โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

เศรษฐกิจโลกเริ่มไม่สดใส เศรษฐกิจไทยเสี่ยงภาษี ลงทุนอย่างไร

Thairath Money

อัพเดต 6 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 7 ชั่วโมงที่ผ่านมา
ภาพไฮไลต์

หลังจากผ่านช่วงสงครามการค้าที่ตึงเครียด สถานการณ์การค้าโลกเริ่มชัดเจนขึ้น โดยมีข้อตกลงการค้าสหรัฐฯ-จีนที่ลดภาษีอย่างมีนัยสำคัญ และการชะลอมาตรการภาษีของสหรัฐฯ สู่วันที่ 1 สิงหาคม ส่งผลให้การส่งออกไทยเดือนพฤษภาคม 2568 เร่งตัวขึ้นถึง 18.4% โดยได้รับแรงหนุนจากการเร่งสั่งซื้อสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องจักรกลก่อนมาตรการภาษีใหม่

อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจโลกในขณะนี้เผชิญกับความซับซ้อนที่เพิ่มขึ้น เศรษฐกิจจีนยังคงเติบโตได้ต่อเนื่องในไตรมาส 2 ที่ 5.2% จากมาตรการกระตุ้นของรัฐบาลและการเน้นการส่งออก แต่ในประเทศเริ่มชะลอลงอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะยอดค้าปลีกที่เติบโตเพียง 4.8% ต่ำกว่าคาดการณ์ และการลงทุนสินทรัพย์ถาวรโต 2.8% โดยเฉพาะด้านอสังหาริมทรัพย์ที่ยังคงวิกฤติต่อเนื่อง สะท้อนความเสี่ยงในระยะยาวที่จีนต้องพึ่งพามาตรการกระตุ้นทางการคลังอย่างต่อเนื่อง

ขณะที่เศรษฐกิจสหรัฐเริ่มชะลอลง ทั้งยอดค้าปลีกและการจ้างงานที่อ่อนแอลง และที่น่าเป็นห่วงคือเงินเฟ้อเดือนมิถุนายนเพิ่มขึ้นเป็น 2.7% จาก 2.4% ในเดือนก่อน ขณะที่เงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ 2.9% โดยราคาสินค้าที่ได้รับผลกระทบจากภาษี เช่น เฟอร์นิเจอร์ ของเล่น และเสื้อผ้า เพิ่มขึ้น บ่งชี้ว่าภาษีศุลกากรเริ่มส่งผลต่อราคาสินค้าอุปโภคบริโภค สร้างสถานการณ์ Mild Stagflation ที่ทำให้การลดดอกเบี้ยนโยบายของเฟดมีความยากลำบากมากขึ้น

ความไม่แน่นอนยังคงมีอยู่สูง เมื่อสหรัฐฯ ประกาศคงอัตราภาษีตอบโต้ (Reciprocal tariff) สินค้าจากไทยไว้ที่ระดับ 36% ในจดหมายลงวันที่ 7 กรกฎาคม ในขณะที่ประเทศคู่แข่งสำคัญอย่างอินโดนีเซียได้รับอัตราภาษีเพียง 19% หลังจากการเจรจาล่าสุด ซึ่งอาจทำให้ไทยสูญเสียความสามารถในการแข่งขันได้

จากรูปแบบการเจรจาของอินโดนีเซียและเวียดนาม พบว่าทั้งสองประเทศต่างยอมตกลงลดภาษีนำเข้าจากสหรัฐฯ เป็นศูนย์เปอร์เซ็นต์เกือบทุกสินค้า และเพิ่มการสั่งซื้อสินค้าจากสหรัฐฯ อย่างมีนัยสำคัญ

โดยอินโดนีเซียยอมซื้อพลังงาน 15,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สินค้าเกษตร 4,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และเครื่องบินโบอิ้ง 50 ลำ ขณะที่เวียดนามก็มีข้อตกลงในลักษณะเดียวกัน

