โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธรรมะ

‘พระชั้นผู้ใหญ่’ เทียบ ‘จนท.รัฐระดับสูง’ มีอำนาจ-มีเงินเดือน แต่ ป.ป.ช. ตรวจสอบทรัพย์สินไม่ได้

เดลินิวส์

อัพเดต 20 กรกฎาคม 2568 เวลา 20.39 น. • เผยแพร่ 4 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เดลินิวส์
นักวิชาการธรรมศาสตร์ หนุนรัฐใช้กฎกระทรวงคุมเข้มการเงินวัด ระบุตรงจุดปัญหาต้นตอศรัทธาสั่นคลอน เผยพระชั้นผู้ใหญ่เปรียบเหมือนเจ้าหน้าที่รัฐระดับสูง มีอำนาจมีเงินเดือน แต่ ป.ป.ช. ตรวจสอบไม่ได้ ระบุไทยมีกฎหมายคุมวัดถือเงินสดได้ไม่เกิน 1 แสน และต้องทำบัญชีรายรับ-จ่ายรายปี ตั้งแต่ 2564 แล้ว

สืบเนื่องจากกรณีที่ นายสุชาติ ตันเจริญ รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่าจะมีการนำกฎกระทรวงที่ทางสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) ได้จัดทำไว้แล้วมาบังคับใช้ โดยกำหนดให้วัดนำเงินรายได้ฝากเข้าบัญชีธนาคารในนามของวัด ควบคู่กับการจำกัดไม่ให้วัดถือเงินสดในวงเงินเกิน 1 แสนบาท และต้องทำบัญชีรายรับ รายจ่าย เพื่อรายงานต่อ พศ. ซึ่งจะดำเนินการตั้งแต่ 1 ตุลาคม 68 เป็นต้นไปน ขณะเดียวกันจะมีการเร่งร่างกฎหมายฉบับใหม่ เพื่อเพิ่มบทลงโทษทางอาญากับพระสงฆ์ที่กระทำผิดวินัยร้ายแรง เช่น กรณีเสพเมถุน ให้รับโทษทั้งจำคุกและปรับ

ผศ.ดร.กริช ภูญียามา อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) เปิดเผยว่า เห็นด้วยกับการออกประกาศบังคับใช้กฎกระทรวง เพื่อควบคุมค่าใช้จ่ายของวัด ถือเป็นแนวทางที่แก้ปัญหาได้ตรงจุด เพราะจะเห็นได้ว่าพระสงฆ์ที่ปรากฏเป็นข่าวในขณะนี้ล้วนเป็นพระระดับชั้นผู้ใหญ่ทั้งสิ้น ซึ่งมีต้นตอมาจากความไม่โปร่งใสในระบบการจัดการทรัพย์สินของวัดที่พระชั้นผู้ใหญ่มีอำนาจและสามารถเข้าถึงการบริหารจัดการทรัพย์สินโดยไม่มีการตรวจสอบ

ผศ.ดร.กริช กล่าวต่อไปว่า การออกกฎกระทรวงฯ เพื่อควบคุมเงินวัดนั้นสามารถทำได้ เนื่องจากวัดในพระพุทธศาสนามีสถานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายมหาชน ขณะที่พระสังฆาธิการ หรือ พระที่ดำรงตำแหน่งทางปกครองในคณะสงฆ์ ตั้งแต่ระดับเจ้าอาวาสไล่ขึ้นไปจนถึงสมเด็จพระสังฆราช พิจารณาในทางหลักการแล้ว ตำแหน่งเหล่านี้มิได้มีลักษณะแตกต่างจากเจ้าหน้าที่ของรัฐในฝ่ายบ้านเมืองเลย เพราะได้รับเงินเดือนหรือค่าตอบแทนจากรัฐที่เรียกว่า “นิตยภัต” ซึ่งมาจากงบประมาณแผ่นดินโดยตรง และประการสำคัญคือมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายที่จะให้คุณให้โทษในเรื่องต่างๆ ได้ อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาจากกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันแล้ว กลับยังมีความไม่ชัดเจนบางประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน ทั้งนี้ เพราะคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ตีความว่าพระไม่ถือเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐตามกฎหมาย ป.ป.ช. ส่งผลให้กระบวนการยื่นบัญชีและการตวจสอบทรัพย์สินและหนี้สินตามกฎหมายดังกล่าว ไม่อาจนำมาใช้กับบรรดาพระสังฆาธิการเหล่านี้ได้

