โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ต่างประเทศ

คุกตวลสเลง-ทุ่งสังหารเขมรแดง ‘มรดกเลือด’ สู่ ‘มรดกโลก’ บทเรียนที่โลกจารึก

TODAY

อัพเดต 38 นาทีที่แล้ว • เผยแพร่ 7 ชั่วโมงที่ผ่านมา • workpointTODAY

‘มรดกโลก’ ในภาพจำของใครหลายคน มักหมายถึงโบราณสถานงดงาม สิ่งปลูกสร้างทรงคุณค่า อาหาร ประเพณี หรือวัฒนธรรมที่สะท้อนความรุ่งเรืองและอัจฉริยภาพของมนุษย์ในอดีต
ไม่บ่อยนักที่ ‘บาดแผล’ ในประวัติศาสตร์จะได้รับการจารึกในฐานะมรดกของโลก ไม่ใช่เพื่อเชิดชูความโหดร้าย แต่เพื่อเตือนใจมนุษยชาติไม่ให้เดินย้อนกลับไปในเส้นทางเดิม
ทว่าครั้งนี้ องค์การยูเนสโก (UNESCO) ได้ทำสิ่งนั้น ด้วยการขึ้นทะเบียนสถานที่ที่เคยถูกตราหน้าว่าเป็น ‘ขุมนรกบนดิน’ อย่าง เรือนจำตวลสเลง (Tuol Sleng Genocide Museum), ทุ่งสังหารเจืองเอ็ก (Choeung Ek Genocidal Centre) และเรือนจำ M-13 ให้เป็นมรดกโลกอย่างเป็นทางการ
ทำไมสถานที่เหล่านี้ถึงควรค่าแก่การจดจำ? คำตอบอยู่ในประวัติศาสตร์ยุคเขมรแดง ยุคที่ผู้คนหายตัวไปเพียงเพราะเป็นปัญญาชน หรือพูดผิดคำเดียว ยุคที่ความทรงจำกลายเป็นสิ่งต้องห้าม
เรื่องราวของตวลสเลง เจืองเอ็ก และ M-13 ไม่ได้มีเพียงความเจ็บปวด หากแต่คือบทเรียนสำคัญที่โลกต้องจำ และนี่คือการเดินทางจาก ‘มรดกเลือด’ สู่ ‘มรดกโลก’ ที่โลกต้องจารึกไว้
1. ย้อนกลับไปช่วงทศวรรษ 1970 ผืนแผ่นดินกัมพูชาไม่ได้งดงามอย่างที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ หากแต่เต็มไปด้วยความวุ่นวายจากอิทธิพลสงครามเวียดนามและการทิ้งระเบิดของสหรัฐฯ
2. ท่ามกลางความโกลาหลนั้น กลุ่มเคลื่อนไหวฝ่ายซ้ายสุดโต่งที่เรียกตัวเองว่า ‘เขมรแดง’ (Khmer Rouge) ภายใต้การนำของ ‘พล พต’ ได้ฉวยโอกาสเร่งสร้างแนวร่วม ปลุกระดมประชาชน เพื่อก้าวขึ้นสู่อำนาจ
3. เขมรแดงเคลื่อนไหวอยู่ไม่กี่ปี ก็สามารถโค่นล้มรัฐบาลของ จอมพลลอน นอล และยึดกรุงพนมเปญได้สำเร็จในวันที่ 17 เมษายน 1975
4. ทันทีที่เข้ายึดอำนาจ พวกเขาประกาศเริ่มต้น ‘ปีศูนย์’ (Year Zero) เพื่อ ‘ล้างอดีต’ สร้างสังคมในอุดมคติที่ไร้ชนชั้น
ประชาชนในเมืองกว่า 2 ล้านคนถูกบังคับให้อพยพไปชนบท เพื่อทำงานเกษตรกรรมท่ามกลางความอดอยากและขาดแคลนยา
5. ช่วงเวลานั้นถือว่าเป็นยุคมืดในประวัติศาสตร์กัมพูชาอย่างแท้จริง ใครก็ตามที่ถูกมองว่าเป็น ‘ศัตรูของการปฏิวัติ’ กลุ่มปัญญาชน คนที่มีความรู้ หรือแม้แต่คนที่สวมแว่นตา ต่างก็ตกเป็นเป้าหมายการจับกุม ทรมาน และประหารชีวิตอย่างไร้ความปรานี
