โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

28 ปี "วิกฤตต้มยำกุ้ง" แผลเป็นระบบการเงินไทย

TNN ช่อง16

เผยแพร่ 1 วันที่แล้ว
28 ปี

"วิกฤตต้มยำกุ้ง" ชื่อที่ไม่มีใครอยากจดจำ แต่คนไทยก็ไม่มีใครสามารถที่จะลบเลือนช่วงเวลานั้นออกไปจากความรู้สึก และในช่วงเวลาเดียวกันนี้ของเมื่อ 28 ปี ที่แล้ว จากจุดเริ่มต้นด้วยการ “ลอยตัวค่าเงินบาท” จนกลายเป็นฟางเส้นสุดท้ายที่รั้งเศรษฐกิจไทยไว้ไม่ไหว และทุกอย่างหลังจากนั้นก็กลายเป็นช่วงเวลาที่เลวร้ายที่สุดครั้งหนึ่งของเศรษฐกิจไทย

"สาธรยูนีค" หรือ “ตึกร้างสาธร” อาคารร้างที่เป็นเหมือนอนุสาวรีย์ของ “วิกฤตต้มยำกุ้ง” ตั้งตระหง่านอยู่ใจกลางย่านธุรกิจที่สำคัญที่สุดของกรุงเทพมหานคร ที่คอยย้ำเตือนความทรงจำอันเลวร้ายของเศรษฐกิจไทยในช่วงตั้งแต่ปี 2540 ที่เป็นเหมือนแผลเป็นของระบบการเงินไทย ที่ลบเท่าไหร่ก็ไม่จางหายไป

จากจุดเริ่มต้นเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 หรือเมื่อ 28 ปีที่แล้ว ซึ่งเป็นวันที่ประเทศไทยประกาศลอยตัวค่าเงินบาท จากค่าเงินบาทที่ถูกกดดันจากการเก็งกำไรอย่างรุนแรง ซึ่งเป็นผลมาจากความไม่สมดุลของภาคเศรษฐกิจการเงินไทยในขณะนั้น แล้วทำไมการปล่อยค่าเงินให้ลอยตัวถึงได้ทำลายเศรษฐกิจไทยจนย่อยยับได้ขนาดนั้น

เราต้องย้อนกลับไปช่วงเวลาก่อนวันที่ 2 กรกฎาคม หรือช่วงก่อนที่จะเกิดวิกฤต ประเทศไทยใช้ระบบการแลกเปลี่ยนเงินตราแบบ "ตะกร้าเงิน" หรือ Basket of currencies มาตั้งแต่เดือนพฤศติกายน 2527 กล่าวคือการที่ประเทศไทยเอาค่าเงินบาทผูกไว้กับตระกร้าเงินตราต่างประเทศ เพื่อให้อัตราแลกเปลี่ยนมีเสถียรภาพ ลดความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน หรือ Exchange Rate Risk ทำให้อัตราแลกเปลี่ยนของค่าเงินบาทเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ จะเคลื่อนไหวในกรอบที่แคบมากเพียง 24-26 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ

ซึ่งการใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบนี้ ก็มีข้อดีตรงที่ว่า การค้าระหว่างประเทศทั้งการส่งออก และนำเข้าสามารถขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง ภาคธุรกิจไม่จำเป็นต้องกังวลเรื่องรายได้ที่ต้องผันผวนตามอัตราแลกเปลี่ยน ทำให้สามารถประมาณการณ์รายได้ และกำไรได้อย่างแม่นยำ ทำให้เกิดการขยายตัวของการลงทุนเป็นอย่างมาก เกิดการจ้างงานที่สูง

เงินทุนของเอกชนไหลเข้ามาอย่างมากจากการลงทุนโดยการกู้ยืมของเอกชนภายในประเทศ โดยเฉพาะการลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์ จนเกิดฟองสบู่ในราคาสินทรัพย์ ซึ่งนำไปสู่เงินทุน และการกู้ยืมที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อฟองสบู่ยังไม่แตก ทุกอย่างยังคงสวยงาม จนทำให้ทั้งผู้กู้ และผู้ให้กู้ยืมต่างก็ประเมินความเสี่ยงจากการเปิดรับเงินตราต่างประเทศที่ต่ำเกินไป “กู้ง่าย ได้เยอะ” จนทำให้สมดุลของสินเชื่อนั่นเสียหาย เช่น การกู้ยืมเงินระยะสั้นจากต่างประเทศ มาเพื่อลงทุนในระยะยาว

การระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ก็ทำได้ไม่ยาก สามารถระดมทุนมาใช้ในการประกอบธุรกิจกันอย่างมากมาย ในขณะที่เศรษฐกิจที่ถูกมองว่าเป็น “ยุคทอง” ของประเทศ เป็นการพลิกหน้าประวัติศาสตร์ของประเทศไทยในการก้าวขึ้นสู่ประเทศที่มีอำนาจทางเศรษฐกิจ กลายเป็นการเติบโตที่ไร้ซึ่งเสถียรภาพ ไร้วินัยทางการเงิน การคลัง กฎเกณฑ์ของสถาบันการเงินที่หละหลวม เอื้อผลประโยชน์ให้พวกพ้อง ซึ่งแน่นอนนั้นคือรอยร้าวทางเศรษฐกิจที่ค่อย ๆ ลุกลาม

ซึ่งแน่นอนว่าการใช้ระบบการแลกเปลี่ยนเงินตราดังกล่าวต้องแลกมาด้วยการใช้ “ทุนสำรองระหว่างประเทศ” อย่างมหาศาลในการเข้าไปซื้อเงินบาท เพื่อให้ค่าเงินไม่ผันผวนไปจากที่กำหนด ส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่องถึง 14,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และจุดที่ทำให้ทุกอย่างเลวร้ายลงกว่าเดิมนั่นก็คือ “การโจมตีค่าเงิน”

“จอร์จ โซรอส” พ่อมดทางการเงิน รวมถึงนักลงทุนในต่างประเทศต่างเห็นถึงจุดอ่อนของค่าเงินบาทที่ไม่สมดุลกับระบบเศรษฐกิจ ได้โจมตีด้วยด้วยการสร้างกระแสว่าจะมีการลดค่าเงินบาท ทำให้มีการขายเงินบาทเพื่อไปถือเงินดอลลาร์สหรัฐฯอย่างมหาศาล ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงต้องนำเงินทุนสำรองของทางการสูงถึง 24,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือคิดเป็น 2 ใน 3 ของเงินสำรองทั้งหมดมาใช้เพื่อปกป้องค่าเงินบาทจนทำให้เงินสำรองของทางการเหลืออยู่เพียง 2,850 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำมากเมื่อเทียบกับปลายปี 2539 ที่มีถึง 38,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

และในที่สุด ประเทศไทยก็ต้านทานไม่ไหว ต้องประกาศลอยตัวค่าเงินบาท ซึ่งก็ทำให้ค่าเงินบาทอ่อนตัวอย่างรุนแรงที่สุดถึง 56 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ส่งผลให้ผู้มีหนี้ต่างประเทศต้องแบกรับภาระหนี้ที่สูงขึ้นเกินเท่าตัว หนี้ต่างประเทศของไทยปรับเพิ่มขึ้นสูงถึง 109,276 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยแบ่งเป็นหนี้ภาครัฐ 24,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และหนี้ภาคเอกชน 85,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่งผลให้ธุรกิจเอกชนต้องล้มลงอย่างไม่เป็นท่า

สถาบันการเงินต้องเผชิญกับ “หนี้เสีย” ที่สูงที่สุดในประวัติศาสตร์ ฟองสบู่แตกกระจาย กลายเป็นโดมิโนที่ค่อย ๆ ล้มลงเรื่อย ๆ ตั้งแต่ภาคอสังหาริมทรัพย์ คนตกงาน ล้มละลายกันเป็นว่าเล่น คนแห่ถอนเงินเพราะขาดความเชื่อมั่นในสถาบันการเงินทำให้สถาบันการเงินขาดสภาพคล่องอย่างหนัก และรัฐบาลต้องสั่งปิดสถาบันการเงินรวมทั้งหมด 58 แห่ง โดยรัฐบาลต้องใช้เงินกองทุนเพื่อการฟื้นฟู และพัฒนาระบบสถาบันการเงิน หรือ FIDF ราว 1.4 ล้านล้านบาท เพื่อเข้าไปอุ้มสถาบันการเงิน

จนประเทศไทยต้องขอความช่วยเหลือทางการเงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF จำนวนมหาศาล ซึ่งต้องแลกมาด้วยเงื่อนไขทางเศรษฐกิจที่ล้วนแล้วแต่สร้างผลกระทบกับประชาชนทุกคน เศรษฐกิจติดลบ คนยากจนเพิ่มสูงขึ้น โอกาสทางธุรกิจดับวูบลง ซึ่งวิกฤตครั้งนั้นก็ส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจ และสร้างความเสียหายอย่างมากมายต่อประเทศไทย และส่งผลไปถึงภูมิภาคอาเซียนและอีกหลายประเทศในเอเชียจนเป็นวิกฤตทางการเงินในที่สุด

และถึงแม้ว่าวิกฤตต้มยำกุ้ง เป็นวิกฤตการณ์เศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์เศรษฐกิจไทย ที่ถึงจะผ่านเวลามา 28 ปี ก็ยังคงหลงเหลือร่องรอยบาดแผลทางเศรษฐกิจให้เห็น หลังจากวิกฤตในครั้งนั้น ประเทศไทยก็ได้เรียนรู้อะไรหลาย ๆ อย่าง และมีการปฏิรูประบบการเงิน วางมาตรการทางเศรษฐกิจที่เข้มแข็ง เพื่อเตรียมพร้อมกับความไม่แน่นอน และความท้าทายที่มีมาอย่างต่อเนื่อง หลังจากนี้ ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ก็ยังคงต้องร่วมกันป้องกันไม่ให้เกิดวิกฤตร้ายแรงซ้ำรอยอดีต เพื่อไม่ให้เศรษฐกิจเสียหายไปมากกว่านี้ และสามารถมีเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งได้อย่างแท้จริง ไม่เป็นภาระให้กับคนรุ่นต่อไป

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก TNN ช่อง16

ทั่วไทยฝนชุกถึงกลางเดือน 12-13 ก.ค.เตือนฝนตกหนัก ระวังน้ำท่วม-น้ำป่า

36 นาทีที่แล้ว

หวานฉ่ำ! เจมส์ จิรายุ ฉลองวันเกิด โฟม เบญจมาศ เรียบง่ายแต่อบอุ่นสุดๆ

45 นาทีที่แล้ว

กรมอุตุฯ เตือนฉ. 4 ฝนตกหนักทั่วไทย 12 - 13 ก.ค เช็กรายชื่อจังหวัดที่นี่

46 นาทีที่แล้ว

หุ้นดาวโจนส์วันนี้ 12 กรกฎาคม 2568 ปิดลบ 279 จุด กังวลนโยบายภาษีทรัมป์

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความธุรกิจ-เศรษฐกิจอื่น ๆ

ราคาทองวันนี้ 12 กรกฎาคม 2568

สยามนิวส์

ราคาทองวันนี้ 12 ก.ค. 68 ครั้งที่ 1 เพิ่มขึ้น 100 บาท ทองรูปพรรณขายออกบาทละ 52,250 บาท

sanook.com

"อพท."นำชุมชนท่องเที่ยวที่มีศักยภาพร่วมงานจริงใจมาหา...นคร ครั้งที่ 12 ของกลุ่มเซ็นทรัลจนถึง 13 ก.ค.ที่เซ็นทรัลเวิลด์

สยามรัฐ

ส.อ.ท. เร่งรวบรวมข้อมูล 47 กลุ่มอุตฯ จ่อยื่นคลังเจรจาลดภาษีศุลกากรตอบโต้

Manager Online

หวั่นเสียโอกาส 47 อุตฯ 11 คลัสเตอร์ยื่นคลังเจรจาลดภาษีสหรัฐฯ

Thai PBS

‘เอกนัฏ’ สั่งกนอ. ถก 38 ซีอีโอเจ้าของนิคมอุตฯตัวจริง ขีดเส้น 1 สัปดาห์ต้องจบ

เดลินิวส์

หุ้นดาวโจนส์วันนี้ 12 กรกฎาคม 2568 ปิดลบ 279 จุด กังวลนโยบายภาษีทรัมป์

TNN ช่อง16

ราคาน้ำมันวันนี้ 12 ก.ค. 68

News In Thailand

ข่าวและบทความยอดนิยม

เงินบาทเช้านี้ 9 ก.ค. 2568 เปิดตลาด “อ่อนค่าลงเล็กน้อย” ที่ระดับ 32.57 บาท/ดอลลาร์

TNN ช่อง16

วินัยทางการเงินที่เข้มแข็ง" ช่วยสร้างความมั่นคง ทางธุรกิจศุภาลัย

TNN ช่อง16

เงินบาทเช้านี้ 7 ก.ค. 2568 เปิดตลาด “อ่อนค่าลงเล็กน้อย” ที่ระดับ 32.39 บาท/ดอลลาร์

TNN ช่อง16
ดูเพิ่ม
Loading...