หากไทยไม่สามารถใช้เงื่อนไขเดียวกันได้ โอกาสที่จะโดนภาษีในระดับสูงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ทำให้รัฐบาลไทยอาจต้องพิจารณาลดภาษีนำเข้าจากสหรัฐฯ เหลือศูนย์ในแทบทุกสินค้า รวมถึงเพิ่มการนำเข้าจากสหรัฐฯ ให้มากขึ้นในหมวดสินค้าหลัก เช่น เครื่องมือเครื่องจักร เครื่องจักรกลการเกษตร และสินค้าทุนต่างๆ รวมถึงเครื่องบิน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อโครงสร้างการค้าและอุตสาหกรรมไทยอย่างมีนัยสำคัญ

จากการวิเคราะห์ผลของสงครามการค้าต่อเศรษฐกิจไทย หากภาษีนำเข้าอยู่ในระดับ 21-36% เศรษฐกิจไทยอาจขยายตัวชะลอลง หรือแม้แต่อาจหดตัวได้ ซึ่งหมายความว่า เรามีโอกาสค่อนข้างสูงที่จะเข้าสู่ภาวะถดถอยทางเทคนิค

อุตสาหกรรมที่จะได้รับผลกระทบหนักที่สุดคือกลุ่มอาหารแปรรูป (จ้างงาน 2.7 แสนคน) เครื่องหนัง สิ่งทอ และชิ้นส่วนยานยนต์ (จ้างงาน 4 แสนคน) ซึ่งล้วนเป็นอุตสาหกรรมที่มีการจ้างงานจำนวนมาก การปิดกิจการจะส่งผลให้เกิดการตกงานในวงกว้าง และกระทบต่อกำลังซื้อในประเทศ

นอกจากนั้น ยังอาจได้รับผลกระทบจากกลุ่ม import flooding หรือที่โดนทุ่มตลาดจากจีน เช่น เครื่องนุ่งห่ม เฟอร์นิเจอร์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งตามข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย ภาคเหล่านี้จ้างงานรวมกว่า 7.4 แสนคน

ด้านการท่องเที่ยว ในครึ่งแรกของปี นักท่องเที่ยวจีนลดลงถึง 1/3 ทำให้นักท่องเที่ยวโดยรวมหดตัวกว่า 4.2% ผลจากปัญหาแก๊งคอลเซ็นเตอร์ในเมียนมาที่ทำให้นักท่องเที่ยวจีนหวาดกลัว แม้ว่านักท่องเที่ยวจากตะวันตกจะฟื้นตัวได้ดี แต่การกระจายตัวของรายได้ท่องเที่ยวลดลง

การเบิกจ่ายงบประมาณในส่วนของงบลงทุนปีงบประมาณ 2568 ปัจจุบันอยู่ที่ 35.1% ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในอดีตที่ 41.7% หากรัฐบาลมีความเสี่ยงจากวิกฤติการเมืองที่กำลังทวีความรุนแรงขึ้น ก็จะยิ่งทำให้สามารถเร่งการเบิกจ่ายและโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ล่าช้าได้

สัญญาณที่น่าเป็นห่วงคือการเข้าสู่ภาวะเงินฝืด เงินเฟ้อล่าสุดติดลบ -0.25% เป็นเดือนที่สาม ขณะที่ธนาคารแห่งประเทศไทยคาดการณ์เงินเฟ้อปี 2568-2569 อยู่ที่ 0.5%-0.8% ต่ำกว่ากรอบเป้าหมาย 1-3% อย่างชัดเจน

สัญญาณจากพันธบัตร 3 เดือน-15 ปีที่ต่ำกว่าดอกเบี้ยนโยบายและเกิด Inverted Yield Curve บ่งชี้ว่าตลาดมองนโยบายการเงินตึงเกินไป ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงน่าจะลดดอกเบี้ยอย่างรวดเร็ว รุนแรง และเร่งด่วนเพื่อป้องกันเศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอย

