เจาะลึกกลยุทธ์ “Makro PRO” พลิกเกมสู่แพลตฟอร์มไทยเพื่อโชห่วยไทย เติบโตก้าวกระโดดใน 2 ปีด้วยเทคโนโลยีที่เข้าใจลูกค้า [ADVERTORIAL]
“ร้านโชห่วย” เป็นส่วนสำคัญของทุกชุมชนและเศรษฐกิจท้องถิ่น ซึ่งเป็นธุรกิจที่มีความเข้าใจในชุมชนอย่างลึกซึ้ง และยากที่ธุรกิจค้าปลีกขนาดใหญ่จะเลียนแบบได้
อย่างไรก็ตาม ในยุคที่เทคโนโลยีพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ผู้ประกอบการร้านโชห่วยกำลังเผชิญกับจุดเปลี่ยนสำคัญ “เทคโนโลยี” จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ร้านโชห่วยอยู่รอดและเติบโตได้อย่างเต็มศักยภาพ
วันนี้ The Secret Sauce ได้มีโอกาสพูดคุยกับ ถิรายุ ทรงเวชเกษม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายงานดิจิทัล บริษัท ซีพี แอ็กซ์ตร้า จำกัด (มหาชน) เกี่ยวกับความน่าสนใจของแพลตฟอร์ม Makro PRO ที่ถูกออกแบบมาเพื่อผู้ประกอบการโชห่วยอย่างแท้จริง
Makro PRO แพลตฟอร์มเพื่อร้านค้าโชห่วยไทย
“ค้าปลีกจะอยู่รอดอย่างไรในวันที่ลูกค้าแวะหน้าร้านน้อยลง?” คำถามนี้ถูกจุดประกายขึ้น โดยแม็คโครในวันนี้ ไม่ได้เป็นเพียง ‘ร้านขายส่ง’ อีกต่อไป แต่กลายเป็นโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัลที่เชื่อมโยงผู้ประกอบการไทยทุกคน โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจอาหารที่ต้องการระบบจัดซื้อที่แม่นยำ ควบคุมคุณภาพได้ และมีทีมสนับสนุนพร้อมให้คำแนะนำตลอดเส้นทาง เข้ากับสินค้าคุณภาพและระบบโลจิสติกส์ที่ทำงานตลอด 24 ชั่วโมง
ถิรายุ ทรงเวชเกษม
ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายงานดิจิทัล บริษัท ซีพี แอ็กซ์ตร้า จำกัด (มหาชน)
“วันนี้สาขาแม็คโคร ไม่ใช่ร้านขายของ แต่คือ Distribution Center” ถิรายุ กล่าว พร้อมเผยว่าเทคโนโลยีและแพลตฟอร์มอย่าง Makro PRO คือกุญแจสำคัญของการเปลี่ยนผ่านครั้งใหญ่ที่ CP AXTRA กำลังเร่งเดินหน้า
ด้วยเวลาเพียง 2 ปี Makro PRO ก้าวขึ้นเป็นแพลตฟอร์ม Grocery E-Commerce อันดับ 1 ในประเทศไทย ครองส่วนแบ่งตลาด 39.5% (ข้อมูลปี 2567 จาก Euromonitor) โดยมีธุรกรรมเฉลี่ยกว่า 20,000 รายการต่อวัน และฐานผู้ใช้งานที่เติบโตแบบก้าวกระโดดทั้งในกลุ่ม B2B และ B2C
“Makro PRO เติบโตอย่างมากหากเทียบจากตอนเริ่มต้น ทั้งในแง่ยอดขาย ปริมาณคำสั่งซื้อ และจำนวนลูกค้าที่ใช้งานแพลตฟอร์ม” ถิรายุ กล่าว
“ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ Makro PRO เติบโตอย่างก้าวกระโดดภายใน 2 ปี คือการที่เรา “แก้ปัญหาลูกค้าจริง ๆ” ด้วยความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง ลงไปสัมผัสหน้างานจริง ทั้งทีมงานและผู้บริหาร พร้อมความกล้าที่จะเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และมองเทคโนโลยีเป็นผู้ขับเคลื่อนธุรกิจอย่างแท้จริง ไม่ใช่แค่ส่วนสนับสนุน เราวัดความสำเร็จจากผลกระทบต่อลูกค้า และไม่เคยหยุดที่จะทำความเข้าใจปัญหาและแก้ไขให้ดีขึ้นอยู่เสมอ”
จุดเริ่มต้นของ Makro PRO ที่ไม่ได้สวยหรู แต่เต็มไปด้วยบทเรียนราคาแพง
“เราคิดผิดในตอนเริ่มต้น” ถิรายุ กล่าวอย่างตรงไปตรงมา โดยเล่าย้อนถึงช่วงที่ Makro PRO ยังเป็นแค่แอปหน้าตาดี แต่ไม่ครอบคลุมความต้องการของลูกค้าได้ทั้งหมด
Makro PRO กับจุดเริ่มต้นที่ไม่สวยหรู สู่แพลตฟอร์มเพื่อโชห่วย
“ตอนนั้นเราคิดว่าอีคอมเมิร์ซคือการมีหน้ากากแอปพลิเคชัน ให้ลูกค้าจับต้องได้ แต่สุดท้ายไม่ได้เป็นไปอย่างที่เราคิด เพราะเราไม่เข้าใจลูกค้า เราขายเครื่องออกกำลังกาย ทั้งที่ไม่เกี่ยวกับแม็คโครเลย แล้วให้ลูกค้ารอ 14 วันไปรับเอง มันไม่มีอะไรเวิร์กเลยสักอย่าง”
จุดเปลี่ยนเกิดขึ้นจากการยอมรับว่า “แพลตฟอร์มไม่ใช่แค่ระบบซื้อขาย แต่คือการแก้ Pain Point ของลูกค้าแบบครบวงจร”
จากความล้มเหลวในปีแรก Makro PRO ปรับทิศทางใหม่ทั้งหมด เปลี่ยนจากการคิดแบบ Inside-out มาเป็น Outside-in ทุกอย่างเริ่มต้นจากลูกค้า
ในเชิงข้อมูล Makro PRO เปิดตัวครั้งแรกในปี 2566 และในช่วงปีแรก แพลตฟอร์มยังไม่ติดตลาด จนกระทั่งเกิดการพลิกกลยุทธ์อย่างเด็ดขาดในไตรมาส 3 ของปีเดียวกัน
Makro PRO สร้างใหม่ทั้งระบบ ปลดล็อกด้วย AI
Makro PRO เริ่มปฏิวัติตัวเองจากภายในสู่ภายนอก พวกเขาเปลี่ยนร้านค้าทั่วประเทศให้กลายเป็นศูนย์กระจายสินค้าที่ทำงานแบบ 24 ชั่วโมง พร้อมใช้เทคโนโลยีเข้ามาจัดการหลังบ้านอย่างเต็มรูปแบบ
“ตอนนั้นเราต้องเปลี่ยนทั้งวิธีคิดและวิธีส่งของ” ถิรายุ เล่าว่า Makro PRO เริ่มใช้ AI เข้ามาช่วยคำนวณเส้นทางจัดส่ง จัดคิวรถ ตลอดจนถึงการจัดการสินค้าในคลัง เพื่อให้สินค้าถึงมือได้เร็วที่สุด
“เราเคยเจอปัญหาว่าลูกค้าสั่งของแล้วยังไม่ได้รับของใน 7 วัน ซึ่งถือว่าเลวร้ายมากในธุรกิจค้าส่ง”