โดยเฉพาะอดีตหมอ ครู ข้าราชการ นักการเมือง ถูกจัดว่าเป็น “คนเก่า” หรือ “ศัตรูทางชนชั้น” ที่ต้องถูก “ชำระล้าง” ผู้คนจำนวนมากเสียชีวิตระหว่างการอพยพ หรือล้มตายเพราะการใช้แรงงานหนักเกินกำลัง
6. แต่สำหรับผู้ที่ถูกสงสัยว่าคิดต่อต้านหรือเคยมีสายสัมพันธ์กับระบอบเก่า พวกเขาไม่ได้ถูกปล่อยให้หายไปเฉยๆ หากแต่ถูกส่งตัวไปยังสถานที่ที่เลวร้ายยิ่งกว่า สถานที่ที่เขมรแดงสร้างขึ้นอย่างจงใจ เพื่อทำการ ‘ชำระล้าง’ สังคมให้บริสุทธิ์ตามอุดมคติอันโหดเหี้ยม
และที่นั่นเอง คือจุดเริ่มต้นของโครงข่ายเรือนจำและศูนย์ทรมาน ที่วันนี้กลายเป็นสัญลักษณ์ของ ‘ความโหดร้าย’ และกระบวนการ ‘ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์’ ที่โลกไม่มีวันลืม
7. จุดเริ่มต้นของขุมนรกเหล่านั้น คือเรือนจำลับชื่อ M-13 ซึ่งถูกตั้งขึ้นตั้งแต่ก่อนที่เขมรแดงจะยึดกรุงพนมเปญได้สำเร็จ
ที่นี่ไม่ใช่แค่คุกธรรมดา แต่เป็นสนามซ้อมมือของระบบแห่งความหวาดกลัว ที่ใช้ทดสอบวิธีการกักขัง ทรมาน และสอบสวน ทั้งฝ่ายตรงข้ามและพวกเดียวกันที่ถูกกล่าวหาว่าทรยศ
8. ไม่นานหลังจากนั้น โรงเรียนมัธยมธรรมดาใจกลางกรุงพนมเปญที่ชื่อ ‘ตวลซวายเปรย์’ ก็ถูกแปลงโฉมเป็น ‘S-21’ หรือเรือนจำตวลสเลง
ที่นี่ไม่ได้สอนเลข วิทย์ หรือภาษาอังกฤษอีกต่อไป แต่กลายเป็น ‘โรงเรียนแห่งความตาย’ ที่โหดร้ายที่สุดในระบบ
9. ภายใต้การควบคุมของ ‘ดุช’ (Duch) เรือนจำตวลสเลงกลายเป็นศูนย์กลางการสอบสวนทรมานอย่างเป็นระบบ นักโทษที่ถูกส่งเข้ามา ไม่ว่าจะเป็นเด็ก ผู้หญิง ชายหนุ่ม หรือชาวต่างชาติ ล้วนต้องเผชิญ ‘บทเรียนบังคับสารภาพ’ ด้วยความเจ็บปวดสาหัส
ข้อหายอดฮิตคือเป็นสายลับ CIA, KGB หรือเวียดนาม โดยไม่ต้องมีหลักฐานหรือโอกาสแก้ต่าง
10. ทุกการทรมานต้องจบด้วย ‘คำสารภาพ’ ที่ถูกเขียนอย่างละเอียด ภาพถ่ายของนักโทษถูกจัดเก็บอย่างเป็นระบบ ราวกับเป็นเอกสารราชการ
เสียงกรีดร้องจากการถูกทุบตี ใช้ไฟฟ้าช็อต หรือวิธีสุดแสนจะทารุณ ดังก้องอยู่ในความทรงจำของกำแพงเหล่านั้น จวบจนทุกวันนี้
11. เชื่อกันว่ามีนักโทษอย่างน้อย 12,00 – 20,000 คน ถูกนำตัวมาคุมขัง และทรมานในเรือนจำแห่งนี้ แต่มีเพียงไม่กี่คนเท่านั้นที่ได้เดินออกไป
ส่วนนักโทษส่วนใหญ่ เมื่อยอมจำนนสารภาพในสิ่งที่ตัวเองไม่ได้ก่อ ก็จะถูกส่งต่อไปยัง ‘ทุ่งสังหารเจืองเอ็ก’ ที่อยู่ห่างจากกรุงพนมเปญออกไปไม่ไกล ที่นี่คือ ‘ลานประหารชีวิต’ และ ‘หลุมฝังศพขนาดใหญ่’