ท่ามกลางความท้าทายที่หนักหน่วง SET ที่บริเวณต่ำกว่า 1100 จุด คิดเป็น PER ปี 2568 ต่ำกว่า 12 เท่า ยังเป็นจุดที่เหมาะสมสำหรับนักลงทุนระยะกลาง-ยาว โดยประเมิน downside ของ SET มีโอกาสลงไปทดสอบบริเวณ 1080/1056 จุด แต่ในระดับดังกล่าวถือเป็นโซนที่เหมาะสำหรับการสะสมหุ้น

กลยุทธ์ลงทุนที่แนะนำคือ "Selective Buy" โดยมุ่งเน้นหุ้นที่มีปัจจัยบวกเฉพาะตัวและสามารถต้านทานความผันผวนได้ ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ธีมหลักและ 3 ธีมเทรดดิ้ง

สำหรับธีมหลัก เริ่มจากหุ้น Earning Play ที่โมเมนตัมกำไรยังเติบโตแข็งแกร่ง โดยไตรมาส 2 ปี 2568 คาดกำไรปกติจะเติบโตได้ทั้ง YoY และ QoQ ขณะที่ไตรมาส 3 ปี 2568 คาดกำไรยังเติบโต YoY ได้ ทำให้หุ้นกลุ่มนี้น่าสนใจ เช่น ADVANC BCH CBG CPALL SCCC ที่มีแนวโน้มผลการดำเนินงานที่ดีต่อเนื่อง

ธีมที่สองคือหุ้น Defensive ที่ผันผวนต่ำและผลการดำเนินงานต้านทานความเสี่ยงภายนอกได้ดี มีผลกระทบจำกัดจากปัจจัยภายในและภายนอก อีกทั้งยังมีศักยภาพจ่ายปันผลสม่ำเสมอ หุ้นที่น่าสนใจ ได้แก่ ADVANC BCH DIF ซึ่งเป็นหุ้นที่มีความมั่นคงในการดำเนินธุรกิจ

ธีมที่สามคือหุ้นปันผลคุณภาพดี โดยเฉพาะ SET50 ที่มี SETESG Rating A ขึ้นไป เพื่อสร้างกระแสเงินสดให้แก่พอร์ตลงทุนในระยะสั้น โดยคาดจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลจากกำไรครึ่งปีแรก 2568 และให้ Dividend Yield เกิน 2% เช่น ADVANC BBL PTT

ส่วนธีมเทรดดิ้งสำหรับนักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้สูงและต้องการเก็งกำไร ธีมแรกคือหุ้น Undervalue ที่มี PER และ PBV ต่ำกว่า -1 Standard Deviation และคาดให้ Dividend Yield ไม่ต่ำกว่าปีละ 3% เช่น BBL BCPG BDMS CPALL DIF PTT SIRI TIDLOR ซึ่งเป็นหุ้นที่ถูกประเมินค่าต่ำกว่าศักยภาพ

ธีมที่สองคือหุ้นท่องเที่ยวที่มีโอกาสได้ประโยชน์จากมาตรการกระตุ้นท่องเที่ยวไทย โดยเฉพาะการยกเลิกค่าเหยียบแผ่นดินชั่วคราวและมาตรการอื่นๆ ที่อาจตามมา เช่น ERW CENTEL AAV ที่จะได้รับประโยชน์โดยตรงจากการฟื้นตัวของภาคท่องเที่ยว

ธีมสุดท้ายคือหุ้นที่คาดฟื้นตัวเร็ว หากเชื่อว่าการเจรจาจะทำให้สหรัฐฯ พิจารณาปรับลดภาษีไทยลงมาอยู่ที่ระดับ 20% หรือต่ำกว่า ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับหุ้นที่เกี่ยวข้องกับการส่งออกและการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ เช่น AMATA GPSC WHA ที่เป็นหุ้นนิคมอุตสาหกรรมและสาธารณูปโภค

สถานการณ์การเมืองที่ไม่แน่นอนและคดีความของนายกรัฐมนตรีทำให้เสถียรภาพการเมืองมีความไม่แน่นอนเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนและการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจที่สำคัญ โดยเฉพาะการผ่านงบประมาณ 2569 ที่หากล่าช้าอาจทำให้ GDP โต 0.5% น้อยลงจากแผน