Makro PRO จึงเปลี่ยนรูปแบบการทำงานทั้งหมด ตั้งแต่การจัดตารางจัดส่งตามช่วงเวลา ไปจนถึงการปรับระบบให้มีคนทำงานเป็นกะ 24 ชั่วโมง เพื่อรองรับการส่งของรอบเช้าในทุกพื้นที่
ในเชิงระบบ โลจิสติกส์ของ Makro PRO ได้รับการสนับสนุนจาก AI และ Big Data อย่างเต็มรูปแบบ ตั้งแต่ปี 2567 และปัจจุบันมีการจัดส่งเฉลี่ยกว่า 20,000 ธุรกรรมต่อวันทั่วประเทศ
ไม่ใช่แค่ B2B หรือ B2C แต่ Makro PRO ตั้งใจเป็น B2B2C Ecosystem
แม้ปัจจุบัน Makro PRO จะประสบความสำเร็จจนได้รับการยืนยันจาก Euromonitor ว่าครองส่วนแบ่งตลาดยอดขายที่ 39.5% ในปี 2567 แต่สิ่งที่ทีมเห็นคือ “เรายังอยู่ที่นับหนึ่ง”
“ผมมองว่า ถ้าเราหยุดแค่ทำแพลตฟอร์ม B2B หรือ B2C เราจะไม่แตกต่างจากใครเลย แต่ถ้าเราทำให้ผู้ประกอบการสามารถขายของต่อได้ในแพลตฟอร์มเดียวกันได้นั่นแหละ มันคือ B2B2C ที่แท้จริง”
Makro PRO พัฒนาสู่ ‘แพลตฟอร์ม’ เคียงข้างร้านโชห่วยไทย
Makro PRO เปลี่ยนผู้ค้าร้านโชห่วยไปสู่ Future Entrepreneur
อดีตผู้ประกอบการต้องเสียเวลาเดินทางไปแม็คโครเพื่อซื้อของเป็นครึ่งวัน แต่ปัจจุบัน Makro PRO ช่วยให้สั่งซื้อสินค้าล่วงหน้าผ่านแอปฯ และรอรับของที่ร้านได้เลย เปลี่ยนจากการ “ลงแรง” เป็น “บริหารธุรกิจ”
CP AXTRA พบว่าผู้ประกอบการที่เติบโตเร็วคือผู้ที่ “กล้าลอง” “กล้าเปลี่ยน” และ “เข้าใจลูกค้า” พวกเขามองเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือ พร้อมเรียนรู้และต่อยอดเพื่อเพิ่มยอดขาย-ขยายสาขา ไม่ยึดติดวิธีเดิม พร้อมรับการเติบโตจากข้อจำกัด นี่คือ Future Entrepreneurs ตัวจริงในมุมมองของ CP AXTRA
ในวันที่ร้านโชห่วยบางแห่งขยายเป็น 3 – 4 สาขา หรือแม้แต่บริหารจากต่างประเทศได้จากมือถือในมือ การค้าปลีกไทยก็ไม่ได้เล็กอีกต่อไป หากมีเครื่องมือที่เหมาะสม นี่คือที่มาของเรื่องราวการพลิกเกมของแพลตฟอร์มที่ชื่อ Makro PRO
เข้าใจ ‘ลูกค้าของลูกค้า’ คือหัวใจการเติบโตทั้ง B2B และ B2C
“ร้านชาบูจะไม่ซื้อเนื้อหมูจากใครก็ได้ ถ้าสินค้าไม่คุณภาพ เขาก็ไม่เอา เพราะมันมีผลกับแบรนด์เขา” ถิรายุ กล่าว พร้อมย้ำว่า Makro PRO ต้องคุมคุณภาพสินค้าทุกขั้นตอน ทั้งในกระบวนการแพ็ก บรรจุ และขนส่ง
ความมั่นใจนี้ไม่ได้มาเอง แต่เกิดจากระบบ “Chef’s Club by Makro” ที่มีเชฟมืออาชีพตรวจสอบคุณภาพสินค้า RTE และ RTC ก่อนขึ้นขาย
