้ำใต้ดินจึงไม่ได้เป็นแค่บ่อเก็บน้ำใต้ดิน แต่กลายเป็นสัญลักษณ์ของการ "คิดอย่างเป็นระบบ ทำอย่างมีส่วนร่วม และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง" ที่ช่วยให้ชุมชนมีทรัพยากรน้ำเพียงพอ รองรับวิถีชีวิตเกษตรกรรม และสร้างความมั่นคงทางน้ำในระยะยาว เพราะการฝากน้ำไว้กับดิน คือการวางรากฐานเพื่อความมั่นคงในอนาคต

อ่านข่าวเพิ่มเติม

ติดตามเราได้ที่

เว็บไซต์: https://www.thebangkokinsight.com/
Facebook: https://www.facebook.com/TheBangkokInsight
X:https://twitter.com/BangkokInsight
Instagram: https://www.instagram.com/thebangkokinsight/
Youtube:https://www.youtube.com/channel/UCYmFfMznVRzgh5ntwCz2Yxg

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก The Bangkok Insight

ป.ป.ช. เปิดทรัพย์สิน ‘นายกเบี้ยว’ รวย 36 ล้าน มีปืน 5 กระบอก-นาฬิกาหรู 6 แสน

20 นาทีที่แล้ว

‘ศศินันท์’ วอน สส. แสดงความกล้าหาญ โหวตรับร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมทุกฉบับ

30 นาทีที่แล้ว

กองปราบแถลง ‘ปฏิบัติการนารีพิฆาตพระ’ เปิดข้อหาสีกากอล์ฟร่วม ‘7 ข้อหา 2 หมายจับ’

47 นาทีที่แล้ว

ตำรวจคุมตัว ‘สีกากอล์ฟ’ เข้าห้องควบคุมขัง

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความทั่วไปอื่น ๆ

ดร.กอบศักดิ์ ดูท่าทีทรัมป์ ทำไม เคาะตัวเลขภาษีไทย เท่าเดิม 36%??

TOJO NEWS

‘บิ๊กป้อม’ นำทัพ พปชร. เปิดตัว 32 ว่าที่ผู้สมัคร สส.

The Bangkok Insight

สาวกัมพูชาคนเดิม เคยป่วนทหารไทยใน "ปราสาทตาเมือนธม" มาแล้ว

คมชัดลึกออนไลน์

ทนายเกิดผล ด่าเจ็บ! เขมรตัวดี เดี๋ยวก็ได้รางวัลเป็นมาม่ากับเงิน 80 บาท

TOJO NEWS

ก.ล.ต. สั่ง ECF แจงเหตุปรับราคาใช้สิทธิ ECF-W5 เป็น 5 บาท

สำนักข่าวไทย Online

9 ทันโลก : 100 ปี “มหาธีร์ โมฮัมหมัด” ผู้นำที่ไม่เคยเกษียณ

สำนักข่าวไทย Online

กรมชลฯ ขานรับ "รมว.อรรถกร" ลุย 37 โครงการฯ แก้ปัญหาน้ำยั่งยืน

สยามรัฐ

หวยออกงวด 16 ก.ค. เช็กสถิติหวย ผลสลากกินแบ่งรัฐบาลย้อนหลัง 10 ปี

ประชาชาติธุรกิจ

ข่าวและบทความยอดนิยม

ซีพีเอฟ หนุน SMEs ยกระดับ Supply Chain โปร่งใส สู่การเติบโตอย่างยั่งยืน

The Bangkok Insight

ซีพีเอฟ คิกออฟ กองทุนปลากะพงขาว ช่วยเกษตรกรกำจัดปลาหมอคางดำ

The Bangkok Insight

‘ซีพีเอฟ’ จ่อออกหุ้นกู้ชุดใหม่ 2 ชุด ดอกเบี้ยสูงสุดอาจถึง 3.40%

The Bangkok Insight
ดูเพิ่ม
Loading...