“กริพเพนไทย” ดียังไง หลังประวัติศาสตร์กองทัพส่งรบจริง ครั้งแรกของโลก
เครื่องบินกริพเพนไทย “Gripen E/F” เครื่องบินขับไล่โจมตีสมรรถนะสูงจากสวีเดน อำนาจแห่งเวหาเหนือเส้นขอบฟ้า พร้อมปกป้องอธิปไตย พาส่องพลานุภาพขั้นสูง ไทยมี 12 ลำ แต่นำเข้าลอตแรก 4 มูลค่ากว่า 2 หมื่อนล้าน
จากกรณีที่ “กองทัพอากาศ” ตัดสินใจส่ง F-16 และกริพเพน 4 ลำ บินทิ้งบอมบ์ 2 เป้าหมาย ภูมะเขือ-ปราสาทตาเหมือนธม โดยรายงานยืนยันของสำนักข่าวไทยวานนี้ (26 ก.ค.) ระบุว่า กองทัพไทยเปิดปฏิบัติการส่งเครื่องบินกริพเพน เพื่อเสริมกำลัง F-16 โดยส่งไข่ด่วนสกัดอาวุธวิถีโค้งกัมพูชาก่อนบินกลับฐานปลอดภัย นับเป็นการใช้อาวุธจริงครั้งแรกในประวัติศาสตร์ นอกจากนี้ยังบินปฏิบัติการรอบสองทิ้งไข่ใส่พื้นที่ทางทหารกัมพูชา บริเวณปราสาทตาควายด้วย
สำหรับ กริพเพน (Gripen) คือ เครื่องบินขับไล่โจมตีสมรรถนะสูงจากสวีเดน ที่กำลังเป็นที่สนใจในสถานการณ์ระอุชายแดนไทยกัมพูชานี้ ส่วนเมื่อถามว่าเครื่องบินกริพเพนไทยมีกี่ลํา ? คำตอบ ณ เวลานี้ คือ 12 ลำ อ้างอิงข้อมูลจากทีเอ็นเอ็นระบุ กองทัพอากาศไทยเลือกซื้อเครื่องบิน Gripen E/F จากสวีเดน รวม 12 ลำ มูลค่ากว่า 60,000 ล้านบาท แบ่งเป็นระยะแรก 4 ลำ เป็นเงิน 19,500 ล้านบาท
ปฏิบัติการประวัติศาสตร์ของกองทัพอากาศไทย เครื่องบินกริพเพนไทย รบครั้งแรกในโลก
เครื่องบินขับไล่ กริพเพน (Gripen) ถือเป็นหนึ่งในเครื่องบินรบที่โดดเด่นด้วยขนาดกะทัดรัดแต่เต็มไปด้วยเทคโนโลยีล้ำสมัย มีความคล่องตัวสูง และได้รับการออกแบบมาเพื่อตอบสนองภารกิจที่หลากหลาย สามารถปฏิบัติการได้หลากหลายภารกิจ ทั้งขับไล่ สกัดกั้น โจมตี และลาดตระเวน
ล่าสุด กริพเพน สร้างประวัติศาสตร์ด้วยการถูกใช้งานในภารกิจจริงเป็นครั้งแรกของโลก โดยกองทัพอากาศไทยในปฏิบัติการ Battlefield Air Interdiction (BAI) ซึ่งเป็นการโจมตีเป้าหมายภาคพื้นดินอย่างแม่นยำ เทคโนโลยีที่ทำให้กริพเพนล้ำสมัย
กริพเพนมาพร้อมกับเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สุดในยุคนี้ ดังนี้
- ขีปนาวุธ Metoer : รองรับขีปนาวุธที่มีพิสัยยิงไกลกว่า 150 กิโลเมตร ช่วยให้สามารถโจมตีเป้าหมายจากระยะไกลได้อย่างปลอดภัย
- เรดาร์ AESA : ระบบเรดาร์ขั้นสูงที่สามารถตรวจจับเป้าหมายได้ไกลถึง 200 กิโลเมตร และติดตามเป้าหมายหลายเป้าหมายพร้อมกันแบบเรียลไทม์ ไม่ว่าจะอยู่บนพื้นดิน ทะเล หรือในอากาศ และทำงานได้ดีในทุกสภาพอากาศ
- ระบบดาต้าลิงก์ : ไทยสามารถพัฒนาและต่อยอดระบบนี้ได้เอง เพิ่มขีดความสามารถในการประสานงานและส่งข้อมูลระหว่างเครื่องบิน