Makro PRO ยังเข้าใจว่าผู้บริโภคยุคใหม่ไม่ได้ซื้อของด้วยราคาอย่างเดียว แต่เลือกจากคุณภาพ ความสะดวก คุ้มค่า และความน่าเชื่อถือของแบรนด์
จากการสำรวจลูกค้า B2C ของ Makro PRO พบว่า 72% เลือกใช้แพลตฟอร์มเพราะเชื่อมั่นในมาตรฐานของแม็คโคร และ 81% ระบุว่าการจัดส่งตรงเวลาและมีของครบคือจุดแข็งของบริการ
มุ่งสู่การเป็นบริษัทเทคโนโลยีที่เข้าใจผู้ประกอบการ
CP AXTRA ลงทุนมหาศาลเพื่อเปลี่ยนรากฐานของบริษัทจากธุรกิจค้าส่งแบบเดิมให้กลายเป็น “Tech Company ที่เข้าใจผู้ประกอบการไทย” อย่างแท้จริง โดยตลอด 2–3 ปีที่ผ่านมา บริษัทได้ลงทุนในเทคโนโลยี หลายพันล้านบาท เพื่อพัฒนาแพลตฟอร์ม อีโคซิสเต็ม และระบบหลังบ้านทั้งหมดด้วยทีมงานของตัวเอง (in-house) มากกว่าการพึ่งพาเทคโนโลยีจากภายนอก
ทีมเทคโนโลยีของ CP AXTRA แบ่งเป็น 2 กลุ่มหลัก ทั้งนักพัฒนาชาวไทย ซึ่งเข้าใจบริบทผู้ประกอบการไทยเป็นอย่างดี และผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ ที่เป็นกำลังหลักในการออกแบบโครงสร้างเทคโนโลยีให้สามารถรองรับการเติบโตระดับประเทศ
ฝ่ายเทคโนโลยีและธุรกิจต้องทำงานเหมือนทีมเดียวกัน
เบื้องหลังความสำเร็จของ Makro PRO ไม่ได้มีเพียงการวางระบบเทคโนโลยีชั้นสูง หรือการลงพื้นที่ของทีมขายเท่านั้น แต่หัวใจที่แท้จริงคือ “การทำงานร่วมกันของธุรกิจและเทคโนโลยี” แบบไร้รอยต่อ
“เราปรับ KPI ใหม่หมดเลยครับ ฝั่งธุรกิจมี KPI ที่เกี่ยวกับเทคโนโลยี ส่วนทีมเทคก็มี KPI ที่ผูกกับยอดขายและพฤติกรรมลูกค้า” ถิรายุ อธิบาย
นั่นหมายถึงทีมเทคของ Makro PRO ไม่ได้มีหน้าที่แค่เขียนโค้ดหรือพัฒนาแอปฯ ตามบรีฟ แต่ต้องเข้าใจภาพรวมของธุรกิจ ต้องลงหน้างานจริง เพื่อที่จะเข้าใจว่าลูกค้าต้องการอะไร และเสนอแนวทางที่ช่วยให้แพลตฟอร์มเติบโตได้จริง
Makro PRO สู่ Retail Tech ที่เข้าใจผู้ใช้จริง
ในขณะเดียวกัน ทีมธุรกิจเองก็ถูกฝึกให้เข้าใจภาษาของเทคโนโลยี ตั้งแต่การออกแบบ UI/UX ไปจนถึงการวางสถาปัตยกรรม (architecture) ที่รองรับคำสั่งซื้อนับร้อยรายการในแต่ละคำสั่ง
“ถ้าไม่เข้าใจกัน เราจะกลายเป็นองค์กรที่มีเทคเก่ง แต่แพลตฟอร์มไม่โต หรือมีเซลส์เก่ง แต่สร้างฟีเจอร์ไม่ตรงจุด เราเลยต้องผูกสองทีมนี้ไว้ด้วยกันตั้งแต่วันแรก” ถิรายุ กล่าว
“Retail Tech ที่ดี ต้องไม่ใช่แค่แอปฯ ที่ใช้งานได้ แต่ต้องเป็นแอปฯ ที่ตอบได้ว่า ‘ช่วยลูกค้าขายของได้มากขึ้นจริงไหม?’”