ผศ.ดร.กริช กล่าวอีกว่าว่า เมื่อศึกษาข้อกฎหมายแล้วพบว่า กฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมทรัพย์สินของวัดนั้นมีอยู่แล้ว นั่นคือ “กฎกระทรวงการดูแลรักษาและจัดการศาสนสมบัติของวัด พ.ศ. 2564” ซึ่งระบุชัดเจนว่า วัดทุกแห่งสามารถเก็บเงินสดไว้ได้ไม่เกิน 1 แสนบาท ส่วนที่เหลือจะต้องนำฝากเข้าบัญชีธนาคารที่เปิดในนามของวัด นอกจากนี้กฎกระทรวงฉบับเดียวกันยังระบุให้วัดทุกแห่งต้องจัดทำบัญชีรายรับ รายจ่าย และต้องสรุปยอดรวมพร้อมคงเหลือในทุกสิ้นปีปฏิทินอีกด้วย

สำหรับการดำเนินงานตามกฎกระทรวงข้างต้น พศ. จะต้องเป็นหน่วยงานที่คอยให้คำแนะนำและตรวจสอบความถูกต้องในการปฏิบัติของวัดต่าง ๆโดยตามข้อ 10 ของกฎกระทรวงฉบับนี้กำหนดให้ พศ. เป็นผู้กำหนดแบบฟอร์มของบัญชี และแบบพิมพ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเป็นผู้ให้คำแนะนำแก่วัดในด้านการจัดทำทะเบียน การดูแล และการบริหารจัดการศาสนสมบัติอย่างเป็นระบบ

นักวิชาการธรรมศาสตร์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในขณะนี้สิ่งที่สมควรจับตามองคือแนวทางการจัดทำกฎหมายฉบับใหม่ในชื่อ “พ.ร.บ.การอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนา” ซึ่งมีสาระสำคัญคือการบัญญัติโทษทางอาญาทั้งโทษปรับและโทษจำคุกแก่พระภิกษุและสีกาที่ร่วมเสพเมถุนจนต้องอาบัติปาราชิก วัตถุประสงค์เพื่อป้องกันไม่ให้เหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นซ้ำอีก ส่วนตัวมีข้อสังเกตว่า หากจะมีการออกกฎหมายเช่นนั้นจริงก็เป็นเรื่องที่จะต้องใช้ความระมัดระวังอย่างยิ่ง โดยการบัญญัติกฎหมายที่มีโทษทางอาญาจะต้องใช้ถ้อยคำที่ชัดเจนปราศจากความคลุมเครือ เพราะโทษที่กฎหมายกำหนดไว้มีผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอย่างรุนแรง ทั้งนี้ มิพักต้องกล่าวถึงว่า ที่สุดแล้วประเด็นปัญหาซึ่งมีความพัวพันกับศีลธรรมอย่างมากเช่นนี้ สมควรถูกบัญญัติให้เป็นความผิดทางอาญาหรือไม่

“ผมมองว่าการออกกฎหมายลงโทษพระที่มีความสัมพันธ์กับสีกานั้น แม้จะดูเหมือนเป็นการจัดการกับพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม แต่ก็อาจเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ เพราะในหลายกรณี ต้นตอของปัญหาอยู่ที่ระบบการเงินของวัด ซึ่งเปิดช่องให้พระสังฆาธิการบริหารจัดการได้อย่างไม่มีกลไกการตรวจสอบที่เพียงพอ หากไม่แก้ไขเรื่องนี้ ปัญหาเดิมก็จะกลับมาอีก” ผศ.ดร.กริช กล่าว