12. ที่เจืองเอ็ก ไม่มีปืน ไม่มีศาล ไม่มีคำตัดสิน มีเพียงจอบ ไม้ หรือใบไม้มีคมที่ถูกนำมาใช้เป็นอาวุธปลิดชีพ เพื่อประหยัดกระสุน เด็กเล็กบางคนถูกจับฟาดกับต้นไม้ก่อนโยนลงหลุมฝังศพ
ศพมากมายถูกกลบด้วยสารเคมี เพื่อกลบกลิ่นและลบหลักฐาน
13. ทุกอย่างนี้เกิดขึ้นภายใต้ม่านแห่งความเงียบ ไม่มีสื่อ ไม่มีการตรวจสอบ ไม่มีโลกภายนอกรับรู้
ตลอดเวลาเกือบ 4 ปี มีผู้เสียชีวิตราว 1.7 ล้านคน หรือคิดเป็นหนึ่งในสี่ของประชากรกัมพูชา จากการประหาร อดอาหาร ใช้แรงงานหนัก และทรมานอย่างเป็นระบบ
14. กระทั่งความจริงปรากฏ เมื่อกองทัพเวียดนามบุกเข้ากรุงพนมเปญในปี 1979 สิ่งที่พบคือหลุมศพหมู่หลายร้อยหลุม โครงกระดูกและเสื้อผ้าที่กระจัดกระจาย หลักฐานที่ตะโกนบอกโลกถึงความโหดร้ายแบบที่ใครก็จินตนาการไม่ออก
แม้เวลาจะล่วงเลยเกือบครึ่งศตวรรษ แต่ความโหดร้ายยังฝังลึกในความทรงจำของกัมพูชาและมนุษยชาติ
15. เรือนจำตวลสเลงถูกเปลี่ยนให้กลายเป็น ‘พิพิธภัณฑ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์’ ที่ยังคงรักษาสภาพเดิมไว้ให้ผู้คนเห็นความจริงอย่างไม่ตัดต่อ
ขณะที่ทุ่งสังหารเจืองเอ็กก็กลายเป็นอนุสรณ์สถาน ที่มีสถูปเจดีย์บรรจุหัวกะโหลกเหยื่อหลายพันกะโหลก เพื่อรำลึกถึงผู้สูญเสีย และเตือนใจคนรุ่นหลัง
16. ผู้นำเขมรแดงที่ยังมีชีวิตอย่าง ‘ดุช’ ถูกนำขึ้นศาลพิเศษในกัมพูชา และถูกตัดสินว่ากระทำ ‘อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ’ เป็นการส่งสารสำคัญว่า ไม่มีใครควรลอยนวลเมื่อมีเลือดของประชาชนติดอยู่บนมือ
17.เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2025 องค์การยูเนสโกขึ้นทะเบียนตวลสเลง เจืองเอ็ก และ M-13 เป็น ‘มรดกโลก’ อย่างเป็นทางการ ไม่ใช่เพื่อเชิดชูสถานที่ทางกายภาพ แต่เป็นการรับรองความเจ็บปวดในระดับสากล ตอกย้ำว่าโศกนาฏกรรมครั้งนี้เคยเกิดขึ้นจริง และต้องไม่ถูกลืม
18. การยอมรับสถานที่เหล่านี้เป็นมรดกของโลก คือการประกาศก้องว่ามนุษยชาติจะไม่ยอมให้มันเกิดขึ้นอีก การเปลี่ยน ‘มรดกเลือด’ ที่เคยเป็นสัญลักษณ์ความตายและความโหดร้าย สู่ ‘มรดกโลก’ ที่เป็นสถานที่แห่งสันติภาพและการไตร่ตรอง
19 นี่จึงไม่ใช่แค่การขึ้นทะเบียน แต่มันคือคำมั่นจากมนุษยชาติว่า แม้ประวัติศาสตร์จะเจ็บปวดเพียงใดการจดจำและเรียนรู้จากมัน คือก้าวสำคัญสู่อนาคตที่ปลอดจากความรุนแรงและเต็มไปด้วยสันติภาพอย่างแท้จริง
20. และในวันที่สงครามยังปะทุในหลายมุมโลก มรดกจากความเจ็บปวดเหล่านี้อาจคือกระจกที่สะท้อนคำถามว่า มนุษยชาติได้เรียนรู้อะไรจากอดีตบ้างแล้วหรือยัง?