- ความสามารถในการโจมตีก่อนถูกตรวจจับ: เทคโนโลยีนี้มีประสิทธิภาพเทียบเท่าเครื่องบินรบ F-35 ทำให้กริพเพนสามารถเฝ้าระวังและตอบโต้ภัยคุกคามได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ(สำหรับกริพเพนรุ่นใหม่)
- ความคล่องตัวและเทคโนโลยีเหล่านี้ทำให้กริพเพนเป็นเครื่องบินรบที่ทั้งน่าเกรงขามและมีประสิทธิภาพสูงในสนามรบ
กองทัพอากาศไทยได้นำกริพเพนมาใช้ในภารกิจ “Battlefield Air Interdiction” ซึ่งเป็นการโจมตีเป้าหมายจริงครั้งแรกของเครื่องบินรุ่นนี้ในโลก โดยเป้าหมายคือกำลังทหารของกัมพูชา รายละเอียดของปฏิบัติการมีดังนี้
– ภารกิจ โจมตียุทธบริเวณ “ภูมะเขือ” เพื่อสกัดกั้นอาวุธวิถีโค้งของกัมพูชาและโจมตีอีกจุดที่ปราสาทตาเมือนธม
– กำลังพล กองทัพอากาศไทยส่งกริพเพน 2 ลำ ร่วมกับเครื่องบิน F-16 อีก 2 ลำ รวมทั้งหมด 4 ลำ
– ผลลัพธ์ปฏิบัติการสำเร็จลุล่วง เครื่องบินทั้งหมดกลับสู่ฐานปฏิบัติการด้วยความปลอดภัย
เหตุการณ์นี้ thaiarmedforce.com ระบุว่า การใช้กริพเพนในภารกิจนี้ถือเป็นครั้งแรกของโลกที่เครื่องบินรุ่นนี้ใช้อาวุธอากาศสู่พื้นต่อเป้าหมายจริง สะท้อนถึงขีดความสามารถของทั้งตัวเครื่องบินและกองทัพอากาศไทยในการปฏิบัติภารกิจที่มีความท้าทายสูง
กริพเพนไทย มีกี่ลํา ?
อ้างอิงข้อมูลจากการจัดแถลงข่าวของกองทัพอากาศ เมื่อ 4 มิ.ย.68 เกี่ยวกับความพร้อมในการจัดหาเครื่องบินขับไล่โจมตีแบบกริพเพน รุ่น E และ F จำนวน 12 ลำ จากสวีเดน พร้อมระบบเรดาร์ใหม่-มิสไซล์ Meteor ส่งมอบ 3 ล็อต ล็อตแรก 4 ลำ ภายในปี 2572
การเปิดดีลซื้อขายเครื่องบินรบของไทยหนนั้น ยังเป็นการแสดงความมุ่งมั่นของกองทัพอากาศและสวีเดนในความร่วมมือระยะยาว เพราะโครงการนี้ไม่ได้เป็นเพียงการจัดหาเครื่องบิน แต่คือการลงทุนในความมั่นคงของประเทศและความสามารถในการป้องกันอธิปไตยทางอากาศในระยะยาว
ทั้งนี้ เหตุผลหลักของการจัดหาเครื่องบินขับไล่โจมตีรุ่นใหม่ คือเพื่อทดแทน F-16 ที่ประจำการมากว่า 37 ปี ที่จะทยอยปลดประจำการในช่วงปี 2571–2578 หากไม่ดำเนินการ จะกระทบต่อความพร้อมในการป้องกันประเทศ
ขณะเดียวกันกองทัพอากาศได้ดำเนินการตามกระบวนการที่เข้มงวด โปร่งใส และรอบคอบ โดยมีการตั้งคณะกรรมการจากหลายฝ่าย เพื่อพิจารณาความเหมาะสมทั้งด้านขีดความสามารถ ความคุ้มค่า และราคาประกอบกัน ซึ่งผลการพิจารณาสรุปว่า เครื่องบิน Gripen E/F เป็นแบบที่ตรงตามความต้องการของกองทัพอากาศมากที่สุด
มีการชดเชยการนำเข้ายุทโธปกรณ์ (Defence Offset) รวมมูลค่ากว่า 100,000 ล้านบาท หรือ 154.6% ของมูลค่าโครงการ เช่น
- การถ่ายทอดเทคโนโลยี Tactical Data Link (Link-T)
- การพัฒนาบุคลากรและอุตสาหกรรมป้องกันประเทศในประเทศ รวมถึงความร่วมมือด้านการศึกษาและวิจัยกับสวีเดน
คลิป : สำนักข่าวไทย
อ่านข่าวเพิ่มเติม