ในระยะสั้น ตลาดหุ้นไทยอาจมีความผันผวนจากปัจจัยการเมือง สำหรับนักลงทุน ควรติดตามพัฒนาการทางการเมืองใกล้ชิด รวมถึงความคืบหน้าของการเจรจากับสหรัฐฯ และการผ่านงบประมาณ 2569 ที่จะเป็นปัจจัยสำคัญต่อทิศทางเศรษฐกิจไทยในช่วงที่เหลือของปี

ขอให้นักลงทุนโชคดี

อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : เศรษฐกิจโลกเริ่มไม่สดใส เศรษฐกิจไทยเสี่ยงภาษี ลงทุนอย่างไร

ข่าวอื่นที่เกี่ยวข้อง

ตามข่าวก่อนใครได้ที่
- Website : www.thairath.co.th
- LINE Official : Thairath

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก Thairath Money

ราคาทองวันนี้ล่าสุด 19 กรกฎาคม 2568 ราคาปรับเพิ่มขึ้น 50 บาท ราคาทองรูปพรรณ บาทละ 52,200 บาท

6 ชั่วโมงที่ผ่านมา

เปิดโผ TOP 50 "มูลค่าแบรนด์สูงสุด" ปี 2025 แบรนด์จีนมาแรง ChatGPT ขึ้นแท่นดาวรุ่ง

6 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความธุรกิจ-เศรษฐกิจอื่น ๆ

คมนาคม ดัน AEROSkyจัดระเบียบโดรนทั่วประเทศ เริ่มนำร่อง ส.ค. 68

การเงินธนาคาร

วิทัย รัตนากร เผย เศรษฐกิจไทยซึม ต้องเร่งแก้ปัญหาเชิงโครงสร้าง

การเงินธนาคาร

David Autor เตือน: โลกอนาคตอาจไม่ใช่ Wall-E แต่เป็น Mad Max

The Better

LOFT แฟลกชิพสโตร์คอนเซ็ปต์ใหม่ล่าสุดที่สยามพารากอน สะท้อนพลังความคิดสร้างสรรค์ผ่าน “New Yellow New Vibes” แห่งแรกในโลก รวมสินค้าดีไซน์ล้ำ และไอเทมเอ็กซ์คลูซีฟจากญี่ปุ่น และทั่วโลก

Manager Online

“เวียตเจ็ทไทยแลนด์”เปิดบินตรง กรุงเทพฯ – โกลกาตา ตั๋วโปรฯ เริ่มต้น 0 บาท

Manager Online

“วิทัย” เตือนเศรษฐกิจไทยซึมยาว หนี้ครัวเรือน-สังคมสูงวัย-ขีดแข่งขันถดถอย

อีจัน

ไทยเนื้อหอม กองถ่ายหนังต่างชาติ อัดฉีดเศรษฐกิจไทยโตเกือบ 3 พันล้าน

Amarin TV

ทริสมองTariffกระทบหุ้นกู้วงจำกัด-ชี้ภาพรวมศก.'ลงทุน-บริโภคหด'เสี่ยงกว่า

Manager Online

ข่าวและบทความยอดนิยม

“ภาษีทรัมป์” 36% ถล่มหุ้นไทย ลุ้น 1 ส.ค. ข้อเสนอถูกใจสหรัฐฯ เปิด 5 ความเป็นไปได้ แบบไหนเวิร์คสุด ?

Thairath Money

ส่งออกไทยจ่อวิกฤติ ภาษีทรัมป์กระแทก UOB คาดจีดีพีอาจติดลบ หากภาษีไม่ลด

Thairath Money

“พิชัย” มั่นใจ ทุกวิกฤตมีโอกาส จับมือเอกชนถอดรหัสนโยบายภาษี “ทรัมป์”

Thairath Money
ดูเพิ่ม
Loading...