ผศ.ดร.กริช กล่าวด้วยว่า นอกเหนือจากประเด็นการกำหนดโทษทางอาญาแก่พระภิกษุและสีกา ซึ่งกำลังอยู่ในความสนใจของผู้คนแล้ว พศ. ยังได้ใช้กระแสสังคมที่เกิดขึ้น ผลักดันให้มีการบัญญัติกฎหมายเอาผิดบุคคลซึ่งดูหมิ่น ล้อเลียน หรือบิดเบือนคำสอนของพระพุทธศาสนาไปในคราวเดียวกันด้วย ซึ่งถือเป็นเรื่องที่น่ากังวล เนื่องจากบทกฎหมายเช่นนี้อาจกลายเป็นเครื่องมือในการ “ปิดปาก” สาธารณชนในการตรวจสอบ วิพากษ์วิจารณ์ และให้ข้อเสนอแนะต่างๆ เกี่ยวกับกิจการทางพระพุทธศาสนา ซึ่งย่อมส่งผลกระทบต่อเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ตลอดจนหลักความโปร่งใสและตรวจสอบได้ในสังคมประชาธิปไตย

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก เดลินิวส์

จีนนำร่องตั้ง “สมาคมสำรวจห้วงอวกาศลึกสากล” ผลักดันความร่วมมือระดับโลก (คลิป)

15 นาทีที่แล้ว

‘นฤมล’ ย้ำไม่ต้องพิธีรีตอง ‘เด็ก-ครู’ วันหยุดไม่ต้องแต่งชุดรับ ขอลงพื้นที่แบบไม่เป็นภาระ

16 นาทีที่แล้ว

‘อนุสรณ์’ อัดฝ่ายค้านนับองค์ประชุมสภาพร่ำเพรื่อ

26 นาทีที่แล้ว

‘สมเด็จพระมหาธีราจารย์’ มอบกัปปิยภัณฑ์ให้กำลังใจทหารเหยียบทุ่นระเบิดบาดเจ็บ

29 นาทีที่แล้ว

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความธรรมะอื่น ๆ

‘นฤมล’ ย้ำไม่ต้องพิธีรีตอง ‘เด็ก-ครู’ วันหยุดไม่ต้องแต่งชุดรับ ขอลงพื้นที่แบบไม่เป็นภาระ

เดลินิวส์

‘สมเด็จพระมหาธีราจารย์’ มอบกัปปิยภัณฑ์ให้กำลังใจทหารเหยียบทุ่นระเบิดบาดเจ็บ

เดลินิวส์

เปิดเบื้องหลังการสึกของ ‘พระธรรมวชิรธีรคุณ’ เจ้าคณะผู้ปกครองเห็นหลักฐาน สั่งฟันทันที

เดลินิวส์

‘นฤมล’ จัดให้! เดินหน้าแก้เกณฑ์วิทยฐานะใหม่ แบ่งกลุ่มครูขอชัดเจน

เดลินิวส์

‘วัดนครสวรรค์’ ยัน ‘พระธรรมวชิรธีรคุณ’ สึก เป็นเรื่องส่วนตัว แจงเหตุสร้างพุทธอุทยานล่าช้า

เดลินิวส์

เปิดประวัติ ‘พระธรรมวชิรธีรคุณ-เจ้าคณะนครสวรรค์’ หลังทำเสื่อมเสีย ก่อนตัดสินใจสึกแล้ว

เดลินิวส์

ข่าวและบทความยอดนิยม

ขยี้ซ้ำ! โผล่อีกหลักฐานเด็ดอดีตพระธรรมวชิรธีรคุณ สวมวิกอิงสีกา

เดลินิวส์

“ตั๊ก บงกช-เสี่ยบุญชัย” อวยพร “ข้าวหอม” หลังกราบลาบวชสามเณร 15 วัน

เดลินิวส์

รวบ 2 กะเหรี่ยงลอบขุดทองคำ ป่าต้นน้ำสำคัญ อุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ

เดลินิวส์
ดูเพิ่ม
Loading...