กรมการปกครอง เผยตัวเลข ผู้อพยพ 1.6 แสนราย 7 จังหวัด สถานการณ์ชายแดน ไทยกัมพูชา
กรมการปกครอง ได้สรุปสถานการณ์ตามแนวชายแดนเมื่อช่วงเช้าวันนี้ (27 ก.ค.2568) โดยรายงานว่า ตั้งแต่เวลา 04.30 น. มีเสียงปืนดังขึ้นจากฝั่งกัมพูชา และเมื่อเวลา 08.00 น. ได้มีการยิงจรวด BM-21 เข้าใส่ปราสาทตาเมือนธม ขณะที่ยอดพลเรือนเสียชีวิตสะสมอยู่ที่ 13 ราย และบาดเจ็บรวม 31 ราย
เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2568 กรมการปกครองสรุปสถานการณ์ตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา
โดยมีไทม์ไลน์ดังนี้
เวลา 04.30 น. รับรายงานได้ยินเสียงปืนจากฝั่งกัมพูชา ปราสาทตาควาย อ.พนมดงรัก จ.สุรินทร์ . เวลา 04.40 น. และเวลา 06.00 น. รับรายงานได้ยินเสียงปืนใหญ่จากฝั่งกัมพูชา ปราสาทตาควาย อ.พนมดงรัก จ.สุรินทร์ . เวลา 06.40 น. กระสุนปืนใหญ่จากฝั่งกัมพูชาตกใส่บ้านประชาชนใน อ.พนมดงรัก จ.สุรินทร์ ได้รับความเสียหาย ยังไม่มีรายงานผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิต . เวลา 08.00 น. กองทัพกัมพูชาเริ่มเปิดฉากยิงจรวด BM-21 เข้าใส่ปราสาทตาเมือนธม อ.พนมดงรัก จ.สุรินทร์ .
ตัวเลขผู้เสียชีวิต (พลเรือน) ยอดสะสม 13 ราย (24-27 กรกฎาคม 2568)
. – จ.ศรีสะเกษ 8 ราย . – จ.สุรินทร์ 4 ราย . – จ.อุบลราชธานี 1 ราย . ตัวเลขผู้บาดเจ็บ รวม 31 ราย (24-27 กรกฎาคม 2568) . – จ.ศรีสะเกษ 15 ราย . – จ.สุรินทร์ 11 ราย . – จ.อุบลราชธานี 3 ราย . – จ.บุรีรัมย์ 2 ราย .
ยอดการอพยพสะสม รวมศูนย์พักพิง 489 แห่ง ผู้อพยพ 161,537 คน (24-26 กรกฎาคม 2568)
– จ.ศรีสะเกษ
ศูนย์พักพิง 265 แห่ง
ผู้อพยพ 62,691 คน
– จ.สุรินทร์
ศูนย์พักพิง 122 แห่ง ผู้อพยพ 53,312 คน
– จ.อุบลราชธานี
ศูนย์พักพิง 68 แห่ง ผู้อพยพ 17,426 คน
– จ.บุรีรัมย์
. ศูนย์พักพิง 1 แห่ง ผู้อพยพ 20,159 คน
-จ.สระแก้ว
ศูนย์พักพิง 15 แห่ง . ผู้อพยพ 3,854 คน
– จ.ตราด
ศูนย์พักพิง 15 แห่ง ผู้อพยพ 3,786 คน
– จันทบุรี
ศูนย์พักพิง 3 แห่ง ผู้อพยพ 309 คน
1. ปรับแผนสั่งใช้สมาชิกกองอาสารักษาดินแดน
.
จังหวัดชายแดน 7 จังหวัด ให้แจ้งจังหวัดพิจารณาปรับแผนการสั่งการใช้ในภาพรวมของจังหวัด โดยพิจารณาปรับกำลังพลมาสนับสนุนภารกิจในพื้นที่ชายแดน
.
ให้ สน.อส.พิจารณาความจำเป็น หากต้องมีการนำกำลังพลจากจังหวัดตอนในไปสนับสนุนจังหวัดชายแดนหรืออำเภอชายแดน ให้เตรียมแผนดำเนินการภายในวันที่ 30 กรกฎาคมนี้
.
2. เตรียมความพร้อมศูนย์พักพิง/ศูนย์อพยพในพื้นที่ชายแดน เร่งดำเนินการสำรวจตรวจสอบอำเภอต่างๆ ในการเตรียมความพร้อม
.
3. สำรวจความพร้อมของยุทโธปกรณ์และยุทธภัณฑ์ที่มีอยู่ในพื้นที่ของกำลังพล อส.และ ชรบ.
.
4. ธำรงการสื่อสาร และตรวจสอบความพร้อมให้ใช้งานได้ตลอดเวลา รองรับสถานการณ์ฉุกเฉินได้ตลอดเวลา
.
5. รวบรวมความต้องการใช้งบประมาณในพื้นที่ชายแดน โดยพิจารณาจัดสรรงบประมาณหรือประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยเร่งด่วน
.
6. ติดตาม เผยแพร่ผลการปฏิบัติงานของฝ่ายปกครองอย่างต่อเนื่อง หากมีข้อสำคัญเร่งด่วน ใช้เพจกรมการปกครองในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์หลัก
.
7. เร่งลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์ชายแดนไทย-กัมพูชาอย่างใกล้ชิด ตามแนวทางการพิทักษ์พื้นที่ส่วนหลัง
ในส่วนของการดำเนินการของ ปค. จัดตั้งศูนย์เฉพาะกิจบริหารสถานการณ์ชายแดนไทย-กัมพูชา กรมการปกครอง (ส่วนหน้า จันทบุรี) หรือ ศบ.ทก.ปค. ส่วนหน้า จันทบุรี ณ ศูนย์สื่อสารกรมการปกครองเขต 5 (จันทบุรี) จังหวัดจันทบุรี เป็นสถานที่ปฏิบัติการชั่วคราว
อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : กรมการปกครอง เผยตัวเลข ผู้อพยพ 1.6 แสนราย 7 จังหวัด สถานการณ์ชายแดน ไทยกัมพูชา
ติดตามข่าวล่าสุดได้ทุกวัน ที่นี่
– Website : https://www.matichon.co.th