ดุสิตโพลห่วงความสูญเสียปะทะเขมร ได้ข่าววิกฤตมักเช็คก่อน แนะรัฐสื่อสารรวดเร็วถูกต้องต่อเนื่อง
สวนดุสิตโพล เผย ส่วนใหญ่เมื่อได้รับข่าวสารวิกฤตมักตรวจสอบความถูกต้อง เชื่อถือแหล่งข่าวภาครัฐ แนะสื่อสารรวดเร็วถูกต้องต่อเนื่อง น้ำท่วมอยากให้รัฐจัดพื้นที่พักพิงอพยพ กรณีกัมพลห่วงเรื่องความสูญเสียทั้งสองฝ่าย
วันนี้ (27ก.ค.) “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง “คนไทยกับการติดตามข่าวสารในภาวะวิกฤต” กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,148 คน (สำรวจทางออนไลน์และภาคสนาม) ระหว่างวันที่ 24-25 กรกฎาคม 2568 สรุปผลได้ ดังนี้
1. เมื่อได้รับข่าวสารเกี่ยวกับสถานการณ์วิกฤต ประชาชนมักจะทำอย่างไร
อันดับ 1 ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลจากหลาย ๆ แหล่ง 75.61%
อันดับ 2.ติดตามข่าวสารอย่างต่อเนื่อง เตรียมตัวรับมือในกรณีฉุกเฉิน.52.44%
อันดับ 3 ไม่แชร์ข่าวต่อเพราะไม่แน่ใจในความจริง 35.37%
2. ในภาวะวิกฤตประชาชนให้ความเชื่อถือกับแหล่งข่าวประเภทใดมากที่สุด
อันดับ 1 หน่วยงานหลักของภาครัฐ ศูนย์ข้อมูลของรัฐ 76.83%
อันดับ 2.สำนักข่าว นักข่าวที่มีชื่อเสียง 50.61%
อันดับ 3.นักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน 23.78%
3. ในภาวะวิกฤต ประชาชนอยากให้ภาครัฐและสื่อมวลชนนำเสนอข้อมูลแบบใดมากที่สุด
อันดับ 1 สื่อสารข้อมูลที่ถูกต้อง รวดเร็ว ต่อเนื่อง 81.10%
อันดับ 2 แจ้งข้อควรปฏิบัติอย่างชัดเจน 72.56%
อันดับ 3 ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย ไม่เป็นทางการเกินไป 57.93%
4. ในกรณีน้ำท่วม ประชาชนอยากให้ภาครัฐหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง “เร่งดำเนินการ” ด้านใดมากที่สุด
อันดับ 1 จัดเตรียมพื้นที่พักพิงและเส้นทางอพยพ 78.66%
อันดับ 2 แจ้งเตือนล่วงหน้าอย่างแม่นยำและทั่วถึง 76.22%
อันดับ 3 แจกจ่ายอาหาร น้ำ และของจำเป็นอย่างทั่วถึง 74.75%
5. ในกรณีไทย–กัมพูชา ประชาชนรู้สึกเป็นห่วงและกังวลเรื่องใดมากที่สุด
อันดับ 1.การบาดเจ็บและความสูญเสียของทั้งสองฝ่าย.86.50%
อันดับ 2 โรงพยาบาล โรงเรียนที่อยู่ในพื้นที่ 58.90%
อันดับ 3 การบิดเบือนข้อมูลข่าวสารในสื่อและโซเชียลมีเดีย 55.83%
website : mgronline.com
facebook : MGRonlineLive
twitter : @MGROnlineLive
instagram : mgronline
line : MGROnline
youtube : MGR Online VDO