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก TODAY

ฮุนได พลิกโฉมวงการ SUV ไทย! เปิดตัว “The all-new SANTA FE” ชูดีไซน์ Boxy พร้อมสร้างมาตรฐานใหม่ที่เหนือกว่า

3 ชั่วโมงที่ผ่านมา

‘ร้านเบอร์อัปมงคล’ แฉเบอร์มิจฉาชีพ จากฐานข้อมูล Whoscall

5 ชั่วโมงที่ผ่านมา

“พลังคุณ…ทำได้กว่าที่คิด” แคมเปญใหม่ TCP ที่เชื่อในพลังของคน และพลังของแบรนด์เพื่อสังคม

6 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ลงทุน ‘หุ้นกู้’ ก็เสี่ยง ครึ่งปีแรก 2568 เบี้ยวหนี้กว่า 1.9 หมื่นล้าน

6 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความต่างประเทศอื่น ๆ

ทรัมป์ประกาศบรรลุข้อตกลงกับอินโดนีเซียในสงครามภาษี

ไทยโพสต์

จักษุแพทย์ชี้สาเหตุ “ตาแห้ง” ที่ทุกคนมองข้าม แนะล้างเปลือกตาทุกวัน

เดลินิวส์

มาเลย์เก็บกู้ระเบิด 226 กิโลกรัมสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง-ชาวบ้านเจอขณะถางป่า

Khaosod

‘โคลอมเบีย-แอฟริกาใต้’ เปิดเวทีต้านอิสราเอล 20 ชาติจ่อใช้ “กฎหมายระหว่างประเทศ” เอาผิดยิว

THE STATES TIMES

ขุนแผนลอนดอน นอนกับผู้หญิง 1000 คน เตือนหนุ่มที่อยากลอง “ไม่คุ้มเลย”

Thaiger

อดีตพลเมืองสหรัฐฯ ได้รับสัญชาติรัสเซีย หลังช่วยกองกำลังหมีขาว!! ลอบส่งพิกัดโจมตียูเครน

THE STATES TIMES

"กัมพูชา" โพสต์แจงปม "ปราสาทตาเมือนธม" ชี้ ทหารไทยเริ่มก่อน ทำพฤติกรรมไม่เหมาะสม

THE ROOM 44 CHANNEL

ผู้ส่งสินค้าไทยในกัมพูชาเล็งเปลี่ยนเส้นทางขนส่งผ่าน "ลาว"

Thai PBS

ข่าวและบทความยอดนิยม

ท่ามกลางเกมยั่วยุ ไทยต้องอดกลั้น

TODAY

ส่องเศรษฐกิจการค้าชายแดน ‘ไทย-กัมพูชา’ มูลค่าหลักแสนล้าน

TODAY

ผลลัพธ์กดดันกัมพูชา คดีลวงออนไลน์-ค้ามนุษย์ลดลงทันที กาสิโนปอยเปตเงียบเหงา

TODAY
ดูเพิ่ม
Loading...