ความสำเร็จที่วัดได้ และความฝันที่ยังไม่จบ
จากความท้าทายในปีแรก ในวันนี้ Makro PRO สามารถขึ้นแท่นเป็นอันดับ 1 Grocery E-Commerce Platform ของไทย จากการจัดอันดับของ Euromonitor International ผู้นำด้านการวิเคราะห์ข้อมูลและการวิจัยตลาดระดับโลก ซึ่งก็เป็นเครื่องพิสูจน์ว่าการเข้าใจลูกค้าคือพลังเปลี่ยนเกมสู่ความสำเร็จ
“สิ่งที่ทำให้เรามาได้ถึงวันนี้ไม่ใช่เพราะเทคโนโลยีล้ำ แต่คือความกล้าที่จะลงมือเปลี่ยนเร็ว และไม่หยุดถามว่า ‘ลูกค้ายังเจ็บตรงไหน’”
ในปี 2568 CP AXTRA ยังเดินหน้าจัดตั้ง AXTRA Digital เพื่อเร่งขับเคลื่อนนวัตกรรม และพัฒนาแพลตฟอร์ม Smart Store พร้อมระบบ Omnichannel ที่จะเชื่อมทั้งออนไลน์และออฟไลน์แบบไร้รอยต่อ
ความสำเร็จที่เกิดขึ้นจากความกล้าที่จะเปลี่ยนเพื่อลูกค้า
Makro PRO ยังเปิดตัวโปรแกรมสะสมแต้ม “Makro PRO Point” เพื่อสร้างความสัมพันธ์ระยะยาวกับผู้ประกอบการ โดยมีสมาชิกลงทะเบียนกว่า 500,000 รายภายในเวลาไม่ถึง 6 เดือน
Makro PRO เคียงข้างโชห่วยที่ไม่มีวันตายไปจากตลาดไทย
“เรากำลังสร้างแพลตฟอร์มที่ไม่ใช่แค่ตอบโจทย์การซื้อขาย แต่ตอบโจทย์การเติบโตของผู้ประกอบการ โดยเฉพาะธุรกิจอาหารในประเทศไทย เพราะเราไม่ได้มองว่าตัวเองเป็นแค่ร้านขายของอีกต่อไป แต่คือส่วนหนึ่งของการสร้าง Food Supply Chain ที่เชื่อมต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ ไม่ใช่แค่จุดขายของปลายน้ำเท่านั้น”
“สาขาแม็คโครจึงไม่ใช่จุดขายอีกต่อไป แต่คือศูนย์กระจายสินค้า (Distribution Center) ที่ขับเคลื่อนการจัดส่งและสั่งซื้อในรูปแบบดิจิทัลตลอด 24 ชั่วโมง”
CP AXTRA อยู่คู่โชห่วยไทยที่ไม่มีวันตาย
อย่างไรก็ตาม โชห่วยหรือธุรกิจขนาดเล็ก ยังเต็มไปด้วยความท้าทาย ทั้งการจัดการสต็อก ขาดความรู้ ควบคุมคุณภาพยากเมื่อผลิตมาก หรือเข้าไม่ถึงช่องทางขายใหม่ ซึ่ง CP AXTRA ไม่ได้ปล่อยผ่าน แต่กลับส่งทีม “Special Force” ลงพื้นที่ พร้อมผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เช่น นักการตลาด เชฟ หรือแม้แต่เทคโนโลยีด้าน Supply Chain เพื่อร่วมคิด ร่วมทำ และแปลงจุดอ่อนของธุรกิจให้กลายเป็นโอกาสทางการตลาด
“โชห่วยไม่มีวันตาย เรามองโชห่วยว่าเป็นพาร์ตเนอร์ ไม่ใช่คู่แข่ง และเราไม่เคยคิดจะมาแทนที่โชห่วย แต่ตั้งใจอย่างจริงจังที่จะ ‘ส่งพลัง’ ให้เขาโตจากสิ่งที่เขาเป็นอยู่แล้ว ไม่ใช่การเปลี่ยนเขาให้เป็นอย่างอื่น แต่ช่วยให้เขาโตได้ไกลขึ้นจากรากที่เขาปักไว้อย่างมั่นคง”
อ้างอิง:
ข่าวที่เกี่ยวข้อง: